พาณิชย์เมียนมาประกาศรายชื่อใบอนุญาตนำเข้าสินค้ากว่า 4,000 ชนิด

จากประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ตอนนี้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าสำหรับสินค้าประมาณ 4,000 ชนิดในเมียนมา ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 63 นี้ สินค้ารวม 3,931 ประเภทรวมถึง สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และปลา น้ำมันพืช ผักและพืชผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากป่า เครื่องดื่ม แร่ธาตุ เคมี ยางรถยนต์และเครื่องจักรจะต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าภายใต้รหัสศุลกากรปี 2560 โดยในบรรดาสินค้า 3,931 รายการที่ต้องใช้ใบอนุญาตนำเข้าสามารถยื่นแบบฟอร์มได้ทางออนไลน์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-commerce-ministry-declares-import-license-list.html

ต้นทุนก่อสร้างเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

ราคานำเข้าสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่โควิด -19 ระบาด เนื่องจากปัญหาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งงานก่อสร้างบางส่วนไม่สามารถหยุดได้จึงจำเป็นต้องซื้อวัสดุในราคาที่สูงขึ้น” เช่น ธุรกิจผลิจอิฐลดลงส่งผลให้ราคาอิฐสูงขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-costs-rise-myanmar.html

ตู้คอนเทนเนอร์อาหารทะเล 20 ตู้จอดเกยตื้นที่ท่าเรือซาอุฯ

ตู้คอนเทนเนอร์อาหารทะเลของเมียนมาราว 20 ตู้พยังคงติดค้างอยู่ที่ท่าเรือเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่สำนักงานอาหารและยาของซาอุดีอาระเบีย (SFDA) จัดทำข้อตกลงเพื่ออนุมัติรายชื่อโรงงานประมงของเมียนมาร์ที่นำผลิตภัณฑ์ไปแปรรูป สินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเรือตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคมเมื่อซาอุดิอาระเบียยึดตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนราว 30 ตู้มูลค่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 10 ตู้ได้ผ่านพิธีการศุลกากรหลังจากที่ SFDA อนุมัติโรงงาน 3 แห่งจาก 19 แห่งที่ยื่นขอในซาอุดิอาระเบีย ยังเหลือตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 20 ตู้ที่ท่าเรือเจดดาห์ซึ่งยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับรองโดย SFDA ในปีนี้มีเพียง Ywar Thar Gyi Cold Store ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานห้องเย็น 19 แห่งจากเมียนมาที่ได้รับการอนุมัติจากทางการซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมา SFDA ได้อนุมัติโรงงานห้องเย็นได้แก่ Twin Brothers Seafood Cold Storage, Mega Marine Frozen Seafood และ Delta Queen International Co.

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/20-containers-seafood-stranded-saudi-port.html

ย่างกุ้งได้รับ 16 ข้อเสนอสำหรับการพัฒนาเมืองใหม่

จากข้อมูลของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ รัฐบาลเมียนมาได้รับข้อเสนอการลงทุนทั้งหมด 16 ข้อสำหรับการพัฒนาระยะที่ 1 ของโครงการพัฒนาเมืองใหม่ย่างกุ้ง ภายใต้ Swiss Challenge against China Communications Construction Company (CCCC) คณะกรรมการการประกวดราคาท้าทายของสวิส แสดงความสนใจ (EOI) จาก 9 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อิตาลี สเปน และฝรั่งเศสรวมถึงสองกลุ่มประกอบไปด้วยเมียนมาและพันธมิตรจากต่างประเทศ รายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้จะได้รับคำร้องในการขอข้อเสนอ (RfP) ไม่เกินเจ็ดวันทำการหลังจากกำหนดส่ง EOI ในวันที่ 22 ตุลาคม 63 คณะกรรมการประกวดราคาโดยความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาระหว่างประเทศจะคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุดเพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนา นาย U Theim Wai ซีอีโอของ New Yangon Development Company Limited (NYDC) กล่าว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/yangon-receives-16-proposals-new-city-development.html

เมียนมาโปรโมตการท่องเที่ยวเสมือนจริงหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

กระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมาจะเรียกร้องให้มีการประมูลสำหรับโครงการ digital marketing 12 โครงการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ 2563-2564 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ช่องทางการตลาดตามแบบเดิมมาใช้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สำหรับผู้ที่สนใจในการสร้าง content ส่งเสริมการการท่องเที่ยว เช่น วิดีโอการคุณภาพสูงจะไปยังกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งนายอูอองโซ ไกด์ท้องถิ่นกล่าวว่า นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและควรดำเนินการให้ที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-promotions-go-virtual.html

เมียนมาเร่งปลูกขิงคุณภาพดีเพื่อการส่งออก

เมียนมามองเห็นความต้องการของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เช่น ขิง น้ำผึ้ง และกาแฟ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ความต้องการขิงคุณภาพสูงเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เมียนมาสามารถส่งออกขิงได้เพียงปีละ 1 ตัน ซึ่งสหรัฐฯ มีความต้องการขิงมากกว่า 100 ตัน ดังนั้นเมียนมาจะต้องใช้เวลาในการวิจัยสายพันธุ์ขิงที่ทนทานและมีคุณภาพสูงสำหรับการเพาะปลูกปลูก นักวิจัยและนักลงทุนภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพส่วนกระบวนการผลิตและการเพาะปลูกจะตามมาเอง ขิงจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการส่งออก ปัจจุบันมีประมาณ 5,000 ครัวเรือนที่ปลูกขิงในรัฐฉานตอนใต้ ในอีกห้าปีข้างหน้าคาดว่าจะผลิตขิงได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปีในพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ ในอดีตบังกลาเทศยังนำเข้าขิงจากเมียนมาร์ แต่ปัจจุบันบังกลาเทศสามารถส่งออกขิงแห้งไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-produce-better-quality-ginger-exports.html

ส่งออกข้าวของเมียนมาแตะ 2.5 ล้านตันในปีนี้

จากรายงานของสมาพันธ์ค้าข้าวแห่งประเทศสหภาพเมียนมา (Myanmar Rice Federation :MRF) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวมากกว่า 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 62-63 คิดเป็นรายได้มากกว่า 794.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 570 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณก่อน แต่ผู้ค้าจำเป็นต้องจับตาดูปัจจัยต่างๆ เช่น อุปสงค์ของต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และการเกษตรในประเทศหลัง COVID-19 ในปีงบประมาณ 62-63 ส่งออกข้าวและปลายข้าวไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จีนถือเป็นรายใหญ่แต่การนำเข้าจากฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์ โปแลนด์ กินี เบลเยียม เซเนกัล อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรเพิ่มสูงขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยประมาณ 16% เป็นการส่งออกผ่านชายแดนส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกทางทะเล

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-export-levels-hit-25-million-tonnes-year.html

ตลาดเซโจ เมืองมัณฑะเลย์พร้อมเปิดอีกครั้ง

นาย U Min Min เลขาธิการคณะกรรมการตลาดเผยกำลังขออนุญาตเปิดตลาด13. ตลาดเซโจ (Zegyo Market) ในเมืองมัณฑะเลย์อีกครั้งหลังปิดมานานกว่าหนึ่งเดือน ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 เพื่อไม่ให้ตลาดหยุดนิ่งหรือปิดลง ซึ่งการค้าขายโดยเฉพาะสินค้าตามฤดูกาล เช่น ผ้าห่มและเสื้อกันหนาวเป็นสิ่งที่ขายในในช่วงเทศกาลตาดิงยุต (Thadingyut Festival of Lights) และเทศกาลตาซองดิน (Tazaungdine Festival of Lights) ตลาดแห่งนี้ใหญ่ที่สุดในเมียนมาตอนเหนือและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ พบว่ามีปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและการจ้างงานหากถูกปิดเป็นเวลานาน ทั้งนี้ตลาดจะลดพนักงานลงครึ่งหนึ่งและอนุญาตให้อาคารแค่สี่หลังเปิดทำการตั้งแต่ 8.00 น. ถึงเที่ยงวัน ปัจจุบันมีร้านค้ามากกว่า 5,000 ร้าน ในตลาดแห่งนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-zegyo-market-seeks-ok-reopen.html

โควิดพ่นพิษทำราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น กระทบอาหารแช่แข็งในเมียนมา

ตลาดอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารจานด่วนกำลังประสบปัญหาในระหว่างการระบาดของโควิด -19 ร้านอาหารในท้องถิ่นปิดตัวลงอุตสาหกรรมจึงต้องพึ่งพาตลาดขนาดเล็กและการค้าปลีกออนไลน์ อาหารทะเลส่วนใหญ่ผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากไทยและขายให้กับร้านค้าส่วนใหญ่ เช่น Kyay-Oh, Hot-Pot, Barger, Sushi และ Thai BBQ ผู้ผลิตฟาสต์ฟู้ดลดมีปัญหาด้านโลจิสติกส์และโรงงานอาหารแช่แข็งจึงลดการผลิตลง ในขณะเดียวกันราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมเนื่องจากลดการเพาะเลี้ยงในช่วงกลางเดือนกันยายน โดยต้นทุนการเลี้ยงไก่อยู่ที่ประมาณ 2700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม แต่ราคาในตลาดอยู่ที่ประมาณ 2000 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัมดังนั้นจึงขาดทุนมากกว่า 700 จัตต่อ 1.6 กิโลกรัม โดยปกติชาวเมียนมาบริโภคไก่ประมาณ 14 ล้านตัวต่อเดือนหรือประมาณ 500,000 ตัวต่อวัน แต่ความต้องการลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากโรงแรมร้านอาหารและร้านชาปิดตัวลง ปกติในตลาดเคยขายได้ประมาณ 48 กก. ต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือวันละ 8 กิโล จึงจำเป็นต้องขายผ่านออนไลน์  ร้านค้าปลีกในเขตเมืองกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ในช่วงต้นเดือนกันยายนราคาไก่หน้าฟาร์มต่ำกว่า 1600 จัตต่อ 1.6 กก. และมีความเสียหายประมาณ 50 ล้านจัตต่อวัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rising-prices-hurt-frozen-food-wholesalers-myanmar.html

เกษตรกรเมียนมาได้รับการเยียวยาจากการเวนคืนที่ดิน

กรมจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมียนมายืนยันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมาโดยจะมีการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจำนวน 2 พันล้านจัต โดยจะชดเชยให้แก่เกษตรกรที่สูญเสียที่ดิจากการเวนคืนที่ดินของรัฐบาลที่นำไปสร้างถนนและทางรถไฟ  ภายใต้กฎหมายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระดับชาติคาดว่าจะจัดสรรจำนวนเงินเป็นค่าตอบแทนแก่เกษตรกรล่วงหน้าพร้อมจะขอคำยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-farmers-receive-land-compensation.html