ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563
  2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
  3. แนวโน้มเศรษฐกิจเมียนมา หลัง COVID-19

ที่มา:

  • CEIC DATA
  • International Monetary Fund (IMF)
  • Statista
  • Directorate of Investment and Company Administration (DICA)
  • Ministry of Commerce (Myanmar)
  • Economic Intelligence Center (EIC)
  • Asian Development Bank (ADB)
  • World bank

ภาพรวมเศรษฐกิจของราชอาณาจักรกัมพูชา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. สรุปภาพรวมของประเทศกัมพูชา
  2. สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ
  3. สถานการณ์เศรษฐกิจ และผลกระทบจาก COVID-19
  4. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  5. นโยบาย รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
  6. มาตรการป้องกันและรับมือกับการระบาดของ COVID-19

เรียบเรียงโดย : นายทัตเทพ เอี่ยมเวช

ที่มา : NBC, World bank, IMF, ADB, K-Reserch, CEIC data, DITP และ SCB EIC

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
  2. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
  3. สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  4. แนวโน้มเศรษฐกิจของเวียดนาม

เรียบเรียงโดย : นายกวิน งามสุริยโรจน์

ที่มา : CEIC DATA, General Statistics Office, IMF, FitchRatings และ ADB

รัฐบาลสปป.ลาวให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับสหภาพยุโรป

รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากกับความร่วมมือระหว่างประเทศกับสหภาพยุโรปในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตรวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ โดยสหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาต่อสปป.ลาวภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างปี 2559-2563 มูลค่า 500 ล้านยูโร โดยมีโครงการต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น ความมั่นคงด้านอาหาร สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม การสร้างรัฐภายใต้หลักนิติธรรม การพัฒนาภาคเอกชนให้มีส่วนรวมต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว ซึ่งสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในกรอบการทำงานพหุภาคีผ่านองค์กรระหว่างประเทศที่หลากหลาย ในปัจจุบันที่มีการระบาดของCOVID-19 ทั่วโลกสหภาพยุโรปกำลังเตรียมที่จะช่วยเหลือสปป.ลาวในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังโควิด -19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt140.php

กัมพูชาส่งออกกล้วยกว่า 1.4 แสนตัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

กัมพูชาส่งออกกล้วยสดกว่า 140,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยจีนเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกกล้วยของกัมพูชา ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้มีรายได้ประมาณ 68 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกกล้วยสดไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัท 9 แห่ง ได้รับการรับรองให้มีสิทธิ์ส่งออกกล้วยไปยังตลาดจีนได้ โดยนอกจากจีนแล้วยังมีการส่งกล้วยสดไปยังสหภาพยุโรป เอเชียและโอเชียเนียอีกด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคารพมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับการเติบโตของการส่งออกกล้วยให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกกล้วยสดจำนวน 150,000 ตัน ไปยังต่างประเทศมีรายได้รวมจากการส่งออกอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746833/cambodia-exports-140000-tons-of-banana-and-earns-68-million-in-first-half-of-the-year/

กัมพูชาสำรวจความเป็นอยู่ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องนุ่งห่ม

กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีพ (MLVT) กำลังทำการสำรวจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานต่อผลกระทบของ COVID-19 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ตามประกาศของ MLVT โดยได้แจ้งเจ้าของหรือผู้อำนวยการของสถานประกอบการ / สถานประกอบการและคนงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะทำการสุ่มตัวอย่างข้อมูลพนักงานในเขตจังหวัดพนมเปญ โดยมีจุดประสงค์ของการสำรวจเพื่อจัดสรรมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อไป ซึ่งจากข้อมูลในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อ้างอิงจากตัวเลขของ MLVT พบว่ามีโรงงานมากกว่า 410 แห่งที่ถูกระงับส่งผลกระทบต่อคนงานแล้วกว่า 240,000 คน เนื่องจากผู้ซื้อจากต่างประเทศยังไม่ได้วางคำสั่งซื้อใหม่และสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ดีสำหรับภาคการตัดเย็บเสื้อผ้า รวมถึงการที่กัมพูชาเสียสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) จากสหภาพยุโรปร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746694/survey-on-garment-workers-lives/

EXIM BANK ปล่อยกู้ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป. ลาว

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (บีซีพีจี) ร่วมลงนามกับ ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว นอกจากนี้ยังร่วมลงนามกับนายมานาบุ อิโนอุเอะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) (SMTBT) ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวน 6,465.07 ล้านเยน (ประมาณ 1,900 ล้านบาท) ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ชิบะ 1 (Chiba 1) ในประเทศญี่ปุ่น ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ซึ่งความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ บีซีพีจี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพเข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานทดแทนเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน โดยมี ไอซีบีซี (ไทย) และ ไอซีบีซี เวียงจันทน์ ร่วมให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่บริษัท บีซีพีจี อินโดไชน่า จำกัด สำหรับลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Nam San 3A และ Nam San 3B ใน สปป. ลาว กำลังการผลิตรวม 114 เมกะวัตต์ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของเวียดนาม และ สปป.ลาว ในการก่อสร้างสายส่งเชื่อมต่อชายแดนของทั้งสองประเทศ เพื่อขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ไปยังประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/628866

เวียดนามปิดเส้นทางการบินของสายการบินใหม่ในปัจจุบัน

จากรายงานของหน่วยงานภาครัฐ เผยว่านาย Trinh Dinh Dung รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นด้วยกับข้อปฏิบัติในการระงับเที่ยวบินชั่วคราวตามที่กระทรวงคมนาคมยื่นข้อเสนอไปในช่วงกลางเดือนพ.ค. ซึ่งเหตุผลของข้อเสนอดังกล่าว เพื่อหาทางออกของบริษัทการบินในประเทศที่เผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี สำหรับการฟื้นตัวของตลาดการบินภายในปี 2562 อีกทั้ง ทางกระทรวงฯ คาดว่าอุตสาหกรรมการบินของเวียดนามจะรองรับจำนวนผู้โดยสาร 42.7 ล้านคนในปีนี้ ลดลงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ ผู้ให้บริการสายการบินคาดว่าจะรองรับจำนวนผู้โดยสาร 32.6 ล้านคน ลดลงร้อยละ 40 นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว สนามบินเวียดนามรองรับจำนวนผู้โดยสารประมาณ 116 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์กับสายการบินเวียดเจ็ทแอร์ เป็นผู้ครองตลาดการบินเวียดนามรายใหญ่ที่สุด

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-closes-skies-to-new-airlines-for-now-416334.vov

จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำสำหรับนักธุรกิจชาวเกาหลีใต้เดินทางไปยังเวียดนาม

จากรายงานของสำนักข่าว Yonhap News Agency เปิดเผยว่าสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ (Republic of Korea : ROK) มีแผนที่จะส่งนักธุรกิจจำนวนมากไปยังเวียดนามและจีนผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งแผนการดังกล่าวมาจากกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานที่จะนำนักธุรกิจจำนวน 240 คน จากบริษัท 240 แห่ง เดินทางไปยังเวียดนามผ่านเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในวันที่ 22 ก.ค. หลังจากการจราจรทางอากาศทั่วโลกระงับเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้น เกาหลีใต้ยังมีแผนที่จะส่งคนงานจำนวน 1,500 ไปยังเวียดนามในเดือนสิ.ค. ทั้งนี้ หลังจากที่นักธุรกิจเดินทางถึงจุดมุ่งหมายแล้ว ต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะได้รับอนุญาตเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้าย ขณะที่ เกาหลีใต้ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์รายใหญ่ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการค้า ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/chartered-flights-to-bring-businessmen-into-vietnam-from-rok-416340.vov

รัฐบาลเมียนอนุญาติให้เปิด ชายหาดอิรวดีและโรงแรมอีกครั้ง

รัฐบาลอนุญาตให้ชายหาดโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่น ๆ ในภูมิภาคอิรวดีซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูธุรกิจในพื้นที่ โดยธุรกิจจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงานท้องถิ่นและต้องปฏิบัติตามแนวทางการป้องกัน COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา ในบรรดาชายหาดที่มีชื่อเสียงที่เปิดให้บริการอีกครั้งได้ คือ Chaung Tha, Ngwe Saung, เกาะ Gaw Yin Gyi และ Shwe Thaung Yan ชายหาดถูกปิดในวันที่ 24 มีนาคม 2563 หนึ่งวันหลังจากที่มีรายงานการติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 2 ราย ขณะนี้มีเพียงโรงแรมบนชายหาดเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในอิรวดี ผู้ประกอบการกล่าวว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่มราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้องปฏิบัติตามระเบียบ COVID-19 แม้ว่าจะกลับมาเปิดโรงแรม เที่ยวบิน และการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวในท้องถิ่น แต่ก็ยังคงปิดให้บริการแก่ชาวต่างชาติและเที่ยวบินระหว่างประเทศและน่าจะกลับมาเปิดได้ในเดือนตุลาคม โดยโรงแรมในประเทศประมาณ 60% ได้เปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากได้ผ่อนคลายข้อบังคับลงในเดือนพฤษภาคม แต่ธุรกิจยังคงซบเซา เช่น ร้านอาหารผลประกอบการลดลงมากถึง 50% ในขณะที่ผู้คนยังคงระมัดระวังในการไปในที่สาธารณะ สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมในเมียนมาเผย โรงแรมบางแห่งไม่มีลูกค้ามากพอและอาจสูญเสียรายได้ดังนั้นจึงยังไม่เปิดทำการ การท่องเที่ยวของเมียนมาคิดเป็น 6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีรายได้รวม 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 และแรงงาน 1.4 ล้านคน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/ayeyarwady-beaches-hotels-reopen-after-inspection.html