นครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงิน FDI 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของสำนักงานวางแผนและการลงทุนประจำเมือง เผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ นครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงถึง 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าราว 407.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐโอนเข้าไปยังโครงที่ได้รับจดทะเบียนใหม่ 719 โครงการ ในขณะเดียวกัน 283.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปยังโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 163 โครงการและอีก 2.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าไปยังการซื้อหุ้น ทั้งนี้ ภาคการค้าถือเป็นแหล่งดึงดูด FDI ที่สำคัญของเมือง มีมูลค่ามากกว่า 751 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของเงินทุนรวม รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์และโครงการทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ทางสำนักงานยังระบุเพิ่มเติมว่าในอนาคต เมืองแห่งนี้จะจัดให้เป็นแหล่งพื้นที่การลงทุนที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเมืองอัจฉริยะและเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมขั้นสูง รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

 ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-lures-325-billion-usd-in-fdi-in-nine-months/188056.vnp

เวียดนามเผยการส่งออกผักผลไม้ดิ่งลง ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าส่วนแบ่งการตลาดมะพร้าวของประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิ.ค. แก้วมังกรเป็นสินค้าเกษตรที่มีการเติบโตเร็วที่สุดของเวียดนามในบรรดากลุ่มผลไม้ต่างๆ คิดเป็นยอดส่งออกร้อยละ 51.8 ของมูลค่าส่งออกผลไม้รวม โดยเฉพาะตลาดจีน ที่มีมูลค่าส่งออกพุ่งร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 127.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานนำเข้า-ส่งออก เผยว่ายอดส่งออกแก้วมังกรที่เติบโตอย่างรวดเร็วไปยังจีน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเอื้ออำนวยของพิธีการศุลกากร และความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดจีน นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะช่วยให้ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเวียดนามเมื่อเทียบกับภูมิภาคเดียวกัน อย่างเช่น ไทย ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ก็กลุ่มประเทศอเมริกาใต้ เช่น เปรูและเอกวดอร์

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fruit-and-vegetarble-exports-plummet-over-nine-months-783688.vov

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html

COVID-19 ดันราคาข้าวในย่างกุ้งพุ่งสูงขึ้น

ตั้งแต่เดือนมีนาคมจากการระบาด COVID-19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาปริมาณข้าวที่มีไว้สำหรับการค้าลดลงอย่างมาก ทำให้การเดินทางระหว่างรัฐและการเคลื่อนย้ายสินค้าหยุดชะงัก ดังนั้นปริมาณข้าวที่ส่งไปยังศูนย์ค้าส่งบุเรงนองในย่างกุ้งจึงลดลง โดยปกติจะมีรถบรรทุกข้าวประมาณ 200 คันเข้าและออกจากศูนย์ค้าส่งบุเรงนองต่อวันลดลงเหลือ 20 ต่อวัน ด้วยเหตุนี้ราคาข้าวหอม Paw San, Shwebo, Myaung Mya และ Phya Pone เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 จัตต่อถุงในขณะที่ราคาข้าวส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 จัตต่อถุง รัฐบาลได้ซื้อข้าวจำนวน 50,000 ตันหรือ 10% ของข้าวสำรองไว้สำหรับการส่งออกและจะขายให้ประชาชนได้ในราคาคงที่ ข้าวพันธุ์อื่น ๆ เช่น Shwe Bo Paw San และ Ayeyarwady Paw San จะวางจำหน่ายในราคาตลาด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rice-prices-rise-yangon-covid-19-restrictions-squeeze-supply.html

ดึงเอกชนช่วยปั๊มยอดคนไทยเที่ยว 5 แสนล.

ททท.จัดทำโครงการ เวิร์กเคชั่น ไทยแลนด์ ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ ดึงเอกชนซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวในประเทศ หวังสร้างรายได้ท่องเที่ยว 5 แสนล้านบาท ไทยเที่ยวไทยแตะ 100 ล้านคน-ครั้ง นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ได้จัดทำโครงการ เวิร์กเคชั่น ไทยแลนด์ ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านกลุ่มคนที่ยังมีกำลังซื้อ ออกเดินทางท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมในประเทศ เพื่อให้ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว เบื้องต้นมีบริษัทเข้าร่วมโครงการผ่านการซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวในประเทศแล้วกว่า 84 ราย แบ่งเป็นทั้งหน่วยงาน องค์กร และบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย ทั้งนี้ได้เชิญชวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ องค์กร และหน่วยงาน เดินทางท่องเที่ยวผ่านเส้นทางการท่องเที่ยว 5 ประเภท ได้แก่ ทำงานแบบสุขกาย สุขใจ ได้ตอบแทนสังคมรักษาสิ่งแวดล้อม,ท่องเที่ยวไปกับความสนใจพิเศษที่เลือกได้เอง ควบคู่กับการทำงาน,สร้างทีมเวิร์กด้วยกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน,พบปะหารือแบบพิเศษ และเสนอส่วนลดพิเศษ รวมทั้งแพ็กเกจทัวร์อีกจำนวนมาก เชื่อว่าโครงการนี้ จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศทั้งปีไม่ต่ำกว่า 80-100 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้หมุนเวียนกว่า 400,000-500,000 ล้านบาท นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ททท.ยังได้หารือร่วมกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการหารือถึงการปรับเงื่อนไขของเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อให้มีความน่าสนใจและกระตุ้นการท่องเที่ยวได้มากขึ้นด้วย.

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/799333

อุทยานแห่งชาตินาไก – น้ำเทินโครงการต้นแบบการพัฒนาเมืองควบคู่สิ่งแวดล้อม

อุทยานแห่งชาตินาไก – น้ำเทินหนึ่งในพื้นที่รกร้างสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังได้รับการพัฒนาเป็นโครงการต้นแบบสำหรับการจัดการพื้นที่คุ้มครองในสปป.ลาวและส่วนที่เหลือของภูมิภาค คุณ Savanh Chanthakoumane ผู้อำนวยการบริหารของอุทยานกล่าวกับเวียงจันทน์ไทม์สเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “เราจำเป็นต้องสร้างสมดุลในการปกป้องอุทยานและการปรับปรุงความเป็นอยู่ด้วยความช่วยเหลือจากการมีส่วนร่วมในพื้นที่ซึ่งที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับการจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเลย”  นาคาอิ – น้ำเทินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วเป็นโดยเป็นจุดรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกโดยมีพื้นที่ 4,270 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซทางตอนกลางของสปป.ลาว ในปี 2562 มีการระดมทุน 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 3 แหล่งเพื่อใช้ไปกับการปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานและส่วนที่เหลือจะถูกใช้ไปกับกิจกรรมการอนุรักษ์การส่งเสริมพื้นที่ดังกล่าวจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่สำคัญควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในแบบของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Nakai_193.php

CDC กัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนสองโครงการมูลค่าเกือบ 5 ล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 2 โครงการ ในสัปดาห์นี้ด้วยเงินทุนรวม 4.9 ล้านดอลลาร์ในกรุงพนมเปญ ตามรายงานของ CDC โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติใหม่เป็นของ Awtex Garment Co., Ltd. ในพื้นที่ Sambour, Sangat Dangkor, Khan Dangkor และโครงการของบริษัท Hermo (Cambodia) Co., Ltd. ในพื้นที่ Chumrov, Sangat Kork Roka, Khan Prek Phnov ซึ่งโครงการลงทุนทั้งสองโครงการครอบคลุมการผลิตเสื้อผ้าและถุงมือ คาดการณ์ว่าจะสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ได้ราว 1,513 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50769409/cdc-approves-two-investment-projects-of-almost-5-million/

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เล็กเห็นศักยภาพในตลาดกัมพูชา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ในนาม Krungsri มุ่งเน้นไปที่ตลาดในภูมิภาคสำหรับแผนธุรกิจระยะกลางเนื่องจากมองหาการเติบโตแบบ S-curve ในระยะถัดไป ซึ่งในอาเซียนกรุงศรีมีสำนักงานในกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ภายใต้รูปแบบและกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมบนพื้นที่ โดยได้จัดทำแผนธุรกิจระยะต่อไปสำหรับปี 2021-23 ที่เน้นไปที่ความคล่องตัวและความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับช่วงหลัง COVID-19 ซึ่งธนาคารได้ขยายสู่ตลาดอาเซียนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาภายใต้ความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของญี่ปุ่นคือ Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบันธนาคารยังคงรักษาแผนธุรกิจที่มีอยู่และปรับกลยุทธ์บางอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตที่สูงของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50769441/bank-of-ayodhya-krungsiri-sees-potential-in-regional-markets-especially-cambodia/

สนามบินนานาชาติย่างกุ้งระงับเที่ยวบินในประเทศถึงวันที่ 31 ตุลาคม 63

Reserved: เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด -19 สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจะขยายการระงับเที่ยวบินภายในประเทศไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม เนื่องจากมียอดจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มขึ้น โดยสายการบินแห่งชาติเมียนมา (MNA) ระงับเที่ยวบินเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 11-30 กันยายน 63 และจะระงับเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมดจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมเนื่องจากเมืองทั้งหมดในเขตย่างกุ้งอยู่ภายใต้คำสั่งให้หยุดเชื้อโดยการอยู่ในที่พักอาศัย (Stay at Home) สายการบิน Mann Yadanarpon จะยังคงระงับเที่ยวบินภายในประเทศจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม สายการบิน Golden Myanmar Airlines ถึงวันที่ 31 ตุลาคม สายการบิน Air KBZ ถึงวันที่ 31 ตุลาคมหรือจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมและ สายการบิน Air Thanlwin ถึงวันที่ 16 ตุลาคม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-intl-airport-extends-domestic-flight-suspension-until-october-31

เวียดนามคาดมูลค่าการส่งออก 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานนำเข้า-ส่งออก เผยเวียดนามมีมูลค่าส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 202 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สิ่งที่น่าสังเกต คือ ภาคเศรษฐกิจในประเทศของเวียดนามเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับอียู (EVFTA) ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิ.ค. ทำให้การส่งออกของเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ ในเดือนสิ.ค. เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปสหภาพยุโรปอยู่ที่ 3.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 เมื่อเทียบกับเดือนก.ค. นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้ดำเนินการตามแผนส่งเสริมการค้าในปี 2563-2568 เพื่อส่งเสริมสินค้าให้มีประสิทธิภาพและมีความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงยังช่วยเหลือธุรกิจท้องถิ่นให้มีการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและจีน เป็นต้น  

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-likely-to-earn-300-billion-usd-in-exports-this-year/188033.vnp