กัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตร 7 เดือนแรกพุ่ง 3 พันล้านดอลลาร์

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2021 กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรจำนวน 5 ล้านตัน ไปยัง 64 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้น 2.34 ล้านตัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 87.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 ที่มีปริมาณการส่งออกในช่วงเดียวกันรวมอยู่ที่ 2.67 ล้านตัน ตามรายงานของทางการกัมพูชา ซึ่งมูลค่าการส่งออกโดยรวมของสินค้าเกษตรกัมพูชาในช่วง 7 เดือนแรกของปี อยู่ที่ 2.96 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการส่งออกข้าวมีมูลค่า 261 ล้านดอลลาร์ และการส่งออกสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้าวมีมูลค่า 2.37 ดอลลาร์ พันล้าน โดยผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรที่ไม่ใช่ข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 108.63 แต่ในทางกลับกันการส่งออกข้าวกลับปรับตัวลดลงร้อยละ 27.27 เนื่องจากขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50905815/cambodia-earns-nearly-3-billion-from-agricultural-exports-in-first-seven-months/

ปีงบ 63-64 ภาคการผลิตดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ 256.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ผู้ประกอบการต่างชาติจับตาการลงทุนภาคผลิตในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-มิ.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 โดยอัดฉีดเงินทุนประมาณ 256.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 23 โครงการ ซึ่งบริษัทที่เน้นการใช้แรงงานกำลังได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภาคการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตบนพื้นฐานการตัดเย็บ การผลิต และการบรรจุ (CMP) ถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ปัจจุบันการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงอย่างมากจากความต้องการที่น้อยลงของตลาดสหภาพยุโรป ส่งผลให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า CMP บางแห่งปิดตัวลง ปัจจุบันเมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ด้านคณะกรรมการด้านการลงทุนของเมียนมา (MIC) เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 มิ.ย.64 มีบริษัท 23 แห่งที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิต ภาคพลังงานได้รับโครงการขนาดใหญ่ 6 โครงการ ภาคการปศุสัตว์และการประมง 6 โครงการ ภาคบริการอื่นๆ 5 โครงการ ขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการลงทุน 2 โครงการ และ 1 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมและภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว

ที่มา: https://gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-256-8-mln-this-fy/

7 เดือนของปีงบ 63-64 ยอดส่งออกไปญี่ปุ่น พุ่ง 582 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-เม.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 อยู่ที่ 582.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าเพียง 231.87 ล้านดอลาสร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ มูลค่าการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ในปีงบประมาณ 62-63 อยู่ที่ 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 61-62 อยู่ที่ 1.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 60-61 อยู่ที่ 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 59-60 อยู่ที่ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปีงบประมาณ 58-59 อยู่ที่ 1.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ขณะที่องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้เสนอเงินกู้ ODA เพื่อนำไปพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ที่มา: https://gnlm.com.mm/exports-to-japan-cross-582-mln-in-seven-months/

กระทรวงการคลังชี้พิจารณาช่วยซอฟต์โลนคนไทยก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน ตามที่ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยพยายามจะให้ได้ข้อสรุปเร็วที่สุด แต่ต้องพิจารณาสายการบินของคนไทยก่อน ส่วนสายการบินต่างชาติเป็นลำดับถัดไป ซึ่งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางจะมีความชัดเจนเร็วๆนี้ เช่นเดียวกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรมท่าอากาศยาน และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยก็อยู่ระหว่างการพิจารณายกเว้นการจัดเก็บค่าบริการขึ้น-ลงอากาศยาน รวมถึงค่าจอด ค่าปรับด้วย

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2155081

เวียดนามเผยไตรมาสแรก ยอดส่งออก ‘เสื้อผ้า’ แตะ 19 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มีมูลค่า 19 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตลาดสำคัญ นาย Le Tien Truong ผู้อำนวยการบริษัท VINATEX กล่าวว่ากิจการต่างๆ เผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ จากการได้รับผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ระลอกที่ 4 ทั้งนี้ นาย Vu Duc Giang ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) ได้ตั้งเป้ารายได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มปี 64 อยู่ที่ 39 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น กิจการจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตในประเทศ และนำไปใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามร่วมลงนามไว้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-earns-nearly-19-billion-from-textile-exports-in-h1/205623.vnp

เวียดนามลดค่าไฟ ช่วยประชาชนฝ่าโควิด-19

เมื่อวันที่ 31 ก.ค. นายกรัฐมนตรีได้เห็นขอบมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่ 4 และมาตรการเว้นระยะหางทางสังคม ภายใต้คำสั่งข้อที่ 16 ของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ การไฟฟ้าเวียดนามจึงดำเนินปรับลดค่าไฟฟ้าลง 15% (ก่อนหักภาษีมูลค่าเพิ่ม) แก่ผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า 200 หน่วยต่อเดือน และ 10% (ก่อนหักภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 200 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10233502-electricity-prices-to-be-reduced-for-customers-affected-by-pandemic.html

เวียดนามเผย ม.ค.-ก.ค.ยอดการลงทุน FDI ที่ดำเนินการจริง 10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามรายงานของหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ (FIA) กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนม.ค.-ก.ค. 2564 ยอดการลงทุนจริง (FDI disbursement) ของเวียดนาม ทั้งสิ้น 10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบปีต่อปี ขณะที่เงินทุนไหลเข้าที่ดำเนินการจริงก็ยังมีทิศทางขยายตัวได้ดีเช่นกัน อย่างไรก็ดี การระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนโครงการใหม่ลดลง 37.9% แต่ยอดจดทะเบียน เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบปีต่อปี เป็นมูลค่า 10.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ว่าโอกาสของเวียดนามในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศขึ้นอยู่กับการควบคุมการระบาดโควิด-19 ประกอบกับหอการค้ายุโรปในเวียดนาม (EuroCham) เผยว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจยุโรปในเวียดนามลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากกังวลต่อการระบาดระลอกที่ 4 ในเวียดนาม

ที่มา : http://hanoitimes.vn/january-july-fdi-disbursement-climbs-to-us105-billion-318185.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามเผย 7 เดือนแรก ‘ดัชนี CPI’ ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 59

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) ได้ออกมาเปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดิอนก.ค.64 เพิ่มขึ้น 0.62% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 2.64% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาอาหารที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ตลอดจนราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นและความต้องการไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน สำหรับดัชนี CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้นั้น อยู่ในระดับต่ำที่สุดหากนับตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เดือนก.ค. ลดลง 0.06% แต่เพิ่มขึ้น 0.89% จากเดือนม.ค.-ก.ค. อย่างไรก็ดี นายเหงียน บิช ลัม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่ามีแนวโน้มว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะเดือนธ.ค. โดยคาดว่าจะอยู่ในช่วง 3.3-3.6% ต่ำกว่าสมัชชาแห่งชาติตั้งเป้าไว้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sevenmonth-cpi-lowest-since-2016-gso/205478.vnp

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 เมียนมาขาดดุลการค้าสิงคโปร์ 1.388 พันล้านดอลลาร์ฯ

7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. -63-เม.ย. 64) ของปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาขาดดุลการค้าสินค้าสิงคโปร์ประมาณ 1.388 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิงคโปร์เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองในภูมิภาคอาเซียนรองจากไทย ในปีงบประมาณปัจจุบันมีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.624 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์พบว่ามีมูลค่าการส่งออก 117.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ขณะที่การนำเข้าจะเป็น พลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา : https://gnlm.com.mm/29-july-2021/#article-title

Sea (Group) เผยผลการสำรวจอินไซต์ผู้ค้าออนไลน์ 5 กลุ่ม ในภูมิภาคอาเซียน สะท้อน ‘ความหลากหลาย’ บนโลกอีคอมเมิร์ซไทย

Sea (Group) บริษัทชั้นนำระดับโลกในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มสำหรับผู้บริโภค ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ (Garena) อีคอมเมิร์ซ (Shopee) และบริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (SeaMoney) เผยผล “การสำรวจ Online Seller Archetypes” เพื่อจับอินไซต์ว่าบทบาทของอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มมากขึ้น จากกระแสดิสรัปชันและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งแรงกระเพื่อมไปถึงผู้ค้าออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียนอย่างไร โดยผลสำรวจจากผู้ค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ราว 42,000 ราย จากทั้งหมด 6 ประเทศ ประกอบไปด้วย ประเทศไทย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ว่า รูปแบบการรับอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มมาใช้งานมีความหลากหลาย และสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ The Homemaker, The Student, The Never-too-late, The Moonlighter และ The Highly-digital ซึ่งใช้งานอีคอมเมิร์ซเพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเสริมศักยภาพธุรกิจ สะท้อนให้เห็นถึงแรงกระเพื่อมจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่สนับสนุนให้เกิดความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Resilience & Adaptability) ในผู้ค้าออนไลน์หลากหลายกลุ่มในสังคมวงกว้าง

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3243154