กองทุนเพื่อธุรกิจสปป.ลาวสนับสนุน SME ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

กรมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ คาดว่าจะจัดสรรเงินทุนจากกองทุนพัฒนาธุรกิจ SMEs ในการพัฒนาโครงการด้านเทคนิคซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างธุรกิจขนาดเล็กและส่งเสริมการเริ่มธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการในสปป.ลาว ซึ่งจะมีการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในวงเงินไม่เกิน 1.5 พันล้านกีบให้กับ MSMEs ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กจะได้รับประมาณ 3 พันล้านกีบและวิสาหกิจขนาดกลางจะได้รับ 4 พันล้านกีบ โดยเงื่อนไขของภาคธุรกิจที่จะเข้ามาควรมีแผนธุรกิจและควรได้รับการรับรองจากองค์กรภาคการค้าและอุตสาหกรรมก่อนถึงจะมีสิทธิ์ในการได้รับการพิจารณาให้กู้เงินในกองทุนดังกล่าวได้ โดยในปีที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดีจากการที่ภาคธุรกิจแต่ละขนาดมีการพัฒนาในการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยส่งเสริมในการผลิต รวมถึงมีระบบจัดการที่ดีขึ้นมีหลายๆธุรกิจที่ขยับตัวเองจาก SMEs มาเป็น MSMEs ซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ถึงการประสบความสำเร็จของโครงนี้ เป้าหมายในอนาคตจะมีการอนุมัติสินเชื่อให้เพิ่มเติมแก่ธุรกิจต่างๆเพื่อให้ครอบคลุมทั่วสปป.ลาว เป็นการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในสปป,ลาวเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/smes-set-benefit-special-funding-scheme-115096

การระบาดของ Covid-19 อาจส่งผลต่อรายรับการจัดเก็บภาษีของกัมพูชา

กรมสรรพากร (GDT) กล่าวถึงการระบาดของ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้จากเก็บภาษีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายของภาครัฐในการเก็บภาษีปีนี้อยู่ที่ 2,886 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกรมสรรพากรกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพราะไม่ทราบว่าการระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลงอย่างไร ซึ่งรัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลกระทบจากไวรัสที่กำลังเผชิญอยู่ทั้งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการผลิตเสื้อผ้าของประเทศ โดยรัฐบาลได้ใช้มาตรการในการจัดการสถานการณ์ในภาคที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยวล่าสุด (MOT) ในปี 2562 กัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศราว 4.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.4% จากปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม MOT กำลังคาดการณ์ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ว่าจะทำให้รายได้นั้นลดลงเป็นอย่างน้อย 10% ส่วนในมาตรการอื่นๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางการเงินรัฐบาลได้ตัดสินใจยกเลิกภาษีตราประทับ 4% สำหรับทรัพย์สินที่อยู่อาศัยทั้งหมดภายใต้เงื่อนไขมูลค่าสินทรัพย์ไม่เกิน 70,000 เหรียญสหรัฐจนถึงเดือนมกราคมปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698138/covid-19-scuppers-kingdoms-taxman

กัมพูชาขาดดุลทางการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การขาดดุลทางการค้าของกัมพูชาระหว่างประเทศคู่ค้าทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2562 โดยขาดดุลมากกว่า 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐจากรายงานของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 4.83 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 คิดเป็นขาดดุลเพิ่มขึ้น 31.6% จากรายงานที่เผยแพร่ของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ร่วมกับกรมศุลกากรและสรรพสามิตระบุว่ากัมพูชานำเข้า 22.19 พันล้านเหรียญสหรัฐของการนำเข้าในปีที่ การส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่เพียง 14.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปีเดียวกัน โดยผลิตภัณฑ์หลักของกัมพูชาในการส่งออก คือ สิ่งทอ, รองเท้า, ข้าวสารและจักรยานไปยังห้าประเทศหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, จีนและสหราชอาณาจักร ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปคิดเป็น 56.67% ของการส่งออกทั้งหมดขณะที่การส่งออกสิ่งทอและรองเท้าคิดเป็น 8.91% และ 8.72% ตามลำดับ การส่งออกข้าวสารคิดเป็น 2.89% และ จักรยานอยู่ที่ 2.88% โดยสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้า, ยานพาหนะ, น้ำมันปรุงอาหารและวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่มาจากจีน, ไทย, เวียดนาม, ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698301/cambodias-trade-deficit-widens-to-7-66-billion

พาณิชย์เตรียมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่เวียดนาม หวังผลักดันการลงนามข้อตกลง RCEP

กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เร่งพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 ติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint พร้อมเตรียมการประชุมรัฐมนตรี RCEP โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น การพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 การติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน การเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี RCEP และการหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องการดำเนินงานของอาเซียน เป็นต้น

ที่มา : https://www.trjournalnews.com/16415

สปป.ลาวได้รับเงินทุนจากธนาคารโลกเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท

รัฐบาลได้กู้ยืมเงิน 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐผ่านธนาคารโลกในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโภชนาการและความยากจนซึ่งมีกรอบระยะเวลาตั้งแต่ปี 2563-2567 โดยกำหนดเป้าหมายชุมชนทางเหนือของสปป.ลาว นอกจากนี้รัฐบาลยังลงทุน 13 พันล้านกีบในโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรในหลวงน้ำทา หลวงพระบางสะหวันนะเขต สะระวัน เพื่อความยั่งยืนด้านผลผลิตทางเกษตรตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลนด้านอาหารในสปป.ลาว ดังนั้นการได้รัยเงินช่วยเหลือจากธนาคารโลกจะเป็นแรงสนับสนุนอีกก้าวหนึ่งในการที่จะทำให้สปป.ลาวเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและมีความมั่นคงทางด้านอาหารในอนาคต

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-gov’t-taps-us225-million-world-bank-finance-tackle-rural-poverty-115094

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของสปป.ลาว ต้องการความช่วยเหลือจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเรียกร้องให้ภาครัฐฯช่วยเหลือและร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะแก้ไขสถานการณ์การค้าที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งตัวแทนของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน การท่องเที่ยว เป็นต้น ได้มารวมตัวกันที่กรุงเวียงจันทร์เมื่อวานที่ผ่านมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการหาวิธีแก้ไขต่อสถานการณ์ไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ การประชุมหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ได้เสนอประเด็นต่างๆ ในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงการลด/เลื่อนการชำระภาษี และให้ธุรกิจท่องเที่ยวได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าผ่านการโปรโมตกลุ่มเป้าหมายในประเทศ ภายใต้ชื่อ “ลาวช่วยลาว” นอกจากนี้ จากตัวเลขการท่องเที่ยวในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาสปป.ลาว มากกว่า 1 ล้านคน แต่ในปัจจุบันรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามบริษัททัวร์จีนไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจท้องถิ่นสปป.ลาว สูญเสียรายได้ราว 20-25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-tourism-industry-seeks-help-wake-covid-19-slump-115095

ก.แรงงาน เปิดคอร์สฝึกแรงงานเพื่อนบ้าน เสริมความเข้มแข็งภูมิภาคอาเซียน

ก.แรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดคอร์สอบรมแรงงาน เพื่อนบ้าน กว่า 10 หลักสูตร สร้างความเข้มแข็งลุ่มน้ำโขงและในภูมิภาคอาเซียน โดยทางกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าความผันผวนทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย เกิดจากปัจจัยหลายด้าน อาทิ การลดลงของปริมาณกำลังแรงงานไทย การปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็ว ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น รวมถึงนักลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย หันมาลงทุนในประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการแรงงานที่มีความรู้และทักษะฝีมือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ จีงกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ กพร. ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาฝีมือและศักยภาพแรงงานในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อยกระดับขีดความสามารถของแรงงานเพิ่มขึ้น ด้วยจำนวน 13 หลักสูตร อาทิ การออกแบบว็บไซต์ด้านโปรแกรม WordPress การโฆษณาและการตลาดด้านการท่องเที่ยว การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เทคนิคการขับรถยกสินค้าอย่างปลอดภัย และเทคนิคการซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เป็นต้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3102138

ดัชนีอุตฯ IIP เพิ่มขึ้น 6.2% ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งไวรัสข้างต้นส่งผลต่อแหล่งวัตถุดิบนำเข้าจากจีนในอุตสาหกรรมบางอย่าง หากจำแนกภาคอุตสาหกรรม พบว่าภาคแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4, การผลิตไฟฟ้าและจำหน่าย (+8.4%), น้ำประปาและบำบัดน้ำเสีย (+4.9%) แต่การขุดเหมือง (-3.7%) อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญบางอย่างที่อยู่ในธุรกิจ FDI มีการผลิตขยายตัวสูงขึ้น อาทิ ชิ้นส่วนโทรศัพท์เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30, โทรศัพท์มือถือ (+25.5%), สมาร์ทโฟน (+3.2%), ถ่านหินสะอาด (+10.3%) และการผลิตไฟฟ้า (+8.6%) นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของสำนักงาน GSO ระบุว่าจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่รัฐและธุรกิจ FDI จากข้อมูลข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการพร้อมที่จะฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/iip-rises-62-in-first-two-months-410915.vov

ราคาส่งออกข้าวพุ่ง ตามความต้องการเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อไม่นานมานี้ ราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของตลาดบางแห่ง อาทิ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นต้น ทางตลาดมาเลเซียได้ตกลงที่จะซื้อธัญพืชจากเวียดนาม 90,000 ตัน และจะนำเข้าเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า สำหรับเกาหลีใตให้โควตานำเข้าอาหารเวียดนาม 55,112 ตันในปีนี้ ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจำนวนมากจากเวียดนาม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2562 และคาดว่ายังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดในปี 2563 คิดเป็นปริมาณนำเข้า 2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปข้าวเวียดนาม เพื่อที่จะเตรียมนำเข้าในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ จีนที่เคยเป็นตลาดข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปีนั้น แต่ในปี 2562 ยอดส่งออกข้าวไปยังประเทศดังกล่าวลดลงอย่างมากร้อยละ 64.2 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัวสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-prices-surge-amid-high-demand/169579.vnp

รัฐบาลเมียนมาเดินหน้าควบคุมกิจการแพประมง

กรมประมงจะทำการจดทะเบียนธุรกิจแพประมงที่จ้างคนงาน 30 คนขึ้นไปเพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎระเบียบใหม่ผู้ประกอบการแพตกปลาอาจจ้างเฉพาะคนงานที่มีบัตรประชาชนและรับรองว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ในระหว่างการประชุมกับสมาชิกสภานิติบัญญัติผู้ประกอบการเห็นด้วยกับรายการตรวจสอบ 16 จุดเพื่อตรวจสอบการดำเนินธุรกิจ สำหรับบทลงโทษที่ฝ่าฝืนจะปรับสูงถึง 3 ล้านจัต (2,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และการห้ามทำประมงสามเดือน เมื่อปีที่แล้วมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนได้รับบาดเจ็บบาดเจ็บหรือสูญหายเนื่องจากการล่องแพในเขตอิระวดี เมื่อปลายปีที่แล้วมีรายงานว่านักศึกษาของ Dagon University ถูกค้ามนุษย์และถูกบังคับให้ทำงานบนแพตกปลาก่อนที่จะถูกช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-moves-regulate-raft-fishing-businesses.html