‘เวียดนาม-ฮังการี บิสซิเนส ฟอรั่ม’ ร่วมผลักดันความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุน

การประชุมเวียดนาม-ฮังการี บิสซิเนส ฟอรั่ม (Vietnam-Hungary Business Forum) เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเวียดนามและฮังการีในการส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุน รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคธุรกิจ โดยปีนี้มีนายกรัฐมนตรีฮังการี วิกเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงห์ ชินห์ ผู้นำกระทรวงและตัวแทนของภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศเข้าร่วม

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อให้ข้อมูลทางด้านศักยภาพ การลงทุนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนศึกษาโอกาสเส้นทางธุรกิจในเวียดนามและฮังการี ในขณะเดียวกันมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะนโยบายแบบพิเศษ โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-and-hungary-hold-great-cooperation-potential-joint-business-forum-post1072774.vov

‘ฟิลิปปินส์’ กลายเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปี 66

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่า 8 ล้านตัน และฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม โดยจากตัวเลขทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเวียดนามส่งออกข้าว 8.34 ล้านตันในปีที่แล้ว ทำรายได้ราว 4.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% และ 35.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าฟิลิปปินส์จะเป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามมากที่สุด แต่อินโดนีเซียก็เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตในระดับสูง ปริมาณการนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าทิศทางการส่งออกข้าวของเวียดนามในปีนี้ จะได้รับแรงหนุนมาจากราคาในตลาดโลกที่คงอยู่ในระดับสูง และผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิโญ รวมถึงการซื้อข้าวจากกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา คาดว่าจะผลักดันราคาในตลาดโลกให้สูงขึ้นในปี 2567

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/philippines-is-vietnams-largest-rice-consumer-in-2023-post1072880.vov

นายกฯ สปป.ลาว แนะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคุมเข้มการใช้ที่ดิน

นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว แนะนำให้เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลการจัดสรรและใช้ที่ดินอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แม้ว่า การออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศดำเนินไปด้วยดี โดยมีการออกโฉนดที่ดินเป้าหมายเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเป้าหมาย นอกจากนี้ การให้สิทธิการใช้ที่ดินแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายที่ดินรวมทั้งในระดับเขตยังไม่เสร็จสิ้นตามที่ตั้งใจไว้ ภายใต้กฎหมายโครงการสัมปทานที่ดินของรัฐควรได้รับการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบที่กำหนด ในขณะเดียวกัน โครงการที่ไม่ก่อให้เกิดผลควรหยุดหรือยกเลิก ในขณะที่โครงการที่ดำเนินการได้สำเร็จและสอดคล้องกับประเภทการใช้ที่ดินที่ระบุควรได้รับการสนับสนุน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_14_PMcalls_y24.php

‘นโยบายแบตเตอรี่แห่งอาเซียน’ สปป.ลาว เดินหน้าต่อ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการค้ากับกัมพูชา

สปป.ลาว และกัมพูชา ย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับการค้าพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศ หลังจากการจัดตั้งสายส่งไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์ ในแขวงจำปาสักไปจนถึงชายแดนติดกับกัมพูชา ข้อตกลงที่จะส่งเสริมการค้าพลังงานมีขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ในระหว่างการเยือนประเทศ ปัจจุบัน สปป.ลาว ผลิตไฟฟ้าส่งขายให้กับกัมพูชาผ่านสายส่งขนาด 115 กิโลโวลต์ ระหว่างแขวงจำปาสักกับจังหวัดสตึงแตรง ประเทศกัมพูชา ด้วยการใช้สายการผลิตใหม่ขนาด 500 กิโลโวลต์ คาดว่าการถ่ายโอนพลังงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบัน กัมพูชานำเข้าไฟฟ้าจากลาว ประมาณ 445 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ปัจจุบันประเทศกัมพูชานำเข้าไฟฟ้า 25% จากลาว เวียดนาม และไทย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/01/19/battery-of-southeast-asia-plans-move-forward-as-laos-enhances-trade-capacity-with-cambodia/

เมียนมาร์-ไทย ตัดสินใจยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ตามรายงานของสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เมื่อวันที่ 17 มกราคม เมียนมา และไทยได้จัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคีไทย-เมียนมาเพื่อส่งเสริมการค้าและความสัมพันธ์ นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์เอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมา พร้อมคณะเข้าพบหารือกับประธาน UMFCCI นายอู เอ วิน และเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ โดยในระหว่างการประชุม การอภิปรายมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างเมียนมาและไทย การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการค้า การปรับปรุงมาตรการการค้าชายแดน การขยายธุรกิจและการลงทุน รับรองกระบวนการส่งออกและนำเข้าให้มีความราบรื่น (รวมถึงอาหาร ของใช้ส่วนตัว นม และผลิตภัณฑ์นม) ส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 7 มกราคม กระทรวงการค้าได้ออกแถลงการณ์อนุญาตให้นักธุรกิจเปลี่ยนค่ายการค้าเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าในกระบวนการส่งออกและนำเข้าของเขตการค้าเมียวดี ผู้ประกอบการส่งออกได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติเพื่อส่งไปยังตลาดต่างประเทศผ่านค่ายการค้าชายแดนตามแนวชายแดนเมียนมาร์-ไทย ถ้าไม่เช่นนั้นก็สามารถเลือกเส้นทางการค้าทางทะเลได้ นอกจากนี้ ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การค้าเมียนมา-ไทย มีมูลค่าทะลุ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 9 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้ หากเทียบกันในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2022-2023 มูลค่าการค้าสูงถึง 3.951 พันล้านดอลลาร์ ดังนั้นมูลค่าการค้าในปีการเงินปัจจุบันจึงลดลง 385.353 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-decide-to-enhance-economic-cooperation/

2023 กัมพูชาส่งออกยางไปยังตลาดต่างประเทศมูลค่า 490.6 ล้านดอลลาร์

General Directorate of Rubber (GDR) รายงานการส่งออกยางแห้งของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศปริมาณกว่า 368,048 ตัน ในปี 2023 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3 จากปริมาณ 372,903 ตันในปีก่อนหน้า โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายสำคัญของกัมพูชาที่มูลค่า 490.6 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 7 จากมูลค่า 527.6 ล้านดอลลาร์ในปีก่อน ซึ่งส่งออกไปยังยังมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน เป็นหลัก ขณะที่การเพาะปลูกต้นยางพาราในกัมพูชามีพื้นที่ทั้งหมด 407,172 เฮกตาร์ และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว 320,184 เฮกตาร์ โดยรายงานระบุเสริมว่าการส่งออกยางที่ลดลงเป็นผลเนื่องมาจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการมีอยู่ของโรงงานผลิตยางรถยนต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501425159/cambodia-exports-rubber-worth-490-6-million-in-2023/

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปลดลง 9.3% ในปี 2023

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรป (EU) ในปี 2023 มีมูลค่า 3.66 พันล้านดอลลาร์ ลดลงมากกว่าร้อยละ 9 จากมูลค่า 4.04 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022 ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MoC) โดยคิดเป็นมูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชา-สหภาพยุโรปมูลค่า 4.61 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเกือบร้อยละ 5 จากมูลค่า 4.85 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 949 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากมูลค่า 811 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรป แต่เกินดุลในสัดส่วนที่ลดลงเหลือ 2.71 พันล้านดอลลาร์ จาก 3.23 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน สำหรับสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปอัน ได้แก่ สิ่งทอ รองเท้า จักรยาน อาหาร และผลิตภัณฑ์ผัก (ข้าว) ไปยังสหภาพยุโรปเป็นหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501424860/cambodias-exports-to-eu-down-9-3-in-2023/

กัมพูชาส่งออกจักรยานไปยังตลาดโลกมูลค่า 417 ล้านดอลลาร์ ในปี 2023

กัมพูชาส่งออกจักรยานไปยังตลาดโลกมูลค่า 416.7 ล้านดอลลาร์ ในปี 2023 ลดลงกว่าร้อยละ 53.6 จากมูลค่า 899.7 ล้านดอลลาร์ ในปีก่อนหน้า โดยกัมพูชาส่งออกจักรยานไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา ญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่นๆ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) กล่าวโดย Penn Sovicheat รัฐมนตรีต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขณะที่การลดลงเกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจักรยานถือเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลักของกัมพูชาในการส่งออก รองจากเสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501424449/cambodia-exports-bicycles-worth-nearly-417-mln-last-year/

ปริมาณการค้าระหว่าง กัมพูชา-ฝรั่งเศส แตะ 515 ล้านดอลลาร์

ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและฝรั่งเศสสูงถึง 515.21 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรป (EU) อยู่ที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงปี 2023 กล่าวโดยนายก ฮุน มาเนต ในระหว่างการเป็นประธานในการประชุม ‘French-Cambodian Business Forum’ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (15 ม.ค.) โดยทั้งสองประเทศมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเชื่อมโยงกันในหลายด้านทั้งสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม อาหาร ภาษา ระบบการบริหาร กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับในสังคมกัมพูชา โดยกัมพูชาตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการมีอยู่ของข้อตกลงการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดที่หลากหลาย หากเข้ามาลงทุนหรือทำการค้ากับกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501424116/cambodia-france-trade-volume-reaches-515m/

เมียนมาแห่ปลูกยางแสนไร่ ราคาต่ำกว่าไทย จับตา “ยางเถื่อน” ทะลัก

นายเพิก เลิศวังพง ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้ลงพื้นที่ จ.ระนอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่ จ.ระนอง ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2567 นี้ โดยเบื้องต้นจะมีสำรวจพื้นที่สวนยางในจังหวัดระนอง ซึ่งพื้นที่เพียงประมาณ 1,000 ไร่ และติดตามปัญหาความเสี่ยงในการนำเข้ายางเถื่อน

ทั้งนี้ บริเวณชายแดนประเทศเมียนมามีการปลูกสร้างสวนยางประมาณ 1 แสนไร่ และราคายางในประเทศเมียนมามีราคาต่ำกว่าประเทศไทยเฉลี่ย 5-10 บาท/กิโลกรัม ขณะนี้ราคายางไทยทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ 63 บาท ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงความไม่มีเสถียรภาพของราคายางในประเทศเมียนมา โดยในปี 2566 ที่ผ่านมามีการจับกุม 62 คดี มีปริมาณของกลาง 110 ตัน โดยเป็นยางแผ่นดิบ 80 ตัน และยางก้อนถ้วน 2 ตัน

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1482320