สปป.ลาวกำลังให้ความสำคัญกับการขายไฟฟ้าให้กัมพูชามากขึ้น

แขวงจำปาสักในสปป.ลาวอาจขยายการผลิตการไฟฟ้าให้กัมพูชาได้มากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ชายแดน Mr. Bounleud Keophasouk เจ้าหน้าที่สถานีย่อยหาดในเขตโขงกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่าน “ปริมาณไฟฟ้าที่ขายให้กัมพูชาอาจเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากสายส่งที่มีอยู่มีความสามารถในการบรรจุพลังงานได้มากขึ้น แต่ผมไม่สามารถพูดได้ว่าในเวลานี้จะมีมากน้อยเพียงใด” ผู้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังน้ำมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐคือ บริษัท Mega First Corporation Berhad ซึ่งเป็น บริษัท สัญชาติมาเลเซียซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 80 ในขณะที่ EDL-Gen (Electricite du Laos Generation Public Company) ที่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจถือหุ้นร้อยละ 20 การร่วมมือของบริษัทแนวหน้าจะทำให้การผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวมีกำลังมาขึ้นและเป็นส่วนช่วยที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปัจจุบันอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำของสปป.ลาวกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี 2548 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพียง 9 แห่งทั่วประเทศมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 680 เมกะวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ 3,237 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบันเขื่อน 78 แห่งเปิดให้บริการโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9,972 เมกะวัตต์ซึ่งสามารถผลิตได้ 52,211 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos231.php

ตลาดประกันฯในกัมพูชายังคงเติบโตท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

เบี้ยประกันภัยรวมในกัมพูชาอยู่ที่ 201.7 ล้านดอลลาร์ ณ ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 โดยการเติบโตดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดประกันภัยทั่วไปขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 18.2 ซึ่งตลาดประกันชีวิตเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.8 โดยตลาดประกันภัยทั่วไปยังคงเติบโตอย่างมีนัยสำคัญโดยมีเบี้ยประกันภัยรับประมาณ 87.9 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 74.4 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่สามของปี 2019 ซึ่งตลาดประกันชีวิตเติบโตขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 109.8 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 106.8 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน แต่ตลาดประกันภัยขนาดเล็กถูกมองว่าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤต COVID-19 จากรายงานระบุว่าเบี้ยประกันภัยขนาดเล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีลดลงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785948/insurance-market-continues-to-grow-amidst-covid-19/

กัมพูชาวางแผนจัดตั้งสภาธุรกิจในประเทศไทย

กัมพูชาวางแผนจัดตั้งสำนักงาน “Cambodia Business Council – CBC” ในประเทศไทย ณ กรุงเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและกิจกรรมทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ ตามที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงเทพฯระบุว่าสถานประกอบการดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานครบวงจรสำหรับธุรกิจและการค้าระหว่างกัมพูชาและไทย โดยเห็นได้ชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับแรงจูงใจจากคำมั่นสัญญาล่าสุดของนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศที่จะเพิ่มการค้าทวิภาคีเป็น 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปีนี้ ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 5.569 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการลดลงของการค้าระหว่างทั้งสองประเทศส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785960/cambodia-business-council-to-be-established-in-bangkok/

“อาเซียน” หนุนเปิดประเทศ ฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers Meeting : ATM) ครั้งที่ 26 ว่ามีประเด็นสำคัญด้านต่างๆ ดังนี้คือ 1.การขนส่งในการฟื้นฟูภูมิภาคอาเซียนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2.รับรองงานสำคัญเร่งด่วน-ผลลัพธ์ที่อาเซียนจะต้องร่วมดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 64 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งกัวลาลัมเปอร์ ปี 59-68 และ 3.การขนส่งรายสาขา ทั้งทางอากาศ ทางบก ทางทะเล และการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ซึ่งที่ประชุมยังยินดีต่อความสำเร็จและให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์-งานสำคัญประจำปี 63 ด้านการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การขนส่งกัวลาลัมเปอร์ (KLTSP) ปี 59-68 ระยะกลางพิธีสาร 2 สถาบัน ฝึกอบรมด้านการบินตามความตกลงยอมรับร่วมใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน แผนแม่บทเดินอากาศอาเซียน แนวปฏิบัติในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แนวปฏิบัติการยกระดับขั้นตอนมาตรฐานรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนตามมาตรฐานสหประชาชาติ ปฏิญญาบรูไนว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนของอาเซียน ค.ศ.2020 การเปิดตัววีดิทัศน์ความปลอดภัยทางถนนของอาเซียน และแผนที่โครงข่ายด้านการขนส่งทางบกอาเซียน จนถึงเตรียมจัดประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจะมีขึ้นในลำดับถัดไปเป็นต้น

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1983029

อียู ให้เงินสนับสนุนอาเซียนเดินหน้าโครงการ Smart Green ASEAN Cities

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้มีมติเห็นชอบความตกลงทางการเงินระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อดำเนินโครงการ Smart Green ASEAN Cities เป็นความตกลงเพื่อแสดงว่าอียูจะสนับสนุนงบประมาณ 5 ล้านยูโร สำหรับการดำเนินโครงการฯเวลา 72 เดือน ที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความเป็นเมืองที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับพลเมืองอาเซียน โดยสนับสนุนให้เมืองต่างๆ ในอาเซียนใช้ประโยชน์จากแนวทางเมืองอัจฉริยะ ทั้งนี้มีสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศเข้าร่วมดำเนินโครงการ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ ไทย โดยตั้งเป้าผลผลิต 3 ข้อ คือ 1.ยกระดับการออกแบบ วางแผน และดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะสำหรับเข้าร่วมดำเนินโครงการ 2.เสริมสร้างศักยภาพประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน และ 3.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะระหว่างสหภาพยุโรปและภายในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/news/2020-732378c251cb42fc3f36615ea1929c94

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 86,000 คัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงมูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์อยู่ที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อยู่ที่ราว 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาราสหรัฐ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 350 ล้านด่อง (15,000 ดอลลาร์สหรัฐ) – 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (51,700 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญ มองว่าขนาดของการผลิต, การยกเว้นภาษี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาดขนาดใหญ่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-spend-1-9-bln-on-imported-cars-4195897.html

แบงก์ชาติเวียดนามหั่นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 หวังบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP

จากการที่อัตราเงินเฟ้อผ่อนคลายลงในอีกไม่กีปีข้างหน้า เนื่องมาจากราคาเนื้อหมูลดลง ราคาน้ำมันและราคาก๊าซอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 ในปีนี้ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ร้อยละ 2.5-3 ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ ทางธนาคารกลางเวียดนาม ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ลงมาถึงร้อยละ 0.5 ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ลงจากร้อยละ 4.5 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 4 และปรับลดอัตราดอกเบี้ย rediscount rate ลงจากร้อยละ 3 สู่ระดับร้อยละ 2.5 เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารกลางเวียดนามยังสั่งให้ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดสำหรับระยะสั้น ลงเหลือร้อยละ 4.5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและการส่งออก เป็นต้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-cbank-set-for-5th-policy-rate-cut-to-realize-gdp-growth-target-314966.html

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานส่งเสริมการพัฒนาทักษะจำเป็นต่อแรงงาน

ปัญหาด้านแรงงานถือเป็นความท้าทายที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นการพัฒนาทักษะของแรงงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดจึงเป็นสิ่งท้าทายต่อรัฐบาลเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกล่าวว่า “ทางการจะช่วยเหลือแรงงานสปป.ลาวให้ประสบความสำเร็จและความพยายามในการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานรวมถึงการพัฒนาแรงงานเพื่อให้มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลต่อระบบเศรษฐกิจ” โครงสร้างแรงงานในปัจจุบันของสปป.ลาวขาดความชัดเจนขณะที่การพัฒนาทักษะและกลไกการจ้างงานยังไม่ครอบคลุมและระบบข้อมูลแรงงานยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังไม่มีการบังคับใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานอีกด้วย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมสวัสดิการแรงงานให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นส่วนขับเคลื่อนให้ตลาดแรงงานของสปป.ลาวมีการพัฒนา

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Improvement_230.php

กัมพูชาวางแผนเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชากล่าวว่าก๊าซธรรมชาติ LNG จะมีบทบาทสำคัญในการจัดหาพลังงานของกัมพูชาในอนาคต รวมถึงมีการวางแผนที่จะผลิตไฟฟ้าจากโรงงาน LNG ให้ได้ถึง 3,600 เมกะวัตต์ภายในปี 2030 โดยรัฐบาลจะดึงดูดการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงาน LNG มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันกัมพูชาจะไม่มีโรงงานผลิต LNG ภายในประเทศ ซึ่งกัมพูชาได้ปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในปี 2020-2030 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ก๊าซมากขึ้นในส่วนของการผลิตไฟฟ้าในอนาคต โดยคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาจะฟื้นตัวหลัง COVID-19 ในช่วงปี 2021 ดังนั้นความต้องการพลังงานของกัมพูชาจึงคาดว่าจะกลับมาอย่างแข็งแกร่ง ซึ่ง LNG จะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้าในการใช้ในอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือจะในเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัยก็ตาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785544/cambodia-to-add-power-generation-from-natural-gas/

กัมพูชาเร่งสร้างทางด่วนสาย พนมเปญ-สีหนุวิลล์

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งของกัมพูชายืนยันว่าการก่อสร้างทางด่วนสายแรกของประเทศจะเสร็จสมบูรณ์ตามแผนที่วางไว้แม้จะเกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งโฆษกกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ณ เดือนพฤศจิกายน การก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้วร้อยละ 27 โดยการก่อสร้างดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่บริษัทผู้ก่อสร้างซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศจีนแล้วยังไม่กลับมาเข้ามายังกัมพูชา ซึ่งโครงการทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ มีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 2 พันล้านดอลลาร์ พัฒนาโดย China Road and Bridge Corporation (CRBC) โดยมีกำหนดเปิดใช้งานภายในเดือนมีนาคม 2023 ความยาวรวม 190 กิโลเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785550/phnom-penh-sihanoukville-expressway-construction-to-be-complete-on-schedule/