ราคาน้ำตาลเคลื่อนไหวผันผวน หนุนราคาอ้อยพุ่งขึ้น 60,000 จัตต่อตัน

ชาวไร่อ้อยจากตำบลที่-กไหย่ง์ อำเภอกะตา  เขตซะไกง์ เผย หลังขึ้นราคาน้ำตาล ราคาอ้อยพุ่งขึ้นเป็น 60,000 จัตต่อตัน จากปีที่แล้วอยู่ที่ 43,000 จัตต่อตัน ในช่วงฤดูหีบอ้อยที่ผ่านมาเก็บเกี่ยวอ้อยได้เพียง 400,000 ตันทั่วประเทศ ลดลง 100,000 ตันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนต้นทุนการเพาะปลูกต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 600,000-700,000 จัต และหนึ่งเอเคอร์เก็บเกี่ยวอ้อยได้ประมาณ 30 ตัน ปัจจุบันมีการปลูกอ้อยประมาณ 65,850 เอเคอร์ในจังหวัดชเวโบ จังหวัดกั่นบะลู และจังหวัดกะทะ ของเขตซะไกง์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ราคาอ้อยถูกกำหนดไว้ที่ 40,000 จัตต่อตัน ในปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-hike-rally-continues-sugarcane-price-surges-to-over-k60000-per-tonne/

ข้าวเปลือกเก่า เมืองบ้านเมาะ เขตซะไกง์ พุ่ง ตะกร้าละ 8,000 จัต

ข้าวเปลือกเก่าขายในราคา 8,000 จัตต่อตะกร้า (1 ตะกร้าเท่ากับ 46 ปอนด์) ของเมืองบ้านเมาะ อำเภอกะตา เขตซะไกง์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยราคาก่อนหน้าอยู่แค่ 4,000 จัตต่อตะกร้า จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ปีนี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 80 ถึง 100 ตะกร้าต่อเอเคอร์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกในบ้านเมาะ มากกว่า 4,000 เอเคอร์ และชาวนามักปลูกข้าวพันธุ์ชิน 3 ทั้งนี้ราคาข้าวเปลือกตามเกณฑ์ที่รับซื้อ อยู่ที่ความชื้น 14% ตั้งราคาไว้ที่ 540,000 จัตต่อ 100 ตะกร้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/old-rice-paddy-fetches-k8000-per-basket-in-bamauk-township/#article-title

จีนไฟเขียวนำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมา

ประเทศจีน ไฟเขียวอนุญาตให้นำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมาได้แก่ อ้อย ยางพารา ทรากาคานกัม (tragacanth gum) และฝ้าย ผ่านมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ในรัฐฉาน แต่ทั้งนี้ต้องรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเสียก่อน ซึ่งก่อนหน้าจีนปิดด่านชายแดนทั้งหมดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยปกติแล้ว เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด อ้อย และพริก ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut Make Pack) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค จากข้อมูลพบว่า มูลค่าการนำเข้าผ่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ อยู่ที่ 461.378 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ซึ่งลดลง 541.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-greenlights-import-of-myanmar-industrial-crops/#article-title

ค้าต่างประเทศเมียนมา ลดฮวบ 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าระหว่างของเมียนมา ณ วันที่ 22 ต.ค.65 ในปีงบประมาณย่อย พ.ศ.2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ดิ่งลง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือ 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว.การค้าชายแดนลดลงเนื่องจากการปิดด่านชายแดนโดยคู่ค้าหลักอย่างจีนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นกว่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันผู้ค้ามีปัญหาในการทำธุรกิจเนื่องจากข้อจำกัดของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ โดยสินค้าส่งสำคัญ ได้ แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ภาคการส่งออกของประเทศพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เน้นลดขาดดุลการค้า ส่งเสริมการส่งออก และกระจายตลาดให้มากขึ้น จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ การค้าระหว่างประเทศในปีงบประมาณ 2563-2564 อยู่ที่ 29.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-down-by-263-mln-this-fy/#article-title

ถั่วดำ เป็นที่ต้องการในตลาดมัณฑะเลย์

ถั่วดำ ผลผลิตในเขตชลประทานจากเมืองมาดายา ซิงกู เมียง โมนยวา และเยซาเกียว เป็นที่ต้องการในตลาดมัณฑเลย์ ส่งผลให้ราคาถั่วดำพุ่งสูงขึ้น โดยราคาเมื่อปีที่แล้ว ถั่วดำต่อถุงราคาอยู่ที่ 85,000 จัต แต่ในปีนี้ พุ่งเป็น 130,000 จัต ในช่วงเวลาเดียวกัน เทรดเดอร์คาดการณ์ว่าสต็อกผลผลิตถั่วคาดว่าจะต่ำในปีนี้เนื่องจากความต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่องจากอินเดีย แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการเพาะปลูกเพราะเป็นฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ ในบรรดาการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาร์ ถั่วดำเป็นพืชส่งออกที่ทำกำไรได้มากที่สุด ผู้ค้าถั่วเห็นว่าควรขยายการเพาะปลูกเป็นพืชผลต่อเนื่องในภูมิภาคในลุ่มแม่น้ำเพราะทำการเพาะปลูกได้ง่าย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/irrigated-black-beans-enter-mandalay-market/#article-title

 

ปีงบฯ 63-64การส่งออกวัว ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ลดฮวบ 88.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของเมียนมาในปีงบประมาณ 2563-2564 แตะระดับต่ำสุดที่ 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดฮวบลง 88.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2562-2563 ที่ 107.7 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากจีนระงับการนำเข้าปศุสัตว์บริเวณชายแดน ซึ่งการส่งออกวัวที่มีชีวิตพึ่งพาจีนเป็นหลักเนื่องจากได้ราคาดี แม้จะมีตลาดภายอื่นๆ เช่น ลาว ไทย มาเลเซีย และบังคลาเทศ โดยเมียนมาจะส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองการตรวจสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม จากการสำรวจในปี 2561 พบว่า เมียนมามีวัวในประเทศจำนวน 11.5 ล้านตัว ตั้งแต่ปี 2560 เมียนมาส่งออกวัวไปแล้วมากกว่า 540,000 ตัว ทั้งนี้กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทานจะมุ่งมั่นลงทุนในธุรกิจการเลี้ยงโคนมและธุรกิจ การผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/exports-of-cattle-animal-products-down-by-88-9-mln-in-fy2020-2021/

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา พุ่ง 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 15 วันแรกของเดือนตุลาคม 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (Mini Budget) ตั้งแต่ ต.ค. 2564 ถึง มี.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564  ที่ส่งออกสูงถึง 87.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จีนคู่ค้าหลักซึ่งปิดพรมแดนทั้งหมดจากการระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ซึ่งการระบาดกระทบต่อกลุ่มสินค้าส่งออก เช่น สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ฯ ส่วนใหญ่สินค้าเกษตรส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังให้ความช่วยเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-132-9-mln-as-of-15-oct/

“ราคาข้าวในประเทศดิ่ง” จากการบริโภคที่หดตัวลง

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย ราคาข้าวทั้งคุณภาพสูงและช้าวคุณภาพต่ำในประเทศลดลงเล็กน้อย ในตอนนี้ ข้าวหอม “Pearl Paw San” ราคาอยู่ที่ 47,000 จัตต่อถุง ลดลงเหลือ 46,000 จัตต่อ ในทำนองเดียวกัน ราคาข้าว. “Kyarpyan” อยู่ในช่วง 49,000-50,000 จัตต่อถุง ขยับลดลงเหลือ 47,500-48,000 จัตต่อถุง ในทำนองเดียวกัน ก่อนหน้านี้ ราคาข้าวคุณภาพต่ำตั้งไว้ที่ 26,500 จัตต่อถุง แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 25,000 จัตต่อถุง ข้าวอายุ 90 วัน ซื้อขายกันในราคา 31,000 จัตต่อถุง แต่ตอนนี้มีราคาเพียง 30,000 วอนต่อถุงเท่านั้น โดย MRF ให้ข้อมูลว่าราคาข้าวที่ลดลงน่าจะเกิดจากความต้องการบริโภคข้าวในประเทศที่ลดน้อยลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-rice-price-falls-slightly/#article-title

ปลาดาบเงินตากแห้งขายราคาดีที่ตลาดเจาะพยู

พ่อค้าปลา เผย ปลาดาบเงินตากแห้งในจังหวัดเจาะพยู รัฐยะไข่ เป็นที่นิยมจากผู้ซื้อและขายดีเป็นอย่างมากที่ตลาดเจาะพยู โดยขายในราคา 4,500 จัต จากเรือลากอวน และนำมาขายต่อที่ 5,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) นอกจากการนี้ยังนำไปขายในเมืองมเยาะอู้, เจาะตอ, มี่น-บย่า, อ้าน, ทัตตาอุง และย่าน-บแย ในรัฐยะไข่อีกด้วย แต่ทั้งนี้ไม่สามารถส่งไปขายยังเมืองใหญ่ๆ เช่น ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และมัณฑะเลย์ และต่างประเทศได้เนื่องจากไม่มีการติดต่อรับซื้อ ปลาดาบเงินเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่างาทัยเวแห้งในรัฐยะไข่ ใช้สำหรับทำน้ำพริกและเป็นอาหารแห้งโดยการย่าง ทอด หรือทำเป็นสลัดรวมทั้งรับประทานกับอาหารเช้าแบบดั้งเดิมของเมียนมา เช่น ข้าวเหนียวร้อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/dried-ribbonfish-marketable-in-kyaukpyu/#article-title

ต.ค. 64 ชาวประมงมีรายได้จากการส่งออกไประนอง 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายได้รวม 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกประมงมากกว่า 14,037 ตัน ไปยังจังหวัดระนอง ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 21 ต.ค. พ.ศ. 2564 เนื่องจากอำเภอเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประกอบธุรกิจการประมงเป็นหลัก ซึ่งช่วงนี้เป็นฤดูจับปลาชาวประมงมีกำไรจาการการจับปลา ได้อย่างน้อย 22 วันต่อเดือน โดยปัจจุบันราคาสินค้าประมงในตลาด ได้แก่ กุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ กก.ละ 60 บาท และเต่าขนาดเล็กราคา 90 บาท และขนาดใหญ่กว่า กก.ละ 120 บาท ซึ่งอนุญาตให้ใช้อวนจับปลาตามที่กรมประมงกำหนดเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/usd-15-42-million-earned-from-fishery-exports-to-ranong-in-october/#article-title