การเติบโตที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมา

เมียนมามีศักยภาพในการเติบโตสูงในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่ม บริษัทวิจัยจากลอนดอน Fitch Solutions เผยความเสี่ยงและอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชียอย่างเวียดนาม, บังคลาเทศ, กัมพูชาและเมียนมาจะยังคงเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในการผลิตสิ่งทอของภูมิภาค โดยมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากประชากรขนาดใหญ่และแรงงานหนุ่มสาวส่วนใหญ่ ต้นทุนแรงงานต่ำในประเทศเหล่านี้พร้อมกับได้รับจากโซ่อุปทานทั่วโลกที่กำลังจะมาจีน เมียนมามีค่าแรงต่ำที่สุดในภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มแม้ว่าจะเปรียบเทียบกับผู้เล่นระดับภูมิภาคอย่างกัมพูชา เวียดนาม และลาว ในปี 2561 ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเมียนมาก็อยู่ในระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่าบังคลาเทศซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าแรงต่ำที่สุดในโลก แต่ความเสี่ยงของการถอน GSP ของสหภาพยุโรปต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ เนื่องจากว่า 60% ของการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในปัจจุบันจะส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเวียดนามและบังคลาเทศได้ครองส่วนแบ่งการตลาดส่งออกเสื้อผ้าโลกและกลายเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับสองและสามรองจากจีน เมื่อจีนเพิ่มวัตถุดิบในห่วงโซ่คุณค่าและผลักดันการผลิตในระดับต่ำถึงระดับกลางทำให้เวียดนามและบังคลาเทศได้กลายเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่สำคัญ อย่างไรก็ตามสัดส่วนการส่งออกสิ่งทอระดับโลกของเมียนมายังคงต่ำมากเพียง 1% ในปี 2562 แม้จะเพิ่มขึ้นจาก 0.1%  ในปี 2553 ซึ่งยังเป็นรองกัมพูชาเพียงเล็กน้อยที่ 1.4% และบังคลาเทศที่ 6.1% Fitch Solutions มองว่าเมียนมาจะเป็นแบบเดียวกับ บังคลาเทศ เวียดนาม และกัมพูชามีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของการผลิตในอุตสาหกรรม จากการใกล้ชิดกับแหล่งวัตถุดิบในประเทศจีนและอินเดีย แหล่งแรงงานที่มีต้นทุนต่ำขนาดใหญ่เชื่อมโยงการค้ากับจีนและส่วนอื่น ๆ ของโลกและที่สำคัญที่สุดคือการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของจีน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/strong-growth-continue-myanmars-garment-industry.htm

มะม่วงไทยดาวเด่น ส่งออกอาเซียนโต 143% หนุนใช้ FTA สร้างแต้มต่อ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มะม่วงสดของไทยเป็นหนึ่งในสินค้าดาวเด่นมาแรง ทำยอดส่งออกขยายตัวได้ดี แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค. 2563) กว่า 5.7 ตัน มูลค่าถึง 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4%โดยส่งออกไปตลาดอาเซียนขยายตัวโดดเด่นสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 37.5% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่า 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 143% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกหลัก เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และ สปป.ลาว เป็นต้น และยังมีจีนที่นิยมมะม่วงสดจากไทยเพิ่มขึ้น มีมูลค่าส่งออกถึง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 71% และฮ่องกง ขยายตัวถึง 196% นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรมกล่าวเพิ่มเติมถึงจุดเด่นของมะม่วงไทย “ไทยเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์ดี มีคุณภาพ และรสชาติดี จึงเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับแนวโน้มความต้องการมะม่วงสดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะขยายตลาดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น” นอกจากนี้ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ช่วยส่งเสริมการค้าให้ขยายตัวโดยปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทย 15 ประเทศได้แก่ สมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม เมียนมา และมาเลเซีย) จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 3 ประเทศ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าจากไทย ได้แก่ สปป.ลาว และกัมพูชา เก็บภาษีนำเข้า 5% และเกาหลีใต้ เก็บภาษีนำเข้า 24%  

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=10473&index

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว

รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (317 ล้านเยน) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสปป.ลาวอย่างยั่งยืนโดยเงินจะถูกนำไปใช้ภายใต้ “The Project for Human Resource Development Scholarship” ได้มีพิธีลงนามในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ณ กระทรวงการต่างประเทศในเวียงจันทน์ ภายในงาน Mr. Takewaka เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสปป.ลาวกล่าวว่า “รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และจะมอบทุนการศึกษา 22 ทุนแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสปป.ลาวเพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นโดยจะมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 370 คนที่จะทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทรวมถึงปริญญาเอกเมื่อโครงการเริ่มต้นขึ้น” ภาคการศึกษาเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวและญี่ปุ่น เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_137.php

ภาคการเกษตรกัมพูชาได้รับแรงกระตุ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้กล่าวถึงภาคเกษตรกรรมภายในประเทศที่เริ่มแข็งแกร่งขึ้น ในช่วงของการประสบปัญหาแรงกดดันทางเศรษฐกิจในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลก แม้ว่าภาคการเกษตรจะไม่สามารถชดเชยความสูญเสียในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าของกัมพูชาที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 และการสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าจากทางสหภาพยุโรปก็ตาม โดยในคำปราศรัยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดในเขต Peam Ro ในจังหวัดไพรแวง ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ารัฐบาลกำลังเตรียมที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศต่อไป โดย Covid-19 ไม่เพียง แต่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังส่งผลช่วยให้ภาคเกษตรกรรมมีการพัฒนาร่วมด้วย และนั่นคือเหตุผลที่รัฐบาลเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วเพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคเกษตรกรรมโดยรวมภายในประเทศ

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/covid-19-to-help-boost-cambodias-agricultural-sector-hun-sen-says-166794/

นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังกัมพูชาลดลงร้อยละ 59 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจำนวน 1.17 ล้านคน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 59 จาก 2.88 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากทางประเทศจีน เวียดนาม ไทย สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ ในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคมปีนี้ ซึ่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมากัมพูชามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 10,475 คนลดลงกว่าร้อยละ 97.8 จาก 472,952 คน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/health/intl-tourist-arrivals-to-cambodia-down-59-pct-in-first-5-months-due-to-covid-19-166764/

สปป.ลาวจะเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีน

รัฐบาลสปป.ลาวได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ และผู้ประกอบการในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งกระทรวงเกษตรและป่าไม้สปป.ลาวรายงานว่าประเทศมีรายรับ 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 จากการส่งออกสินค้าเกษตรโดย 80% ของสินค้าถูกขายไปยังประเทศจีน ซึ่งได้รับประโยชน์จากโควต้าข้าว 50,000 ตันและวัว 500,000 ตัวต่อปี นอกจากนี้กระทรวงได้เจรจาต่อรองโอกาสทางการตลาดและควบคุมสภาวะสุขอนามัยสำหรับพืชส่งออกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องไปยังประเทศจีน ขณะนี้กระทรวงกำลังประสานงานกับกรมศุลกากรของจีนเพื่อร่างเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับการส่งออกใบยาสูบแห้ง เสาวรสและส้ม ทั้งสองฝ่ายยังเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการเปิดตลาดสำหรับทุเรียน ลำไย แก้วมังกร ขนุนและลูกเดือย ขณะนี้ 3 บริษัทดำเนินการเสร็จสิ้นไปกว่า 90 % ของศูนย์กักกันปศุสัตว์ที่สามารถประมวลผลสัตว์ 228,000 ตัวต่อปีเพื่อการส่งออกและรอทีมเทคนิคจากจีนเพื่อตรวจสอบและยืนยันสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้า จะประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติและผู้ประกอบการเพื่อร่วมมือกับจีนในการเจรจารายการสินค้าเกษตร และกระทรวงจะร่วมมือกับจีนในการตรวจสอบด่านชายแดนระหว่างประเทศและระดับท้องถิ่นระหว่างสองประเทศ เพื่อให้แน่ใจในการส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผัก ผลไม้สด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-07/15/c_139214642.htm

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวให้แนะนำให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายใต้สโลแกน  ‘Leaving No One Behind’ เพื่อยกระดับประเทศออกจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้มีการหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการระดับชาติเพื่อดำเนินงานด้าน SDGs ตั้งแต่ปี 60-63  ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 73 และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบันตั้งเป้าหมาย SDGs 17 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื่น SDGs 18  ชีวิตปลอดภัยจาก UXO ที่ประชุมจะพิจารณาและหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและประเด็นในการดำเนินงาน SDGs ระหว่างปี 60-63 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งในระหว่างการประชุมได้มีการเปิดตัว SDGs Mobile Application ใหม่ซึ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนของสังคมที่ทำงานเพื่อ SDGsในสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM136.php

เอฟทีเอดันยอดส่งออกมะม่วงเข้าตลาดอาเซียน 5 เดือนแรก 2563 ทะลุ 143%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มะม่วงสดของไทยเป็นหนึ่งในสินค้าดาวเด่นมาแรง ทำยอดส่งออกขยายตัวได้ดี แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค. 2563) ไทยส่งออกมะม่วงสดปริมาณกว่า 5.7 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562 โดยส่งออกไปตลาดอาเซียนขยายตัวโดดเด่นสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 37.5% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่า 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 143% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกหลัก เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และ สปป.ลาว เป็นต้น และยังมีจีนที่นิยมมะม่วงสดจากไทยเพิ่มขึ้น มีมูลค่าส่งออกถึง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 71% และฮ่องกง ขยายตัวถึง 196% ทั้งนี้ ไทยเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์ดี มีคุณภาพ และรสชาติดี จึงเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับแนวโน้มความต้องการมะม่วงสดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะขยายตลาดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (15 ประเทศ) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การเพาะปลูก การบรรจุหีบห่อ การมีใบรับรองสุขอนามัยพืช รวมทั้งระมัดระวังการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศเข้มงวดและผู้บริโภคนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-491759

เวียดนามเผยครึ่งแรกของปี 63 ผลผลิตประมงสูงถึง 3.86 ล้านตัน

กรมประมง เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ผลผลิตประมงของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยปริมาณ 3.86 ล้านตัน ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของไวรัส COVID-19 ในทิศทางเชิงลบต่อการผลิตและการส่งออก ข้อมูลข้างต้นนั้นได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ก.ค. โดยทำการตรวจสอบกิจกรรมทางการประมงและดำเนินงานที่สำคัญหลายด้านในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทั้งนี้ ผลผลิตที่ได้จากการใช้ประโยชน์จากแหล่งประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ด้วยปริมาณ 1.88 ล้านตัน ในขณะที่ ผลผลิตการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ด้วยปริมาณ 1.97 ล้านตัน นอกจากนี้ กรมประมงจะทำการตรวจสอบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดและจะแจ้งข้อมูลทางด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์จากแหล่งประมงอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fisheries-output-reaches-386-million-tonnes-in-first-half-416124.vov

“เวียดนาม-สหรัฐฯ” เสริมความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน

กระทรวงการคลังเวียดนาม (MoF) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ในกรอบเสริมความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินกับกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้เวียดนามตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว ซึ่งกระทรวบความร่วมมือจะประกอบไปด้วย 5 สาขาสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีสภาพคล่องสูงขึ้น ตามมาด้วยการสร้างเครื่องมือทางการเงินที่สามารถแก้ไขปัญหาต่อการลงทุนภาคเอกชนและโครงสร้างพื้นฐาน, ส่งเสริมนวัตกรรมและความยั่งยืนผ่านเครื่องมือทางการเงิน, การเสริมสร้างศักยภาพและโครงการช่วยเหลือเทคนิคทางการเงิน และการวิเคราะห์ภาระหนี้สินและประเด็นอื่นๆจากมุมมองของภาครัฐ ทั้งนี้ เวียดนามต้องการเงินทุนจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ ผลการศึกษาของกระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าเวียดนามต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 195,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในปี 2560-2563 โดยเฉพาะด้านพลังงาน การขนส่งทางถนน ทางอากาศและการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น “การดำเนินการตามกรอบความร่วมมือกับสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทวีภาคี”

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-us-cooperate-to-strengthen-infrastructure-finance-300081.html