ท่าเรือติวาลาพร้อมรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

การท่าเรือของเมียนมา (Myanmar Port Authority: MPA) อนุญาตให้เรือขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 10 เมตรเข้าเทียบได้ที่ท่าเรือติวาลาของย่างกุ้งในเดือนนี้ คาดว่าจะช่วยให้มีปริมาณการขนส่งสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์มากและสามารถกระตุ้นให้มีปริมาณการค้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าของเมียนมาประมาณ 95% เป็นการค้าทางทะเล ในปีงบประมาณที่แล้วมีการส่งออกสินค้ามูลค่ากว่า 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านเส้นทางเดินเรือ ท่าเรือ Thilawa ซึ่งมีความยาว 10 เมตรสามารถรองรับเรือได้ถึง 20,000 ตันหรือ 2,000 TEU (Twenty foot Equivalent Unit : ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) จนถึงต้นปีนี้มีเพียงเรือที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตรเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เทียบที่ท่าเรือ สามารถรองรับเรือได้ถึง 15,000 ตันหรือ 1,500 TEU

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangons-thilawa-port-receive-larger-ships.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามดึงดูด FDI ถึง 26.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม (MPI) เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ระบุว่าเวียดนามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) 26.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้

โดยเงินลงทุนจากโครงการใหม่จำนวน 2,313 โครงการ รวมมูลค่า 13.559 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, จำนวน 907 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมูลค่าจำนวน 1,051 โครงการ  รวมมูลค่า 6.333 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการที่มีการซื้อหุ้นกิจการจากนักลงทุนต่างประเทศ จำนวน 5,812 โครงการ รวมมูลค่า 6.539 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ด้วยมูลค่าเม็ดเงิน 12.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.05 ของเงินลงทุนรวมจากต่างประเทศ รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ก๊าซ น้ำและระบบการปรับอากาศ มีมูลค่า 4.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (18.73%), อสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (14.38%), ค้าส่งค้าปลีก ซ่อมยานยนต์ มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.68%) และอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-attraction-hits-2643-bln-usd-in-11-months/191282.vnp

โรงกลั่นร่วมทุนจีน-สปป.ลาวเริ่มต้นการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเชิงพาณิชย์

Lao Petroleum & Chemical Co.Ltd (Laopec) บริษัทร่วมทุนจีน – สปป.ลาวได้เปิดตัวการโรงกลั่นน้ำมันในเฟสแรกของโครงการซึ่งคาดการณ์จะสามารถผลิตได้ถึง 3 ล้านตัน/ปี Laopec ซึ่งเป็นโรงกลั่นแห่งแรกของสปป.ลาวจะเติมเต็มช่องว่างในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในสปป.ลาวได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ โดยโครงการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาครบวงจรในเวียงจันทน์ครอบคลุมพื้นที่ 425 mu (ประมาณ 28.3 เฮกตาร์) และมีแผนจะลงทุนประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 3 ขั้นตอนเพื่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันที่ทันสมัย มีรายงานว่ากำลังการผลิตที่ครอบคลุมของเฟสแรกของ Laopec จะสูงถึงหนึ่งล้านตันต่อปีและจะช่วยให้สปป.ลาวมีอุปทานน้ำมันสำเร็จรูปที่ปลอดภัยและมีเสถียรภาพดังนั้นโรงงานที่เปิดใหม่ดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของสปป.ลาวได้อย่างก้าวกระโดด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-12/01/c_139554780.htm

โครงการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวของกัมพูชาเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 55

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กล่าวว่าโครงการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในจังหวัดกัมปอตได้ดำเนินการแล้วเสร็จถึงร้อยละ 55 แต่ด้วยการออกแบบใหม่และผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้เกิดความล่าช้า โดยโครงการมีมูลค่าอยู่ที่ 8 ล้านดอลลาร์ มาจากเงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2022 ซึ่งหัวหน้าแผนกโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำและการก่อสร้างท่าเรือของ MPWT กล่าวว่าได้ตัดสินใจที่จะออกแบบอาคารผู้โดยสารหลักและท่าเรือใหม่เนื่องจากเพิ่งสังเกตว่าการออกแบบครั้งแรกไม่ดีพอ ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบและวางแผนเพิ่มเติมสำหรับข้อกำหนดโครงสร้างที่แตกต่างกัน โดยท่าเรือตั้งอยู่ในเขตตึกชูมีความยาวประมาณ 300 เมตร และสามารถรองรับเรือที่บรรทุกผู้โดยสารได้ 300 ถึง 400 คน โดยเมื่อท่าเรือสร้างเสร็จและพร้อมให้บริการ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านแพ็คเกจการท่องเที่ยวที่เชื่อมจังหวัดกัมปอตกับจุดหมายปลายทางในเวียดนามและไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787547/kampot-tourism-port-project-55-complete/

ตลาดกัมพูชายังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการพืชผักภายในประเทศได้

รายงานการปลูกผักในกัมพูชามีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ประเทศกลับไม่สามารถยุติการนำเข้าได้เนื่องจากการบริโภคในท้องถิ่นนั้นมีปริมาณที่มากกว่าการผลิต โดยกระทรวงและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกำลังทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกผักเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแรงผลักดันของการปลูกผักทั่วกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสู่ 60,000 เฮกตาร์ โดยการเก็บเกี่ยวผักภายในประเทศกัมพูชาอยู่ที่ 640,000 ตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการผักของอยู่ที่ประมาณ 850,000 ตันต่อปี โดยความพยายามในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในกัมพูชายังคงเป็นความท้าทาย แต่กระทรวงและรัฐบาลจะยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อเอาชนะปัญหาทั้งหมดเพื่อช่วยให้เกษตรกรเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787580/vegetable-planting-up-but-not-yet-feeding-local-demand-in-full/

เวียดนามเผย COVID-19 ส่งผลต่อการลงทุน FDI ดิ่งลง

จากรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ระบุว่าเวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวม 26.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยทางกระทรวงฯ กล่าวเสริมว่าเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะที่ นักลงทุนยังไม่สามารถเดินทางได้ จากข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน มีโครงการใหม่กว่า 2,313 โครงการที่ได้รับการจดทะเบียน ลดลงร้อยละ 33.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.6 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ด้วยมูลค่าเงินทุน 12.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์และการค้าส่งและค้าปลีก ตามลำดับ นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการลงทุนมายังเวียดนามมากที่สุด ด้วยมูลค่าราว 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 30.6 ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมาเกาหลีใต้และจีน ตามลำดับ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pandemic-drags-down-fdi-attraction/191301.vnp

เวียดนามจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือนพ.ย. พุ่ง 7.3%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือนพฤศจิกายน 13,100 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนนี้ มีเงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ด้วยมูลค่า 12.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวนการจ้างงาน 119,700 คน ทั้งนี้ ช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ในเวียดนาม 124,300 แห่ง ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 81.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.9 ในแง่ของจำนวนธุรกิจ แต่กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 ในแง่ของเงินทุนจดทะเบียน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อีกทั้ง มีธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว 40,800 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 รัฐบาลเวียดนามได้ดำเนินการช่วยเหลือแก่ชุมชน ซึ่งการช่วยเหลือเมื่อเร็วๆนี้ เป็นในลักษณะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลร้อยละ 30 สำหรับธุรกิจที่มีรายได้น้อยกว่า 200 พันล้านด่อง (8.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2563

ที่มา : http://hanoitimes.vn/business-formations-in-vietnam-rise-73-mm-in-november-315065.html

เมียนมาตอบรับข้อเสนอญี่ปุ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเผย เมียนมายินดีรับข้อเสนอของญี่ปุ่นในการลงทุนในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในเขตตะนาวศรี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมา โดยการลงทุนคาดว่าจะเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับ G2G ทั้งนี้รัฐบาลไทยยังแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายด้วย ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในการพัฒนา SEZ โดยมีมูลค่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐบนพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ โดยจะดำเนินการเป็นระยะ ๆ รวมถึงท่าเรือน้ำลึกและ high-tech zones. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของไทยได้เคยทำ MOU กับรัฐบาลเมียนมาร์ในปี 2551 แต่ต้องหยุดชะงักในปี 2556 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทูตญี่ปุ่นประจำเมียนมากล่าวว่ากำลังศึกษาโครงการท่าเรือน้ำลึกและจะจัดหาเงินทุนให้กับโครงการผ่านความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือด้วยวิธีการอื่น ๆ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-replies-japans-offer-cooperation-dawei-sez.html

จับตาครมไฟเขียวแผนแม่บทเฉพาะกิจสู้โควิด-19

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอครม.เห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2564-65 ฉบับสมบูรณ์ และร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมจะพิจารณาข้อเสนอของกระทรวงต่างๆ หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-65 ฉบับสมบูรณ์ และร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง ขณะที่กระทรวงการคลัง เสนอการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งยังเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 นอกจากนี้ยังเสนอร่างประกศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก เพื่อขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรในโควตาสำหรับสินค้ากากถั่วเหลือง และเสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดของบัตรภาษี ส่วนกระทรวงพลังงาน เสนอร่างกฎกระทรวงระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ และกระทรวงคมนาคม เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/810084

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนพฤศจิกายน ติดลบ 0.01%

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน 2563 ติดลบร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.48 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ 7 ใน 11 รายการของกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์และบริการที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม หมวกและรองเท้า (0.14%), ที่พักอาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.07%), เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.06%), เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์ (0.03%), ยาเวชภัณฑ์และบริการทางสุขภาพ (0.01%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.12%) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ การศึกษาอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง

อีก 3 รายการที่ลดลง ได้แก่  วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (0.06%) บริการโทรคมนาคม (0.17%) และการขนส่ง (0.47%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-cpi-down-by-001-percent-in-november/191274.vnp#&gid=1&pid=1