วิกฤตเมียนมาเป็นวาระสำคัญในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 11 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า การประชุมสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดขึ้น 2 วันในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศมีวาระการประชุมเกี่ยวกับพื้นที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์, ปัญหาเมียนมา และจะตามมาด้วยการหารือร่วมกับตัวแทนจากจีน, สหรัฐอเมริกาวอชิงตัน และชาติมหาอำนาจอื่นๆ

ที่มา : https://www.thaipost.net/abroad-news/412234/

‘CIEM’ คาดเศรษฐกิจเวียดนามปีนี้ โต 6.46% และเงินเฟ้อ 4.39%

จากงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน Centre Institute for Economic Management (CIEM) ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเวียดนาม ภายใต้ 3 สถานการณ์ ดังนี้

สถานการณ์แรก มองว่าหากเศรษฐกิจโลกยังคงดำเนินต่อไปได้ และเวียดนามจะยังคงใช้นโยบายในลักษณะแบบเดิมในช่วงครึ่งหลังของปี 2564-2565 ด้วยเหตุนี้ คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 5.34% ในปีนี้ แต่การส่งออกจะหดตัวลง 5.64% และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะเพิ่มขึ้น 3.43%

ในขณะที่สถานการณ์ที่สอง ตั้งสมมติฐานเหมือนกัยสถานการณ์แรก แต่จะมีการปรับนโยบายการเงินผ่อนคลายที่เกี่ยวข้องกับการลดอัตราดอกเบี้ยและสถานการณ์ทางการคลังที่เป็นบวกมากขึ้นในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 5.72% ในปีนี้ แต่การส่งออกจะหดตัวลง 3.66% และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะเพิ่มขึ้น 3.87%

และสถานกาณณ์ที่สาม ตั้งสมมติฐานในเชิงบวกมากขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ด้วยเหตุนี้ คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 6.46% ในปีนี้ แต่การส่งออกจะหดตัวลง 2.17% และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะสูงถึง 4.39%

ที่มา : https://en.sggp.org.vn/vietnams-economic-growth-forecast-at-646-percent-inflation-439-percent-post103486.html

‘สื่ออังกฤษ’ ตีบทความ โอกาสครั้งสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม

สื่ออังกฤษด้านธุรกิจและการเงิน ‘Financial Times’ ลงบทความที่ทำการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่นำไปสู่การผลักดันให้สัญญาต่างๆ และในโอกาสครั้งสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนามที่จะไปสู่การเติบโตสูงสุด และการใช้ความได้เปรียบทางด้านการผลิต เพื่อการส่งเสริมประเทศในระยะยาว ทั้งนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไหลเข้ามาในประเทศสูงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่ากว่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่เข้ามาลงทุน อาทิเช่น เดลล์ (Dell), กูเกิล (Google), ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และ แอปเปิล (Apple) บริษัททั้งหมดในข้างต้นทำการย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมองหาโอกาสที่จะพัฒนามากขึ้นในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ เวียดนามจำเป็นที่จะต้องยกระดับขีดความสามารถในการผลิตให้ดีขึ้น เพื่อตอบสนอบความต้องการที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economic-moment-has-arrived-financial-times/256097.vnp

ค้าชายแดน ‘เมียนมา-จีน’ ไตรมาสแรก พุ่งทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่ามูลค่าการค้าชายแดนเมียนมาและจีน อยู่ที่ราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2566-2567 ตัวเลขของการค้าชายแดนข้างต้น เพิ่มขึ้นจาก 607.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ามูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประมาณ 388.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ ทั้งนี้ เมียนมาทำการค้าชายแดนกับจีนผ่านด่านชายแดนมูเซะ (Muse), ชีงชเวห่อ, กัมปะติ และ เชียงตุง เป็นต้น โดยเฉพาะด่านชายแดนเมืองมูเซะ เป็นด่านชายแดนสำคัญของเมียนมาที่ทำรายได้จากการค้าชายแดนสูงที่สุด ด้วยมูลค่า 657.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ เมียนมาทำการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไทย จีน บังกลาเทศและอินเดีย สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นประเภทเกษตรกรรม ปศุสัตว์และป่าไม้ ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักของเมียนมาจะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบและสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-border-trade-bags-nearly-us1-billion-in-q1/#article-title

CSG พร้อมสร้างสมดุลในการจัดหาพลังงานให้แก่ สปป.ลาว

China Southern Power Grid (CSG) กำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ภายในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง (LMC) โดยเฉพาะในประเทศ สปป.ลาว หลังจากที่ได้รุกลงทุนด้านพลังงานและการค้าภายในภูมิภาคแล้วในปัจจุบัน ด้าน Li Xinhao ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของ CSG กล่าวว่า บริษัท พร้อมให้การช่วยเหลือและร่วมมือกับกลุ่มประเทศในเขตลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-ลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้างสมดุลในด้านการจัดหาไฟฟ้าในภูมิภาค ซึ่งในช่วงฤดูแล้งของ สปป.ลาว ทางการจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ โดยในอนาคต CSG จะสร้างสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นใน สปป.ลาว เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้านพลังงาน ภายในสิ้นปี 2022 บริษัท ได้นำส่งไฟฟ้ากว่า 40,212 GWh ไปยังเวียดนาม 1,228 GWh ไปยัง สปป.ลาว และ 4,969 GWh ไปยังเมียนมา รวมถึงทำการซื้อไฟคืนจากเมียนมา 23,279 GWh

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_132_China_CSG_y23.php

อัตราเงินเฟ้อกัมพูชาลดลงต่ำสุดในรอบ 9 ปี แตะ 0.48%

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) รายงานถึงอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ ลดลงอย่างมากเหลือร้อยละ 0.48 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา หลังจากเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.1 ในช่วงเดือนเมษายน และจากร้อยละ 0.7 ในเดือนมีนาคม แสดงให้เห็นว่าราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการ 6 ใน 10 รายการ มีการปรับตัวลดลงในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะด้านการขนส่งและร้านอาหาร ขณะที่ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซ และเชื้อเพลิงอื่นๆ ก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลกัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมาก ที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ การรักษากำลังซื้อของประชาชน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501321914/inflation-drops-lowest-to-0-48-says-nbc/

ครึ่งปีแรก การค้าระหว่างประเทศกัมพูชาแตะ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาอยู่ที่ 2.369 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต โดยนับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศมูลค่ารวม 1.146 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาปรับตัวลดลงร้อยละ 22.9 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.223 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับกัมพูชา โดยทำการนำเข้าสินค้าจากกัมพูชามูลค่ารวม 4.23 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยเวียดนามที่มูลค่า 1.42 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 สำหรับคู่ค้าหลักอื่นๆ ของกัมพูชาได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501322261/international-trade-tops-23-billion-in-h1/

‘จีน’ เลือก ‘ไทย’ ตั้งโรงงานแบตรถยนต์ไฟฟ้า แห่งแรกในอาเซียน

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เอสวีโอแอลที (SVOLT) ผู้ผลิตแบตเตอรีของจีน จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โรงงานแบตเตอรีโมดูลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันพุธ (5 ก.ค.) ด้วยเป้าหมายเข้าถึงตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาค

ทั้งนี้ รายงานระบุว่า เอสวีโอแอลทีเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสอดคล้องกับกระแสบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าของจีน เช่น จีดับเบิลยูเอ็ม (GWM) เอสเอไอซี (SAIC) และบีวายดี (BYD) ที่เข้าตั้งโรงงานผลิตในท้องถิ่นในไทย ขณะตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้ง หยางหงซิน ประธานและซีอีโอของเอสวีโอแอลที เน้นย้ำบทบาทนำร่องของไทยในฐานะศูนย์กลางระดับภูมิภาคด้านการผลิตและส่งออกยานยนต์ ทำให้เอสวีโอแอลทีมีโอกาสยอดเยี่ยมในการขยับขยายในต่างประเทศและการเติบโตทางธุรกิจ

ที่มา : https://ch3plus.com/news/economy/ch3onlinenews/356955

‘เวียดนาม’ ชี้ช่วง 5 เดือนแรกของปี 66 นำเข้าเนื้อสัตว์ ทะลุ 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 เวียดนามนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทำมาจากเนื้อสัตว์ ปริมาณมากกว่า 239,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.6% ในแง่ของปริมาณ แต่ลดลง 9.1% ในแง่ของมูลค่า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลเฉพาะในเดือนพฤษภาคม พบว่าเวียดนามนำเข้าเนื้อสัตว์ 57.62 พันตัน มูลค่าราว 108.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.5% ในแง่ของปริมาณ แต่ลดลง 10.2% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งนับว่าเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของปริมาณการนำเข้าเนื้อสัตว์เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1550906/vn-spends-over-480-million-on-meat-imports-in-first-5-months.html

‘เวียดนาม’ กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในกลุ่มประเทศอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ระบุว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาและเวียดนาม ทำรายได้สูงถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากมูลค่าการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศที่มีสัดส่วนราว 50% ของเม็ดเงินรวมระหว่างกัมพูชาและประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ จากการเติบโตของการส่งออกกัมพูชาไปยังเวียดนามนั้น ได้รับแรงหนุนมาจากการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้น เนื่องจากเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น โดยเฉพาะข้าว ยางพารา เม็ดมะม่วงหิมพานต์และมันสำปะหลัง เป็นต้น ในขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญจากเวียดนาม ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร เชื้อเพลิงและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-becomes-largest-asean-trading-partner-of-cambodia-media-2163621.html