ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ

วิจัยกรุงศรีฯ ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ คาดไวรัสโควิดจบมี.ค.นี้หนุนนักท่องเที่ยวดีครึ่งปีหลัง ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกจะขยายตัวติดลบ 0.7% แต่เชื่อว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลัง โดยคาดหวังว่าจะมีนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในเดือนมี.ค.นี้เหลือ 0.75% จากปัจจุบัน 1% และรอภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มหลังจากงบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้คาดกลางเดือนมี.ค.นี้ ทั้งนี้จากที่ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 1.5% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมากจนอาจกระทบต่อเนื่องถึงภาคการผลิต การจ้างงาน และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ขณะเดียวกันงบประมาณ 63 ที่ล่าช้ายังส่งผลให้งบเบิกจ่ายสูญเสียไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท คาดหลังจากเดือนมี.ค.นี้เมื่องบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้ โดยรัฐบาลจะต้องเร่งเบิกจ่ายให้เร็วที่สุดอาจมีเหลือ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมางบประมาณล่าช้ากระทบต่องบลงทุนภาครัฐและลงทุนเอกชนเพราะโครงการลงทุนภาครัฐไม่ชัดเจน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรเริ่มจากช่วยกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยในประเทศ เช่นที่ผ่านมาแจกเงินเช็คช่วยชาติ ยังทำให้ห้างร้านได้ลดราคา ให้คนที่ไม่ได้เช็คช่วยชาติได้เข้าถึงสินค้าที่ลดราคานั้นด้วย ยิ่งทำให้เกิดกำลังซื้อเพิ่มได้อีก อย่างไรก็ตามไวรัสโควิด-19 คาดจะไม่ยืดเยื้อ เชื่อว่าจะกระทบเศรษฐกิจสูงสุดเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ และจะค่อย ๆ ลดลง หลังเดือนพ.ค.จากอัตราการแพร่กระจายจะลดลง โดยครึ่งปีหลังเมื่อไวรัสฯ กลับมาดีขึ้น จะทำให้การท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาดีขึ้นตามไปด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/759323

แรงงานเมียนมาไม่หวั่นพิษโคโลน่ากลับเข้าทำงานในจีนเพิ่มขึ้น

ในไม่กี่วันที่ผ่านมาแรงงานเมียนมากลับไปยังประเทศจีนเนื่องจากโรงงานที่ตั้งอยู่ระหว่างสองประเทศยังเปิดทำการปกติ

แม้ว่าภูมิภาคโคโรนาไวรัสจะยังคงปิดอย่างต่อเนื่อง โรงงานในจีนกำลังเรียกคนงานกลับมาที่นี่ ทุกวันมีผู้คนราวหมื่นคนเดินทางกลับประเทศจีนผ่านประตูชายแดนมูเซ นอกจากนี้ยังมีบางคนที่ไปตอนเช้าและกลับตอนเย็น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 63 ตลาดผลไม้ของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมูเซ (Muse 105th Mile Border Trade Zone) มีรถบรรทุก 230 คันบรรทุกแตงโมและบรรทุกเมลอน 219 คัน มาขาย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/more-myanmar-workers-returning-to-their-jobs-despite-virus-threat

ภาคการขนส่งสปป.ลาวกำลังเติบโตอย่างมาก

การขนส่งสินค้าและพัสดุในสปป.ลาวกำลังเติบโตจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ e-commerce ในประเทศ โดยหนึ่งในผู้ให้บริการจัดส่ง ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้อย่าง HAL Logistics Co Ltd ซึ่งเป็น บริษัทขนส่งสินค้าในเวียงจันทน์เป็นหลักและยังมีบริการขนส่งทั่วสปป.ลาวอีกด้วย โดยในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่ง Mr Sisavath Mayongseun ผู้จัดการของบริษัทกล่าวว่า “ สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องให้บริการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้” โดยในอนาคตภาคการขนส่งทางบกจะเป็นภาคการขนส่งที่สำคัญเพราะด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่สปป.ลาวไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การขนส่งหลักๆจะมาจากทางบกไม่ว่าจะเป็นทางถนนที่มีการเชื่อมต่อทั่วสปป.ลาวและไปสู่ประเทศรอบๆ นอกจากนี้การขนส่งทางรถไฟในอาคตเมื่อโครงการรถไฟลาว – ​​จีนแล้วเสร็จจะทำให้การขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นช่องทางการค้าและการลงทุนที่สำคัญแก่สปป.ลาวต่อไป

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/freight-company-keen-cash-e-commerce-boom-laos-114397

โครงการทางด่วนพนมเปญ-เบเวตของกัมพูชาอยู่ในระหว่างการศึกษา

การศึกษาการก่อสร้างทางด่วนเชื่อมโยงเมืองหลวงกรุงพนมเปญไปยังเมืองเบเวต ที่ติดกับชายแดนของเวียดนามได้ดำเนินการแล้ว ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการประกาศโดยรัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง เกี่ยวกับกรอบข้อตกลงที่ได้รับการลงนามระหว่างกระทรวงและบริษัทจีนแห่งหนึ่ง ภายใต้การลงนามเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยการศึกษาจะใช้เวลาแปดเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์และรายงานการศึกษาจะถูกส่งไปยังรัฐบาลที่จะทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนโครงการทางพิเศษนี้ ซึ่งการศึกษาครั้งแรกของโครงการทางด่วนพนมเปญ-เบเวตดำเนินการโดย JICA แต่รัฐบาลพบว่าโครงการอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากเกินไป โดยทางด่วนสายแรกที่เชื่อมระหว่างพนมเปญกับจังหวัดชายฝั่งของพระสีหนุทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างทางพิเศษมีระยะทางมากกว่า 190 กิโลเมตร โดยมีกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2566

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50693876/phnom-penh-bavet-expressway-project-under-study

เสียมราฐเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมข้าวเพื่อความยั่งยืน

การประชุมสุดยอดด้านข้าวเพื่อความยั่งยืนครั้งแรกในกัมพูชาจัดขึ้นในจังหวัดเสียมราฐโดยมีตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตร ผู้ผลิตข้าวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจำนวน 180 คน ได้หารือเกี่ยวกับการปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ โดยการประชุมจัดโดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF), Amru Rice และ บริษัท สหกรณ์การเกษตรกัมพูชา จำกัด (มหาชน) (CACC) โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกัมพูชา ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีที่ปรึกษาอาวุโสของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ, ประธาน CACC และประธาน CRF เข้าร่วมด้วย ภายใต้หัวข้อ การสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์การเกษตรในประเทศกัมพูชา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวรวมถึงการอภิปรายที่สำคัญในหัวข้อต่างๆ เช่นการสนับสนุนสหกรณ์ การเข้าถึงการเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและนวัตกรรมการเข้าถึงการเงินสำหรับเกษตรกรรายย่อยและวิธีการก้าวไปข้างหน้าในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าข้าวอย่างยั่งยืน โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารประมาณ 620,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งประธานซีอาร์เอฟกล่าวว่ากัมพูชาตั้งเป้าส่งออกข้าวสารอย่างน้อยหนึ่งล้านตันในปี 2566

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694140/siem-reap-hosts-first-sustainable-rice-summit

พิษไวรัส COVID-19 กระทบค้าชายแดนเมียนมา – จีน ลด 209 ดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกแตงโมและผลิตภัณฑ์ทางทะชายแดนเมียนมา – จีนลดลง 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 14 กุมภาพันธ์ของปีงบประมาณ 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 14,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 2.147 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีนี้ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.053 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าชายแดนลดลงเนื่องจากวันหยุดตรุษจีนและการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ถึง 18 กุมภาพันธ์การค้าชายแดนลดลง 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ส่งออก 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีผลกระทบกับแตงโม, แตงโมหวาน, สินค้าที่เน่าเสียได้และผลิตภัณฑ์ทางทะเล การแก้ไขปัญหานี้รัฐบาลย่างกุ้งร่วมมือกับโรงแรมตากอากาศ เจ้าของร้านอาหาร และผู้ผลิตอาหารในการรับซื้อแตงโมและแตงโมหวานและช่วยเพิ่มการบริโภคในท้องถิ่น

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอาจต้องปิดตัวลงชั่วคราวเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบหากไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบได้จนถึงเดือนเมษายน ซึ่งต้องนำเข้าวัตถุดิบ CMP ผ่านชายแดนจีน – เมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-china-border-trade-declines-209-m-usd-due-to-covid-19

ราคาทองคำพุ่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ราคาทองคำในประเทศเพิ่มขึ้นในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาทองคำโลกทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยบริษัทไซง่อน จิเวลรี (SJC) ระบุว่าราคาขายทองคำอยู่ที่ 45.68 ล้านดอง (1,970.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันก่อนที่ 630,000 ดอง ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่าราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี และเป็นสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องมาจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น หลังผู้เสียชีวิตจากโคโรนา ซึ่งในตลาดท้องถิ่น บริษัท Bao Tin Minh Chau Jewelry ในกรุงฮานอย เปิดเผยว่าในช่วงเวลาข้างต้น มีการทำธุรกรรมทองคำสำหรับผู้ซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 และผู้ขายร้อยละ 45 ขณะเดียวกัน ทางบริษัทระบุในเว็บไซต์ว่านับเป็นโอกาสที่ดีแก่นักลงทุนในการทำกำไร อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าทองคำส่วนใหญ่มองว่าไม่เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากกับจำนวนลูกค้าที่ซื้อทองคำ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gold-prices-soar-at-home-and-abroad/169035.vnp

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ฟื้นฟูการผลิต

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ดำเนินการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการผลิต หลังจากเผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักในช่วงต้นเดือนกันยายนของปีนี้ เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำท่วม ทำให้ปลาหลายสิบตันตาย ซึ่งชาวเกษตรกรท้องถิ่นที่ใช้กรงกรงเพาะพันธุ์ปลา หันมาใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ ‘Do Diem’ โดยสินค้าส่วนใหญ่ใช้ในการบริโภคภายในจังหวัดและตลาดขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าจะดำเนินการป้องกันจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในปีที่แล้ว ส่งผลให้คณะกรรมจังหวัดได้ตัดสินใจที่จะผลักดันเงินรวม 707 ล้านดอง (30,400 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ชาวเกษตรกรที่ใช้กรงดักจับปลา ซึ่งการเลี้ยงปลาที่ใช้กรงเพาะพันธุ์ปลาในพื้นที่เปิดของแม่น้ำจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าลักษณะเพาะพันธุ์ปลาแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคุณภาพและผลผลิตของปลา ดังนั้น นักเพาะพันธุ์ปลาจำเป็นต้องติดตามปฏิทินฤดูกาลและสภาพอากาศ เพื่อที่จะลดความเสียหายให้น้อยที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp

ถกทูตพาณิชย์ปรับทัพส่งออกปี63

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก 28 ก.พ.นี้เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกและปรับทัพใหม่หลังเจอไวรัสโควิด-19ระบาดหนัก  นายสมเด็จ สุสมบูรณ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า  ในวันที่ 28 ก.พ.นี้จะมีการประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลกเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 63  พร้อมทั้งปรับแผนงานการส่งออกในตลาดในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  สงครามการค้าสหรัฐ-จีน  เป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีแผนการหรือกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อกระตุ้นการส่งออกที่แตกต่างกัน ส่วนแผนการการเจาะตลาด 18 ประเทศที่วางไว้ก็คงต้องมีการปรับใหม่เพื่อความเหมาะสมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การระบาดของไวรัสโควิค-19 สำหรับแผนการตลาดที่ต้องต้องปรับใหม่ เช่น แผนการโปรโมทสินค้าผลไม้ในดือนเม.ย.ต้องดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเข้าไปทำกิจกรรมโปรโมทได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็ต้องระงับไว้ก่อน พร้อมกับปรับแผนให้เน้นในเรื่องของการขายออนไลน์ให้มากขึ้น แต่หากว่าจีนคุมสถานการณ์ได้ไว้ เราก็ต้องรีบเข้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด  ขณะเดียวกันก็ต้องมองไปที่ตลาดอื่นๆด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/758828

ส่งออกผักผลไม้เวียดนามลดลง ในเดือนมกราคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกผักผลไม้กว่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งทางกรมการนำเข้าและส่งออกภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในเดือน ม.ค. ยอดส่งออกผักผลไม้ไปยังจีนลดลงมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกลดลงดังกล่าวเกิดจากการประกาศปิดด่านชั่วคราว เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ กระทรวงฯ ได้เสนอให้ธุรกิจปรับการผลิตและส่งออกไปยังตลาดอื่นเพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทางสมาคมผักผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) ตั้งเป้ายอดส่งออกรวมในปี 2563 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะช่วยให้เปิดตลาดใหม่แก่สินค้าเวียดนาม รวมถึงตลาดส่งออกสำคัญที่มีการเติบโต ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-veggie-exports-decline-in-january/168921.vnp