INFOGRAPHIC : เวียดนามกลับมาเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ 6 เส้นทาง

เที่ยวบินระหว่างประเทศจะกลับมาเปิดภายในเดือนกันยายน 2563 หลังจากช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ยกเลิกการบิน เนื่อจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (COVID-19) โดยการเปิดเที่ยวบินดังกล่าว จะช่วยสร้างแรงหนุนใหม่ให้กับตลาดการบินที่ซบเซา จากการระบาดระลอก 2

เที่ยวบินต่างประเทศที่เวียดนามเปิดรับมีดังต่อไปนี้

  1. โซล  (เกาหลีใต้)
  2. โตเกียว (ญี่ปุ่น)
  3. ไทเป (ไต้หวัน, จีน)
  4. กว่างโจว (จีน)
  5. เวียงจันทน์ (สปป.ลาว)
  6. พนมเปญ (กัมพูชา)

ความถี่ : ไม่เกิน 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์/เที่ยวบินละกลุ่ม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/six-intl-commercial-flights-resumed/185223.vnp

รัฐบาสปป.ลาว พยายามหาวิธีป้องกันผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ

ในการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17-18 ก.ย. เจ้าหน้าที่ได้รับการกระตุ้นให้ดำเนินมาตรการอย่างเคร่งครัดและติดตามผู้คนที่เข้ามาในสปป.ลาวอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกสอง เจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้วิเคราะห์ผลกระทบที่เป็นไปได้ของการตกต่ำของเศรษฐกิจโลกที่มีต่อสปป.ลาว กำหนดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างเข้มแข็งเพื่อต่อต้านการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและการประพฤติมิชอบทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ให้สื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกับกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวและหน่วยงานอื่น ๆ ชี้แจงประเด็นที่เป็นความกังวลของสาธารณชน มีการผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐมีการจัดเก็บรายได้มากขึ้น ได้มีการอภิปรายร่างรายงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่เหลือของปีนี้และปีหน้า กระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้รับคำแนะนำให้ทำงานร่วมกับกระทรวงการคลังและภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อสรุปรายงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 9 เดือนสำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี สมาชิกคณะรัฐมนตรียังเห็นชอบในหลักการแผนแม่บท 5 ปีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลตั้งแต่ปี 64-68 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการบริหารงานของรัฐและเสริมสร้างการบริหารจัดการขององค์กรเอกชน นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนในปี 63 การมีข้าราชการใหม่ในปี 64 และร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อส่งเสริมโอกาสในการจ้างงานในพื้นที่ชนบท

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_seeks_183.php

กระทรวงการวางแผนและการลงทุนส่งเสริมกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFP) เพื่อพัฒนาสตรี

ซึ่งได้จัดฝึกอบรมการเสริมสร้างศักยภาพและทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของสตรีให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวง 33 คนในเวียงจันทน์เมื่อเร็ว ๆ นี้ การฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมการเป็นผู้นำและการตัดสินใจของสตรี นางคำจันทร์วงศ์ เส็งบุญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเป็นประธานร่วมในการฝึกอบรมกับผู้แทน UNFPA กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคนต้องมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน โดยปราศจากความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติ ความเสมอภาคและการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยังเป็นส่วนสำคัญในทุกมิติของการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Planning_183.php

จำนวนนักท่องเที่ยวทะลุ 1 ล้านคน ในช่วงเทศกาลประชุมแบนของกัมพูชา

การท่องเที่ยวภายในประเทศของกัมพูชาในช่วงเทศกาลประชุมแบนมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงวันหยุดสามวันที่ผ่านมาตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศอยู่ที่ 1,112,403 ล้านคนในจำนวนนี้คิดเป็นนักท่องเที่ยวภายในประเทศประมาณ 1,105,611 คน และนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 6,792 คน ซึ่งรายงานยังระบุด้วยว่าจังหวัดพระตะบองมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุด โดยมีประมาณ 134,440 คน ตามด้วยจังหวัดเสียมราฐ และกัมปอต ซึ่งแม้จะมีฝนตกชุกในบางจังหวัด แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็มีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาท่องเที่ยว เนื่องจากราคาอาหารและที่พักถูกลง ส่งผลให้ผู้คนออกมาท่องเที่ยวกันอย่างล้นหลามในช่วงเทศกาลที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764600/tourist-numbers-reach-over-1-million-during-the-pchum-ben-festival/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นในช่วง 7 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นอยู่ที่ 1,175 ล้านดอลลาร์ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวรายงานโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นมีมูลค่าอยู่ที่ 914 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3 พบว่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างสองชาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13 ที่ 2,292 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764528/cambodia-japan-trade-reaches-1-1-billion-in-first-seven-months/

เวียดนามตั้งเป้า GDP ปี 64 โต 6.5%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ได้ตั้งเป้าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2564 ร้อยละ 6-6.5 ซึ่งเป้าหมายจากการประชุมรัฐบาลในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปีนี้และแผนการณ์ในปีหน้า ทั้งนี้ ทางกระทรวง MPI ร่วมมือกับกระทรวงการคลังในเรื่องแผนการใช้งบประมาณในปีนี้และส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนามอนุมัติต่อไป ทั้งสองกระทรวงข้างต้นจะรายงานเกี่ยวกับการใช้งบประมาณในวันที่ 25 กันยายนและเร่งเบิกจ่ายโครงการในปีนี้ นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐต่างๆ จะส่งแผนรายละเอียดการลงทุนที่ใช้งบประมาณในปี 2563 ภายในวันที่ 30 กันยายน หลังจากนั้น กระทรวง MPI จะร่วมมือกับกระทรวงการคลัง เพื่อประเมินโครงการและรายงานไปยังนายกรัฐมนตรี

 ที่มา : https://vietreader.com/business/16757-vietnam-targets-65-gdp-2021-growth.html

เวียดนามเผยธุรกิจเครื่องหนังและรองเท้า ไม่น่าบรรลุเป้าส่งออก 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าของเวียดนาม ตั้งเป้าการส่งออกยากที่จะถึง 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ เนื่องจากตลาดทั่วโลกหดตัวลง ทั้งนี้ ในภาพรวม มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวอยู่ที่ 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคชาวต่างชาติรัดเข็มขัดการบริโภค ซึ่งตลาดรองเท้าเวียดนามหลานรายได้รับผลกระทบ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เบลเยียมและเยอรมนี นอกจากนี้ กระทรวง MoIT ระบุว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้ายังคงเผชิญกับอุปสรรคในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ และตลาดอียูที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 โดยปัจจุบัน จำนวนธุรกิจมีมากกว่า 1,700 แห่ง และธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 85 มีเงินทุนและเทคโนโลยี รวมถึงต้องพึ่งพาการนำเข้าวัสดุจากต่างชาติอย่างมาก

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/leather-footwear-sector-unlikely-to-meet-us24bln-export-target-780044.vov

เมียนมามุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19

กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศและประธานคณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ (MIC) ของเมียนมาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาคส่วนเพื่อรับมือกับผลพวงของ COVID-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าสามารถตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะส่งเสริมการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเกษตรกรรมซึ่งสนับสนุนทั้งห่วงโซ่อุปทาน การผลิตสินค้าเกี่ยวข้องกับสุขภาพและเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล และจำเป็นที่จะต้องทบทวนแผนส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ (MIPP) ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวแห่งชาติระยะยาวในการดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศ ADB ชี้การแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนในอนาคตและอาจส่งผลกระทบต่อการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การอนุมัติ FDI เพิ่มขึ้นเป็น 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 3 สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2563 จาก 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยนักลงทุนให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการผลิต ขณะที่ GDP ของเอเชียในปีนี้คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการถดถอยครั้งแรกในรอบเกือบหกทศวรรษซึ่งอาจทำให้การลงทุนไหลเข้าเมียนมาลดลงในอนาคต โดย ADB คาดว่าการเติบโตเศรษฐกิจของเมียนมาจะเหลือเพียงร้อยละ 1.8 เปอร์เซ็นต์ในปีงบประมาณ 62-63 เทียบกับร้อยละ 4.2 ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน 63 หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดีการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะฟื้นตัวเป็นร้อยละ 6 ในปีงบประมาณ 63-64

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/border-trade-hold-myanmar-thailand-add-restrictions.html

เปิดเวทีรับฟังเอฟทีเอ ไทย-อียู 22ก.ย.นี้ เพิ่มโอกาสค้าขายสินค้าไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู 22 ก.ย.นี้ หลัง “ไอเอฟดี” ศึกษาเสร็จแล้ว “อรมน” ชี้ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการค้ากับประเทศที่มี FTA รวม 62.8% ถ้าได้อียูที่มีสัดส่วนการค้า 7.9% จะทำให้การค้าของไทยกับประเทศที่ทำ FTA เพิ่มเป็น 70.7% ยิ่งสร้างโอกาสค้าขาย แย้มผลศึกษา สินค้าไทยมีโอกาสส่งออกได้เพียบ แต่ก็ต้องเปิดตลาดให้อียูเพิ่ม จับตาหากเจรจา ต้องรับมือกับประเด็นใหม่ๆ ด้วย นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดจัดการสัมมนา “ไทยพร้อมหรือยังที่จะฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU?” ในวันที่ 22 ก.ย.2563 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากที่กรมฯ ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อผลการศึกษาดังกล่าว รวมทั้งระดมความเห็นเรื่องการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-อียู ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นเสนอระดับนโยบายประกอบการพิจารณาตัดสินใจการดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งนี้ ผลการศึกษาในเบื้องต้น พบว่า การทำ FTA กับอียูจะช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปอียู เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น เคมีภัณฑ์ ยาง และพลาสติก แต่ในทางกลับกัน ไทยจะต้องเปิดตลาดให้อียู ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการไทยนำเข้าสินค้าบางชนิดจากอียูเพิ่มขึ้น เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เมล็ดพืชน้ำมัน และสินค้าเทคโนโลยี เป็นต้น ขณะเดียวกัน ยังพบว่า FTA ที่อียูทำกับสิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการหยิบยกประเด็นใหม่ๆ รวมไว้ในการจัดทำ FTA ด้วย เช่น การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตลาดจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานแรงงาน และการปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยต้องพิจารณาระดมความเห็นว่าไทยพร้อมที่จะเจรจากับอียูในเรื่องเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร เพราะจะมีผลต่อการนำไปสู่การปรับกฎเกณฑ์ทางการค้าของไทย.

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/796498

INFOGRAPHIC : “ดัชนีนวัตกรรม” เวียดนามอยู่อันดับที่ 42 ของโลก

ตามรายงานขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) เผยผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดความสามารถทางนวัตกรรม (Global Innovation Index : GII) ประจำปี 2563 ประเทศเวียดนามได้จัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 42 จาก 131 ประเทศ ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ในปี 2563

ตัวชี้วัดดัชนี GII มีอยู่ 7 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  1. ปัจจัยด้านสถาบัน
  2. ปัจจัยด้านทุนมนุษย์
  3. ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาย
  4. ปัจจัยด้านระบบตลาด
  5. ปัจจัยด้านระบบธุรกิจ
  6. ผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี
  7. ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-ranks-42nd-in-global-innovation-index/182448.vnp