ออสเตรเลียขยายเทคโนโลยีการจัดการน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลออสเตรเลียกำลังลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อปกป้องปลาและส่งเสริมสุขภาพแม่น้ำและความมั่นคงด้านอาหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของสภาพอากาศทั่วทั้งภูมิภาคแม่น้ำโขง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รองเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำลาว นายแดน เฮลดอน ได้ประกาศขยายความร่วมมือระหว่างออสเตรเลียกับรัฐบาลลาวในเรื่องทางเดินปลาในโครงสร้างการจัดการน้ำ หรือเรียกว่า “บันไดปลา” ซึ่งสร้างขึ้นรอบๆ สิ่งกีดขวาง เช่น เขื่อนชลประทานและฝาย เพื่อให้ปลาสามารถอพยพขึ้นและลงทางน้ำได้ไม่จำกัดเพื่อเข้าถึงแหล่งอาหาร จุดเพาะพันธุ์ และอื่นๆ การลงทุนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของออสเตรเลียในการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาที่เข้มแข็งกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคผ่านโครงการหุ้นส่วนแม่น้ำโขง-ออสเตรเลีย – น้ำ พลังงาน และสภาพภูมิอากาศ โปรแกรมนี้สนับสนุนประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมทั้งลาว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางน้ำ ส่งเสริมพลังงานสะอาด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตปลามีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ของครัวเรือนจำนวนมาก ดังนั้น การปกป้องพันธุ์ปลาจึงมีความสำคัญต่อผู้คน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Over110.php

“เวียดนาม” พุ่งขึ้น 5 อันดับ รั้งอันดับ 54 ระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก

“StartupBlink” ศูนย์กลางข้อมูลด้านระบบนิเวศนวัตกรรม เผยแพร่ดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก (Global Startup Ecosystem Index) จัดอันดับระบบนิเวศแบบครบวงจรทางสตาร์ทอัพ 100 ประเทศทั่วโลก พบว่าในปีนี้เวียดนามกระโดดขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 54 ของโลก และเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 6 มาอยู่ที่อันดับที่ 5 ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงอยู่ในอันดับที่จะแซงไทยได้ในปีหน้า (อันดับ 4) หากยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ทั้งนี้ เมืองโฮจิมินห์อยู่ในอันดับต้นๆ ของเมืองที่มีระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่ดีที่สุดของโลก กระโดดขึ้นจากอันดับที่ 68 สู่อันดับที่ 111 แสดงให้เห็นถึงผลการดาเนินงานในปีที่แล้วที่มีทิศทางที่เป็นบวกและมีสัญญาว่าจะเติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตามการที่จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างแท้จริง เวียดนามจะต้องสร้างนวัตกรรมที่มีผลกระทบในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกได้

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-jumped-five-spots-to-rank-54-in-the-top-global-startup-ecosystems-2029383.html

“IMF” มองเวียดนามกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปี 2564 อยู่ที่ 368 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดอยู่ในอันดับที่ 41 ของโลก โดยสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด มีมูลค่า 22,940 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีน 16,863 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ รายได้ต่อหัวของคนเวียดนาม อยู่ที่ 3,743 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายได้ต่อหัวของคนทั่วโลก พบว่าอันดับ 1 คือ ลักเซมเบิร์ก มี GDP ต่อหัวมากที่สุดในโลก อยู่ที่ 131,302 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน รองลงมาไอร์แลนด์ ($102,394) และสวิตเซอร์แลนด์ ($93,515) เป็นต้น ในขณะที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 ของรายได้ต่อหัวมากที่สุด อยู่ที่ 66,263 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน รองลงมาคือบรูไน ($33,979), มาเลเซีย ($11,125), ไทย ($7,809) และอินโดนีเซีย ($4,225)

ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/daily-hot-news/vietnam-becomes-fifth-largest-economy-in-southeast-asia-imf-598783.html

กัมพูชาส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น 3% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกเนื้อยางแห้ง 105,048 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2022 เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ากว่า 168 ล้านดอลลาร์ ลดลง 1.7% จาก 171 ล้านดอลลาร์ รายงานโดยผู้อำนวยการ General Directorate of Rubber ซึ่งปัจจุบันยางแห้ง 1 ตัน มีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,604 ดอลลาร์ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 71 ดอลลาร์ โดยกัมพูชาได้ทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปยังประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีนเป็นหลัก ในแง่ของการเพาะปลูกกัมพูชาได้ปลูกต้นยางบนพื้นที่ทั้งหมด 404,044 เฮกตาร์ ซึ่งต้นยาง 77% ของพื้นที่เพาะปลูกมีอายุที่สามารถเก็บเกี่ยวได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501092229/cambodias-rubber-export-up-3-pct-in-first-5-months-of-2022/

อิชิตัน วางแผนขยายธุรกิจน้ำอัดลมในกัมพูชา

บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและผู้ทำการตลาดชาเขียวพร้อมดื่มแบรนด์อิชิตัน วางแผนขยายธุรกิจเครื่องดื่มน้ำอัดลม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ด้าน ตัน ภาสกรนที ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท กล่าวว่า บริษัทพร้อมที่จะดำเนินการขยายธุรกิจน้ำอัดลมในเดือนนี้ หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทได้ชะลอการลงทุนลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยนอกจากการที่อิชิตันจะเริ่มขยายตลาดมายังกัมพูชา ยังได้วางแผนที่จะเป็นผู้ผลิต OEM ให้กับบริษัทเครื่องดื่มอื่นๆ ร่วมด้วย ภายใต้กลยุทธ์ “3N” ซึ่งตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายเป็น 10,000 ล้านบาท ภายในสามปี เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6.5 พันล้านในปีก่อน โดยกลุ่มลูกค้าในกัมพูชาบริษัทวางแผนที่จะเจาะกลุ่มผู้บริโภค Gen Z เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501091538/ichitan-eyes-expansion-of-fizzy-drinks-in-cambodia/

ไตรมาส 2 ของปีงบฯ 64-65 เงินเฟ้อเมียนมา พุ่งทะลุ 15.05% เพิ่มขึ้น 3.66% จากไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติกลางของเมียนมา(Central Statistical Organization) เผย ไตรมาสที่ 2 (เดือนม.ค. ถึง เดือนมี.ค. 2565) ของปีงบประมาณ 2564-2565 (เดือนต.ค.2564-เดือนก.ย.2565) อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 15.05% จาก 3.66% ในไตรมาสแรก โดยอัตราเงินเฟ้อของไตรมาสแรก อยู่ที่ 11.39% ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับช่วง 6 เดือนตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.67% จากข้อมูลของธนาคารโลก อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2560-2562 อยู่ที่ 6.4% และ ในสิ้นปี 2563 ลดลงเหลือ 5.2% เนื่องจากราคาไฟฟ้าและอาหารลดลง

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232248

‘บิ๊กตู่’พร้อมผลักดันไทย เป็นศูนย์สุขภาพด้านทันตกรรม

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติด้านทันตกรรม (Dental Hub) โดยจะใช้จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่นำร่อง เชื่อมั่นสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศแล้วยังเพิ่มการจ้างงาน และเชื่อมโยงไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยการเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็น1 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ของไทยที่มีศักยภาพ (New S-curve) ได้แก่ 1.กลุ่มหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2.อุตสาหกรรมการบิน 3.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 4.อุตสาหกรรมดิจิทัล และ 5.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

ที่มา: https://www.naewna.com/business/659829

บริษัทเยอรมนีส่วนใหญ่ 93% ขยายกิจการธุรกิจในเวียดนาม

จากการสำรวจของสมาคมหอการค้าต่างประเทศของเยอรมนี (AHKs) เปิดเผยว่าผู้ประกอบการเยอรมนีส่วนใหญ่ 93% ที่ดำเนินธุรกิจในเวียดนาม มองว่ายังคงลงทุนในเวียดนามต่อไป สำหรับประเด็นมุมมองเศรษกิจในอนาคต ผู้ประกอบการเยอรมนีส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวกใน 12 เดือนข้างหน้า และผู้ตอบมากถึง 46% วางแผนที่จะเพิ่มการจ้างงานในปีหน้า โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจการตัดสินใจที่จะทำการค้าการลงทุนในเวียดนาม ได้แก่ เสียรภาพทางการเมือง ทักษะแรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ นอกจากนี้ เวียดนามมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เนื่องจากเวียดนามมีความได้ปรียบจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/nearly-93-of-german-firms-say-will-expand-vietnam-operations/

“เวียดนาม” ทุ่มเงิน 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำและเหมืองแร่ ในสปป.ลาว

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่าเวียดนามดำเนินการโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydropower) ด้วยมูลค่าทุนกว่า 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเมืองอัดตะปือ สปป.ลาว ทั้งนี้ คุณวิทยา พรหมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่ามีการลงทุนโครงการไฟฟ้าหลายแห่ง อาทิ Xekaman 1, Xekaman Sanxay, Xekong Loum A และ Xekong Loum B คิดเป็นมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 691 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 โครงการพลังงานดังกล่าว รวมไปถึงโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมกับสายส่งหรือสายนำสัญญาณบางส่วน และเงินลงทุนที่เหลืออีก 30.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าไปลงทุนในสถานีแปลงกระแสไฟฟ้า ในขณะเดียวกันเงินลงทุนไหลเข้าไปยังภาคขุดแหมืองแร่ประมาณ 93.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-invests-over-815-million-usd-in-hydropower-mining-in-lao-province/230867.vnp

ในช่วงสองเดือนแรกของปีงบฯ 65-66 ค้าชายแดนมูเซลดฮวบ ! 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การค้าชายแดนมูเซในช่วงสองเดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (วันที่ 1 เม.ย.ถึง 27 พ.ค.)ลดลงมากกว่า 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 184.069 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนมูลค่าการนำเข้า 23.496 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 207.565 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดใน 10 ประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นมูลค่า 4,905.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือไทยที่ 3,172.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น 944.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,อินเดีย 836.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหรัฐอเมริกา 620.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เยอรมนี 426.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สเปน 411.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร  385.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เนเธอร์แลนด์ 366.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ 305.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.62ถึงก.ย.63 ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าระหว่างเมียนมา-จีนมีมูลค่า 12126.278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออก 5401.943 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจาก 6727.335 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

 

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232145