เวียดนามตั้งเป้า จ.ก่าเมา จะบรรลุตามเป้าหมายการส่งออก

จังหวัดก่าเมาอยู่ในทางตอนใต้ของเวียดนาม ได้หาแนวทางที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นและผลักดันการส่งออกให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ท่ามกลางไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โดยคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดได้มุ่งเน้นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับการประกอบธุรกิจและการลงทุน รวมถึงผลักดันโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2568 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามหรือเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีมีความทันสมัย ดังนั้น ธุรกิจท้องถิ่นจึงต้องเตรียมการวางแผนการผลิตและแปรรูป ขณะที่ จากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) จะช่วยให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจท้องถิ่นในจังหวัดก่าเมาได้สร้างรายได้ในเดือน ม.ค. 63 ประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย จีนและสหภาพยุโรปในทางตอนใต้ของเวียดนามังคงมุ่งเน้นในการผลิตหน้ากาก้องกันเชื้อ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592306/ca-mau-looks-for-measures-to-achieve-export-turnover-target.html

MAI เช่า Embraer E190s สองลำ เพื่อขยายเที่ยวบิน

Myanmar Airways International (MAI) วางแผนเช่าเครื่องบิน Embraer E190 สองลำเพื่อขยายเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศพร้อมลงนามในข้อตกลงกับ CDB Aviation ภายใต้ China Development Bank Financial Leasing เพื่อเช่าเครื่องบินของสิงคโปร์ MAI วางแผนที่จะบินเครื่องบิน สองลำในต้นเดือนสิงหาคม 63 ตอนนี้ MAI มีเครื่องบิน A319 ห้าลำและเครื่องบิน A320 หนึ่งลำและวางแผนเพิ่มเครื่องบินเพื่อให้บริการเที่ยวบินต่างประเทศมากขึ้น โดยให้บริการจากย่างกุ้งถึง กรุงเทพฯ สิงคโปร์ กวางโจว และกัลกัตตาโดยใช้เครื่องบินแอร์บัสจำนวนหกลำ MAI ตั้งอยู่ที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้ง และสนามบินนานาชาติมัณฑะเลย์ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม MAI ได้ยกเลิกเที่ยวบินเช่าเหมาลำทั้งหมดไปยังจีนเพื่อควบคุมไวรัส COVID-19 ที่ระบาดจากหวู่ฮั่นประเทศจีนและทำตามมาตรฐานการบิน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mai-rents-two-embraer-e190s-to-expand-flights

เมียนมาอนุมัติ 12 บริษัท เพื่อการลงทุนในประเทศ

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ได้อนุมัติการลงทุนจากบริษัท 12 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการลงทุนครั้งนี้สามารถสร้างงานให้กับชาวเมียนมามากกว่า 6,600 คน ด้วยเงินลงทุน 501.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 73.4 พันล้านจัต (48.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทที่ได้รับอนุญาตในการผลิต ภาคบริการอื่น ๆ และภาคโรงแรมตามลำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 62 สิงคโปร์ จีน และไทยเป็นผู้ลงทุนอันดับต้นๆ  ในขณะเดียวกันภาคน้ำมันและก๊าซพลังงาน และการผลิตเป็นหนึ่งในสามในรายการที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 31-32 ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีงบประมาณ 62-63 การลงทุนจากต่างประเทศมีโครงการที่ได้รับอนุญาต 1,909 โครงการมูลค่าการลงทุนสูงถึง 83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: http://www.xinhuanet.com/english/2020-02/15/c_138786428.htm

จ่อชง ครม. ‘ฟรีวีซ่า’ นักท่องเที่ยว ‘จีน-อินเดีย’ กระตุ้นท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์

รองโฆษกฯ รัฐบาล เผย จ่อชงคณะรัฐมนตรีไฟเขียว “ฟรีวีซ่า” นักท่องเที่ยวจีนและอินเดีย หวังกระตุ้นท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ เชื่อศก.ฟื้นไตรมาส 2 หลัง “งบฯ 63” ประกาศใช้ ชี้เบิกจ่ายจะมีประสิทธิภาพ เดินหน้าโครงการได้เต็มที่ รองโฆษกฯ ยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่า รอบคอบ รัฐบาลเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นเมื่องบประมาณปี 63 ประกาศใช้ การเบิกจ่ายงบประมาณจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐบาลจะดำเนินโครงการต่างๆได้อย่างเต็มที่ สามารถลงนามในสัญญาต่าง ๆ ได้ จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้อย่างแน่นอน ด้านการท่องเที่ยว รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาได้เตรียมแผนรับมือสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแล้ว ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวช่วยกันเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวจีนให้กลับมาเที่ยว ขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะมีการนำมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (ฟรีวีซ่า) สำหรับนักท่องเที่ยวจีนและอินเดีย ซึ่งเป็น 2 ตลาดใหญ่ เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอีกครั้ง พร้อมกับประสานกระทรวงคมนาคม เพื่อเปิดบริการเช่าเครื่องบินเหมาลำให้มากที่สุด โดยหวังว่านักท่องเที่ยวชาวจีนจะกลับมาคึกคักอีกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/866496?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

รัฐสภายุโรปอนุมัติมติให้สัตยาบันข้อตกลง EVFTA และ EVIPA

จากที่ประชุมสภายุโรป (EP) เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงเปิดการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และข้อตกลงการคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVIPA) สำหรับข้อตกลง EVIPA มีมติในการประชุมด้วยเสียงข้างมาก 407 ต่อ 188 เสียง และงดออกเสียง 53 เสียง ขณะที่ ข้อตกลง EVFTA มีมติการประชุมด้วยเสียง 401, 192 และ 40 ตามลำดับ ทั้งนี้ ข้อตกลง EVFTA คาดว่าจะผลักดันการส่งออกของเวียดนามและการกระจายสินค้าไปขายในหลายๆตลาด ซึ่งผลจากข้อตกลงมีผลบังคับใช้ เวียดนามจะลดภาษีทันทีร้อยละ 65 ของสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายในระยะเวลา 10 ปี ในขณะเดียวกัน สหภาพยุโปรจะลดภาษีทันทีร้อยละ 70 ของสินค้าส่งออกจากเวียดนาม และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายในระยะเวลา 7 ปี นอกจากนี้ จากการวิจัยของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) ระบุว่าข้กตกลงทั้งสองฝ่ายจะช่วยให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 และแนวโน้มการส่งออกของเวียดนามไปสภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 42.7 ในปี 2568 ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 29.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และแนวโน้มการส่งออกของสหภาพยุโรปไปเวียดนามจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 29 ในปี 2578

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ep-ratifies-evfta-evipa-409974.vov

เวียดนามเผยการเติบโตของ GDP อาจไม่ถึงที่ตั้งเป้าหมายไว้

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามอาจไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนี้ที่ระดับร้อยละ 6.8 จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งภายในการประชุมในวันพุธที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ‘COVID-19’ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงเตรียมมาตรการในการช่วยเหลือภาคธุรกิจทุกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและประเมินทางเลือกต่างๆ เช่น เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมไปถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ คาดว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.25 นอกจากนี้ จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุว่าเวียดนามได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดและทำการค้าตามชายแดนมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงค้าขายกับจีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงและสินค้าเกษตรที่ติดค้างอยู่ตามด่านชายแดนจีน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592192/vn-might-not-reach-gdp-growth-target-in-2020-due-to-covid-19-outbreak-ministry.html

ค้าชายแดนเมียนมาสูงถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 4 เดือน

ปริมาณการค้าชายแดนสูงกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 31 มกราคมในปีงบประมาณนี้มากกว่า 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รายได้ 1.896 พันล้านเหรียญสหรัฐจากเขตการค้าชายแดนมูเซ ซึ่งมากกว่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กระทรวงพาณิชย์คาดจะมีรายรับ 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 – 63 และจะส่งออกสินค้ามูลค่า 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมียนมากำลังส่งเสริมทั้งคุณภาพและปริมาณของสินค้าส่งออกเพื่อปรับปรุงการค้าและจะนำเข้าสินค่าที่สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/border-trade-amount-reaches-to-over-us37-b-within-four-months

เมียนมาส่งออกมูลค่า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังจีนหลังไวรัสโคโรน่าระบาด

ก่อนหน้านี้เมียนมานำเข้าสินค้ามูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐไปยังจีนในทุกวันก่อนการระบาดของไวรัสโคโรน่า (covid-19) แต่ปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าได้เพียงประมาณ 0.5 ล้านชิ้นเท่านั้น แม้ว่าเมียนมาจะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังจีน ซึ่งเมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ สินค้าบางรายการไม่สามารถหาตลาดใหม่ในประเทศอื่นในเวลาอันสั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าหรือเสียหายได้ง่าย ปัจจุบันเมียนมากำลังติดตามสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใด ในระหว่างนี้เมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ให้ได้ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าไปไทยอย่างสม่ำเสมอและมีข่าวว่าจีนจะเปิดศูนย์การค้าชายแดนอีกครั้งในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-exports-only-us05-m-worth-of-products-to-china-after-covid-19

รัฐบาล สปป.ลาวร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอีกห้าปีข้างหน้า

สมาชิกของคณะกรรมการแกนนำของรัฐบาลที่รับผิดชอบในการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งที่ 9 (2564-2568) ประชุมเพื่อทบทวนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะเวลาห้าปีที่ 8 (2559-2563) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุนเป็นประธานการประชุมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐสมาชิกขององค์กรภาครัฐและหน่วยงานระดับจังหวัด เพื่อแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และยังให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2564-2568) ผู้เข้าร่วมอภิปรายร่างแผน 5 ปีถัดไปโดยมุ่งเน้นที่ลำดับความสำคัญ 6 ประการเพื่อทำให้เนื้อหามีความเฉพาะเจาะจงและถูกต้องมากขึ้นก่อนที่จะพิจารณาขั้นสุดท้าย เป้าหมาย 1 คืออการบรรลุการเติบโตอย่างยั่งยืนสมดุลและคุณภาพของเศรษฐกิจของประเทศ ประการที่ 2 คือการปรับปรุงมาตรฐานของทรัพยากรมนุษย์ความสามารถในการวิจัยและการใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มมากขึ้น เป้าหมายที่ 3 คือการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ เป้าหมาย 4 คือการสร้างพื้นที่สีเขียวมากขึ้นและดำเนินการพัฒนาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 5 คือการส่งเสริมความร่วมมือที่แข็งแกร่งและทันสมัยภายในภูมิภาคและระหว่างประเทศและเป้าหมายสุดท้ายคือการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารรัฐกิจผ่านหลักนิติธรรมและเอกภาพของประชาชน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_32.php

อุตสาหกรรมบริการ สปป.ลาวกับความท้าทายในการทำธุรกิจ

ในการเตรียมการสำหรับthe 13th Lao Business Forum (LBF)สำนักเลขาธิการ LBF ได้จัดประชุมคณะทำงานภาคเอกชนครั้งแรกของปีนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายที่ภาคเอกชนต้องเผชิญในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาที่ภาคธุรกิจบริการระบุว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ขั้นตอนการจดทะเบียนองค์กร การอนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการคืนภาษี การประชุมคณะทำงานของภาคเอกชนเริ่มต้นกระบวนการเจรจาระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนภายใต้กลไก LBF ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ากฎหมายจะถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความสะดวกในการทำธุรกิจ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชนผ่านการปรับปรุงภาพรวมธุรกิจในสปป.ลาว ในท้ายที่สุดมันจะช่วยรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยหนึ่งในนั้นคือสปป.ลาวหลุดพ้นออกจากสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/service-industry-discusses-challenges-doing-business-113783