อัตราเงินเฟ้อของกัมพูชาในช่วง COVID-19 อยู่ที่ร้อยละ 3

อัตราเงินเฟ้อของกัมพูชายังคงอยู่ในระดับต่ำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ในขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศยังคงสามารถรองรับการนำเข้าสินค้าและบริการได้นานถึง 10 เดือน กล่าวโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยระหว่างการประชุมกับตัวแทนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในกัมพูชา โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาในปี 2020 เป็นลบร้อยละ 4 จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ติดลบร้อยละ 5.4 ในเดือนมิถุนายนเนื่องจากภาคการเกษตรมาการปรับตัวที่ดีขึ้นและปริมาณการผลิตที่นอกเหนือจากเครื่องนุ่งห่มที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงค่อนข้างคงที่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2020 ก่อนที่จะลดลงสู่ร้อยละ 1.8 ในปี 2021 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ต่ำทำให้ต้นทุนการขนส่งและการผลิตลดลงด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50766833/cambodias-inflation-stands-at-3-percent-during-covid-19/

ไทยดัน เจฮับ ยึดเทรนด์คนกินผักมูลค่า 5 แสนล้าน

กระทรวงเกษตร เร่งวางโรดแมปดันไทยเป็น “เจฮับ” โมเดลซิลิคอนวัลเลย์ผลิตอาหารแห่งอนาคตเจาะตลาด 4 พันล้านคน มูลค่า 5 แสนล้านบาท จับมือภาคเอกชนลุยส่งออก โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อสร้างโอกาสและศักยภาพใหม่ให้กับประเทศ ซึ่งอาหารแห่งอนาคตเป็นเป้าหมายสำคัญ กระทรวงเกษตรฯจึงให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรขับเคลื่อนโครงการพืชแห่งอนาคต เพื่อตอบสนองการผลิตอาหารแห่งอนาคต ที่มีแนวโน้มความต้องการของตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืชผลิตเป็นอาหารหรือเนื้อจากพืช หรือ อาหารเจ จะเป็นสินค้าเกษตรอาหารตัวใหม่ในการสร้างรายได้สร้างอาชีพและธุรกิจการเกษตรใหม่ๆ ให้กับภาคเกษตรและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารในยุคโควิดที่ผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉพาะในจีน อินเดีย ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐฯและยุโรป ต้องการอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นนับเป็น New Normal ในยุคโควิดเป็นเทรนด์การรับประทานอาหารแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก อีกทั้งข้อมูลของ FAO  คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของโลกเพิ่มขึ้น 30% ภายใน 15 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกรกอ. สศก. สวก.และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม หอการค้าไทยและกระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับกลุ่มบริษัทไทยผู้ผลิตอาหารเจภายใต้โมเดลเนื้อจากพืชจัดทำโรดแมปตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคต หรือเรียกว่า ซิลิคอน วัลเลย์อาหารแห่งอนาคต

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/899252?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามเผย FTA เป็นกุญแจสำคัญในการหาตลาดใหม่

ข้อตกลงการค้าเสรี หรือเรียกอีกชื่อว่า FTA มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการค้าและการดำเนินธุรกิจ รวมถึงช่วยให้สินค้าและบริการของเวียดนามไปยังตลาดใหม่ๆ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ ซึ่งมูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับสมาชิกดังกล่าว ในปี 2562 อยู่ที่ 77.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายและปัญหาหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนลงนาม FTA ได้อย่างเต็มศักยภาพ ยกตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าธุรกิจเกษตรส่วนใหญ่ของเวียดนามยังคงเน้นการส่งออกจำนวนมาก ที่ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพเท่าไรนักก็ต่อเมื่อไม่กระทบต่อความสามารถทางการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ธุรกิจได้รับความเสี่ยงที่จะไม่ผ่านมาตรฐานการนำเข้าของกลุ่มประเทศ นอกจากนี้ จีน อินเดียและกลุ่มประเทศในอาเซียน ยังผลิตสินค้าและบริการที่คล้ายคลึงกันหรือในบางกรณีที่แข่งขันโดยตรงกับสินค้าของเวียดนาม ในขณะที่ ข้อตกลงการค้าเสรี ‘CPTPP’ และ ‘EVFTA’ ถือเป็นก้าวสำคัญของเวียดนามในการดำเนินงานระดับโลกและการพัฒนาของประเทศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772719/ftas-key-to-help-find-new-markets.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยพุ่ง 100% ในเดือนสิงหาคม

จากรายงานทางสถิติเบื้องต้นของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม จำนวนนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศ (CBU) พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 85.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 คัน) โดยส่วนใหญ่มาจากตลาดหลัก 3 แห่ง ได้แก่ ไทย 4,743 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย 2,523 คัน และจีน 572 คัน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 90 ของปริมาณการนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดของเวียดนามในเดือนนี้ ทั้งนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 8,836 คัน เป็นมูลค่าที่ 202 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน ในเดือนกรกฎาคม นำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 4,761 คัน เป็นมูลค่าที่ 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ รถยนต์ที่นำเข้าจากไทยในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ซึ่งอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 100 (มีเพียง 2,234 คัน ในเดือนกรกฎาคม)

ที่มา : https://customsnews.vn/automobiles-import-from-thailand-increase-by-100-in-august-15964.html

เมียนมาหยุดนำเข้าไก่จากความต้องการที่ลดลง

เมียนมาระงับการนำเข้าไก่เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เนื่องจากความต้องการสัตว์ปีกในท้องถิ่นที่ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แม้ว่าต้นทุนของลูกไก่จะสูงกว่า 500 จัต แต่ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 150 จัตต่อตัว ประธานสมาพันธ์ปศุสัตว์เมียนมาจึงได้เสนอให้งดนำเข้าเป็นเวลาสามเดือน แต่ทางการได้อนุมัติการระงับหนึ่งเดือนไปก่อน สมาคมผู้เพาะพันธุ์และผู้ผลิตปศุสัตว์แห่งเมียนมาตัดสินใจว่าจะขยายการห้ามนำเข้าเป็นรายเดือนหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริโภคในท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าลูกไก่กว่า 1.9 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคมแต่ลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายนเนื่องจากมีมีการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ การผลิตและการบริโภคในท้องถิ่นของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัวต่อเดือน การบริโภคไก่อยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัวต่อวันและเนื่องจากความต้องการที่ลดลงผู้เลี้ยงไก่จึงสูญเสียรายได้ต่อวันประมาณ 50 ล้านจัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chicken-imports-banned-myanmar-poultry-demand-falls.html

สปป.ลาวถูกปรับลดเครดิตอยู่ระดับ CCC จากความเสี่ยงที่อาจผิดชำระหนี้

ฮ่องกง – ฟิทช์เรทติ้งได้ปรับลดอันดับเครดิตของสปป.ลาวเป็น “CCC” จาก “B-” ซึ่งหมายความว่าสปป.ลาวกำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมาก สาเหตุหลักของการปรับลดคือสภาพคล่องของประเทศกับหนี้สินที่ต้องจ่ายภายในสิ้นปีนี้ สปป.ลาวมีหนี้ภายนอกราว 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะครบกำหนดจ่ายคืนภายในสิ้นปีนี้ตามด้วยอีก 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสี่ปีข้างหน้าแต่ในขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของสปป.ลาวอยู่ที่ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์จึงมีความเสี่ยงที่อาจผิดนัดชำระหนี้ได้จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ฮ่องกง – ฟิทช์เรทติ้งปรับลดเครดิตของสปป.ลาว ถึงแม้ในปีนี้สปป.ลาวอาจไม่ได้รับผลมากนักเพราะสภาพเพียงพอจ่ายในงวดแรก แต่ในอีก 4 ปีข้างหน้าอาจมีการผิดชำระหนี้ จากการคาดการณ์ฮ่องกง – ฟิทช์เรทติ้งมองว่าการขาดดุลของประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อย 7 รายได้คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 25 ในปีนี้เป็นผลมาจากการระบาด COVID-19 สำหรับสปป.ลาวเป็นประเทศเดียวใน 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มี “CCC” หรือต่ำกว่า

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/Laos-credit-downgrade-signals-real-default-risk-as-China-looms

พลังงานแสงอาทิตย์ยังคงมีความสำคัญกว่าการนำขยะมาผลิตพลังงานในกัมพูชา

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 30 เมกะวัตต์ในจังหวัดโพธิสัตว์ ได้เริ่มผลิตไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติโดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติอีกสามโครงการที่จะผลิตพลังงานในปลายปี 2020 แต่สิ่งนี้ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับการที่จะนำขยะภายในท้องถิ่นมาเข้าขบวนการเปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือที่เรียกันว่าพลังงานขยะ (WTE) ยังไม่ถูกนำมาใช้ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวม 140 เมกะวัตต์จะแล้วเสร็จใน 4 จังหวัดทั่วกัมพูชาภายในสิ้นปี 2020 โดยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทิศทางที่กัมพูชากำลังดำเนินไปในแง่ของพลังงานหมุนเวียนในขณะนี้แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าขยะชุมชนก็ตาม ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะอยู่ที่ประมาณ 0.14 ถึง 0.15 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงที่ขายให้กับ Electricite du Cambodge (EDC) และอัตราค่าไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำอยู่ที่ 0.06 ถึง 0.07 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ และจากโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 0.08 เหรียญต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ตามรายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อมมีการรวบรวมและส่งขยะมูลฝอยกว่า 1.7 ล้านตัน ไปยังที่ทิ้งขยะซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยขยะมูลฝอยคิดเป็นร้อยละ 51 ของขยะทั้งหมดในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50766293/solar-still-beats-waste-to-energy/

ADB คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาจะเติบโตช้าลงในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาในปี 2020 เป็นลบร้อยละ 4 จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ติดลบร้อยละ 5.4 ในเดือนมิถุนายนเนื่องจากผลการดำเนินงานทางการด้านการเกษตรที่ดีขึ้นและปริมาณการผลิตสินค้าที่นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่เพิ่มขึ้น โดยเสริมถึงเศรษฐกิจท้องถิ่นจะฟื้นตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ในปี 2021 แต่อย่างไรก็ตามการคาดการณ์นี้ยังไม่เป็นที่แน่นอนและจะขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงค่อนข้างคงที่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2020 ก่อนจะลดลงเหลือร้อยละ 1.8 ในปี 2021 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ต่ำทำให้ต้นทุนการขนส่งและการผลิตลดลง โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาระบุว่าการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ไม่ดีจากสภาพอากาศเลวร้ายยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765972/adb-revised-forecast-says-economy-to-plunge-this-year/

ธนาคารกลางเวียดนามเล็งปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เล็งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามคำแถลงการณ์ของรองผู้ว่าธนาการกลาง เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา โดยทางผู้ว่าธนาคารกลาง กล่าวว่ายังคงให้การสนับสนุนกับทางสถาบันสินเชื่อในทุกวิธีทาง รวมถึงอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามสนับสนุนสถาบันสินเชื่อ ให้ลดค่าใช้จ่าย-ต้นทุน และสนับสนุนลูกค้ารายใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ก็ยังรักษามาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อวงเงินสูง เพื่อให้มั่นใจว่าภาคธนาคารมีเสถียรภาพในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความต้องการเงินกู้ในปีนี้อยู่ในระดับต่ำ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตัวเลขของการเติบโตสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว สำหรับอัตราหนี้เสีย พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ดำเนินการตามแนวทาง Basel II

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/central-bank-eyes-further-interest-cut/187441.vnp

เวียดนามทำสถิติยอดเกินดุลการค้าสูงสุดในช่วง 9 เดือนและครึ่งแรกของปีนี้

กรมศุลกากรระบุว่าเวียดนามมียอดการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 361.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงกลางเดือนกันยายนในปีนี้ ส่งผลให้ตัวเลขของยอดเกินดุลการค้าในช่วง 8 เดือนแรก ขยับพุ่งแตะ 14.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออก 4 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1-15 กันยายน ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน (2.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ (2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ), เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ (1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเครื่องจักรและอุปกรณ์ (1.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามลำดับ ขณะที่ มูลค่าการนำเข้ารวม อยู่ที่ราว 11.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงกลางเดือนกันยายน นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติเมื่อปีที่แล้ว พบว่าเวียดนามมียอดเกินดุลการค้าถึง 9.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา หลังจากในปี 2559 มีมูลค่าที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยปี 2560 ที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2561 ที่ 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/trade-surplus-reaches-record-high-in-nine-months-and-a-half/187444.vnp