UN แนะกัมพูชาออกพันธบัตรและการจัดเก็บภาษีบาปมาพัฒนาเศรษฐกิจ

กัมพูชากำลังจะพ้นจากประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด สู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ภายในปี 2027 หรือ 2028 ตามรายงานของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โดยรายงานคาดการณ์ว่าการจัดหาเงินทุนเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าคิดเป็นประมาณ 23.4 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2025 และคิดเป็นร้อยละ 68.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชา ภายใต้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมถึงเงินช่วยเหลือและเงินให้กู้ยืม โดยทางด้าน UNDP ได้แนะนำกัมพูชาในการออกพันธบัตรรัฐบาลและตราสารทุนที่จะมีส่วนช่วยในการเร่งการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการช่วยขยายฐานเงินได้ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยรายงานยังสำรวจความเป็นไปได้ของการจัดเก็บ “ภาษีบาป” จากธุรกิจคาสิโนที่เริ่มมีส่วนสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ร่วมกับการเพิ่มภาษียาสูบในประเทศจากร้อยละ 25 สู่ร้อยละ 74 จะส่งผลทำให้รายรับภาครัฐจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นถึง 230 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50901375/un-development-programme-recommends-bond-issuance-sin-tax-to-develop-economy/

จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตภายในกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้น หลังเกิดการแพร่ระบาด

จำนวนสมาชิกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในกัมพูชา ณ ช่วงเดือนเมษายน 2021 มีจำนวนรวมอยู่ที่ 17.48 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้นในช่วงของการระบาด เช่นเดียวกับหมายเลขสมาชิกอินเทอร์เน็ตบ้านที่มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นจำนวน 236,962 ราย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมกล่าวว่าการเติบโตดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเป็นหลักและเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้ผู้คนหันมาใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 5 ราย ในกัมพูชา ได้แก่ Smart, Cellcard, Viettel, Cootel และ SeaTel ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่ากระทรวงกำลังเร่งพัฒนาการสร้างโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพิ่มเติม การปรับปรุงบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต การสร้างทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่น การส่งเสริมความรับผิดชอบและความโปร่งใสในการจัดหาบริการสาธารณะ ผ่านการใช้ระบบดิจิทัล ในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50901342/internet-users-surge-during-pandemic/

สปป.ลาวมีมูลค่าการค้า 932 ล้านดอลลาร์ ขาดดุล 62 ล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย.

สปป.ลาวมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 932 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนที่แล้ว แต่ขาดดุลการค้า 62 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมูลค่าการนำเข้า 497 ล้านดอลลาร์สูงกว่ามูลค่าการส่งออก 435 ล้านดอลลาร์ โดยสปป.ลาวมีสินค้าส่งออกสำคัญคือ แร่ทองแดง กล้วย ทองผสม มันสำปะหลัง เสื้อผ้า กาแฟดิบ น้ำตาล ยาง ผลไม้ (แตงโม เสาวรส และมะขาม) และไม้แปรรูปเป็นหลัก ด้านสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์ (นอกจากรถจักรยานยนต์และรถแทรกเตอร์) อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ดีเซล เครื่องกล (นอกเหนือจากยานยนต์) เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า น้ำมันเชื้อเพลิงเกรดพรีเมียมและเกรดปกติ ชิ้นส่วนรถยนต์ (รวมถึงยางรถยนต์ แก้ว) และโซ่) ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปุ๋ย และเศษอาหารจากโรงงานโดยมีประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือประเทศจีนมีมูลค่าสินค้า 158 ล้านดอลลาร์  จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว ในขณะที่ไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าหลักของสปป.ลาว โดยการนำเข้ามีมูลค่ารวม 225 ล้านดอลลาร์ในเดือนที่แล้ว

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-books-932m-trade-value-62m-deficit-june

โควิด-19 พ่นพิษ ค้าถั่วเมียนมาหยุดชะงัก

ภายหลังการคลังสินค้าในแต่ละเขตเมืองจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 การค้าขายถั่วพัลส์ต้องหยุดชะงักลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรผ่านชายแดนไปยังจีนต้องถูกปิดตัว ทำให้ราคาถั่วเขียว งา และถั่วลิสงร่วงลงทันที อย่างไรก็ตาม ราคาถั่วดำและถั่วแระยังคงสูงตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดอินเดีย ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามีการส่งออกถั่วต่างๆ มากกว่า 1.66 ล้านตัน ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 9 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 โดยมีมูลค่าประมาณ 1.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคเกษตรกรรมถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจเมียนมาโดยคิดเป็น 30% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้าย อ้อย ถั่วต่างๆ และถั่วต่างๆ ซึ่งถั่วพัลส์ ซึ่งคิดเป็น 33% ของผลผลิตทางการเกษตรและครอบคลุม 20% ของพื้นที่เพาะปลูก ส่วนถั่วดำ ถั่วลันเตา และถั่วเขียว คิดเป็น 72% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วทั้งประเทศ

ที่มา: https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/2021/07/27_July_21_gnlm.pdf

ค้าเวียดนามปี 73 มีสัดส่วน 15% ของ GDP

ตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าในประเทศภายในปี 64-73 มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการค้าในประเทศมาอยู่ 15-15.5% อีก 10 ปีข้างหน้า ภายใต้แผนดังกล่าวนั้น การค้าในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย 9-9.5% ต่อปี และรายได้ทั้งมาจากการค้าปลีกและจากการบริการผู้บริโภค 13-13.5% โดยแผนดังกล่าวจะมุ่งไปที่การสร้างแบรนด์สินค้าเวียดนาม ตลอดจนปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค ธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้ง ส่วนราชการยังได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการลงทุนและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการลงทุน เพื่อปรับให้เข้ากับหลักการการค้าใหม่ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัยและยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/domestic-trade-to-make-up-15-of-gdp-by-2030-876968.vov

คลังเวียดนาม ทุ่มเงินเยียวยา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ รับมือ ‘โควิด-19’

กระทรวงการคลังของเวียดนาม กำลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จำนวน 24 ล้านล้านดอง (1.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในรูปแบบการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดระลอกที่ 4 ทำให้บรรดาหัวเมืองและจังหวัดต่างๆ กำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข็มงวด ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลได้อนุมัติเงินช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด จำนวน 26 ล้านล้านดอง และเงินดังกล่าวถูกเบิกจ่ายไปแล้ว นอกจากนี้ นาย โฮ่ดึ๊ก ฟ้อก (Ho Duc Phoc) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียกร้องให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายประจำ 10% เพื่อนำทรัพยากรไปต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/finance-ministry-working-on-1-bln-covid-support-for-businesses-4330556.html

ร้องรัฐจ่ายชดเชยว่างงานต่อ ผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้รับข้อร้องเรียนจากสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจ สมาคมเพื่อสวนสัตว์ไทย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และ บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ถึงผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงได้เสนอให้จ่ายชดเชยว่างงาน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างผู้ประกันตน ซึ่งจะได้รับทดแทนสูงสุดไม่เกิน 90 วัน หลังจากที่รัฐออกคำสั่งปิดกิจการไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย.64 และจะครบกำหนดเดือน ก.ค.นี้ ส่วนความคืบหน้ามาตรการในการบรรเทาหนี้ประชาชน และการเข้าถึงสินเชื่อของภาคเอกชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกสินเชื่อวงเงินรวม 90,000 ล้านบาทมาช่วยเหลือแล้ว สำหรับการพักชําระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระอย่างน้อย 2 เดือน

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/other/2150172

เปิด 9 สถิติสำคัญ ช่วงสถานการณ์โควิด-19 โลก-อาเซียน-ประเทศไทย

สถานการณ์โควิด-19 โลก อาเซียน และประเทศไทย พบว่า การติดเชื้อของอาเซียนคิดเป็น 8.57% ของประชากรโลก และประเทศไทยคิดเป็น 6.8% จากผู้ติดเชื้อในอาเซียนประมาณ 6.8% เมื่อวันที่ 21 ก.ค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติสถานการ์โควิด-19 ทั่วโลก พบผู้ป่วยมากถึง 191,334,088 ราย พบใหม่ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 503,831 ราย เสียชีวิตแล้ว 4,103,526 ราย โดยเสียชีวิต ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 7,847 ราย สำหรับอัตราการติดเชื้อกว่า 191 ล้านคน จากทั่วโลก พบว่า อยู่ในภูมิภาคอาเซียนกว่า 3.26% โดยภูมิภาคอาเซียนติดเชื้อแล้วกว่า 6.3 ล้านราย โดยเป็นของประเทศไทยอยู่ที่ 6.8% และพบผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 4 ล้านราย พบว่าอยู่ที่อาเซียน 2.92% หรือ 1.1 แสนคน พบว่าเป็นผู้เสียชีวิตจากไทย 2.9% สถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 พบทั่วโลกฉีดวัคซีนแล้วกว่า 3,645 ล้านโดส เป็นภูมิภาคอาเซียนถึง 130 ล้านโดส หรือคิดเป็น 3.57% โดยแบ่งเป็นประเทศขนาดใหญ่ ประชากรมากกว่า 50 ล้านคน ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2564  จากผลการสำรวจพบว่าประเทศโดยส่วนใหญ่ในอาเซียนยังคงต้องเผชิญกับวิกฤตของโควิดในขนาดที่การฉีดวัคซีนยังไม่ครอบคลุมประชากรมากนัก เป็นความท้าทายที่สำคัญของรัฐบาลแต่ละประเทศในการข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้

ที่มา : https://mgronline.com/qol/detail/9640000071566

“สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” หั่นศก.เวียดนามลดลง

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 64 โต 6.5% จากเดิมที่คาดว่าโต 6.7% สะท้อนจากภาคธุรกิจในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรงต่อไป ตลอดจนการหดตัวของภาคการท่องเที่ยว การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแอลง แต่ว่าการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 28.4% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 36.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ธนาคารฯ คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในปีหน้า โต 7.3% และจะเร่งตัวขึ้นหลังจากสิ้นสุดโควิด-19 และธนาคารมองว่าเวียดนามจะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค รวมถึงเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยและเลื่อนขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/standard-chartered-revises-forecast-for-vietnam-down/205062.vnp

เกาหลีใต้ครองตำแหน่งนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

จากข้อมูลของกระทระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าเวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ รวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 15.27 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจำนวนเงินดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งมาจากเกาหลีใต้ 2.05 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 13.4% ของเงินทุนต่างชาติ รองลงมาญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ทั้งนี้ สมาคมการค้าระหว่างประเทศเกาหลีใต้ (KITA) ชี้ว่าเวียดนามสร้างฐานะตัวเองให้เป็นหนึ่งในตลาดการลงทุนที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีกปัจจัยหนึ่ง คือช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถิติการส่งออกและการลงทุนของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่น่าจับตามองในสายตานักลงทุนชาวเกาหลีใต้ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมการลงทุนของเวียดนามที่มีนโยบายการลงทุนที่น่าสนใจ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://ven.vn/rok-becomes-largest-foreign-investor-in-vietnam-44733.html