เอกชนเสียงแตกเข้าร่วมซีพีทีพีพี

นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อความเป็นหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) เปิดเผยว่า คณะทำงานจะมีการประชุมอีกรอบในวันที่ 21 พ.ค.นี้เพื่อหาข้อสรุปให้ได้ว่า ควรจะสนับสนุนให้ไทยเข้าร่วมซีพีทีพีพีหรือไม่  หลังจากที่ผ่านก็ได้มีการประชุมไปแล้วรอบหนึ่งโดยรับฟังความเห็นจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นปัญหาทั้งสิทธิยา เมล็ดพันธุ์ แรงงาน การจัดซื้อจัดจ้าง พร้อมกันนี้ก็ขอให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงในแต่ละประเด็นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในความตกลงดังกล่าว นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท.อยู่ในช่วงของการประชุมหารือถึงเรื่องดังกล่าว เพราะแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมก็มีความแตกต่างกัน หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเดียวกันก็มีความเห็นที่ต่างกันเพราะมีทั้งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์และเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งซีพีทีพีพีมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณามาก ไม่เพียงแต่ประเด็นที่เป็นปัญหาที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่   ไม่เหมือนกับเอฟทีเออื่นๆที่สามารถตกลงเจรจากันได้ง่ายกว่า ขณะนี้ภาคเอกชนยังมีความเห็นที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สิ่งที่เห็นตรงกันคือ อนาคตในการค้าขายในโลกเศรษฐกิจแบบนี้จำเป็นที่ไทยต้องเข้าร่วมในความตกลงต่างๆ เอฟทีเอ หรือการเจรจาแบบทวิภาคี พหุภาคี

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/774921

ความคืบหน้าร่างกฎหมายภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัมพูชา มาเลเซียและเกาหลีใต้

ข้อตกลงการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนของกัมพูชากับมาเลเซียและเกาหลีใต้ใกล้ที่จะบรรลุเนื่องจากรัฐบาลได้ส่งร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศไปยังฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อขออนุมัติร่างกฎหมาย ตามที่รัฐบาลร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นหลัก ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายนโยบายภาษีและความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศ ณ กรมสรรพากรกล่าวว่า DTA ไม่เพียง แต่จะส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจในหมู่หุ้นส่วน แต่ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อปูทางสู่การเข้าถึง ข้อตกลงการค้า (FTA) กับพันธมิตรที่มีศักยภาพ โดยบริษัท DFDL หุ้นส่วนด้านภาษีและหัวหน้าฝ่ายภาษีของกัมพูชากล่าวว่าเครือข่าย DTA ที่แข็งแกร่งนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการแข่งขันเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเสริมว่า DTAs จะช่วยรัฐบาลในการต่อสู้กับการพังทลายของฐานภาษีของพวกเขาโดยการจัดเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยหน่วยงานภาษีของผู้ลงนามที่เกี่ยวข้องกับ DTAs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50723892/double-tax-draft-law-with-malaysia-and-south-korea-shows-progress/

เวียดนามนำเข้าตุ๊กตาล้มลุกจากรัสเซีย มูลค่ากว่า 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัท Au Viet My Import-Export Trading Company เปิดเผยว่ายอดนำเข้าตุ๊กตาล้มลุกจากรัสเซีย ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 100 ล้านรูเบิลรัสเซีย (ประมาณ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตกลงสัญญากับบริษัทสัญชาติรัสเซีย Kotovsky Tumblers นับว่าเป็นการทำสัญญาส่งออกครั้งแรกที่เกี่ยวกับสินค้าอย่างตุ๊กตารัสเซียแบบดั้งเดิมไปยังตลาดเวียดนาม ทั้งนี้ สำนักข่าวรัสเซีย ‘Interfax’ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว คุณ Dmitry Fedorov ผู้อำนวยการทั่วไปบริษัทฯ กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวจะดำเนินการออกเป็นช่วงๆ และทำจนเสร็จในเดือนมิ.ย.2564 ซึ่งเฟสแรกจะส่งตุ๊กตาล้มลุก 308 ตัว ไปยังเวียดนามในเดือนหน้า นอกจากนี้ ความร่วมมือทางการค้าระหว่างรัสเซียและเวียดนาม ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยธุรกิจเวียดนามส่วนใหญ่กำลังมองหาซัพพลายเออร์ชาวรัสเซียในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอาหาร กระดาษ โลหะและปิโตรเคมี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/russia-to-ship-tumblers-worth-over-13-million-usd-to-vietnam-413785.vov

‘กรุงฮานอย’ ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกลดลง 30% เหตุโควิด-19

เวียดนามดูเหมือนว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว และธุรกิจเริ่มหันมาดำเนินต่อไป แต่ว่าสถานการณ์ของตลาดค้าปลีกในกรุงฮานอยกลับดิ่งลงฮวบ โดยค่าเช่าพื้นที่ปรับลดร้อยละ 20-30 สำหรับธุรกิจที่ลำบากในช่วงการแพร่ระบาดไวรัส ส่งผลให้ร้านค้าส่วนใหญ่ต้องปิดตัวลงและหาทางโอนหรือคืนร้านค้าที่เช่ามา ทั้งนี้ คุณ Pham Danh Tung เจ้าของร้านค้าแฟชั่นแห่งหนึ่ง กล่าวว่าจำนวนลูกค้าและรายได้ลดลงหนักมาก ประกอบกับอัตราค่าเช่าอยู่ในระดับสูง ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชั่วคราวและหันไปเป็นเจ้าของบ้านเช่า ในขณะเดียวกัน จากผลการสำรวจของบริษัทที่ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ‘CBRE’ ระบุว่าผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีกส่วนใหญ่ร้อยละ 43 คาดรายได้ลดลงร้อยละ 10-30 ในปีนี้ และร้อยละ 27 หวังว่าจะได้รับการส่งเสริมจากผู้ปล่อยเช่าพื้นที่ค้าปลีก เนื่องจากได้รับผลกระทบทางลบจากไวรัสดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ระบุว่าเทรนด์การช็อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การธุรกิจค้าปลีกได้รับความนิยมน้อยลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-space-rentals-down-30-due-to-covid19-413778.vov

ททท.วางแผนรองรับนักท่องเที่ยว หลังการระบาด COVID-19

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.เตรียมรับการคลายล็อกดาวน์ประเทศ จากสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 ไว้ 3 ระดับ และหากทุกอย่างเปิดหมดต้องเตรียมตัวรับมือกับพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปททท.มองว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่พร้อมออกเดินทางหลังการระบาดคลี่คลาย คือกลุ่มเจเนอเรชั่น Y ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบคิดนอกกรอบ ชอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยจึงต้องปรับตัวให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนบริการของตัวเองให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เพื่อรองรับกระแสการเดินทางที่กำลังจะเกิดขึ้นนอกจากนี้ยังประเมินว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือการเปลี่ยนแปลงภายใต้ New Normal การท่องเที่ยวต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ ความสะอาด และความปลอดภัยมากขึ้น และไม่สามารถคาดหวังนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ เช่น กรุ๊ปทัวร์ได้แล้ว แต่หลังจากนี้ไปการเดินทางท่องเที่ยวจะเปลี่ยนมาเป็นกรุ๊ปขนาดเล็กมากขึ้น หรือเดินทางด้วยตัวเอง และรูปแบบการท่องเที่ยวจะเป็นระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อรวมทั้งเชื่อว่านักท่องเที่ยวจะหันมาสนใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น ส่วนคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปีนี้ (63) น่าจะอยู่ที่ 14-16 ล้านคน และนักท่องเที่ยวไทยคาดอยู่ที่ 80-100 ล้านครั้ง

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/292423

เวียดนามเล็งส่งออกผักผลไม้สดไปยัง ‘ไทย’

สมาคมพืชผักและผลไม้เวียดนาม (VinaFruit) เปิดเผยว่าดำเนินการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ไทยและแอฟริกา โดยได้รับสัญญาเชิงบวกเมื่อปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามไปยังไทย อยู่ที่ 74.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ นาย Dang Phuc Nguyen เลขาธิการของสมาคมฯ เสนอให้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเจรจากับกระทรวงเกษตรของไทย เพื่อสร้างความสมดุลทางการค้าแก่ผักผลไม้ เนื่องจากเวียดนามขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำว่าธุรกิจเวียดนามควรศึกษาตลาดเจาะลึกมากขึ้น ในขณะที่ มองหากลุ่มลูกค้าและขยายเครือข่ายทางการค้า ทั้งนี้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ชี้ให้เห็นว่าไทยเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะผักผลไม้สดจากเวียดนาม นอกจากนี้ การจัดแสดงสินค้าในไทยประจำปี จะช่วยให้ธุรกิจเวียดนามสามารถศึกษาความต้องการของตลาดและลูกค้าในท้องถิ่นได้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-seeks-to-export-fresh-fruits-vegetables-to-thailand/173292.vnp

จ.บั๊กซาง ติดอันดับที่ 9 เป็นแหล่งดึงดูดเงินทุน FDI

จังหวัดทางตอนเหนือ ‘บั๊กซาง’ อยู่ในอันดับที่ 9 ของจังหวัดที่เป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ คุณ Nguyen Cuong รองผู้อำนวยการสำนักวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าจังหวัดบั๊กซาง มีโครงการลงทุน FDI ที่ได้รับการอนุมัติใหม่ 13 โครงการ ด้วยมูลค่าทุนจดทะเบียนรวมกว่า 229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีโครงการลงทุน FDI ที่มีอยู่ 12 โครงการ ได้ปรับเพิ่มเงินทุนรวมกันมากกว่า 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) จ.บั๊กซาง ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การบริหารราชการส่วนภูมิภาคจะดำเนินแก้ปัญหากับความยากลำบากของภาคธุรกิจ อาทิ การผลิตและการดำเนินทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึงสินเชื่อและปัญหาทางด้านภาษี การค้า รวมถึงการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/bac-giang-ranks-ninth-in-fdi-attraction/173320.vnp

รัฐบาลเมียนมาสร้างงานภาคเกษตรและชนบทภายใต้แผน CERP

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 63 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน (MOALI) จะมีการจ้างงานในภาคเกษตรและก่อสร้างสำหรับผู้ว่างงานภายใต้แผนบรรเทาเศรษฐกิจจากผลกรทบของ COVID-19 (CERP) นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานทางการเกษตรรวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรด้วยการจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อการเพาะปลูกและการจัดหาเงินทุน แผนนี้คาดว่าจะสร้างงานให้กับคนอย่างน้อย 800,000 คน โดยต้องทำงานในพื้นที่การเกษตร 400,000 เอเคอร์ ธนาคารโลกจะให้เงินกู้ช่วยเหลือการพัฒนาระหว่างประเทศมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการอาหารและการเกษตรแห่งชาติ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-create-agri-and-rural-jobs-support-farmers-under-cerp.html

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือสหประชาชาติโครงการอาหารโลกลดผลกระทบด้านอาหาร

องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติโครงการอาหารโลก (WFP) ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของสปป.ลาวเพื่อร่างแผนรับมือและให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่เกษตรกร การวิเคราะห์ของ FAO พบว่าประเทศมีหลายๆ ประเทศนำเข้าอาหารลดลง 2 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ส่งผลกระทบด้านโภชนาการต่อประชากร 14.4 ล้านถึง 80.3 ล้านคนทั่วโลก จากสถานการณ์ทำให้องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) พยายามปรับปรุงด้านโภชนาการเพื่อปกป้องวิถีชีวิตและความมั่นคงด้านอาหารของกลุ่มประชากรในประเทศ หากไม่มีนโยบายที่มีประสิทธิภาพผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะประสบกับความหิวโหยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบ COVID-19 ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงด้านโภชนาการ นอกจากนี้ด้วยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการอาหารลดลง ในทางกลับกันราคาก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกันซึ่งจะช่วยลดยอดขายและรายได้ของภาคเกษตร ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและราคาของสินค้าเกษตรก็ควรได้รับการแก้ปัญหาและสนับสนุนต่อไปในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_92.php

การค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงถึง 586 ล้านดอลลาร์ ใน Q1

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นมีมูลค่า 586.8 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2563 กัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 475.1 ล้านดอลลาร์ ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.4% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 111.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% รายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกจากกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าตัวเลขการค้าที่เน้นความต้องการในเชิงบวกสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกิจกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งของประเทศเพื่อการส่งออก ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้น 13% เป็น 2,292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722980/cambodia-japan-trade-register-more-than-586-million-in-q1/