‘PetroVietnam’ ผลิตน้ำมันได้กว่า 7.76 ล้านตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

กลุ่มบริษัทน้ำมันและก๊าซเวียดนาม หรือ ปิโตรเวียดนาม (PetroVietnam) ระบุว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่ 7.76 ล้านตัน สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 8.2 โดยทางบริษัทสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่า 14 พันกิโลวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.9 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ และผลิตปุ๋ยไนโตรเจนได้ราว 1.2 ล้านตัน สูงกว่าที่ตั้งเปาไว้ร้อยละ 4.8 อีกทั้ง ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและเบนซิน มากกว่า 8.2 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม บริษัทขายน้ำมันดิบอยู่ที่ 47.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงกว่าราคาในเดือนก่อนประมาณ 2.3 ดอลลลาร์สหรัฐ แต่ราคาดังกล่าวยังคงต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปีที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รายได้รวมของบริษัทสูงถึง 372 ล้านล้านด่อง (16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ บริษัทจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้รอบด้าน เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในช่วงการดำเนินงานในหลายๆเดือนที่เหลืออยู่ของปีนี้ โดยมุ่งเน่นในการบริหารต้นทุนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/petrovietnam-exploits-776-million-tonnes-of-oil-equivalent-in-eight-months-418106.vov

JICA ปล่อยเงินกู้ให้เมียนมา 280 ล้านดอลลาร์เพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19

รัฐบาลเมียนมาและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้มูลค่า 30 พันล้านเยน (280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเนปยีดอเมื่อวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) และนโยบายที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนและการส่งเสริมการค้ารวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน ซึ่งตามแผน CERP คาดว่าจะมีการกู้เงินมาเพื่อใช้ตามแผนมูลค่ารวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่สองของ JICA ซึ่งในเดือนมิถุนายน 63 ที่ผ่านมาได้เปิดตัวโครงการจัดหาเงินทุนสำหรับ SME มูลค่า 5,000 ล้านเยน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหภาพยุโรปและเมียนมาได้ลงนามข้อตกลงด้านการเงินเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรและโภชนาการ  โดยจะลงทุน 180 พันล้านจัตในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/jica-gives-myanmar-280m-loan-budget-support.html

พาณิชย์จับมือผู้ส่งออกข้าวถก BERNAS ดันข้าว กข79 บุกตลาดมาเลเซีย

กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยหารือหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของรัฐบาลมาเลเซีย (BERNAS) กระชับความสัมพันธ์ทางการค้า เปิดตัวข้าวขาวพื้นนุ่ม กข 79 หวังเรียกคืนส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในมาเลเซีย นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของมาเลเซีย (Padiberas Nasional Berhad : BERNAS) เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวในปี 2563 การประชุมในครั้งนี้ BERNAS แจ้งว่าภายในปี 2563 คาดการณ์ว่าอาจนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน จากปกตินำเข้าประมาณ 8 แสนตัน เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มาเลเซียหันไปนำเข้าข้าวจากประเทศคู่แข่งของไทยมากขึ้น แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย แต่ด้วยราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยปัจจุบันมาเลเซียนำเข้าข้าวจากจากเวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ไทย และอินเดีย ตามลำดับ นอกจากนี้ กรมฯ ได้แจ้งให้ BERNAS ทราบว่าไทยอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 โดยไทยจะเน้นหลักการ “การตลาดนำการผลิต” เพื่อให้ไทยมีสินค้าข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้นำเสนอข้าว กข 79 ซึ่งเป็นข้าวขาวสายพันธุ์ใหม่ของไทย ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การค้าข้าวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคฯ ผู้บริโภคในมาเลเซียมีการซื้อข้าวเพิ่มขึ้นแต่เป็นข้าวที่มีราคาต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะ Panic Buying ของผู้บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาวการณ์ดังกล่าวได้กลับเป็นปกติแล้วตั้งแต่ช่วงมิถุนายนที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการหารือผ่านระบบ Video Conference กับสมาคมผู้นำเข้าข้าวของฮ่องกง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563 ส่งออกข้าวไปแล้ว ปริมาณ 3.30 ล้านตัน มูลค่า 69,469 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่งออกไปมาเลเซีย ปริมาณ 66,007 ตัน มูลค่า 990 ล้านบาท

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-515295

“VT แหนมเนือง คอมมิวนิตี้” อุดร รุกตั้ง “ศูนย์แสดงสินค้าเวียดนาม” แห่งแรก

กว่า 1 ปีที่ “บริษัท วีที แหนมเนือง จํากัด” ผู้ประกอบการธุรกิจแหนมเนืองรายใหญ่ จังหวัดอุดรธานี ได้ทุ่มทุน 600 ล้านบาท ผุด “วีที คอมมิวนิตี้” ขึ้นบนพื้นที่ 19 ไร่ ริมถนนมิตรภาพอุดรธานี-ขอนแก่น โดยหวังให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของภาคอีสาน เพื่อรองรับบริการกรุ๊ปทัวร์ พร้อมห้องประชุม สัมมนา และรองรับการจัดอีเวนต์ทุกรูปแบบ แต่หลังการเปิดได้เพียง 1 ปีเศษ ต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แผนงานต่าง ๆ ที่วางไว้ต้องชะลอไปชั่วคราว ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังโควิด-19 ในประเทศไทยคลี่คลาย “ทอง กุลธัญวัฒน์” ผู้บริหารวีที แหนมเนือง คอมมิวนิตี้มอลล์ ได้รุกขึ้นมา “เปิดศูนย์การแสดงสินค้าเวียดนาม” แห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ “ทางนายกรัฐมนตรี ประเทศเวียดนาม ได้ร่วมกับสมาพันธ์นักธุรกิจเวียดนามต่างประเทศ ดำเนินโครงการเชิญชวนชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ต่างประเทศร่วมกันแนะนำบริโภคสินค้า และพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเวียดนามที่ต่างประเทศ ในช่วงระยะเวลาปี 2020-2024 จึงได้จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าเวียดนามในประเทศไทย ด้วยความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจากกงสุลใหญ่เวียดนามประจำจังหวัดขอนแก่น

ที่มา : https://www.prachachat.net/local-economy/news-514302

‘ไทย อินโดนีเซีย’ เป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของเวียดนาม ในเดือน ก.ค.

กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าไทยและอินโดนีเซีย ยังคงเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ในตลาดเวียดนาม ด้วยสัดส่วนรวมกันร้อยละ 76 ของยอดนำเข้ารวม โดยในเดือน มิ.ย. เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย อยู่ที่ 3,552 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 ของยอดนำเข้ารวมของเวียดนาม (97.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค. เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 4,761 คัน เป็นมูลค่าราว 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแง่ของปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว และในแง่ของมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งจากตัวเลขทั้งหมดนั้น จำนวนรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยอยู่ที่ 2,324 คัน (48.8% ของยอดนำเข้ารวม) อีกทั้ง ราคารถยนต์เฉลี่ยจากไทยอยู่ที่ 16,308 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในขณะที่ รถยนต์ที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 10,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในเดือน ก.ค. นอกจากนี้ เวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่อยู่ที่ 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทยและจีน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200901/thailand-indonesia-stand-as-vietnams-major-auto-exporters-in-july/56499.html

การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ ยังคงเติบโตได้ดี

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าเวียดนามได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้ากุ้งในตลาดเกาหลีใต้ (เกาหลีใต้ ไม่เกิน 15,000 ตันต่อปี) เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA) ขณะที่ เวียดนามมีปริมาณขนส่งได้เพียง 2,500 ตัน ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ประโยชน์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ส่งออกกุ้งได้ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพและปฏิบัติตามขั้นตอนของเกาหลีใต้ ที่จะผ่านมาตรการทางเทคนิคต่อการค้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ มีการเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 5 ในปี 2563 ในขณะที่ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นผู้จัดหากุ้งรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของยอดนำเข้ารวมของประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-export-to-rok-sees-positive-growth/182210.vnp

ธุรกิจในเมียนมาเร่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายฉบับใหม่

เจ้าของธุรกิจควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเปลี่ยนจากระบบเดิมเป็นใช้ระบบยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า ( FIRST TO FILE SYSTEM) ภายหลังจากกระทรวงพาณิชย์ (MOC) ประกาศเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 63 ที่ผ่านมา ระบบนี้ให้สิทธิ์เจ้าของเครื่องหมายการค้าในการลงทะเบียนให้แก่ผู้ที่ยื่นคำร้องตามกฎหมายก่อน ทั้งนี้ควรยื่นใบสมัครที่นายทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ววันที่ลงทะเบียนจะนับเป็นวันที่ยื่นคำร้องให้กับกระทรวง ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปีนับจากวันยื่นขอจะเบียน เครื่องหมายการค้าเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจซึ่งผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์โดยดูที่เครื่องหมายการค้า ซึ่งองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งได้เตรียมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว การสมัครสามารถทำได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือที่ Department of Consumer Affairs ทั้งนี้จ้าของธุรกิจสามารถจดทะเบียนได้ด้วยตนเองหรือผ่านตัวแทนและทนายความ เมื่อยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายที่ใช้ลิขสิทธิ์จะต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าก่อนหน้านี้ที่จดทะเบียนกับนายทะเบียนหรือเครื่องหมายการค้าจริงซึ่งใช้อยู่ในตลาดในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่จัดให้ภายใต้เครื่องหมายการค้าจะต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกันและมีการจัดประเภทระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้าเมียนมาฉบับใหม่ผ่านในเดือนมกราคม 2562 ตามด้วยกฎหมายสิทธิในการออกแบบอุตสาหกรรมกฎหมายสิทธิบัตรและกฏหมายคุ้มวรรณกรรมและศิลปะในปี 2562  กฎหมายทั้ง 4 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ประธานาธิบดีประกาศบังคับใช้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/businesses-myanmar-urged-register-trademarks-line-new-law.html

แม้ท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ยังน้อยกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

จากความพยายามของรัฐบาลในการลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แม้การเดินทางเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศ แต่ไม่น่าจะชดเชยการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งการท่องเที่ยวที่ตกต่ำไม่เพียงส่งผลกระทบต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมากต่อรายได้ที่คนในท้องถิ่นได้รับ หลายคนระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น การเดินทางที่ลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการสูญเสียงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและร้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 11 ของงานทั้งหมดและร้อยละ 22 เของงานในเขตเมือง ตามรายงานล่าสุดของธนาคารโลก โรงแรมและสถานที่พัก ร้านอาหาร บริษัท ทัวร์และผู้ประกอบการขนส่งอื่น ๆ ได้รับผลกระทบหนักที่สุดและอาจจะเลิกทำธุรกิจ มีการคาดการการฟื้นตัวอาจจะใช้เวลาถึงหนึ่งปี หากการระบาดของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้การสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวอาจมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 2.7 ของ GDP ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในวังเวียงและหลวงพระบางโดยเฉพาะผู้ให้บริการขนส่งอาหารและที่พักรวมถึงร้านค้าปลีกได้รับผลกระทบอย่างหนัก การลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงจีนในไตรมาสแรกของปี 2663 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงจากการจำกัดการเดินทางและการปิดพรมแดนลาวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 60 มื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน ธุรกิจ SMEs ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากจะมีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน การเติบโตอย่างช้าๆ ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศทำให้ภาคเอกชนสามารถปรับปรุงบริการและพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตหลัง COVID-19 ได้ดีขึ้น ในปี 2563 สปป.ลาวมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 4.58 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Domestic_170.php

ฟาร์มโคนมแห่งใหม่จะเริ่มดำเนินการในจังหวัดตาแก้ว

ฟาร์มโคนมแห่งใหม่ในจังหวัดตาแก้วจะเริ่มการผลิตเต็มรูปแบบในปลายปี 2563 และจะมีส่วนช่วยในการหาตลาดในประเทศและลดการการนำเข้าจากต่างประเทศ ฟาร์มนี้มีมูลค่าการลงทุนมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงทุนโดย บริษัท Khmer Fresh Milk Co. , Ltd. บนพื้นที่กว่า 300 เฮกตาร์ในอำเภอบาตี จังหวัดตาแก้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงให้ความสำคัญกับการลงทุนของบริษัทในการผลิตนมแห่งนี้ การลงทุนดังกล่าวจะช่วยตอบสนองความต้องการในประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปของท้องถิ่นและจะนำเทคโนโลยีล้ำสมัยในห่วงโซ่การผลิตนมจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคและโภชนาการทางอาหาร บริษัทระบุว่าตอนนี้ฟาร์มเริ่มผลิตนมสด 6,000 ลิตรต่อวันและจะผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อวันภายในสิ้นปีนี้ โดยได้นำเข้าโคนมจำนวน 550 ตัวและอาหารที่ใช้เลี้ยงจากออสเตรเลีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759276/new-dairy-farm-to-start-operations-in-takeo-province/

สิงหาคมที่ผ่านมาการส่งออกข้าวกัมพูชาลดลงอย่างมาก

จากรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงการส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 ที่ 448,203 ตันในช่วงแปดเดือนแรกของปี รายงานระบุว่าจนถึงขณะนี้กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 448,203 ตันมื่อเทียบกับ 342,045 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมเพียงอย่างเดียวการส่งออกข้าวกัมพูชาร้อยละ 22 มีจำนวน 130 ตันเมื่อเทียบกับ 34,032 ตันในเดือนสิงหาคม 2562 ในการส่งออกข้าวทั้งหมด 352,802 ตัน เป็นข้าวหอม 89 ตัน ข้าวขาว 699 ตัน ข้าวนึ่ง 5,679 ตัน และข้าวอื่นๆ 23 ตัน จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับต้นของกัมพูชา กัมพูชาส่งออกประมาณ 159,253 ตันในช่วง 8 เดือนแรกตามด้วยฝรั่งเศส 56,964 ตัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศอาเซียน มาเลเซีย นำเข้าจากกัมพูชาประมาณ 23,201 ตัน เวียดนาม 12,836 ตัน บรูไน 10,500 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759273/cambodias-rice-exports-drop-drastically-in-august/