นกแอร์ระงับเที่ยวบินย่างกุ้ง-กรุงเทพ

สายการบินนกแอร์ของไทยระงับเที่ยวบินจากงย่างกุ้งและกรุงเทพฯ วันละ 2 เที่ยวต่อวัน โดยคืนเงินเต็มจำนวนหรือเปลี่ยนตั๋วเครื่องบินสามารถเลือกจุดหมายปลายทางภายในสามเดือน ตามรายงานของกระทรวงการบินพลเรือน (DCA) สายการบิน Korean Air ระงับเที่ยวบินตรงของอินชอนไป -ย่างกุ้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีสายการบินจากประเทศอื่นรวมถึงจีนเพียง 6 0kd 15 สายการบินของจีนที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้ DCA กำหนดให้สายการบินระหว่างประเทศบินกรอกแบบฟอร์มสุขภาพที่ และปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Coronavirus ในสนามบินนานาชาติและสนามบินภายในประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/nok-air-suspends-its-morning-ygn-bkk-flights

โรงงานการ์เม้นท์จีนลอยแพคนงานกว่า 800 คน

เจ้าของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า Royal Apolo แห่งประเทศจีนตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมชเวปยีธา เขตย่างกุ้งได้ย้ายโรงงานไปประเทศไทยโดยไม่จ่ายเงินเดือนให้กับคนงานประมาณ 800 คน มีรายงานว่าโรงงานดังกล่าวได้ถูกเช่าและวางแผนที่จะทำการประมูลเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจ่ายเงินให้กับคนงาน 800 คน คนงานกำลังเจอปัญหา เช่น การจ่ายค่าเช่าที่พักและอาหาร ดังนั้นจึงไม่กลับบ้าน คนงานประมาณ 600 คนต้องค้างคืนในบริเวณโรงงาน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/garment-factory-boss-slips-away-leaving-about-800-workers-unpaid

‘กยท.’ หวั่นออร์เดอร์ส่งออกยางไปจีนวูบ 2 ล้านตัน

โควิด-19 พ่นพิษหนัก กยท.หวั่นใจออร์เดอร์จีนวูบ 50% ทุบน้ำยางส่งไปจีนชะงัก 2 ล้านตัน ฉุดราคาน้ำยางลง เร่งสปีดหน่วยงานรัฐใช้ยาง ล่าสุดดึง รพ.รามาธิบดี เอ็มโอยูปั๊มอุปกรณ์การแพทย์แปรรูปจากยาง การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลให้ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักเลื่อนชิปเมนต์ส่งมอบยางออกไปก่อนในขณะนี้ และแรงงานที่อยู่ในภาคโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมยางพารายังไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานที่โรงงานได้เต็มที่ ปีนี้จึงอาจจะล่าช้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงเดือนมีนาคมนี้น่าจะคลี่คลายดีขึ้น เพราะจีนเริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ กยท.ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการใช้ยางพาราในประเทศ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ตั้งเป้าหมายไว้ 160,000 ตัน และมีการใช้ยางพาราจริงประมาณ 140,000 ตัน คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นจากการสร้างถนน และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยจะมีงบฯการวิจัยและพัฒนา 400 ล้านบาท” เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และเข้าสู่ช่วงปิดการกรีดยาง รวมทั้งผลจากโรคใบด่างส่งผลให้ผลผลิตลดลงและยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ออร์เดอร์จากจีนหยุดชะงัก โดยปกติจีนมีการสั่งออร์เดอร์น้ำยางสดจากไทยกว่า 50% ของปริมาณน้ำยางทั้งหมดในประเทศ หรือออร์เดอร์หายไปประมาณ 2 ล้านตัน ดังนั้น กยท.จึงต้องเร่งผลักดันการใช้ยางในประเทศจากการสร้างถนน สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ ล่าสุดได้บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่าง กยท.กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาแบบจำลองสื่อการเรียนการสอนทางการแพทย์จากยางพาราแปรรูปที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยในการพัฒนาวิจัย ทดแทนการนำเข้า และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา ในระยะเวลา 3 ปี รายงานจาก กยท.ระบุว่า ขณะนี้ระดับราคาน้ำยางสด ณ วันที่ 4 มี.ค. 2563 อยู่ที่ กก.ละ 42.80 บาท จากเดือนก่อนหน้า (3 ก.พ.) อยู่ที่ กก.ละ 39.80 บาท ส่วนราคาเอฟโอบีอยู่ที่ กก.ละ 50.55 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เคยอยู่ที่ กก.ละ 47 บาท ไทยมีการส่งออกยางพาราในเดือนมกราคม 2563 ปริมาณ 296,348 ตัน เพิ่มขึ้น 0.94% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่า 388 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.02%

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-429452

รัฐมนตรีเร่งให้ทางจังหวัดทั่วประเทศแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ได้ขอความร่วมมือหน่วยงานประจำ 28 จังหวัดชายทะเล เพื่อส่งเสริมในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม (IUU) ซึ่งอาจช่วยให้ภาคการประมงเวียดนามได้ปลดใบเหลืองภายในปีนี้ หลังจากการประชุมของคณะกรรมมาธิการยุโรปครั้งที่ 3 ในช่วงกลางปีนี้ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามคำแนะนำของฝ่ายคณะฯยุโรป ซึ่งหากทีมตรวจสอบของคณะกรรมการดังกล่าว มองว่าเวียดนามยังคงทำการประมงที่ผิดกฎหมายอยู่ในครั้งที่ 3 ปีนี้ ส่งผลให้เวียดนามไม่สามารถปลดใบเหลืองได้ และอาจได้รับใบแดง (ห้ามนำเข้า) ด้วยเหตุนี้ รัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงานชายฝั่งทะเล เพื่อต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมายและการดำเนินกฎหมายด้านการประมงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเข้า-ออกของเรือประมง การตรวจสอบย้อนกลับสำหรับแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น โดยหลังจากการตรวจสอบ พบว่าคณะทำงานยุโรปยอมรับถึงความโปร่งใสในการทำงานและการให้ความร่วมมือมากขึ้นของเวียดนาม และในปัจจุบันเวียดนามยังคงทำตามคำแนะนำของคณะทำงานยุโรป อาทิ การติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และเผยแพร่ข้อบังคับกับเจ้าของเรือ รวมถึงจัดเตรียมอุปกรณ์ทำเครื่องหมายบนเรือ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/653114/minister-urges-provinces-to-boost-fight-against-iuu-fishing.html

ฮว่า ฟ้าด (Hoa Phat) ส่งออกเหล็กเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 3 เท่าต่อปี

บริษัทฮว่า ฟ้าด (Hoa Phat) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ระบุว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณการส่งออกมากกว่า 40,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ ยอดส่งออกไปยังแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างมาก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.4 ของการส่งออกรวม รองลงมาไทยและมาเลเซีย สำหรับยอดขายเหล็กก่อสร้างของบริษัทในเดือนที่แล้ว แตะระดับ 205,000 ตัน ทำให้ยอดขายรวมในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 381,000 ตัน รวมถึงปริมาณการส่งออก 69,000 ตัน ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน ผู้ผลิตเหล็กได้วางแผนที่จะทดสอบสายการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของบริษัท โดยในปี 2562 บริษัทดังกล่าวมีปริมาณส่งออกเหล็กก่อสร้างมากกว่า 265,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน กัมพูชาเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ที่สุดของบริษัท รองลงมาญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย ซึ่งกลุ่มประเทศข้างต้นมีความต้องการสินค้า แสดงให้เห็นจากขีดความสามารถและคุณภาพสินค้าของบริษัทฮว่า ฟ้าด ในตลาดโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hoa-phat-s-february-steel-exports-almost-triple-year-on-year/169637.vnp

วัดมหามุนีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมประมาณ 500 คนต่อวัน

มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากว่า 500 คนที่มาเยี่ยมชมพระพุทธรูปมหามุนีในมัณฑะเลย์เป็นประจำทุกวัน หลังจากการระบาดของโรค coronavirus (COVID-19) ที่เริ่มขึ้นในประเทศจีน นักท่องเที่ยวชาวเอเชียมาเที่ยวเมียนมาน้อย แต่นักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันตกยังคงเดินทางมา จากข้อมูลมีผู้เยี่ยมชมชาวต่างชาติกว่า 1,000 คนทุกวันก่อนเกิดการระบาด ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมมีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงโดยเฉลี่ย 500-700 คน เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง ทำให้ตอนนี้ทางวัดได้ติดประกาศถึงวิธีล้างมือ มอบวิตามินซีให้กับพนักงานจากศูนย์ข้อมูลที่ต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังจำหน่ายหน้ากากอนามัยอีกด้วย จากข้อมูลพบว่าวัดมีรายได้ 12,091,000 จัต จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 24,182 คน ในเดือนมกราคม และ 7,201,000 จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14,402 คน ในเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะถูกเรียกเก็บค่าเข้าชม 5,000 จัต

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mandalay-maha-muni-buddha-image-sees-around-500-foreign-visitors-daily

ภาคอุตสาหกรรมการบริการเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาด Covid-19

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาลและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนในการจัดการกับการค้าที่ชะลอตัวจากความกังวลของการแพร่ระบาด Covid-19 สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ในช่วงเดือนที่ผ่านมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่าสปป.ลาวสูญเงินไปกว่า 20-25 ล้านเหรียญสหรัฐตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นหากนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ หยุดเที่ยวสปป.ลาวทำให้เจ้าของและผู้แทนท้องถิ่นจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งรวมถึงโรงแรมร้านอาหารสายการบินผู้ประกอบการขนส่งและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มารวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องถึงมาตราการความเชื่อเหลือจากภาครัฐ เพราะขนาดนี้ทุกภาคส่วนกำลังตกอยู่ในช่วงตกต่ำจากสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยในที่ประชุมมีการเสนอทางออกแก่ภาครัฐดังนี้ ลดหรือเลื่อนการชำระภาษีของภาคธุกิจ ธนาคารควรมีการพักหนี้ชั่วคร่าวแก่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการช่วยเหลือด้านสวัสดิการของแรงงาน ข้อเสนอต่างๆจะถูกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินมาตราการต่างๆ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ภาคธุรกิจควรช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการรับมือกับวิกฤติและมีการวางแผนการรับมือกับวิกฤตดังกล่าวในระยะยาวด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-tourism-industry-seeks-help-wake-covid-19-slump-115095

กองทุนเพื่อธุรกิจสปป.ลาวสนับสนุน SME ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

กรมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ คาดว่าจะจัดสรรเงินทุนจากกองทุนพัฒนาธุรกิจ SMEs ในการพัฒนาโครงการด้านเทคนิคซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างธุรกิจขนาดเล็กและส่งเสริมการเริ่มธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการในสปป.ลาว ซึ่งจะมีการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในวงเงินไม่เกิน 1.5 พันล้านกีบให้กับ MSMEs ในขณะที่องค์กรขนาดเล็กจะได้รับประมาณ 3 พันล้านกีบและวิสาหกิจขนาดกลางจะได้รับ 4 พันล้านกีบ โดยเงื่อนไขของภาคธุรกิจที่จะเข้ามาควรมีแผนธุรกิจและควรได้รับการรับรองจากองค์กรภาคการค้าและอุตสาหกรรมก่อนถึงจะมีสิทธิ์ในการได้รับการพิจารณาให้กู้เงินในกองทุนดังกล่าวได้ โดยในปีที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดีจากการที่ภาคธุรกิจแต่ละขนาดมีการพัฒนาในการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยส่งเสริมในการผลิต รวมถึงมีระบบจัดการที่ดีขึ้นมีหลายๆธุรกิจที่ขยับตัวเองจาก SMEs มาเป็น MSMEs ซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ถึงการประสบความสำเร็จของโครงนี้ เป้าหมายในอนาคตจะมีการอนุมัติสินเชื่อให้เพิ่มเติมแก่ธุรกิจต่างๆเพื่อให้ครอบคลุมทั่วสปป.ลาว เป็นการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในสปป,ลาวเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/smes-set-benefit-special-funding-scheme-115096

การระบาดของ Covid-19 อาจส่งผลต่อรายรับการจัดเก็บภาษีของกัมพูชา

กรมสรรพากร (GDT) กล่าวถึงการระบาดของ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้จากเก็บภาษีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายของภาครัฐในการเก็บภาษีปีนี้อยู่ที่ 2,886 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกรมสรรพากรกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพราะไม่ทราบว่าการระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลงอย่างไร ซึ่งรัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลกระทบจากไวรัสที่กำลังเผชิญอยู่ทั้งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการผลิตเสื้อผ้าของประเทศ โดยรัฐบาลได้ใช้มาตรการในการจัดการสถานการณ์ในภาคที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยวล่าสุด (MOT) ในปี 2562 กัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศราว 4.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.4% จากปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม MOT กำลังคาดการณ์ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ว่าจะทำให้รายได้นั้นลดลงเป็นอย่างน้อย 10% ส่วนในมาตรการอื่นๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางการเงินรัฐบาลได้ตัดสินใจยกเลิกภาษีตราประทับ 4% สำหรับทรัพย์สินที่อยู่อาศัยทั้งหมดภายใต้เงื่อนไขมูลค่าสินทรัพย์ไม่เกิน 70,000 เหรียญสหรัฐจนถึงเดือนมกราคมปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698138/covid-19-scuppers-kingdoms-taxman

กัมพูชาขาดดุลทางการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ

การขาดดุลทางการค้าของกัมพูชาระหว่างประเทศคู่ค้าทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2562 โดยขาดดุลมากกว่า 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐจากรายงานของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 4.83 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 คิดเป็นขาดดุลเพิ่มขึ้น 31.6% จากรายงานที่เผยแพร่ของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ร่วมกับกรมศุลกากรและสรรพสามิตระบุว่ากัมพูชานำเข้า 22.19 พันล้านเหรียญสหรัฐของการนำเข้าในปีที่ การส่งออกของกัมพูชาอยู่ที่เพียง 14.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปีเดียวกัน โดยผลิตภัณฑ์หลักของกัมพูชาในการส่งออก คือ สิ่งทอ, รองเท้า, ข้าวสารและจักรยานไปยังห้าประเทศหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, จีนและสหราชอาณาจักร ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปคิดเป็น 56.67% ของการส่งออกทั้งหมดขณะที่การส่งออกสิ่งทอและรองเท้าคิดเป็น 8.91% และ 8.72% ตามลำดับ การส่งออกข้าวสารคิดเป็น 2.89% และ จักรยานอยู่ที่ 2.88% โดยสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้า, ยานพาหนะ, น้ำมันปรุงอาหารและวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่มาจากจีน, ไทย, เวียดนาม, ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698301/cambodias-trade-deficit-widens-to-7-66-billion