เขตมะกเว อนุญาตให้โรงงานกว่า 1,000 แห่งเปิดใหม่อีกครั้ง

รัฐบาลระดับภูมิภาคเขตมะกเวอนุญาตให้โรงงานมากกว่า 1,000 แห่งเปิดใหม่หลังจากถูกปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยอนุญาตให้เปิดมากกว่า 1,000 แห่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ตหลังจากผ่านการตรวจสอบซึ่งหมายความว่าพนักงานประมาณ 20,000 คน จะได้กลับมาทำงานอีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/magwe-govt-allows-more-1000-factories-reopen.html

พาณิชย์-เอกชนจับตาความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

พาณิชย์-เอกชน เตรียมแผนปรับทัพส่งออก รับมือสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ปะทุรอบใหม่  ชี้โลก เดาใจ “ทรัมป์” ยาก แต่คาดใกล้ช่วงเลือกตั้งปธน กระทรวงและภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน จนเกิดสงครามการค้ารอบใหม่ และจะมีการจัดทำแผนในการผลักดันส่งออกร่วมกันเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาภาคส่งออกได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าแล้ว และในปี 63 ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างสหรัฐ-จีนอย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่าไทยมีโอกาสที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของการค้าและการลงทุนมากเช่นกัน โดยเฉพาะโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นซับพลายเซนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มั่นคงของโลกได้ เพราะในระยะหลังมีผู้ประกอบการจากจีนเริ่มย้ายฐานการผลิตมาไทยและอาเซียนจำนวนมากเพื่อป้อนชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนและประเทศต่าง ๆ ช่วงหลังจีนกับประเทศตะวันตกทั้งสหรัฐและยุโรปมีปัญหากันหลังจากที่เกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสหรัฐที่กล่าวหาจีนมาเป็นต้นเหตุในการทำให้เกิดการระบาดจนมีความขัดแย้งต่อเนื่อง ดังนั้นจีนต้องหาพันธมิตรในอาเซียนและประเทศใกล้เคียงมากขึ้น เห็นจากที่ผ่านมาไทยขออะไรจีนมักได้ง่ายๆหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเปิดด่านในการส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน ก็ได้รับความสะดวกรวดเร็วผิดกับครั้งก่อนๆ จนทำให้สินค้าเกษตรไทยหลายตัวสามารถส่งออกไปจีนได้เพิ่ม เช่น ทุเรียน แม้จะเจอปัญหาระบาดโควิด-19 แต่ก็มีล้งจีนเข้ามากว้างซื้อทุเรียนไทยมากกว่าเดิมอีกเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดจีน  

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/775916

พาณิชย์ จับมือสภาเกษตรกรฯ แนะช่องทางขายสินค้าเกษตรไทย ช่วงโควิด-19

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศประชุมทางไกลกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ หารือการบรรเทาปัญหาให้ภาคเกษตรที่เผชิญกับวิกฤติจากสถานการณ์โควิด-19 เน้นช่วยหาตลาดให้สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์การเกษตร และประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมแนะใช้ประโยชน์จาก FTA เพิ่มแต้มต่อและขยายส่งออกไปตลาดโลกทั้งนี้หากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คาดว่าพฤติกรรมของตลาดจะเปลี่ยนไป โดยผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าเกษตร อาหารปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์มากขึ้น จึงจำเป็นที่กลุ่มเกษตรกรจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทั้งสองหน่วยงานพร้อมร่วมมือกันให้ความรู้แก่เกษตรกรในเครือข่าย โดยเฉพาะเรื่องการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและเพื่อส่งออก รวมทั้งแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพื่อสนับสนุนการขยายโอกาสส่งออกไปยังตลาดโลก

ที่มา : http://www.thaidailymirror.com/index.php/economy/showcontent/146700.html

เวียดนาม คาดสินเชื่อปี 63 โต 9-10%

การเติบโตสินเชื่ออาจโตเพียงร้อยละ 9-10 ในปีนี้ หากเทียบกับปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 13 ถึงแม้ว่ามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปได้ในทิศทางที่ดี ตามข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ โดยอัตราการเติบโตจะต่ำกว่าที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ร้อยละ 11-14 ในปีนี้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของธนาคารกลางเวียดนามไว้ที่ระดับ 0.5 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อาจไม่ช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อของธุรกิจ ซึ่งการลดลงดังกล่าวจะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อระบบธนาคารและอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าเมื่อเทียบกับการตัดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ลดต้นทุนแก่ธนาคารอย่างมีนัยสำคัญและสนับสนุนให้ธุรกิจขยายการชำระหนี้สินและการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็คาม อัตราดอกเบี้ยข้างต้นปรับตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งความต้องการของผู้บริโภคยังคงอยู่ในวงจำกัด ทำให้ธุรกิจไม่กู้ยืมแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม

ที่มา :https://en.vietnamplus.vn/credit-growth-forecast-to-slow-to-910-percent-in-2020/173671.vnp

‘สนามบินเถาะซวน’ วางแผนในการรองรับผู้โดยสาร 5 ล้านคนต่อปี

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ตั้งเป้าเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินเถาะซวนในจังหวัดทัญฮว้าให้เป็น 5 ล้านคนในปี 2573 โดยทางสำนักงานอนุมิติการวางแผนเพื่อพัฒนาสนามบินในปี 2573 ด้วยการวางเป้าหมายไปสู่ปี 2593 รวมถึงยื่นแผนโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่ออนุมัติแผน ทั้งนี้ ตามข้อมูลรายงานใหม่ปี 2573 สนามบินเถาะซวนจะก้าวไปสู่สนามบินนานาชาติ ในขณะเดียวกัน ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและสินค้า เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5 ล้านคน และ 25,000 ตันต่อปี ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/tho-xuan-airport-plans-to-serve-5-million-passengers-per-year/173655.vnp

MAI ให้ความช่วยเหลือชาวเมียนมาที่กักกันตัวในสิงคโปร์

Myanmar Airways International (MAI) ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเมียนมากกว่า 800 คนที่ถูกกักกันในสิงคโปร์จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 สายการบินให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำเพื่ออพยพชาวเมียนมาในต่างประเทศและมีพระสงฆ์มากกว่า 500 รูปจากกรุงเทพฯ ธากา กัวลาลัมเปอร์ และกายะ ทั้งนี้ยังอพยพคนงานชาวเมียนมากว่า 6,000 คนที่ถูกค้ามนุษย์ในอินโดนีเซียและมาเลเซียโดยความร่วมมือของ KBZ Bank โดยใช้เงินจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ MAI, Air KBZ, KBZ Bank, KBZ MS General Insurance และ KBZ Life บริจาคเงินกว่า 3.3914 พันล้านจัตเพื่อป้องกันและควบคุม COVID-19 จนถึง 7 พฤษภาคม 2020

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mai-assists-quarantined-myanmar-citizens-in-singapore

กระทรวงแรงงานฯ สปป.ลาวเรียกร้องรัฐบาลให้เร่งรัดความช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงาน

เจ้าหน้าที่แรงงานท้องถิ่นทั่วประเทศจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานและช่วยลดการสูญเสียงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจากตัวเลขของอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 2% จนปัจจุบันอยู่ที่ 25%  Mr.Khamsingsavath อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกล่าวในการประชุมหารือในการช่วยเหลือแรงงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า “การระบาดของCOVID-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศรวมถึงสปป.ลาวและคนงานส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์การว่างงานเมื่อต้องเผชิญกับการสูญเสียงานได้และคาดว่าความยากจนในสปป.ลาวจะเลวร้ายลงเพราะคนงานจำนวนมากจะถูกปลดออกจากงานจากการที่ธุรกิจหลายๆแห่งได้รับผลกระทบจากCOVID-19” เจ้าหน้าที่แรงงานยอมรับข้อกังวลของพวกเขาเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีการแนะนำมาตรการหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือแรงงานแต่ทางการก็ยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากนายจ้างบางรายรวมถึงผู้ที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ไม่มีแผนชัดเจนในการสรรหาแรงงานสปป.ลาวทำให้นโยบายของภาครัฐในการช่วยเหลือแรงงานทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_officials_97.php

การพัฒนาโครงการ Riverfront ในกัมพูชาแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 80

โครงการก่อสร้างและพัฒนา City Gate ของ Yuetai Group Co Ltd. ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 80 ในขณะที่งานในอีกสามช่วงจะเริ่มขึ้นในไม่ช้า โดยโครงการเป็นที่รู้จักกันในชื่ออ่าวพนมเปญ ซึ่งระยะที่สามของโครงการคาดว่าจะเริ่มในไม่ช้าหลังจากโครงการฟื้นฟูช่องที่รองรับต่อ JICA ของญี่ปุ่นเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยโครงการทั้งหมดมีพื้นที่รวม 92,538 ตารางเมตร และถูกเช่าโดยท่าเรืออัตโนมัติพนมเปญในปี 2561 ในราคา 16.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับข้อตกลง 50 ปี ทอดยาวไปตามแม่น้ำ Tonle Sap จากสะพาน Chroy Changvar ไปยังตลาดกลางคืน ซึ่งมีห้องชุดตั้งแต่ 45 ถึง 82 ตารางเมตรและมีราคาตั้งแต่ 80,000 ถึง 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ร้านค้ามีราคาตั้งแต่ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50725373/riverfront-development-now-80-percent-complete/

การลงนามแผนการทำงานในการร่วมพัฒนาข้าวฉบับใหม่ในกัมพูชา

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงและสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ได้ลงนามแผนการทำงานร่วมกันสำหรับปี 2563-2566 โดยข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กรสำหรับกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาพืชผลที่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี ซึ่งการสนับสนุนของ IRRI สำหรับภาคข้าวของกัมพูชาเริ่มต้นขึ้นในปี 1960 เมื่อได้ฝึกฝนนักวิทยาศาสตร์ชาวกัมพูชาและรวบรวมพันธุ์ข้าวในท้องถิ่นมากกว่า 4,000 ชนิด เพื่อการอนุรักษ์ใน International Genebank เพื่อเติมเต็มความหลากหลายของข้าวในประเทศ โดยความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการกับบันทึกความเข้าใจครั้งแรกในปี 2529 และด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของ IRRI ทำให้กัมพูชาสามารถเพิ่มการผลิตข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญจาก 2.4 ล้านตันในปี 1993 เป็น 10.8 ล้านตันในปี 2562 รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50725298/new-rice-collaboration-inked/

เวียดนามเผยอนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ท่าอากาศยานเตินเซินเญิ้ต

รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม อนุมัติแผนก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต ในนครโฮจิมินห์ โดยอาคารผู้โดยสารดังกล่าวสามารถรองรับผู้โดยสารสูงสุด 20 ล้านคนต่อปี และคาดว่าจะช่วยลดภาระการใช้งานที่อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ T1 ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนโครงการดังกล่าวทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 470.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบริษัท Airports Corporation of Vietnam (ACV) ในระยะเวลา 37 เดือน นอกจากนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา อาคารผู้โดยสาร 2 แห่ง (T1-T2) สามารถรองรับผู้โดยสารกว่า 40 ล้านคน ขยายตัวมากกว่า 1.6 เท่า จากที่รองรับผู้โดยสารไว้ 28 ล้านคนต่อปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/construction-plan-for-tan-son-nhat-airports-third-terminal-approved/173605.vnp