ดีมานด์ตลาดสิ่งทอพุ่ง หนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและกัมพูชา

อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอของไทยปรับตัวพุ่งสูงขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 ในปีนี้ ทางด้านสื่อไทยรายงานถึงการส่งออกสิ่งทอที่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการในสินค้าทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น รวมถึงภาคการผลิตในภูมิภาคเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง อาทิเช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงจากโซนยุโรป และสหรัฐฯ โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอของไทยกลับมามีกำลังการผลิตเต็ม 100% อีกครั้ง แต่ยังคงติดอยู่กับปัญหาการขาดแคลนแรงงานหลังจากแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศของตนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันโรงงานภายในประเทศไทยขาดแคลนแรงงานสูงถึง 30,000-50,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001754/soaring-demand-from-cambodia-other-countries-leads-to-thai-textile-industry-exports-surging/

จีนยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากกัมพูชากว่าร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมด

จีนส่งเสริมภาคการค้าระหว่างกัมพูชา ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปในวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน อาทิเช่น วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวกำหนดไว้ว่าทั้งสองประเทศจะต้องยกเว้นการจัดเก็บภาษี หรือกำหนดภาษีการนำเข้าให้เป็นศูนย์ แก่สินค้านำเข้าจากอีกฝั่ง ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมสินค้านำเข้ากัมพูชามากกว่าร้อยละ 90 โดยทั้งสองประเทศวางแผนที่จะกระชับความร่วมมือในด้านต่างๆเพิ่มเติม เช่น สนับสนุนภาคการค้า ภาคบริการ การลงทุน โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (BRI) และตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งในปัจจุบันปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45.9 คิดเป็นมูลค่า 10.98 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001767/china-cambodia-to-promote-free-trade-deal-with-zero-tariff-on-more-than-90-percent-of-imports-from-cambodia/

‘เวียดนาม’ เผยโฉมแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19

เวียดนามวางแผนเปิดแพ็คเกจการใช้จ่ายเงินมูลค่า 347 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 15.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2565-66 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และเยียวผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข็มงวด โดยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนั้น มีมูลค่าต่ำกว่าที่เสนอไว้ที่ 800 ล้านล้านดองในเดือน พ.ย. รวมถึงมาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้และการชะลอการชำระคืนเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ ตามแพ็คเกจดังกล่าว ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินการขายพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับในประเทศ เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดและบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2564 เพิ่มขึ้น 2.58% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เติบโต 2.91%

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20220105/vietnam-seeks-153-bln-stimulus-package-to-prop-up-virushit-economy/65064.html

‘เวียดนาม’ เผยผลผลิตอุตฯ ขยายตัว 4.82% ปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนาม ปี 2564 เพิ่มขึ้น 4.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เพิ่มขึ้น 6.73% ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม 1.61% ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2564 อุจสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 อาทิ การผลิตโลหะ เพิ่มขึ้น 22.1%, การผลิตยานยนต์ 10.2%, ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 9.6% และการขุดเหมือง 9% นอกจากนี้ การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าภาคการผลิตและแปรรูปยังเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด ด้วยเม็ดเงินจดทะเบียนรวม 7.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 47.6% ของทุนจดทะเบียนใหม่ทั้งหมด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/industrial-production-up-482-percent-in-2021/220222.vnp

เกตรกรในรัฐฉาน หวังราคามันเทศสูงขึ้น โอดต้นทุนสูง

เกษตรกรผู้ปลูกมันเทศในเมืองตองยี รัฐฉาน ต่างหวังว่าจะได้ราคาที่ดีขึ้นเพื่อคุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนและราคาน้ำมันก๊าดในปัจจุบันสูง เกษตรกรในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลว่าได้ปลูกมันเทศบนพื้น 5 เอเคอร์ ซึ่งสถานการณ์ตลาดในปีนี้ไม่ดีนัก ซึ่งปีที่แล้วมันเทศหนึ่งถุงขายได้มากกว่า 10,000-13,00 จัต แต่ปีนี้เหลือเพียง 10,000 จัต โดยส่วนใหญ่มันเทศจะถูกส่งไปขายยังย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sweet-potato-growers-expect-better-prices-in-shan-state/#article-title

ระบบชลประทานอยู่ระหว่างการซ่อมแซมในสะหวันนะเขต

ในปี 2020 พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 51,000 เฮกตาร์ได้รับความเสียหายใน 13 อำเภอของสะหวันนะเขต หลังจากเกิดฝนตกหนักรุนแรงและยังส่งผลให้น้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับช่องทางชลประทาน ซึ่งกระทบต่อหมายความว่าผลผลิตของเกษตรกรลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จากปัญหดังกล่าวทำให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาและซ่อมแซ่มชลประทานอย่างเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการชลประทานข้าว 498 เฮกตาร์ในฤดูแล้ง รวมทั้งพืชผลอื่นๆ อีก 91 เฮกตาร์ที่ปลูกในเมืองไกสอนพรหมวิหาร ทั้งนี้โครงการได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ต้นปี 63 จนปัจจุบันแล้วเสร็จไปแล้วกว่าร้อยละ 93.35 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากเงินกู้มากกว่า 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย โครงการคาดว่าจะสามารถสูบน้ำเข้านาได้ในช่วงต้นปีนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Repair03.php

คาดรายได้ต่อหัวในกัมพูชาแตะ 1,842 ดอลลาร์ในปี 2022

เศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2022 คาดว่าจะมีการเติบโตถึงประมาณร้อยละ 4.8 ซึ่งปัจจุบันมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อยู่ที่ประมาณ 30.54 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่จีดีพีต่อหัวคาดว่าจะสูงถึง 1,842 ดอลลาร์ เทียบกับปี 2021 ที่อยู่ที่ 1,730 ดอลลาร์ ตามรายงานการจัดการกฎหมายการเงินประจำปี 2022 โดยการเติบโตนี้ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิเช่น ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.7 ภายในปี 2022 ภาคบริการคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.1 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการโรงแรม ร้านอาหาร และภาคการท่องเที่ยวอื่นๆ ภาคเกษตรกรรมคาดว่าจะเติบโตชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ภายในปี 2022 ซึ่งโดยรวมแล้วแม้ว่าเศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2022 จะมีแนวโน้มของการฟื้นตัว แต่ต้องระวังสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนทำให้การพัฒนาโดยรวมหยุดชะงัก โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่ยุติลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001042/cambodias-per-capita-income-in-2022-expected-to-increase-to-1842/

รถไฟจีน – สปป.ลาว พลิกโอกาส ศก.ไทย

โครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา ตามแผนโครงการสายแถบและเส้นทาง (BRI) เชื่อมโครงข่ายคมนาคมระบบรางระหว่างจีนกับชาติอาเซียนเป็นแห่งแรก ซึ่งจะส่งผลต่อนัยสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ ล้วนเป็นโอกาสและความท้าทายต่อเอกชนและเศรษฐกิจไทย ด้านกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีหารือระดับสูงด้านการทูตเศรษฐกิจเรื่องการปรับตัวของไทยต่อโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว โดยเชิญผู้แทนกระทรวงคมนาคม และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานในภาคธุรกิจร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้โอกาสนี้สร้างเศรษฐกิจสัมพันธ์ ในยุคหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 “วิชาวัฒน์ อิศรภักดี” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อมองผ่านเลนการทูตเศรษฐกิจจะเห็นโอกาสจากโครงการรถไฟจีน-ลาว ใน 3 ประการได้แก่ 1.ส่งเสริมขีดความสามารถภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย และในระยะยาวจะส่งผลต่อการดำเนินเศรษฐสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนานาประเทศ 2.การขยายบทบาทของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะยังมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการรถไฟจีน-ลาว เป็นเพียงหนึ่งหมุดหมายส่งผลในภาพรวม และ 3.โครงการรถไฟดังกล่าวเข้ามาประชิดพรมแดนไทย ทำให้จีนและไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/980954

ฮุนเซน ปรับคาดการณ์ GDP กัมพูชาปี 2022 โตร้อยละ 3

ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวถึงการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2022 คาดว่าจะสูงถึงราวร้อยละ 3 จากภาคการส่งออกที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงการกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งการประมาณการ GDP ดังกล่าวนั้นสูงกว่าอัตราการเติบโตที่กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชาได้กล่าวไว้ในร่างกรอบงบประมาณประจำปี 2022 ที่ได้คาดการณ์การเติบโตไว้ที่ร้อยละ 2.4 ในปี 2022 และร้อยละ 4 ในปี 2023 โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้กล่าวเสริมในรายงาน ‘Macroeconomic and Banking Progress in 2021 and Outlook 2022’ ระบุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากการส่งออกเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เสื้อผ้า อาทิเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจักรยาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายในการส่งออกของกัมพูชาในระยะถัดไป โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2021 การส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่ารวม 12,688 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วจากสินค้าดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50999921/pm-optimises-3-percent-gdp-growth-for-2021/

ภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แม้จะมีการแพร่ระบาดของ Omicron

แม้ว่าจะมีรายงานการติดเชื้อของไวรัส Omicron มากขึ้น ภายในกัมพูชา แต่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวกัมพูชากลับปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2022 ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวภายในประเทศจำนวนหลายหมื่นคนเริ่มกลับมาเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งและภูเขาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งสำนักข่าวแห่งชาติกัมพูชา AKP ได้กล่าวอ้างถึงสถิติจากกระทรวงการท่องเที่ยวที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนการให้บริการนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.14 ล้านคน ในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ 2022 ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2021 ถึง 1 ม.ค. 2022 รวมถึงมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรวมกว่า 5,754 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.65 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยส่วนใหญ่ท่องเที่ยวในเขตจังหวัดพระพนมเปญและเสียมราฐ เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501000287/cambodias-tourism-sees-fast-recovery-despite-omicron/