เวียดนามเผยการเดินทางทางอากาศในประเทศจะฟื้นตัวอย่างเต็มรูปแบบ หลังหมดโควิด-19

สนามบินโหน่ยบ่าย (Noi Bai International Airport) ระบุว่าการเดินทางในประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อเทียบกับก่อนที่จะเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เนื่องจากมีความต้องการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นของรัฐบาลและสายการบิน ซึ่งสนามบินดังกล่าวเป็นศูนย์กลางในการขนส่งที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของเวียดนาม ปัจจุบันสามารถรองรับเที่ยวบินประมาณ 400-450 เที่ยวบินต่อวันและรองรับผู้โดยสารเฉลี่ยมากกว่า 60,000 คนต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินในประเทศ ทั้งนี้ ทางตัวแทนของสนามบิน กล่าวว่าจำนวนผู้โดยสารพุ่งสูงขึ้น ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ด้วยเหตุนี้ สนามบินโหน่ยบ่าย จึงต้องดำเนินมาตรการหลายอย่าง ได้แก่ การปรับโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก การติดตั้งเคาร์เตอร์เช็คอินเพิ่มมากขึ้น รวมถึงช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ผู้โดยสาร

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/748703/domestic-air-travel-sees-full-recovery-post-covid-19.html

เมียนมาลงทุนด้านการดูแลสุขภาพเกษตรและอุตสาหกรรม

เมียนมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพ การเกษตร ปศุสัตว์และการประมง และเขตอุตสาหกรรมหลังจากที่ได้รับ COVID-19 โดยมีการจัดลำดับความสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนในทั้งสามกลุ่มหลังจากได้รับ COVID-19 ในปีนี้ในด้านการดูแลสุขภาพ เช่น ธุรกิจที่ผลิตหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และเจลล้างมือแต่ต้องได้รับการอนุมัติก่อน การพัฒนาระบบฟาร์มเนื้อสัตว์และการประมงเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภาคการประมงและการเกษตรประกอบคิดเป็น 1%และ 0.5% ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศ การลงทุนจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นและลดค่าใช้จ่ายทางและความเจ็บป่วยจากการว่างงาน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐจนถึงวันที่ 23 มิถุนายนในปีงบประมาณปัจจุบันลดลง 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเป้าหมายของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ในช่วงปีงบประมาณก่อนหน้าได้อนุมัติการลงทุน 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ได้รับอนุญาตมีทั้งหมด 189 ธุรกิจ ส่งผลให้มีการสร้างงานใหม่ 8,700 ตำแหน่ง ซึ่งรวมถึงธุรกิจ 14 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าหรือขยายกิจการในประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายได้เกือบ 200 ล้านในเมืองหลวงและสร้างงานมากกว่า 2,500 ตำแหน่ง จนถึงตอนนี้มีนักลงทุนจากสิงคโปร์ จีน และไทยได้ลงทุนมากที่สุด ปัจจุบันมี 51 ประเทศที่ลงทุนใน 12 สาขา – ไฟฟ้า 26.6% , 26% ในธุรกิจน้ำมันและก๊าซและ 14       % ในการภาคผลิต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lure-investments-healthcare-agri-and-industry.html

ไทยพยายามเรียกคืนแรงงานพม่ากลับเข้าประเทศ

ประเทศไทยกำลังเตรียมต้อนรับแรงงานอพยพชาวเมียนมาที่ออกประเทศภายหลังจากตกงานเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สหพันธ์นายจ้างจัดหางานต่างประเทศเมียนมากล่าวว่ารัฐบาลไทย เมียนมาและบริษัทจัดหางานกำลังเจรจาเรื่องการดูแลสุขภาพสำหรับแรงงาน ภายใต้ข้อบังคับของไทยชาวต่างชาติต้องมีประกันสุขภาพอย่างน้อย 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (K138.1 ล้านบาท) เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษา COVID-19 แรงงานต้องถูกกักกันเป็นเวลา 14 วันด้วยโดยแรงงานต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 เมียนมาส่งออกแรงงานประมาณ 100,000 คนมายัง ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จากข้อมูลของรัฐบาล ณ วันที่ 21 มิถุนายน มีแรงงานกว่า 71,000 คนกลับจากไทย ชาวเมียนมากว่า 4 ล้านคนที่ทำงานในต่างประเทศโดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วมีแรงงานกว่า 305,000 คนออกจากประเทศเพื่อทำงานและมีแรงงานที่ทำงานในประเทศ 2.3 ล้านคน แรงงานเมียนมาส่งเงินกลับประเทศประมาณ 910 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 หรือคิดเป็นประมาณ 1.06% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailand-seeks-return-myanmar-workforce.html

สปป.ลาวสนับสนุนแผนอาเซียนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

สปป.ลาวได้ให้การสนับสนุนแผนของอาเซียนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการจัดกิจกรรมร่วมกันซึ่งจะส่งผลประโยชน์มากขึ้นแก่ประชาชนชาวอาเซียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว แสดงการสนับสนุนของสปป.ลาวสำหรับแผนอาเซียน ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ครั้งที่ 23 สปป.ลาว โดยกล่าวว่าสนับสนุนปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการทำงาน เชื่อว่าการประกาศนี้จะให้โอกาสสำหรับอาเซียนในการแบ่งปันผลประโยชน์และนำผลประโยชน์มาให้กับประชาชนชาวอาเซียนมากขึ้นเขาแสดงความมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือนี้โดยเฉพาะในด้านแรงงานและการศึกษาผ่ านการจัดกิจกรรมร่วมกันและการจัดทำแผนงานหรือแผนงาน และยังได้เน้นถึงความสำเร็จของประเทศในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของCovid-19 แต่กล่าวว่ารัฐบาลและประชาชนยังตระหนักในดำเนินการตามคำสั่งและมาตรการที่มีอยู่อย่างเคร่งครัดต่อไปเพื่อป้องกันความเป็นไปได้ที่ไวรัสจะเป็นคลื่นลูกที่ 2

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/06/25/laos-backs-asean-plan-on-human-resource-development

นักลงทุนเรียกร้องรัฐบาลปรับปรุงการอนุมัติการลงทุน

ปัจจุบันการลงทุนในสปป.ลาว มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและหลายขั้นตอนในการขออนุมัติจากหน่วยงานต่างๆ หากนักลงทุนได้รับการอนุมัติจากที่หนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่านักลงทุนจะสามารถดำเนินการได้เลย จากขั้นตอนที่ลำบากนี้ทำให้ธนาคารโลกจัดอันดับสปป.ลาวให้อยู่ที่ 154 ของโลกในด้านความสะดวกในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันของสปป.ลาว ในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 8 ของสมัชชาแห่งชาติซึ่งกลุ่มสมาชิกสมัชชาขอให้รัฐบาลปรับปรุงการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One-stop service) หลังจากที่ผ่านมานักลงทุนสปป.ลาวยังต้องขออนุมัติจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยดร. Sonexay รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้ให้ความเห็นในที่ประชุมว่า“ สิ่งที่เราต้องการบรรลุคือการให้ความเห็นชอบในที่เดียว แต่ในทางปฏิบัติเรายังไม่สามารถทำได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแต่ละสายที่รับผิดชอบด้านการลงทุนเสมอ” อย่างไรก็ตามรัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นว่าจะปรับปรุงด้านการอนุมัติต่างๆให้ดีขึ้นเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_One_stop_122.php

เดือน มิ.ย. จำนวนนักท่องเที่ยวในกัมพูชาสูงถึง 4.5 แสนคน แต่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 1 พันคน

ในช่วงสามสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนชาวกัมพูชากว่า 450,000 คน ได้เริ่มทยอยออกท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ คิดเป็นจำนวนทั้งหมดคือ 452,692 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 จากช่วงเวลาเดียวกันในเดือนพฤษภาคม หรือคิดเป็นสัดส่วนนักท่องเที่ยวท้องถิ่นจำนวน 441,397 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.61 และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1,295 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.34 โดยจังหวัด Khon ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศได้เกือบร้อยละ 50 ซึ่งเสียมเรียบยังคงแสดงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม เกสต์เฮาส์ และร้านอาหารเพิ่งทำการเปิดใหม่อีกครั้ง โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคเอกชนในการส่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวสำหรับภาคธุรกิจเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งรวมถึงบริการที่พักร้านอาหาร การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ รีสอร์ทและชุมชนด้านการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738065/more-than-450000-tourists-on-the-move-over-first-three-weeks-of-june/

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกัมพูชามีความยืดหยุ่นมากขึ้นจากกรณีศึกษา

ดัชนีความยืดหยุ่นโลกในปี 2020 แสดงให้เห็นว่าอันดับของกัมพูชาขยับขึ้นจากปีที่แล้ว โดยในปีนี้กัมพูชาได้คะแนนรวม 28.9 คะแนน จาก 100 คะแนน โดยอยู่ในอันดับที่ 112 ของโลก ซึ่งปีที่แล้วกัมพูชาได้รับคะแนนอยู่ที่ 21.7 และติดอันดับ 114 จาก 130 ประเทศ จากการศึกษาในครั้งนี้ โดยการศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดย FM Global บริษัท ประกันภัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา (US) ซึ่งการศึกษานี้วัดความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของประเทศโดยพิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงและห่วงโซ่อุปทาน 12 ประการ โดยการศึกษานี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าเศรษฐกิจและธุรกิจของกัมพูชาจะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Kevin Ingram รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ FM Global มองว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คน ประเทศและธุรกิจ การจัดอันดับประเทศในดัชนี 2020 Global Resilience Index เป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในแต่ละประเทศ แต่ละภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไรและองค์กรมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วเพียงใดหลังจากที่เกิดการระเบิดทางเศรษฐกิจของ Covid-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737968/business-environment-becoming-more-resilient-study/

ส่งออกกุ้งเวียดนามไปยังแคนาดา โต 32%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงครึ่งปีแรกของเดือนพ.ค. ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็นมูลค่า 54.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนม.ค. การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เผชิญกับภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) ทั้งนี้ แคนาดาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ของตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของยอดส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ศูนย์กลางการค้าโลก (World Trade Center) ชี้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เวียดนามนำเข้ากุ้งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาอินเดีย เวียดนาม ไทย จีนและเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยส่งออกกุ้งของเวียดนาม มีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดแคนาดา

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-shrimp-exports-to-canada-surge-32-21651.html

เวียดนามเผย 5 เดือนแรก ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์โต

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าเดือนพ.ค. ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลดลง แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ กลับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว การส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 3.7 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 9.7 ในแง่มูลค่า ด้วยปริมาณ 42,821 ตัน และมูลค่า 263.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในขณะที่ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสินค้าดังกล่าว เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 17.1 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของยอดส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหภาพยุโรป ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารและโรงแรมในสหรัฐฯและยุโรปนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูปลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cashew-nut-exports-grow-in-first-five-months/177379.vnp

เมียนมานำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อลดปัญหาขาดแคลนสัตว์ปีกในประเทศ

สำนักงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งมัณฑะเลย์เผยรัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรนำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสัตว์ปีกที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาการผลิตไก่ลดลงมากถึง 40% ราคาขายส่งไก่เพิ่มขึ้นเป็น 5,000-5,500 จัต (4 ดอลล่าร์สหรัฐ) และราคาขายปลีกอยู่ที่ 8,000-10,000 จัต ทำให้ราคาไก่ในฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุญาตให้นำเข้าไก่จำนวน 19.2 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนเครื่องเพาะพันธุ์ไก่มีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่สามารถอนุญาตให้นำเข้าได้เนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติในเดือนกรกฎาคม และราคาไก่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 5,500 จัต ต่อ 1.63 กิโลกรัมและตอนนี้อยู่ที่ 4,400 จัต ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้หันมามาทำห้องเย็นที่ทันสมัยและปรับปรุงพันธุ์จากโรงงานเพื่อรับมือกับความท้าทายจากจำนวนคู่แข่งต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-imports-over-19-million-chicks-ease-poultry-shortage.html