การเข้าถึงตลาดสหภาพยุโรปโดยปลอดภาษีของ สปป. ลาว

ปัจจุบัน สปป. ลาวเป็นประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงสินค้าทั้งหมดโดยปลอดภาษีและปลอดโควตา (DFQF) ไปยังตลาดสหภาพยุโรปสำหรับสินค้าทั้งหมด ยกเว้นเครื่องกระสุนปืนและอาวุธ การเข้าถึงพิเศษนี้มีให้ภายใต้โครงการ Everything But Arms (EBA) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นหนึ่งในสามประเภทของโครงการที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้นภายใต้ ‘Generalised Scheme of Preferences’ (โครงการ GSP) อีกสองหมวดคือ Standard GSP และ GSP+ ซึ่งใช้กับประเทศกำลังพัฒนา  สปป. ลาวได้ใช้ประโยชน์จาก EBA ของตนมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยการส่งออก EBA จาก สปป. ลาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม การส่งออกของ สปป. ลาวไปยังสหภาพยุโรปในปัจจุบันมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของการส่งออกทั้งหมด ถึงอย่างนั้น สปป. ลาวมีศักยภาพที่สำคัญในการขยายการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและเพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปได้ในอนาคตจากการใช้ประโยชน์จากโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_The_lao_pdr_224.php

 

5 พ.ย. 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา ลดลง 315 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาอยู่ที่ 315.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564 ถึงมีนาคม 2565) ลดลง 28.49 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 343.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากคู่ค้าหลักอย่างจีนปิดปิดชายแดนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และอื่นๆ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ปัจจุบันเมียนมาพยายามวางแผนการส่งออกเนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวน การค้าแบบ G to G จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยสร้างตลาดที่แข็งแกร่งสำหรับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-315-mln-as-of-5-november/#article-title

ยอดขนส่งสินค้า ‘รถไฟเวียดนาม-จีน’ พุ่ง

ตามข้อมูลทางสถิติของการรถไฟเวียดนาม (VRN) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างเวียดนาม-จีนผ่านช่องทางชายแดนด่านหล่าวกายและด่งดัง อยู่ที่ 838,000 ตัน เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าไนไตรมาสที่ 3 การระบาดของโควิด-19 จะลุกลามไปยังหลายจังหวัด ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศที่อยู่เส้นทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ ทั้งนี้ Pham Duc Khai หัวหน้าสถานีรถไฟด่งดัง (Dong Dang) กล่าวว่าแม้จะเผชิญกับการระบาดของเชื้อโรค แต่ปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศผ่านสถานีดังกล่าว มากกว่า 400,000 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/railway-goods-transport-between-vietnam-china-surges/215495.vnp

 

นักเศรษฐศาสตร์ ชี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เวียดนามจำเป็นต้องมีการลงทุนภาครัฐที่แข็งแกร่ง

ตามรายงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดข้อบกพร่องหลายอย่าง โดยตั้งแต่ปี 2545-62 การลงทุนภาครัฐ มีส่วนแบ่งจาก GDP ลดลงจาก 22% มาอยู่ที่ 11% ขณะที่ความต้องการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง รายงานว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ การใช้จ่ายของภาครัฐ อยู่ที่ 257.38 ล้านล้านดอง (11.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือประมาณ 55.8% ของเป้าหมายทั้งปี นอกจากนี้ ประเด็นโควิด-19 ระบาดระลอกที่ 4 ในเวียดนาม ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมทั่วประเทศที่ต้องเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP เหลืออยู่ที่ 2%-2.5% ปีนี้

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/economy/item/10770502-vietnam-s-growth-and-recovery-require-strong-public-investment-economists.html

 

เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ รายงานผลประกอบการปีล่าสุดในกัมพูชา

เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSP) รายงานถึงผลประกอบการในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงรายได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 526,666 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน โดย PPSP ดำเนินกิจการด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ บนพื้นที่ขนาด 357 เฮกตาร์ ในเมืองหลวงอย่างกรุงพนมเปญประเทศกัมพูชา ซึ่งมีบริษัทต่างชาติมากกว่า 80 แห่ง จาก 15 ประเทศ ทั่วโลก ดำเนินธุรกิจภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ โดยรายรับในช่วง 9 เดือน ลดลงร้อยละ 24 สู่มูลค่า 9,418,774 ดอลลาร์ และขาดทุนจากการดำเนินงานราว 397,489 ดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50970858/ppsp-reports-ytd-operating-loss-on-revenue-but-3-month-revenue-more-than-doubles/

กัมพูชา อนุมัติโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นรวม 146 โครงการ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนของญี่ปุ่น ผ่านการรับการส่งเสริมการลงทุน (QIP) ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการรับรองไปแล้ว 146 โครงการ ณ เดือนตุลาคม ด้วยเงินลงทุนรวม 2,853 พันล้านดอลลาร์ โดยเลขาธิการ CDC กล่าวเสริมถึงการที่กัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมากในการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนและภาคธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ 66 โครงการที่มีเงินลงทุนสะสมรวม 340 ล้านดอลลาร์ ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) โดยในปีนี้ CDC อนุมัติโครงการการลงทุนใหม่ผ่าน QIP ไปแล้ว 87 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 3 พันล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยการลงทุนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา มีเพียง QIP เท่านั้น ที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายฉบับนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50970860/146-japanese-investment-projects-valued-at-2-8-billion-registered-at-cdc/

“ทีเส็บ” ชง ครม.ประมูลงานระดับโลกมาจัดในไทย ชี้ลงทุน 1 หมื่นล้าน เงินสะพัดแสนล้าน

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2564 นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ เปิดเผยว่า เตรียเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) จ.กระบี่ พิจารณาให้เสนอตัวประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดงานระดับโลก 3 งาน ประกอบด้วย 1.การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2569 (ค.ศ.2026) จ.อุดรธานี 2.การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2572 (ค.ศ.2029) จ.นครราชสีมา 3.การจัดงานเอ็กซ์โป 2028 ภูเก็ต ไทยแลนด์ ปี 2571 โดยทั้ง 3 งานในกรณีที่ได้เป็นเจ้าภาพ จะมีงบลงทุนก่อสร้างรวม 10,960 ล้านบาท สร้างเงินสะพัด 100,173 ล้านบาท เพิ่มมูลค่าการสร้างจีดีพีกว่า 68,520 ล้านบาท ขณะที่ภาครัฐมีรายรับจากภาษี 20,641 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 230,442 คน

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6733319

ญี่ปุ่นสนับสนุนโครงการระดับรากหญ้าด้านสุขภาพ การศึกษา เกษตรกรรม

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 240,000 เหรียญสหรัฐสำหรับโครงการพัฒนาสี่โครงการในพื้นที่ชนบทของลาว ญี่ปุ่นจะให้ทุนสนับสนุนโครงการด้านสุขภาพสองโครงการในจังหวัดเชียงขวางและไซยะบุรี โครงการการศึกษาในจังหวัดหัวพัน และโครงการการเกษตรในจังหวัดสะหวันนะเขต ผ่านโครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับโครงการความมั่นคงของมนุษย์ระดับรากหญ้า ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับโครงการความมั่นคงของมนุษย์ระดับรากหญ้า ให้เงินทุนสำหรับโครงการขนาดค่อนข้างเล็กซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นและมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศกำลังพัฒนา โดยอิงตามหลักความมั่นคงของมนุษย์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_223_21.php

GDT กัมพูชา รายงานถึงยอดการจัดเก็บภาษีในช่วง 10 เดือน

กรมสรรพากร (GDT) หน่วยงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชา รายงานถึงรายรับจากการจัดเก็บภาษีในช่วง 10 เดือนแรกของปี มูลค่ารวม 2,315 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนตุลาคมเพียงเดือนเดียว มีการจัดเก็บภาษีเงินได้ประมาณ 208 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งผลของการจัดภาษีที่ลดลงเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสำคัญ โดยยังคงอยู่ในกรอบแผนการจัดเก็บภาษีที่ทางกรมได้กำหนดไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50970032/gdt-earns-2-3-billion-as-tax-revenue-in-10-months/

การขอปรับโครงสร้างสินเชื่อลดลง ผลจากเศรษฐกิจกัมพูชาเริ่มฟื้นตัว

โฆษกสมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) กล่าวว่าในช่วง 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2021 ยอดการขอปรับโครงสร้างสินเชื่อลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 100-500 คนต่อสัปดาห์ เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ที่มีผู้ขอสินเชื่อมากถึง 10,000 รายต่อสัปดาห์ โดยมองว่าการลดลงของยอดการขอปรับโครงสร้างสินเชื่อนี้บ่งบอกถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศเริ่มกลับมาดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดย ณ วันที่ 31 ตุลาคม ลูกค้าจำนวน 378,198 ราย ได้ยื่นขอปรับโครงสร้างเงินกู้ในสถาบันที่เป็นสมาชิกสมาคมทั้งหมด 115 แห่ง รวมถึงสถาบันย่อยที่มีเงินฝากทั้งหมด 66 แห่ง สถาบันที่ไม่รับฝากเงินรายย่อย 10 แห่ง บริษัทลีสซิ่ง 12 แห่ง สถาบันสินเชื่อในชนบท 23 แห่ง และธนาคาร 4 แห่ง ซึ่งมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการ 356,775 ราย คิดเป็นร้อยละ 94 ของลูกค้าสินเชื่อ ได้รับการอนุมัติให้ปรับโครงสร้างหนี้สินได้ หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.720 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50970077/decrease-in-credit-restructuring-requests-a-sign-of-cambodias-economic-recovery/