Thai Vietjet เพิ่มเที่ยวบินมุ่งสู่ กรุงเทพฯ – พนมเปญ เริ่ม 16 มี.ค.

Thai Vietjet ได้ประกาศในวันที่ 4 มีนาคม ถึงการที่จะเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) และพนมเปญ โดยจะเปิดดำเนินการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในทุกๆ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ หวังอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจในการเดินทางระหว่างประเทศ นอกเหนือจากบริการที่กล่าวไปข้างต้น Thai Vietjet ยังได้ปรับบริการตารางเวลาระหว่างกรุงเทพฯ และโฮจิมินห์ให้เป็น 6 เที่ยวบิน/สัปดาห์ และในอีกไม่กี่วันข้างหน้า สายการบินคาดว่าจะขยายเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง สิงคโปร์ ไต้หวัน และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับจุดหมายปลายทางอื่นๆ ในอนาคต เพื่อต้องการช่วยผลักดันด้านเศรษฐกิจและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ แม้จะมีการแพร่ระบาดของ Omicron ก็ตาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501036914/vietjet-to-add-more-flights-to-phnom-penh-bangkok-starting-march-16/

คาดส่งออกข้าวกัมพูชาไม่ได้รับผลกระทบจากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน

คาดความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน จะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการส่งออกข้าวของกัมพูชา ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ CRF Lun Yeng กล่าวว่าทั้งประเทศในยุโรปตะวันออกไม่ถือเป็นผู้นำเข้าข้าวสารรายสำคัญของกัมพูชา โดยปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเพียง 17,512 ตัน ไปยังรัสเซียในช่วง 5 ปีระหว่างปี 2017-2021 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.55 ของการส่งออกทั้งหมด 3.19 ล้านตันทั่วโลก ในปี 2021 ซึ่งรัสเซียนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาจำนวน 2,223 ตัน มูลค่า 1.96 ล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน การส่งออกข้าวสารไปยังยูเครนในช่วงปี 2017-2021 อยู่ที่เพียง 572 ตัน โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงรายงานว่ากัมพูชาส่งออกข้าวสารในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ จำนวน 103,058 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 26,836 ตัน หรือร้อยละ 35.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501036920/cambodias-rice-exports-not-impacted-by-russia-ukraine-crisis/

สมาคมปุ๋ย ส่งหนังสือถึง ‘จุรินทร์’ ขอขึ้นราคา แบกไม่ไหว ต้นทุนนำเข้าพุ่ง 100%

วันที่ 8 มี.ค.65 นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เปิดเผยว่าได้ทำหนังสือถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ขอให้ปรับขึ้นราคาเพดานควบคุมปุ๋ยยูเรียทุกชนิด เนื่องจากวิกฤติสู้รบรัสเซีย ทำให้ต้นทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น100% จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสารตั้งต้นผลิตแม่ปุ๋ยยูเรียปรับสูงขึ้น ขณะที่รัสเซีย ยูเครน และเบลารุส คู่ค้านำเข้าหยุดส่งออกมาไทย เพราะปิดท่าเรือ ทำให้ผลผลิตปุ๋ยในประเทศหายไป 6.8 แสนตัน ซ้ำเติมให้ราคาเพิ่มขึ้นอีก ที่ผ่านมาสมาคมฯ ตรึงราคามาตั้งแต่ต้นปี2564 แต่ตอนนี้ตรึงต่อไปไม่ไหว เพราะขายขาดทุนกว่า 50% ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนให้กับเกษตรกร เสนอให้รัฐบาลใช้มาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายด้านปัจจัยการเกษตรหรือปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรต่อไปได้

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6928911

ทางการกัมพูชากำหนดแผนยุทธศาสตร์ ดึงการลงทุนเพิ่มขึ้น

ทางการกัมพูชากำหนดแผนยุทธศาสตร์ (2021-2024) ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิต เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าการเดินทาง หวังดึงดูดการลงทุนมายังกัมพูชามากขึ้น รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคส่วนนี้ โดย Okhna Kong Sang กล่าวรายงานเสริมว่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชามีมูลค่ากว่า 11.389 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้น 1.505 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาอยู่ที่ 8.017 ล้านดอลลาร์ ส่วนการส่งออกรองเท้าอยู่ที่ 1.390 พันล้านดอลลาร์ และ สินค้าเพื่อการเดินทางอยู่ที่ 1.490 พันล้านดอลลาร์ และหมวดสินค้าสิ่งทออื่นๆ รวม 0.492 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501036530/garment-footwear-and-travel-goods-development-strategic-plan-to-attract-more-investment/

อุตสาหกรรมประกันภัยกัมพูชา ขยายตัวร้อยละ 9.5 ในปี 2021

หน่วยงานกำกับดูแลการประกันภัยกัมพูชา (IRC) รายถึงสถานการณ์ภายในอุตสาหกรรมประกันภัยกัมพูชา โดยปริมาณเบี้ยประกันภัยรวมมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 293.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้เศรษฐกิจโดยภาพรวมจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม โดยปัจจุบันกัมพูชามีผู้ประกอบการบริษัทประกันภัยทั่วไป 18 แห่ง, ประกันชีวิต 14 แห่ง, บริษัทประกันภัยรายย่อย 7 แห่ง และบริษัทประกันภัยต่อ 1 แห่ง ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยรวมของตลาดประกันภัยทั่วไปในปี 2021 อยู่ที่เกือบ 123 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่เบี้ยประกันชีวิตรวมอยู่ที่ 170.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501036523/cambodias-insurance-industry-grows-by-9-5-percent-to-293-3-million-in-premiums-in-2021/

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ขยายความร่วมมือในการศึกษาระบบดิจิทัลของระบบชลประทาน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้และบริษัท สตาร์ เทเลคอม จำกัด (Unitel) ได้ขยายความร่วมมือในการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของการจัดการชลประทานตามอุตสาหกรรม 4.0 บันทึกความเข้าใจนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในการศึกษาการพัฒนาบริการน้ำประปาโดยใช้ระบบดิจิทัล และเพื่อศึกษาและพัฒนาบริการทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน การเกษตร และการประมง กิจกรรมเหล่านี้จะปรับปรุงการจัดการน้ำและบริการด้านการชลประทานสำหรับภาครัฐและประชาชนทั่วไปตาม “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล” ผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศของรัฐบาล นอกจากนี้ การศึกษาจะพิจารณาการพัฒนาการดำเนินงานด้านน้ำในฟาร์มและแผนการจัดการโครงการในการปลูกข้าว โดยมุ่งเป้าไปที่การประหยัดน้ำเพื่อให้พืชสามารถเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งลดต้นทุนการผลิต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Unitel_45_22.php

หัวหอมราคาดิ่ง กระทบเกษตรกรแบกต้นทุนอ่วมหนัก

เกษตรกรในอำเภอปหวิ่น-พยู เขตมะกเว ทำการปลูกหัวหอมตลอดทั้งปีโดยใช้นำจากชลประทานและน้ำบาดาล แม้จะให้ผลผลิตสูงแต่ก็ได้รับผลกระทบจากราคาลดลง ปัจจุบันผลผลิตหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ต่อเอเคอร์ เมื่อปีก่อนราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 จัตต่อ viss แต่ในปัจจุบันราคาดิ่งลงเหลือ 300-400 จัตต่อ viss ทำให้รายได้ไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนที่พุ่งไปถึง 1 ล้านต่อเอเคอร์ อีกทั้งตลาดหัวหอมยังคงซบเซา เนื่องจากความต้องต่างประเทศลดลง ซึ่งก่อนหน้าในปี 2562 ราคาหัวหอมพุ่งไปถึง 4,000 จัตต่อ viss กระตุ้นให้เกษตรเพิ่มปริมาณการปลูก แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดค้าขายหัวหอมเสียหายอย่างหนัก ทั้งนี้หัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มาเกว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-market-fallout-hits-growers/#article-title

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซีย

บริษัท Agribank Securities JSC (Agriseco) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์เวียดนาม มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและราคาอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เกิดความขัดแย้งของสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน โดยประเทศรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีชั้นนำของโลกและอยู่ในอันดับที่ 3 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น 17.8% อีกทั้ง ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 22% ของอุปทานทั่วโลก ดังนั้นราคาข้าวโพดจึงเพิ่มขึ้น 8.4% นับตั้งแต่เริ่มเกิดสงคราม ทั้งนี้ ตามรายงานของ Agriseco ชี้ว่าความตึงเครียดของสงครามยูเครนและรัสเซีย ส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาอาหารทั่วโลก โดยทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลี 29% ของการส่งออกทั่วโลก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 19% ในขณะที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในประเทศส่วนใหญ่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ตั้งแต่ข้าวสาลีไปจนถึงธัญพืช ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของธุรกิจปศุสัตว์และอาหารสัตว์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1161595/russia-ukraine-crisis-hits-local-livestock-industry.html

 

สรท.หวั่นปมร้อนรัสเซีย-ยูเครน ฉุดออเดอร์ส่งออกไตรมาส 2 วูบ 1.6 แสนลบ.

ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่าหากสถานการณ์การสู้รบไม่ยืดเยื้อบานปลายหรือขยายวงกว้างไปมากกว่านี้และสามารถเจรจาหาข้อยุติได้ภายใน 3 เดือน  การส่งออกของไทย ปี 2565 คาดว่าจะยังเติบโตได้ที่ร้อยละ 5 (ณ มีนาคม 2565) โดยไตรมาสแรกจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 7-8 เนื่องจากมีการยืนยันคำสั่งซื้อไว้แล้วล่วงหน้าแต่หากสถานกาณ์ยังคงยืดเยื้ออาจกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสองอาจมีคำสั่งซื้อลดลงประมาณ 4-5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.2-1.6 แสนล้านบาท และกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอาทิ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ)

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/676957

แนวโน้มเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ ปี 65 พุ่งทะยานเกินกว่าที่คาดการณ์

แนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 จะขยายตัวเหนือความคาดหมาย เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวและกระแสการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งกองทุนต่างชาติหลายสำนักได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้จะขยายตัว 7.5%

อย่างไรก็ตาม ไม่น่าแปลกใจที่เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวในระดับที่สูง สาเหตุสำคัญมาจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของอุปสงค์ในประเทศ การก่อสร้างและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ตลอดจนมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีมูลค่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ นาย Michael Kokalari หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก VinaCapital แสดงความเห็นว่าการบริโภคในครัวเรือนของเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวจากลดลง 6% ในปี 64 และเพิ่มขึ้น 5% ในปีนี้ นอกจากนี้ ผลการสำรวจของสหรัฐฯ รายงานว่าขณะนี้ยังมีประเทศที่ต้องการเดินทางไปเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ภาคการท่องเที่ยวจะช่วยให้ GDP ของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% ในปีนี้ และในอีกปี 2566 นักท่องเที่ยวชาวจีนจะกลับมาสู่ตลาดเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-forecast-to-grow-beyond-expectation-in-2022/222789.vnp