เดือนต.ค.-พ.ย.64 ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไปแล้วกว่า 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย สถานประกอบการต่างประเทศส่วนใหญ่จับตาภาคการผลิตของเมียนมาเพื่อดูแนวโน้มการลงทุน พบว่าเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนประมาณ 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 โครงการ ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 ของงบประมาณย่อยในปีงบประมาณปัจจุบัน ที่ผ่านมาการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาลดลงอย่างมากจากความต้องการของตลาดสหภาพยุโรปที่ตกต่ำในเดือนที่แล้ว ส่งผลให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ส่งผลโรงงานบางแห่งปิดตัวถาวรและชั่วคราว ทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่แบบ CMP และถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ เมียนมาดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่ากว่า 234.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท 13 แห่งในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 เป็นการลงทุนในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การก่อสร้าง การขนส่งและการสื่อสาร โรงแรมและการท่องเที่ยว และบริการอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการขยายทุนโดยวิสาหกิจที่มีอยู่แล้วและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-75-6-mln-in-oct-nov/#article-title

Digital marketing เทรนด์ใหม่ของอุตสาหกรรมอะโวคาโดในเมียนมา

Digital marketing ได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมอะโวคาโด ปัจจุบันผลอะโวคาโดจำนวนมากจากเขตต่างๆ กำลังไหลทะลักเข้าสู่ตลาด โดยการส่งออกไปตลาดต่างประเทศมีอุปสรรคจากการขนส่งเพราะอยู่ในช่วง COVID-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในประเทศเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งอะโวคาโดคุณภาพดีสามารถขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้และราคาที่เป็นธรรมถูกกำหนดไว้เพื่อป้องการการตั้งราคาที่สูงหรือต่ำจนเกินไป ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์มากขึ้นเมื่อมีผลอะโวคาโดจำนวนมากเข้าสู่ตลาด ซึ่งอะโวคาโดระยะเวลาเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสูงจากระดับน้ำทะเล โดยการเก็บเกี่ยวจะอยู่ระหว่างเดือนก.ย.ถึงเดือนก.พ. และอะโวคาโดพันธุ์ Hass เป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาด ทั้งนี้ราคาอะโวคาโดอยู่ที่ 9,500-10,000 จัตต่อกิโลกรัมสำหรับเกรด A ส่วนเกรด B อยู่ที่ 8,500 จัตต่อกิโลกรัม ส่วนเกรด C จะอยู่ที่ 6,500-7,000 จัตต่อกิโลกรัม และต่ำกว่าเกรด C จะอยู่ที่ 1,500 จัตต่อกิโลกรัม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/digital-marketing-becomes-trendy-in-avocado-industry/

CBM อนุญาตให้ใช้เงินหยวน-จัต ซื้อขาย ในเขตชายแดนจีน-เมียนมา

ธนาคารกลางเมียนมา หรือ CBM ประกาศ อนุญาตให้ใช้หยวนหรือจัตในการทำธุรกรรมในขตชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนเพื่อสนับสนุนการค้าของสองประเทศ ซึ่งผู้ค้าชาวเมียนมาสามารถเปิดบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยสามารถชำระเงินหยวน-จัต ได้โดยตรง ทั้งนี้ธนาคารต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้เงินหยวนหรือจัดอย่างเคร่งครัดในการค้าขายข้ามพรมแดน โดยด่านข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมา และจีน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านมูเซ ด่านลิวจี, ด่านชินฉ่วยฮ่อ, ด่านคามาไพติ และด่านเชียงตุง ซึ่งด่านมูเซ เป็นด่านชายแดนที่มีความสำคัญมากที่สุด จากข้อมูล พบว่า เมียนมามีมูลค่าการค้าข้ามแดนผ่านด่านมูเซ 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยเป็นการส่งออกมีมูลค่า 2.9 พันดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yuan-kyat-direct-trade-allowed-in-sino-myanmar-border-areas/

เมียนมาส่งออกปูนิ่มไปมากกว่า 600 ตัน ในทุกๆ ปี

ปูนิ่มจากรัฐยะไข่ของเมียนมาส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 600 ตันต่อปี โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง และประเทศต่างๆ ของยุโรป ในรัฐยะไข่ บริษัทแปรรูปปูสามารถผลิตได้ 15 ตันต่อเดือน และประมาณ 200 ตันต่อปี โดยจะถูกส่งไปยังห้องเย็นในนิคมอุตสาหกรรมไลง์ตายาเพื่อทำการบรรจุ โดยราคาปูนิ่มมีมูลค่าประมาณ 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้การส่งออกปูนิ่มของบริษัทต่างๆ ของเมืองตาน-ดแว เมืองท่าสำคัญในรัฐยะไข่ พบว่า ในปีงบประมาณ 2561-2562  มีรายได้ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2562-2563  มีรายได้กว่า 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปีงบประมาณ 2563-2564 มีรายได้กว่า 4.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-yearly-ships-over-600-tonnes-of-soft-shell-crab-to-external-market/

เขตอิรวดีเปิดตัวโครงการมินิกริดพลังงานแสงอาทิตย์ในเมืองเมียนออง

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2564 ที่ผ่านมา คณะทำงานโครงการมินิกริดนำโดยนายอู ทิน หม่อง วิน มุขมนตรีเขตอิรวดี พร้อมคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการมินิกริดในเมียนออง เขตอิรวดี ที่ดำเนินการโดย Mega Global Green Automation Company. โดยโครงการนี้ได้ปล่อยกระแสไฟฟ้าให้กับ 294 ครัวเรือน วัด 2 แห่ง โรงเรียน 2 แห่ง และคลินิก 1 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ในเมียนอองยังมีอีกหนึ่งโครงการเป็นของ บริษัท สมาร์ทเมสเซชั่น แอนด์ คอนโทรล จำกัด ที่ให้ให้บริการไฟฟ้าแก่ 134 ครัวเรือน วัด 1 แห่ง และโรงเรียน 1 แห่ง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 7 ก.ค. มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/solar-power-mini-grid-project-launched-in-myanaung-tsp/#article-title

ราคาหัวหอมในจังหวัดมี่นบู้ ยังทรงตัว แม้ผลผลิตตกต่ำ

ศูนย์ค้าส่ง No (4) ของจังหวัดมี่นบู้ เขตมะกเว เผยราคาหัวหอมยังทรงตัวที่ 250 และ 300 จัตต่อ Viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ส่วนใหญ่หัวหอมจะถูกขนส่งไปยังรัฐยะไข่มากที่สุดที่ด้วยราคา 400 หรือ 500 จัตต่อ Viss ขณะที่ราคาขายปลีกในตลาดของตำบลมี่นบู้ อยู่ที่ 800 และ 900 จัตต่อ Viss แม้ราคาจะไม่สูงมากนักและยังทรงตัวแต่ความต้องการและผลผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ จังหวัดมี่นบู้มีศูนย์ขายส่งหัวหอมประมาณ 10 แห่ง โดยราคาซื้อจะอยู่ที่ 250/300 จัตต่อ Viss ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 400/500 จัตต่อ Viss ส่วนราคาขายส่งคือ 800/900 จัตต่อ Viss

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-stable-despite-low-production-in-minbu-township/

ก.พาณิชย์ เผย รายได้การส่งออกช่วงเดือนครึ่งของปีงบประมาณย่อย 64-65

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ในช่วงเดือนครึ่งปีของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 มีรายได้จากการส่งออกทางทะเลและการค้าผ่านแดนมากกว่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากการค้าทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 19 พ.ย. มีการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 169,827 ตัน โดยมีรายได้ 144.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รัฐบาลอินเดียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อนำเข้าถัวพัลส์ 250,000 ตันและอีก 100,000 ตัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ 2568-2569 เมียนมามีผลผลิตถั่วพัลส์มากกว่า 11 ล้านเอเคอร์ต่อปี คิดเป็นมากกว่า 35% ของผลผลิตถั่วทั้งหมด

ที่มา: https://news-eleven.com/article/221505

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา ลดฮวบ 10.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน

ปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนมีมูลค่ามากกว่า 10,140.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเกือบ 495 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปีงบฯ 63-64 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 6,890.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้า 3,250.407 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 10,140.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 7,187.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้า 3,447.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และรวมมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 10,635.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.63 ถึงปลายเดือนก.ย.64 ของปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป 3,609 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในหมวดตัด เย็บ และบรรจุห่อ (CMP) รองลงมาคือก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่า 3,119 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ .ข้าวและข้าวหักมูลค่า 700.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ .ปัจจุบันเมียนมากำลังพัฒนายุทธศาสตร์การส่งออกระดับชาติเพื่อกระตุ้นการส่งออก ในภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ภาคการประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล บริการด้านลอจิสติกส์ ด้านบริการข้อมูลการค้าและนวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/221426

เมียนมาส่งออกสินค้าประมง พุ่งขึ้น 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุ มูลค่าการส่งออกอาหารทะเล ณ วันที่ 19 พ.ย.64  -ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 64 ถึงมี.ค 65) อยู่ที่ประมาณ 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 120.6 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมาสหพันธ์การประมงแห่งเมียนมา (MFF) พยายามขยายการส่งออกโดยไม่คำนึงถึงการหยุดชะงักของการค้าทางทะเลจาการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปิดประตูชายแดนและความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เช่น อวนจับปลา ราคาน้ำมันสร้างภาระให้กับอุตสาหกรรม รวมทั้งค่าเงินจัตอ่อนค่าลงในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งสินค้าประมง เช่น ปลา กุ้ง และปู ถูกส่งออกไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และสหภาพยุโรป โดยตลาดจีนคิดเป็น 65% ของการส่งออกประมงทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกการประมงโดยรวมที่ 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 62-63 ปัจจุบันจีนปิดพื้นที่ชายแดนจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ MFF เริ่มหันไปมองตลาดที่มีศักยภาพอย่างบังคลาเทศแทน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 63-64 (ต.ค.63-ก.ย.64) เมียนมาส่งออกอาหารทะเลคิดเป็นมูลค่า 784.889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/earning-from-export-of-myanmar-aquaculture-products-exceeds-128-mln-as-of-19-november/

ราคาถั่วดำ พุ่งเป็น 40,000 จัตต่อตัน ภายในหนึ่งสัปดาห์

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Wholesale Centre) ระบุ ราคาถั่วดำ (หรือ Urad ในภาษาอินเดีย) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 40,000 จัตต่อตันภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ราคาถั่วดำอยู่ที่ 1,382,000 จัตต่อตัน แต่วันที่ 1 ธ.ค. พุ่งขึ้นเป็น 1,425,000 จัตต่อตัน โดยกระทรวงเกษตรและสวัสดิการของอินเดีย นอกจากอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำแล้ว แต่ยังรวมถึงถั่วชนิดอื่นๆ ให้นำเข้าจากเมียนมาได้ พร้อมผ่อนคลายด้านการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 64  เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ราคาพุ่งเป็นประวัติการณ์ที่ 2 ล้านจัตต่อตัน ตามค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาด forex  ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วต่างๆ มูลค่ากว่า 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เป็นการส่งออกทางทะเล1.24 ล้านตัน มูลค่า 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผ่านทางชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 786,920 ตัน มูลค่า 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/black-gram-price-up-by-k40000-per-tonne-within-one-week/