การค้าเมียนมาหดตัว เซ่นพิษ COVID-19

5 สัปดาห์แรกของปีงบประมาณ 63-64 มูลค่าการค้าของเมียนมาลดลงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดยในปีนี้มีมูลค่าการค้ามากกว่า 2.53 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับ 3.99 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แม้จะมีแนวโน้มลดลงแต่กระทรวงพาณิชย์ได้เพิ่มเป้าหมายในปีงบประมาณปัจจุบันขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีการส่งออก 16.2 พันล้านเดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดซึ่งประกอบด้วยการส่งออกที่ลดลง 70% ในปีนี้ การส่งออกเครื่องนุ่งห่มก็ลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับแผนในการกระตุ้นการค้าในปีนี้ โดยกำลังวางแผนเพิ่มการผลิตพืช เช่น ข้าวและข้าวโพดในการส่งออกเพื่อชดเชยสำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งออกลดลง ส่วนการนำเข้าก็ลดลงเช่นกันเนื่องจากความต้องการภายในประเทศลดลง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-soften-back-covid-19.html

เมียนมามีแผนปรับปรุงการภาคบริการเพื่อรับมือ COVID-19

กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวพยายามปรับปรุงบริการในภาคการท่องเที่ยวเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานการฟื้นฟูยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของเมียนมาที่ได้จัดทำขึ้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดของโควิด -19 ทั้งนี้ธุรกิจต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19 เพื่อกลับมาเปิดการดำเนินการใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ประกอบการกล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการฟื้นตัว คาดว่าจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากยกเลิกข้อจำกัด โดยเริ่มจากการท่องเที่ยวในประเทศก่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวกล่าวว่ากระทรวงจำเป็นต้องร่วมมือกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-hotel-ministry-plans-improve-services.html

เมียนมาเริ่มส่งออกอะโวคาโดไปอังกฤษ

จากประกาศของสถานทูตเมียนมาในกรุงลอนดอน เมียนมาเริ่มส่งออกอาโวคาโดจำนวนครึ่งตันไปยังอังกฤษ ได้แก่สายพันธ์ Amara (พันธุ์ท้องถิ่น) Hass และ Buccaneer โดยสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผักและผลไม้แห่งเมียนมา (MFVP) ได้เชื่อมโยงธุรกิจกับหอการค้าอังกฤษโดยในการส่งออกตัวอย่างสินค้าไป ทั้งยังได้รับความสนใจจากทั้งสิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน โดย 85% ของอาโวคาโดถูกส่งออกไปยังไทยเนื่องจากการค้าชายแดนหยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 62 จึงไม่มีการส่งออกไปยังจีน ซึ่งราคาต่อตันในตลาดอังกฤษอยู่ที่ประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดไทย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-avocado-exported-britain-london-embassy.html

UMFCCI คาดปีงบฯ นี้ จีน รั้งประเทศลงทุนอันดับต้นๆ ในเมียนมา

จากข้อมูลของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา(UMFCCI) ปีงบประมาณ 63-64 นักลงทุนจากจีนจะเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยเงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งจะมุ่งไปที่โครงสร้างพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) จีนลงทุนกว่า 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 375 ธุรกิจในเมียนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 59-60  นอกจากจีนแล้วประเทศที่มีศักยภาพน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ กระตือรือร้นที่จะเร่งการลงทุนโครงการปัจจุบันของจีนบางส่วนในประเทศหลังจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะเพิ่มการลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว และการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในปี 63-64 เมียนมาตั้งเป้าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไว้ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 64-65 โดยมีเป้าหมายในปีนี้เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนในภาคเกษตรกรรม การประมง อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-forecast-be-top-myanmar-investor-fiscal-year-umfcci.html

DHL Express เพิ่มการลงทุนในเอเชียรองรับอีคอมเมิร์ซขยายตัว

บริษัท DHL Express ลงทุนเกือบ 750 ล้านยูโรเพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายทั่วโลกในอีกสองปีข้างหน้า โดย 60 ล้านยูโรจะขยายเครือข่ายการบินในเอเชียแปซิฟิกและเปิดตัวเส้นทางบินตรงที่เชื่อมต่อศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาคไปยังย่างกุ้งและเวียงจันทร์ของสปป.ลาว DHL คาดว่าปริมาณการจัดส่งในเอเชียแปซิฟิกจะสูงกว่าช่วงพีคของซีซั่นในปีที่แล้วถึง 30-40% ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวและเส้นทางการบินใหม่จะได้ประโยชน์จากตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตและการค้าข้ามแดนในระยะยาว ตั้งแต่ต้นปี 63 DHL ประสบปัญหาการจัดส่งสินค้าออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น 50% (ไม่นับรวมจีน) นอกจากนี้ยังลงทุน 25 ล้านยูโรเพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในบังกลาเทศซึ่งจะรวมสำนักงานและศูนย์บริการบนพื้นที่ 10,000 ตร.ม. โรงงานแห่งใหม่นี้จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 35% และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 65 นอกจากนี้ยังจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ อีกทั้งเครือข่ายสายการบินใหม่จะขยายไปยังปักกิ่งและย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/dhl-express-raises-investment-asia-e-commerce-expands.html

เมียนมาพร้อมเปิดตัวระบบค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 มกราคมนี้

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยพร้อมใช้ระบบการค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 ที่ปรับปรุงพร้อมใช้อย่างเต็มรูปแบบระหว่างการเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมา เมื่อระบบถูกสมบูรณ์ผู้ค้าจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตการส่งออก / นำเข้าทางออนไลน์ได้ ระบบ e-licensing ที่ได้รับการปรับปรุงการสมัครเข้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกันและมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์วางแผนที่จะใช้ TradeNet 2.0 ด้วยเทคโนโลยีและเงินทุนที่จัดทำโดย หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ขั้นตอนการดูแลระบบจะรวดเร็วมากและสามารถลดค่าใช้จ่ายเมื่อมีการย้ายทะเบียนการค้าและใบอนุญาตออนไลน์ภายใต้ระบบเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ผลิตและเกษตรกรส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-launch-tradenet-20-system-january.html

การลงทุนในประเทศยังเพิ่มแม้ COVID-19 ระบาด

จากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) ถึงจะมีการระบาดของ COVID-19 แต่การลงทุนของนักลงทุนและประชากรในเมียนมาในปีงบประมาณ 62-63 มีมูลค่ากว่า 1,88 ล้านล้านจัต ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วประมาณ 200 ล้านจัต โดยอนุมัติให้ธุรกิจใน 130 แห่งลงทุนใน 9 ภาคธุรกิจ ย่างกุ้งได้รับการลงทุนที่สุดโดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 901 พันล้านจัต มัณฑะเลย์ 410 พันล้านจัต ขณะที่รัฐชาน 170 พันล้านจัต และอิรวดี 161 พันล้านจัตตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งนักลงทุนท้องถิ่นต้องได้รับการประเมินความสามารถในการลงทุนโดย Myanmar Investment Commission (MIC) ก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้ลงทุนได้ จากนั้น MIC จะออกใบรับรองซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ในปีงบประมาณ 62-63 มีโอกาสในการทำงานมากกว่า 23,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนของนักลงทุนในประเทศ มีการจ้างงานคนในท้องถิ่น 22,700 คน และแรงงานต่างชาติกว่า 480 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-citizens-raise-investments-country-despite-pandemic.html

ผลสำรวจของเวิลแบงค์ COVID-19 รอบสองในเมียนมาส่งผลกระทบรุนแรงกว่าครั้งแรก

การสำรวจล่าสุดของธนาคารโลกซึ่งเป็นครั้งที่ 4 จาก 8 ชุดที่ได้วางแผนไว้ โดยสำรวจในเดือนกันยายนและครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของธุรกิจในประเทศ 500 ตัวอย่าง ร้อยละ 66 พบว่าไม่มีความพร้อมในการรับมือและธุรกิจการเกษตรขนาดเล็กและขนาดเล็กมีความพร้อมน้อยที่สุด ร้อยละ 83 ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75 ของเดือนสิงหาคม บริษัททุกขนาดประสบปัญหาปิดตัวชั่วคราวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนหลังจากที่รัฐบาลออกคำสั่งห้ามออกจากที่พักสำหรับธุรกิจในย่างกุ้ง ส่วนภาคเกษตรกรรมมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น ยอดขายที่ลดลงยังเป็นที่น่ากังวลสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจากการสำรวจจพบว่า ยอดขายลดลงร้อยละ 93 ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากเดือนสิงหาคม อีกทั้งปัญหาด้านเงินทุนจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้นในเดือนกันยายน มีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ยื่นฟ้องล้มละลายและปลดคนงานออกรวมถึงมีปัญหาด้านการชำระสินเชื่อตามมา จากรายงานยังพบว่าธุรกิจการเกษตรเกือบครึ่งหนึ่งและหนึ่งในสามของบริษัทค้าปลีกและค้าส่งมีแนวโน้มว่าในอีกสามเดือนข้างหน้าจะเริ่มมีการค้างการชำระสินเชื่อ การระบาดของ COVID-19 รอบสองในเมียนมา มีผลให้บริษัทต่างๆ มีความมั่นใจน้อยลงในการเปิดกิจการต่อเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/covid-19-second-wave-more-severe-local-firms-first.html

ทางด่วนเลียบชายฝั่งอิระวดีเริ่มก่อสร้างในปีนี้

จากรายงานของกระทรวงการก่อสร้าง โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งอิระวดีภายใต้ธนาคารโครงการของเมียนมา (Project Bank)  ซึ่งเป็นทางด่วนที่เชื่อมระหว่างเขตอิรวดีและรัฐยะไข่ จะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณนี้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 66-67 โครงการนี้จะเป็นการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งความยาว 274 กม. จากเขตอิรวดีไปยังรัฐยะไข่ เมื่อสร้างเสร็จจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและความปลอดภัยบนทางด่วน การก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งจะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเกษตรและประมงจากเขตอิระวดีและภูมิภาคอื่น ๆ ใกล้เคียงไปยังท่าเรือสำคัญเพื่อการส่งออก ช่วยลดเวลาในการเดินทางและช่วยให้เข้าถึงชายหาดที่มีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น ทั้งยังกระตุ้นการพัฒนาโครงการโรงแรมและรีสอร์ทตามแนวชายฝั่งในภูมิภาค นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงการให้บริการอย่างเช่น สุขภาพ การศึกษา และโอกาสเติบโตของธุรกิจ เป็นต้น Myanmar Project Bank เป็นแพลตฟอร์มบนเว็บที่ออกแบบมาเพื่อเน้นโครงการลงทุนที่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมียนมา (Myanmar Sustainable Development Plan 2014 – 2030: MSDP) โดยสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ www.projectbank.gov.mm ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการทั้งหมดที่สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผน MSDP โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ยังสร้างระบบที่มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ซึ่งเชื่อมโยงโครงการลงทุนที่สำคัญกับแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ธนาคารโครงการเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ มีโครงการทั้งหมด 58 โครงการ ส่วนในเดือนสิงหาคมมีการเพิ่มโครงการอีก 71 โครงการ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 7.9 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-ayeyarwady-coastal-expressway-start-year.html

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกปีงบฯ 63-63 สินค้าเกษตรมีโอกาสเติบโต

เมียนมาคาดปริมาณการค้าปีงบประมาณ 63-64 มีแนวโน้มเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแม้จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยมีปริมาณการค้าสูงถึง 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งการส่งออกลดลงเหลือ 16.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว ในปีงบประมาณ 62-63 ปริมาณการค้าอยู่ที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าที่คาดไว้ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่งออกรวม 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าสูงถึง 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกในปีนี้จะเป็น การเกษตร ปศุสัตว์และประมงเป็นหลักซึ่งคาดว่าจะชดเชยการผลิตสิ่งทอที่ลดลง โดยการส่งออกเสื้อผ้าลดลงกว่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการส่งออกเสื้อผ้าในปี 62-63 มีมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ ในปีนี้มีรายได้รวมเพียง 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งลดลงมากกว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในทางตรงกันข้ามความต้องการพืชผลไม้ เช่น ข้าวโพดเพิ่มขึ้นและการส่งออกถั่วคาดว่าจะมีเสถียรภาพในขณะเดียวกันความต้องการการประมงก็เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทั้งนี้ยังต้องเจอความท้าทาย เช่น ความไม่แน่นแน่ของชายแดนเมียนมา – จีน ความต้องการระหว่างประเทศที่ผันผวน ตลอดจนอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงซึ่งล้วนส่งผลทำให้ราคาไม่คงที่ ในปี 62-63 เมียนมาขาดดุลการค้า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-raises-trade-target-aims-grow-agri-exports-year.html