การสำรวจวิสาหกิจในสปป.ลาว พบ ผู้ประกอบการรายย่อย มีสัดส่วนสูงถึง 94.2 %

ผลสำรวจสปป.ลาวในฐานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ยังคงมีสัดส่วนผู้ประกอบการรายย่อยสูง ซึ่งคิดเป็น 94.2 % ของวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศ โดยในปี 62 มีวิสาหกิจทั้งหมด 133,997 แห่ง เพิ่มขึ้น 9,124 เมื่อเทียบกับปี 56 จากการสำรวจสำมะโนเศรษฐกิจครั้งที่ 3 จัดทำโดยสำนักงานสถิติสปป.ลาวในปี 62-63 ตัวเลขทั้งหมดประกอบด้วยผู้ประกอบการรายย่อย 126,168 แห่ง วิสาหกิจขนาดเล็ก 6,600 แห่ง ( 4.9% ) วิสาหกิจขนาดกลาง 954 แห่ง (0.7%) และวิสาหกิจขนาดใหญ่ 276 แห่ง (0.2%)  การสำรวจระบุว่าผู้ประกอบการรายย่อยแสดงถึงเปอร์เซ็นต์ที่น้อยที่สุดในแง่ของการเข้าถึงการเงินจากธนาคาร แม้ว่าจะมีจำนวนมากที่สุดในทุกประเภทก็ตาม วิสาหกิจขนาดกลางมีเงินกู้ยืมจากธนาคารมากที่สุด 29.7% วิสาหกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กคิดเป็น 27% และ 24.6% ตามลำดับ ผู้ประกอบการรายย่อยมีการเข้าถึงเงินกู้ เพียงร้อยละ 8.7  ทั้งนี้ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกถือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนมากที่สุด รองลงมาคือร้านซ่อมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยมีสัดส่วนรวมกัน 61.2% โรงงานแปรรูป 14.7% ในขณะที่ธุรกิจบริการ 10.6%  จากการสำรวจสถานประกอบการมีการจ้างงาน 490,373 คนซึ่งเป็นผู้หญิง 50.1% และ 90.6% ขององค์กรทั้งหมดจ้างคนงานเพียง 1-5 คน ซึ่งในปี 61 มีทุนจดทะเบียนวิสาหกิจทั้งหมด 649,000 พันล้านกีบและมีรายได้รวม 107,584 พันล้านกีบ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Micro34.php

กัมพูชาวางแผนปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวภายในประเทศ

กระทรวงเกษตรกัมพูชากำลังปรับปรุงแผนการพัฒนาการผลิตข้าวระดับชาติ เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิตข้าวภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าจำเป็นต้องจำแนกพันธุ์และแผนที่เกษตรเชิงนิเวศ ในส่วนของพื้นที่เพาะปลูกข้าวในกัมพูชาเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและการพัฒนาการผลิตข้าว ไปจนถึงการพัฒนาระบบชลประทาน การประกันราคาผลผลิต ตลอดจนการพิจารณาสภาพภูมิอากาศและปัจจัยอื่น ๆ ในแต่ละโซนโดยละเอียด เพื่อเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีการเติบโต และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรผู้ผลิตข้าวในกัมพูชา โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาปลูกข้าวได้รวม 3,404,131 เฮกตาร์ สร้างผลผลิตรวม 10,935,618 ตัน ซึ่งส่งออกข้าวสารไปยังตลาดต่างประเทศรวม 690,829 ตัน สร้างรายได้เกือบ 540 ล้านดอลลาร์ รวมถึงส่งออกข้าวเปลือกจำนวน 2,893,750 ตันข้าวเปลือก มูลค่าเกือบ 725 ล้านดอลลาร์ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814769/agricultural-rice-map-updated-to-boost-production/

รัฐบาลกัมพูชาร่วมกับสภาหอการค้ายุโรปส่งเสริมการส่งออก

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ร่วมกับสภาหอการค้ายุโรป (EuroCham) ประจำประเทศกัมพูชา ได้สัญญาว่าจะร่วมมือกันพัฒนาภาคการเกษตรของกัมพูชาเพื่อขยายการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับภาคธุรกิจการเกษตรในวงกว้าง เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมเกษตร โครงการสนับสนุนระหว่างประเทศเพื่อการปรับปรุงการเกษตร การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของภาคการเกษตร รวมถึงโอกาสและความท้าทายจากข้อตกลงการค้าเสรีที่ทางกัมพูชาได้ทำสัญญาร่วมเอาไว้ ซึ่งภาคเกษตรกรรมของกัมพูชาในช่วงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 กัมพูชาถือว่ามีหลักประกันด้านความมั่นคงด้านอาหาร ไปจนถึงการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และสหภาพยุโรป เน้นไปที่สินค้าส่งออก เช่น ข้าวสาร พริกไทย มันฝรั่งทอด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กล้วย และมะม่วง เป็นต้น ภายใต้ความร่วมมือกัมพูชาต้องการการสนับสนุนทางเทคนิคด้านการเกษตรที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิต ความสามารถในการแข่งขัน ความครอบคลุมและความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแปรรูปสินค้าการเกษตรในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814995/ministry-and-eurocham-to-collaborate-on-exports-to-eu/

โพลชี้ถึงจุดต้องเลือกข้าง ‘อาเซียน’ หนุนสหรัฐ มากกว่าจีน

ผลจากการสำรวจความคิดเห็นประจำปีซึ่งจัดทำโดยสถาบัน ISEAS Yusof-Ishak ของสิงคโปร์ ชี้ว่า ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มสนับสนุนฝ่ายสหรัฐมากขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ผู้ตอบแบบสำรวจ 61.5% เห็นด้วยกับการสนับสนุนฝ่ายสหรัฐมากกว่าจีน ในกรณีที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกบีบบังคับให้เลือกข้าง ซึ่งนับว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ระดับ 53.6% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเด็นเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 76.3% ยอมรับว่าจีนเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลด้านเศรษฐกิจมากที่สุด ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจ 49.1% มีความเห็นว่าจีนเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลด้านการเมืองและยุทธศาสตร์มากที่สุด ทั้งนี้ การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้มีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจกว่า 1,000 คนจากทั้ง 10 ประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน โดยผู้ตอบแบบสำรวจมีทั้งกลุ่มเจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจ รวมไปถึงนักวิเคราะห์จากแวดวงวิชาการ คลังสมอง และสถาบันวิจัยอีกมากมาย 

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922856

เวียดนามเผย ม.ค. นำเข้ารถยนต์ 212 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในเดือนมกราคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้นราว 85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 8,343 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 212.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย จำนวน 4,341 คัน (84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ 1,437 คัน (19.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2563 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทุกประเภทที่ผลิตในต่างประเทศ จำนวน 100,000 คัน ด้วยมูลค่ารวม 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.5% ในแง่ของปริมาณ และ 25.6% เมื่อเทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นตลาดนำเข้ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จำนวน 52,647 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-spends-over-us-212-million-importing-cars-in-january-28233.html

เศรษฐกิจเวียดนามโต 5.8% หากควบคุมพิษโควิด-19 ระบาดได้

สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจและนโยบายเวียดนาม (VEPR) คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 5.8% ในปีนี้ หากไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเขตชุมชน และส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศจะกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 6.5% อย่างไรก็ตาม สถาบันฯ ได้ทำการประเมินอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไว้ที่ 1.8% หากมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและขัดขวางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เวียดนามมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 679 ราย นับตั้งแต่มีการระบาดในพื้นที่ชุมชน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/economy-to-expand-5-8-pct-if-covid-19-outbreak-contained-4235863.html

ฐานข้อมูลหน่วยเศรษฐกิจพื้นฐานเพิ่มขึ้นเป็น 133,997 หน่วยในปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติสปป.ลาวเผยข้อมูลจำนวนหน่วยเศรษฐกิจพื้นฐานในสปป.ลาวเพิ่มสูงถึง 133,997 หน่วยในปี 2019 เพิ่มขึ้น 9,124 หน่วยจาก 124,873 หน่วยที่บันทึกไว้ในปี 2013 ระบบสารสนเทศด้านข้อมูลที่ทางหน่วยงานทำการจัดเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่จะนำมาพิจารณาในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของภาครัฐให้สอดคล้องกับสภาพข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ฐานข้อมูลหน่วยเศรษฐกิจพื้นฐานจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อประสิทธิภาพสำหรับการนำมาใช้ในภายภาคหน้า อย่างไรก็ตามสปป.ลาวยังพบความท้าทายอีกประการหนึ่งในการจัดทำข้อมูลสารสรเทศคือการขาดความสามารถและความเข้าใจเชิงลึกในส่วนของจัดเก็บของหน่วยงานท้องถิ่นและความยากลำบากในการจัดเก็บของมูลบางอย่าง ทำให้ข้อมูลไม่ครอบคลุม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Number_33.php

รัฐบาลกัมพูชารายงานการจัดเก็บภาษีในช่วงเดือนมกราคม

กรมสรรพากร (GDT) กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน รายงานถึงรายรับจากการจัดเก็บภาษีจำนวน 879 พันล้านเรียล (ประมาณ 217 ล้านดอลลาร์) ในช่วงเดือนมกราคมปีนี้ ซึ่งจัดเก็บได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 116 ของรายรับที่วางแผนไว้สำหรับเดือนมกราคม แต่เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้วรายรับที่ได้จากภาษีลดลงร้อยละ 8 อยู่ที่ประมาณ 19 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดเก็บภาษีและทำการปฏิรูประบบการจัดการให้มารวมกันเพื่อส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการรวบรวมรายรับจากภาษีมากขึ้น ภายใต้ผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรายรับจากภาษีที่จัดเก็บทั้งหมดอยู่ที่ 2.889 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหดตัวถึงร้อยละ 3.1

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814324/217-million-collected-through-tax-in-january-pm/

ท่าเรือสีหนุวิลล์ในกัมพูชารายงานผลการประกอบการในปี 2020

ผลกำไรจากการดำเนินงานของ Preah Sihanoukville Autonomous Port (PSAP) ในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 54 สู่ระดับ 10.37 ล้านดอลลาร์ ตามงบการเงินปี 2020 ซึ่งแถลงการณ์ออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้รับการตรวจสอบโดย PricewaterhouseCoopers (PwC) โดยกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนในหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ลดลงจากร้อยละ 7 สู่ร้อยละ 2 ในปี 2020 ตามรายงาน อย่างไรก็ตามหุ้นของ PAS มีปริมาณการซื้อขายที่ดีในปี 2020 โดยราคาหุ้นเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 35 จากปี 2019 ซึ่งราคาหุ้น ณ สิ้นปีอยู่ที่ 1.50 ดอลลาร์ต่อหุ้น ปัจจุบันมูลค่าของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 130.19 ล้านดอลลาร์ โดย COVID-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียในหลายด้าน ซึ่งบริษัทยังคงต้องชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงมีส่วนทำให้กำไรของบริษัทลดลง โดย PSAP เป็นท่าเรือน้ำลึกเชิงพาณิชย์แห่งเดียวในกัมพูชา ขณะนี้กำลังดำเนินโครงการขยายหลายโครงการ รวมถึงอาคารขนส่งสินค้าแห่งใหม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เป็นสองเท่า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814565/sihanoukville-port-reports-profits-down-in-2020/

ส่งออกเมียนมายังปกติ แต่นำเข้ามุเซ หยุดชะงัก

การส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเน่าเสียง่ายไปจีนของเมียนมายังเป็นปกติแม้มีการต่อต้านการยึดอำนาจของทหารเมียนมาแบบอารยะขัดขืนโดยการขวางการนำเข้าของประเทศ ขณะนี้ตัวแทนที่นำเข้าค้าชายแดนมูเซกำลังเข้าร่วมเคลื่อนไหวส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำธุรกรรมในแต่ละวันและรถบรรทุกขาเข้าที่ติดอยู่ที่เขตการค้า ผู้ดูแลศูนย์ค้าส่งมูเซ 105 ไมล์ เผยอย่างไรก็ตามการส่งออกผักผลไม้และสินค้าเน่าเสียง่ายของประเทศไปยังจีนยังคงดำเนินการตามปกติ อย่างไรก็ตามยังสามารถขนส่งการส่งออกพืชผลไปยังจีนได้บางส่วน ด้านการส่งออกแตงโม แตงกวา มะม่วง ปลา ปู และปลาไหลยังขนส่งไปจีนตามปกติ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-operating-usual-imports-stutter-muse.html