ปีงบ 63-64 ส่งออกมะม่วงเมียนมา ดิ่งลง เหลือเพียง 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา การส่งออกมะม่วงของเมียนมาร์สร้างรายได้ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม) ของปีงบประมาณ 2563-2564 ลดลงอย่างมากเนื่องจากปิดชายแดนจากผลกระทบด้านลบของ COVID-19 การส่งออกมะม่วงเพชรน้ำหนึ่ง (Seintalone) ไปจีนในปีนี้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 50% การเพาะปลูกมะม่วงเขตอิรวดีมีพื้นที่มากสุดประมาณ 46,000 เอเคอร์ รองลงมาตือเขตพะโค พื้นที่ 43,000 เอเคอร์ และมัณฑะเลย์มีมะม่วง 29,000 เอเคอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในการส่งออกนอกเหนือจากจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่แล้ว เมียนมายังส่งออกไปอินเดีย บังคลาเทศ ไทย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-278-mln-from-mango-exports-in-h1/

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมาลดฮวบ 7.19 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 9 เดือนแรกของปีงบ 63-63 มูลค่าการค้าชายแดนรวม 7.189 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากกว่า 842 ล้าน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออกรวม 4.69 พันล้านดอลลาร์ ส่วนดารนำเข้า 2.49 พันล้านดอลลาร์ เมียนมาเปิดค่ายการค้าชายแดน 18 ด่าน ปริมาณการค้าที่การค้าชายแดนมูเซ จีน-เมียนมามีมูลค่ารวม 3.66 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 567 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ การเกษตร สัตว์ ทะเล ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-border-trade-value-hits-7-19-bln-in-2020-2021fy/#article-title

รัฐสปป.ลาวลงนามร่วมทุนเอกชน ตั้งบริษัทพัฒนาโลจิสติกส์สปป.ลาว

รัฐบาลสปป.ลาวลงนามข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัท ท่าเรือแห้งท่าแขก จำกัด ซึ่งจะพัฒนา “ท่าเรือแห้งท่าแขก” ให้เป็นเส้นสู่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจุดผ่านแดนคำม่วนและสนับสนุนให้สปป.ลาวกลายเป็นศูนย์บริการโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและระดับสากล ท่าเรือแห้งท่าแขกจะเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านลอจิสติกส์ที่ทันสมัยและครบวงจร และจะมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสปป.ลาวสามารถแข่งขันในตลาดโลกและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเต็มที่ การพัฒนา “ท่าเรือแห้งท่าแขก” เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเรื่อง “การพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศสปป.ลาว” ซึ่งระบุถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาท่าเรือในประเทศลาว และสอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่จะเปลี่ยนจากการ “ประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลสู่ประเทศที่บริการขนส่งทางบกระดับภูมิภาคและโลก”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_State_114.php

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-63 ภาคปศุสัตว์ ประมง ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศถึง 5 โครงการ

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2564 -ของปีงบประมาณ 2563-2564 คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย ภาคปศุสัตว์และประมงดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 5 โครงการ สร้างรายได้กว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ฟาร์มสัตว์ปีก สุกร ไก่เนื้อ และกุ้ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 16 ประเทศประมาณ 926.218 ล้านดอลลาร์ไหลเข้าสู่ภาคปศุสัตว์และการประมง ในจำนวนนั้น ประเทศไทยมีการลงทุนสูงสุด โดยมีมูลค่ามากกว่า 380 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือสิงคโปร์ด้วยเงินประมาณ 130 ล้านดอลลาร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-fisheries-attract-five-foreign-investment-projects-in-seven-months/

เวียดนามเผยการจัดเก็บงบประมาณ พุ่ง 15% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงการคลัง เผยว่าการจัดเก็บงบประมาณของภาครัฐฯ คาดว่าจะสูงถึง 98.6ล้านล้านดอง ในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้รายได้รวมในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ แตะ 667.9 ล้านล้านดอง (29 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 15.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยจำนวนเงินดังกล่าว จะโอนไปยังงบประมาณส่วนกลางทั้งสิ้น 347 ล้านล้านดอง ในขณะที่งบประมาณส่วนท้องถิ่นอยู่ที่ 320.9 ล้านล้านดอง ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ระบุว่าการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 125.8 ล้านล้านดอง และมูลค่าการใช้จ่ายในช่วง 5 เดือนแรก อยู่ที่ 581.6 ล้านล้านดอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/budget-collection-up-over-15-percent-in-five-months/203000.vnp

จับตา ‘ลิ้นจี่เวียดนาม’ วางจำหน่ายที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศส

ลิ้นจี่สดของเวียดนามชุดแรกที่เพาะปลูกอยู่ในจังหวัดหายเซือง (Hai Duong) ไปวางจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศส นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำเข้าผลไม้ท้องถิ่นไปยังประเทศแถบยุโรป การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีผลบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) เมื่อวันที่ 1 สิ.ค. 2563 ทั้งนี้ นาย Ngo Minh Duong ประธานบริษัท Thanh Binh Jeune กล่าวว่าการนำเข้าลิ้นจี่ โดยใช้ผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ควบคู่กับมาตรฐานคุณภาพและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้านั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของธุรกิจ และช่วยให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคต่างประเทศ อีกทั้ง นาย Vu Anh Son หัวหน้าสำนักงานการค้าของเวียดนามในฝรั่งเศส กล่าวว่าความสำเร็จในการส่งออกลิ้นจี่ที่มีตราประทับแหล่งกำเนิดสินค้า ชี้ให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลเวียดนามในการส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-lychees-with-origin-tracing-stamp-hit-shelves-in-france-866010.vov

กัมพูชาตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังตลาดต่างประเทศ

หลังจากกัมพูชาประสบความสำเร็จในการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังญี่ปุ่น ส่งผลทำให้ภาคธุรกิจกำลังจับตามองตลาดใหม่ๆ ที่มีความต้องการเม็ดมะม่วงหิมพานต์สูง อาทิเช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน และออสเตรเลีย ซึ่งทิศทางในอนาคตของ Top Planning Japan (TPJ) ผู้ผลิตและส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของกัมพูชา วางแผนร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรและอุตสาหกรรมในการเพิ่มการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ เพื่อเป็นการพลักดันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของประเทศให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก โดยบริษัท TPJ ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการผลิตและการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็น 20 ตันต่อเดือน และเพิ่มปริมาณเม็ดมะม่วงหิมพานต์สดเป็นกว่า 1,000 ตันในปี 2021 รวมถึงร่วมมือกับสมาคมมะม่วงหิมพานต์กัมพูชาสร้างโกดังใหม่รองรับเม็ดมะม่วงหิมพานต์สดที่มีความจุของโกดังอย่างน้อย 5,000 ตัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถจัดเก็บวัตถุดิบและควบคุมราคาให้เป็นไปตามสัญญากับคู่ค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50873657/cambodia-set-to-increase-exports-of-processed-cashew-nuts-to-europe-usa-canada-china-and-australia-markets/

เอกชนเซ็งเลื่อนวัคซีนโควิด-19 ซ้ำเติมธุรกิจ หวั่นฉุดเศรษฐกิจฟื้นตัวช้านำไปสู่การปิดกิจการ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผย เอกชนมีความกังวลแผนการบริหารการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของภาครัฐที่เลื่อนออกไปพร้อมมูลข่าวสารต่างๆ ที่สร้างความสับสนให้ประชาชน จนอาจกระทบต่อเป้าหมายที่ต้องการฉีดให้ประชาชน 100 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 70% ภายในสิ้นปีนี้ และการเปิดประเทศก็ยิ่งชะลอออกไปจะซ้ำเติมเอสเอ็มอี เพราะเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าก็อาจนำไปสู่การปิดกิจการในที่สุด ซึ่งขณะนี้เอกชนมีความกังวลการเลื่อนฉีดวัคซีนแก่ผู้ประกันตนม.33 บางส่วนออกไป ซึ่งเป็นแรงงานประมาณ 5-6 ล้านคน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6452820

บริษัท GTI ประจำกัมพูชา ประกาศหยุดการผลิตชั่วคราวเนื่องจากโควิด-19

บริษัท Grand Twins International (Cambodia) Plc. (GTI) ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ในกัมพูชา ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 มิ.ย. 64) ว่ากระทรวงสาธารณสุขและศาลาว่าการกรุงพนมเปญสั่งให้บริษัทหยุดดำเนินการการผลิตจนถึงวันที่ 20 มิถุนายน เนื่องจากมีพนักงานตัดเย็บเสื้อผ้ากว่า 200 คน ติดเชื้อโควิด-19 จึงจำเป็นต้องระงับสายการผลิตลง ส่งผลทำให้จัดส่งสินค้าให้กับคู่ค้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ไม่ได้ และยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทอย่างหนักอีกด้วย รวมถึงทำให้ปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ GTI ลดลงในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยมูลค่าหุ้นลดลงมากกว่าร้อยละ 6.52

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50873330/gti-announces-suspension-of-production-because-of-covid-19/

คาดการทูตเชิงเศรษฐกิจหนุนเศรษฐกิจกัมพูชา ท่ามกลางการแพร่ระบาด

กัมพูชาเร่งส่งเสริมการทูตเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 โดยในการประชุมครั้งที่ 2 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เกี่ยวกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การทูตเชิงเศรษฐกิจประจำปี 2021-2023 ซึ่งมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประทาน ผ่านภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศ (MFA-IC) โดยหวังว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาจะดำเนินต่อไปได้ ด้วยการที่กัมพูชาจำเป็นต้องบูรณาการเศรษฐกิจภายในประเทศเข้ากับเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือและกลยุทธ์ที่มีศักยภาพ เช่น กลยุทธ์ทางการทูตเชิงเศรษฐกิจ ที่มุ่งส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การยกระดับภาคการท่องเที่ยว และการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและกีฬา เป็นหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50872700/economic-diplomacy-to-boost-cambodian-economy-amid-covid-19-crisis/