9 เดือน เมียนมาส่งออกไปญี่ปุ่น แตะ 694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แตะระดับ 694.964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เมียนมาได้ดุลการค้า 271.7 964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 966.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดันสามของเมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์เ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุน 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมียนมา ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JICA ได้เสนอเงินกู้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ ODA (Official Development Assistance) เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-to-japan-top-694-mln-in-nine-months/#article-title

ราคาข้าวเมียนมา พุ่ง 2,800 จัตต่อถุง สูงสุดภายใน 1 เดือน

ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นจาก 800 จัตเป็น 2,800 จัตต่อถุงภายในหนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 1 ส.ค.64 ราคาข้าวเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 27,500-42,100 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและพันธุ์ข้าว ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 29,100—44,900 จัตต่อถุง ในวันที่ 31ส.ค.64 ราคาเริ่มขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ราคาข้าวในปี 63 จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน ดังนั้นคาดว่าราคาน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ มาตรการควบคุณการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา คาดว่าจะยังคงยืนราคาไปอีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-rises-by-k2800-per-bag-in-maximum-within-one-month/

Economist ชี้ ย่างกุ้งรั้งท้ายอันดับที่ 60 เมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ของปี 2021

ย่างกุ้งติดอันดับหนึ่งใน 60 เมืองที่ต่ำที่สุดในดัชนีเมืองปลอดภัยปี 2564 ในการจัดอันดับของ Economist Intelligence Unit .ในปีนี้ โดยอิงจากสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยเมืองซิดนีย์หนึ่งในเมืองที่มีความปลอดภัยทางดิจิทัลมากที่สุดในโลก ส่วนย่างกุ้งอยู่ในลำดับที่ 60 ด้านความมั่นคงของสุขภาพ ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ส่วนเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นอยูในลำดับที่ 1 ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ส่วนสิงคโปร์ โคเปนเฮเกน โตรอนโต และ โตเกียว อยู่ในอันดับต้นๆ ในแง่ของความปลอดภัยส่วนบุคคล ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 58 ขณะที่โคเปนเฮเกนเป็นหนึ่งในเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 54 ในด้านความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนอันดับหนึ่งคือเมืองเวลลิงตัน โดยภาพรวมแล้ว ย่างกุ้งอยู่ในอันดับที่ 60 ด้วยคะแนนรวม 39.5 คะแนน

ที่มา : https://news-eleven.com/article/214875

สิงคโปร์กลายเป็นประเทศนำเข้าหลักอันดับสองของเมียนมา

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย สิงคโปร์กลายเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมา โดยมีมูลค่าประมาณ 2.14 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณปัจจุบัน มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศสูงถึง 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมีมูลค่า 166.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าถึง 2.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมียนมาขาดดุลการค้า 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) สิงคโปร์จึงกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองในภูมิภาครองจากไทย โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ส่วนการนำเข้าจะเป็นพลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/singapore-placed-myanmars-second-largest-importer/#article-title

ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP ลดฮวบ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ 63-64

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การส่งออกของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่มการตัด การผลิต และบรรจุ (CMP : Cut Make Pack) ดิ่งลงระดับต่ำสุดที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 ในปีงบประมาณ 63-64 การส่งออกลดลงมากกว่า 20% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของตลาดสหภาพยุโรป โดยการส่งออกลดลงกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 62—63 ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีแม้มีสิทธิพิเศษทางการค้าจากประเทศตะวันตกและเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ แต่เกิดการหยุดชะงักในภาคการขนส่งและอุปทาน และผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้เมียนมาส่งออกเสื้อผ้า CMP ไปยังตลาดหลัก เช่น ในญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สาธารณรัฐเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cmp-garment-exports-plummet-to-us2-5-bln-in-current-fy/

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดีย พุ่ง 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การค้าระหว่างเมียนมาและอินเดียเพิ่มสูงขึ้นกว่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยมูลค่าการค้าชายแดนของเมียนมาแตะ 194 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 20 ส.ค. ของปีงบประมาณนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค.64 แบ่งเป็นการส่งออก 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 1.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่าชายแดน Tamu, Reed และ Thantlang ในขณะที่การค้าของสองประเทศส่วนใหญ่ส่งทางเรือ โดยสินค้าส่งออกหลักๆ จะเป็น ผักและผลไม้ ประมง และผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ขณะที่การนำเข้าจะเป็น ยา สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถจักรยานยนต์ เส้นด้าย ฝ้าย เหล็กกล้าไม่เจือ และวัสดุก่อสร้างอื่นๆ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-rises-as-of-20-aug/

ราคาส่งออกถั่วแระเมียนมา มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น

เมื่อปลายเดือนส.ค.64 ราคาถั่วแระ เพิ่มขึ้นกว่า 1,320,000 จัตต่อตัน พุ่งจากช่วงเดือนเม.ย.64 ที่ราคา 1,000,000 จัตต่อตัน ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นอินเดีย และมีบางส่วนส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 13 ส.ค. 64 ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วแระคิดเป็น 183,507 ตัน สร้างรายได้ 122.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาอินเดียกำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ เมียนมาสามารถส่งออกถั่วดำ (urad) จำนวน 250,000 ตันและถั่วแระจำนวน 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G-to-G (รัฐบาลต่อรัฐบาล) ในปีงบประมาณ 64-65 และปี 68-69 ตาม MoU สองประเทศที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 64 ขณะที่ผลผลิตถั่วดำของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันต่อปีและถั่วแระ 50,000 ตันต่อปี ทั้งนี้เมียนมาส่งถั่วพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 1.6 ล้านตัน โดยเฉพาะถั่วดำ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกไปแล้วกว่า 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-remains-on-upward-trend/

ราคาเมล็ดผักชีเมียนมาพุ่ง ตามความต้องการของต่างประเทศ

ราคาเมล็ดผักชีในเมียนมาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนส.ค.64 จากความต้องการที่สูงขึ้นของบังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน อีกทั้งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและต้นทุนเพาะปลูกไม่สูงมากสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ซึ่งบังคลาเทศนำเข้ามาใช้สำหรับทำผงเครื่องเทศทุกปี โดยราคาอยู่ที่ 650-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และใช้ในธุรกิจผงปรุงมาซาลา การปลูกเมล็ดผักชีเริ่มในเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม ปลูกมากในเขตมัณฑะเลย์และเขตมะกเว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/coriander-seed-prices-rise-on-strong-foreign-demand/#article-title

ราคามันฝรั่งในตลาดค้าปลีก พุ่ง !

ราคาของมันฝรั่งยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นของตลาด โดยปกติราคามันฝรั่งจะสูงเฉพาะในฤดูมรสุม แต่ปีนี้ราคามันฝรั่งเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เมื่อวันที่ 1 ก.ค.64 มันฝรั่งราคาอยู่ที่ 820 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ในตลาดค้าส่ง ต่อมาพุ่งขึ้นเป็น 1,270 จัตต่อ viss ณ สิ้นเดือนก.ค.64 ต่อมา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ราคามันฝรั่งอยู่ที่ 950 จัตต่อ viss ในตลาดค้าส่ง และพุ่งขึ้นเป็น 1,600 จัตต่อครั้งในตลาดค้าปลีก นอกจากนี้ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศมีความผันผวนมาก เช่น หัวหอมและกระเทียมมีแนวโน้มสูงขึ้น ราคากระเทียมราคาจะเคลื่อนไหวในช่วง 2,600-4,800 จัตต่อ viss ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระเทียม (พันธุ์ Kyukok) ที่นำเข้าจากจีนขาดแคลนเนื่องจากการปิดด่านชายแดนส่งผลให้ราคาในตลาดค้าปลีกพุ่งสูงขึ้น ส่วนหัวหอมจากเมืองมยินจาน (Myingyan) ราคาอยู่ที่ 480-520 จัตขึ้นอยู่กับขนาด

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/potato-price-jumps-in-retail-market/#article-title

ปีงบฯ 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาพุ่ง ! 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แม้ว่าการส่งออกสินค้าอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 สะท้อนการเพิ่มขึ้น 913.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งการส่งออกเมื่อปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งมีมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบความต้องการจากต่างประเทศในกลุ่มสินค้าอื่นๆ สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ โดยการส่งออกของอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็น 35% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล ฯลฯ ส่วนตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น ต้นทุนการผลิต การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะ และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-us-4-2-bln-during-oct-july-period/