คาดว่าโครงการ BRI จะมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา

โครงการภายใต้แผนริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (BRI) คาดว่าจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชา จากผลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งโฆษกรัฐบาลกัมพูชา กล่าวว่า โครงการ BRI ถือเป็นส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ อาทิเช่น การก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ สนามบินนานาชาติเสียมราฐแห่งใหม่ สนามกีฬาแห่งชาติ และเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) โดยก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่กัมพูชา ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงของการแพร่ระบาด แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เช่น ทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ และโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ ในสีหนุวิลล์ก็มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ในสิ้นปี 2021 หลังจากก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ 1.9 ในปีที่แล้ว ตามการคาดการณ์ล่าสุดของรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927813/bri-projects-help-cambodia-cushion-economic-fallout-of-covid-19-pandemic/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.7 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 5.54 ล้านตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 89.7 จากปริมาณ 2.92 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยัง 66 ประเทศ โดยสร้างรายรับรวม 3.23 พันล้านดอลลาร์ จากการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมของปีนี้ ซึ่งสินค้าเกษตรหลักของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง มะม่วง กล้วยสด พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม และยาสูบ เป็นต้น โดยจีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวสารรายใหญ่ของกัมพูชา โดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 48 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา หรือคิดเป็นจำนวน 165,612 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927787/cambodias-agricultural-exports-up-89-7-percent-in-first-8-months-netting-3-23-billion-in-revenue/

LG เพิ่มการลงทุนในเวียดนาม 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

คณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด ประเทศเวียดนามเปิดเผยว่าได้ออกใบอนุญาตให้ LG Display บริษัทผลิตจอแสดงผลชั้นนำของเกาหลีใต้สามารถเพิ่มการลงทุนในเมืองไฮฟอง 1.4 พันล้านเหรียญ ซึ่งการลงทุนดังกล่าวนั้น จะช่วยเพิ่มผลผลิตหน้าจอแสดงผล OLED ของโรงงานไฮฟอง จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตที่ 9.6-10.1 ล้านชิ้นต่อเดือน ขยายเป็น 13-14 ล้านชิ้นต่อเดือน คณะกรรมการระบุในคำแถลง ทั้งนี้ การลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าวจะช่วยสร้างงานใหม่ถึง 10,000 ตำแหน่ง และสร้างรายได้จากการส่งออก 6.5 พันล้านเหรียญต่อปี

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20210901/lg-display-raises-investment-at-vietnam-factory-by-14-bln-local-govt/62885.html

‘เวียดนาม’ เผย ม.ค.-สิ.ค. ยอดค้าปลีกและบริการดิ่งลง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รายได้รวมจากการค้าปลีกและบริการอยู่ที่ 133.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียว ยอดค้าปลีกและบริการรวมลดลงอย่างมากถึง 34% เมื่อเทียบเป็นรายปี และ 10.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แตะอยู่ที่ 279.8 ล้านล้านดอง เนื่องจากหลายพื้นที่ดำเนินตามมาตรการทางสังคมที่เข็มงวด ภายใต้คำสั่งข้อที่ 16 ของรัฐบาล ขณะที่ในช่วง 8 เดือนแรก ยอดค้าปลีก 2.49 ล้านล้านดอง คิดเป็นสัดส่วน 82.1% ของยอดค้าปลีกสินค้าและบริการรวม ลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1022936/retail-sales-of-goods-and-services-plunge-in-january-august.html

9 เดือน เมียนมาส่งออกไปญี่ปุ่น แตะ 694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แตะระดับ 694.964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เมียนมาได้ดุลการค้า 271.7 964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 966.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดันสามของเมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์เ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุน 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมียนมา ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JICA ได้เสนอเงินกู้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ ODA (Official Development Assistance) เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-to-japan-top-694-mln-in-nine-months/#article-title

ราคาข้าวเมียนมา พุ่ง 2,800 จัตต่อถุง สูงสุดภายใน 1 เดือน

ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นจาก 800 จัตเป็น 2,800 จัตต่อถุงภายในหนึ่งเดือน เมื่อวันที่ 1 ส.ค.64 ราคาข้าวเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 27,500-42,100 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและพันธุ์ข้าว ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 29,100—44,900 จัตต่อถุง ในวันที่ 31ส.ค.64 ราคาเริ่มขยับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน นอกจากนี้ ราคาข้าวในปี 63 จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน ดังนั้นคาดว่าราคาน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ มาตรการควบคุณการแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา คาดว่าจะยังคงยืนราคาไปอีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-rises-by-k2800-per-bag-in-maximum-within-one-month/

LDCs มีความสำคัญในการช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินยังคงจำเป็นของสปป.ลาว

ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ต้องการความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงิน และความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถเอาชนะความท้าทายที่สำคัญได้นี่เป็นหนึ่งในข้อความที่ส่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสปป.ลาว Mr Saleumxay Kommasith ในประชุมระดับภูมิภาคระดับสูงของโครงการปฏิบัติการอิสตันบูล (IPoA) สำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-2 กันยายน  ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลาวได้รวม IPoA ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อเพิ่มการเติบโตและการลดความยากจน ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการช่วยเหลือการพันธมิตรทำให้หลายปีที่ผ่านเศรษฐกิจสปป.ลาวลาวขยายตัวย่างต่เนื่องและคาดว่าจะสามารถออกจากสถานะ LDC ได้ในปี 2569 ถึงอย่างไรก็ตาม โครงการที่เกิดจาก LDC เพื่อลดความยากจนจะยังคงอยู่เพื่อพัฒนาประเทศต่อไปและเป็นวาระที่รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Technical171.php

ราคาเมล็ดกาแฟที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่ไม่เพียงพอในกัมพูชา

ผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟในกัมพูชารายงานถึงราคาเมล็ดกาแฟที่พุ่งสูงขึ้นประมาณร้อยละ 50 ในปีนี้ รวมไปถึงความไม่แน่นอนต่อสถานการณ์การผลิตเมล็ดกาแฟในบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ของโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน โดยทางการกัมพูชาสนับสนุนให้เกษตรกรทดลองเพาะปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ที่มีลักษณะพันธุ์ที่แข็งแกร่งและเติบโตได้ดีในหลายพื้นที่ของกัมพูชา รวมถึงอาจจะเป็นการเพิ่มพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตให้กับกัมพูชา ซึ่งสถานการณ์การส่งออกกาแฟของกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 54.4 โดยมีปริมาณการส่งออกในปีที่แล้วเพียง 965 ตัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Tridge ซึ่งเชื่อมโยงผู้ซื้อรายใหญ่ อาทิเช่น Walmart และ Costco กับผู้ขายพืชผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ โดยยอดขายกาแฟในต่างประเทศของกัมพูชายังคงน้อยกว่าเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ซึ่งควบคุมตลาดโลกได้ร้อยละ 6.4 ในปีที่แล้ว โดยส่งออกเมล็ดกาแฟมูลค่ากว่า 1.74 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927112/rising-prices-and-short-supply-present-fresh-opportunities-for-coffee-farmers/

ญี่ปุ่นเร่งกระจายการลงทุนไปยังหลายพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงกัมพูชา

กัมพูชาและญี่ปุ่น เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 22 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีสมาชิกภาคเอกชนเข้าร่วมมากกว่า 130 คน โดยจะร่วมหารือมุ่งเน้นไปที่ค่าแรงขั้นต่ำ ภาษี การขนส่ง และการสร้างความเข้าใจต่อห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศกัมพูชามากขึ้น ตามคำแถลงของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ซึ่ง CDC รายงานถึงการอนุมัติโครงการการลงทุนทั้งหมด 145 โครงการ มูลค่ารวม 2.8 พันล้านดอลลาร์ โดยมี 66 โครงการตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นถือเป็นส่วนสำคัญต่อภาคการลงทุนในกัมพูชา สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของกัมพูชา เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับภาคธุรกิจในกัมพูชา และถือเป็นการลดความเสี่ยงในภาคธุรกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927114/japanese-investments-to-diversify-economy-praised/

สุพัฒนพงษ์ เตรียมประชุม รมว.เศรษฐกิจอาเซียน ดันแก้อุปสรรคการลงทุน

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.เมื่อเร็วๆ นี้เห็นชอบร่างกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Facilitation Framework : AIFF) ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของไทย นาย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนของไทยในการรับรองกรอบ AIFF ในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียนครั้งที่ 24 (ASEAN Economics Ministers-24th ASEAN Investment Area Council Meeting : AEM-24tAA Counail Meeting ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 8 กันยายน ที่จะถึงนี้ โดยกรอบ AIFF ในครั้งนี้ให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในฐานะเสาหลักสำคัญของการลงทุนที่นำไปสู่การรักษาและการเติบโตของการลงทุนในประเทศ ผ่านการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนในการจัดตั้ง ดำเนินการ และขยายการลงทุนและธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ภูมิภาคอาเซียนกำลังจะก้าวเข้าสู่สภาพแวดล้อมภายหลังวิกฤติการระบาดของโรคโควิด 19 โดยมุ่งให้อาเซียนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 โดยเน้นที่การลงทุนเพื่อผลักดันให้อาเซียนเป็นฐานการผลิต (ซัพพายเชน) ที่สำคัญของโลก

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/957596