นายสมคิดมอบนโยบายจัดทำงบฯ แบบบูรณาการ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม มอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบบูรณาการประจำปี 2564 ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ทุกภาคส่วนจะต้องทำงานกันแบบบูรณาการ โดยรัฐบาลจะมุ่งเน้นงบประมาณในการจัดทำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุน โดยมอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ติดตามงบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ให้ผันงบประมาณมาลงทุนใน 3 แห่ง

ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9630000004979

กัมพูชานำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG จากบริษัทในประเทศจีน

Natural Gas Co Ltd ของกัมพูชา และบริษัทจีน CNOOC Gas Power Group Co Ltd ร่วมมือกันในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อจัดจำหน่ายภายในตลาดกัมพูชา โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทกล่าวว่าความร่วมมือในการนำเข้าก๊าซ LNG เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ในตลาดท้องถิ่นเนื่องจากบริษัทมีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่กลุ่มโรงแรมและร้านอาหารในแผนขั้นแรก ซึ่งเจ้าหน้าที่บริหาร Natural Gas ของกัมพูชากล่าวว่าตู้บรรจุก๊าซ LNG ถูกส่งจากจีนและมาถึงที่ท่าเรือสีหนุวิลล์ของกัมพูชาแล้ว โดยความต้องการการบริโภค LNG ในกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของการใช้ LNG ในประเทศอื่นๆ ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะขยายไปยัง 25 เมืองหลวงของกัมพูชา ปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่กรุงพนมเปญและจังหวัดพระสีหนุ ตามสถานทูตจีนในกัมพูชา บริษัท CNOOC Gas & Power Group จำกัด ร่วมมือกับกลุ่มกัมพูชา Natural Gas เพื่อบรรลุการส่งออกก๊าซธรรมชาติของจีนไปยังประเทศกัมพูชาเป็นครั้งแรก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50680059/lng-imported-from-china-to-cambodia

พันธบัตรรัฐบาลกำลังที่จะเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้กัมพูชา

เจ้าหน้าที่อาวุโสของตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) กล่าวว่าพันธบัตรรัฐบาลคาดว่าจะเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้กัมพูชาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยซีอีโอของ CSX กล่าวว่าทีมงานต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้มีการออกพันธบัตรรัฐบาลในอีกไม่นาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายเช่นกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินธนาคารแห่งชาติกัมพูชาและตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา อาจจะใช้เวลาในอีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยพันธบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการแล้วจะนำมาซึ่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่ออุตสาหกรรมหลักทรัพย์ของกัมพูชาโดยรวม ซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์ที่มีเสถียรภาพมากที่สุดและจะดึงดูดบริษัทขนาดใหญ่ให้ลงทุน เช่นประกันการธนาคารและสถาบันของรัฐ รวมถึงกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ โดยรองผู้อำนวยการทั่วไปของอุตสาหกรรมการเงินกระทรวงการคลังกล่าวว่าก่อนหน้านี้หลักทรัพย์รัฐบาลจะทำหน้าที่เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดการพึ่งพาสกุลเงินต่างประเทศและเป็นส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามนโยบายการเงินของประเทศเป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50680050/govt-bond-to-enter-the-local-exchange

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กเวียดนามอาจไม่สดใสในปี 2563

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอุตสาหกรรมเหล็กของเวียดนามในปีนี้เผชิญกับอุปสรรคอย่างมาก เนื่องจากกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ความต้องการลดลงและมาตรการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ ทำให้ลดการนำเข้าสินค้า โดยตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งปริมาณลดลงร้อยละ 44  ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา เนื่องจากความต้องการทั่วโลกลดลงและส่งผลให้บริษัทเหล็กก่อสร้างบางแห่งขาดทุน นอกจากนี้ ในปี 2563 เวียดนามจะมีโอกาสอย่างมาก โดยเฉพาะข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป ส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กคาดว่าจะมีการเพิ่มการผลิตและส่งออกไปยังตลาดใหม่ได้ แต่เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีสูงถึงร้อยละ 456 สำหรับสินค้าเหล็กความต้านทานต่อการกัดกร่อนและเหล็กแผ่นขาวที่นำเข้าจากเกาหลีใต้หรือไต้หวัน แสดงให้เห็นว่าลัทธิคุ้มคีองการค้า (Protectionism) ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและสร้างความกดดันต่ออุตสาหกรรมเหล็ก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571153/steel-industry-not-likely-to-have-the-best-of-times-in-2020.html

ยอดขายจักรยานยนต์ของเวียดนามปี 62 หดตัว

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMM) เปิดเผยว่าสมาชิกของสมาคม ได้แก่ Honda, Piaggo Suzuki, SYM และ Yamaha มียอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เวียดนามในปี 2562 อยู่ที่ 3.25 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 3.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยบริษัท Honda ถือเป็นบริษัทชั้นนำในกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81 ของส่วนแบ่งการตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามและมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัทอื่นๆที่เป็นแบรนด์ยานยนต์สัญชาติเวียดนาม ซึ่งทำการตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนาม ได้แก่ VinFast และ Pega รวมไปถึงแบรนด์ต่างชาติ ได้แก่ Kymco, Ducati, Kawasaki, BMW, KTM, Benelli, Harley Davidson, Triumph, Royal Enfield และ Motorrad นอกจากนี้ รายได้ของคนเวียดนามที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะหันไปซื้อรถยนต์มากขึ้น โดยในปีที่แล้ว มียอดจำหน่ายรถยนต์กว่า 400,000 คัน นับว่าเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/motorbike-sales-in-vietnam-shrink-in-2019/167316.vnp

ธนาคารโลก ชี้การเติบโตของเมียนมาจะดีขึ้นในปีนี้

การเติบโตคาดว่าพิ่มขึ้น 6.4% ในปีงบประมาณ 62-63 จาก 6.3% ในปี 61-62 และ 6.2% ในปี 60-61 เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนภาคเอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสื่อสาร จากรายงานของธนาคารโลก การเติบโตได้รับการสนับสนุนจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่สูงขึ้นในด้านการขนส่งและการสื่อสาร  การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมากขึ้นในการก่อสร้างคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโต ภาคธนาคารได้รับประโยชน์จากการก่อสร้าง การผลิต และการซื้อขายที่สูงขึ้นผ่านการกู้ยืมกับธนาคารต่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและบริการเช่นเดียวกับการค้าส่งและค้าปลีก ภาคเกษตรควรได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์การส่งออกที่สูงขึ้นและการขาดดุลการค้าที่ลดลง ในขณะเดียวกันแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นในปีนี้เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและการขาดแคลนพลังงานอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีความเสี่ยงรวมถึงการเติบโตของโลกที่ชะลอตัวจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงวิกฤตในยะไข่ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ

ที่มา:https://www.mmtimes.com/news/world-bank-says-growth-myanmar-improve-year.html

จีน-เมียนมาลงทุนโครงการพลังงานที่เจาะพยู

บริษัท Kyaukphyu Electric Power ลงทุน 172 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าในเจาะพยู รัฐยะไข่ จากรายงานของคณะกรรมการลงทุนของเมียนมา (MIC) The Kyaukphyu Electric Power Co ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ บริษัท Power China Enterprise จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้ทั้งหมด 135 เมกะวัตต์ บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานในพ.ย. 62 เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี จึงประกาศสำหรับโครงการระยะยาวสี่โครงการในม.ค. 61 ซึ่งรวมถึงโครงการในเจาะพยู คาดใช้เวลาอย่างน้อยสามปีจึงจะแล้วเสร็จ ในระยะสั้นโครงการพลังงานเจ็ดแห่งที่มีกำลังการผลิตรวม 1,166 เมกะวัตต์กำลังดำเนินการอยู่ โครงการอื่น ๆ จะดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของประเทศที่ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2564

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-myanmar-invest-power-project-kyaukphyu.html

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวเสริมสร้างความสัมพันธ์สภาธุรกิจจีน – อาเซียน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสภาธุรกิจจีน – อาเซียน (CABC) ในการบันทึกความเข้าใจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้ง2ฝ่ายทั้งด้านการลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและความร่วมมือเพื่อประโยชน์ในอนาคตปัจจุบันนักลงทุนจีนกำลังให้ความสนใจกับภูมิภาคอาเซียนรวมถึงสปป.ลาว โดยจีนเป็นกลุ่มนักลงทุนหลักของสปป.ลาว ธุรกิจที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากในสปป.ลาว ได้แก่ ไฟฟ้าพลังน้ำ การเกษตร การก่อสร้างการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ การลงทุนไม่เพียงแค่เข้าสู่ตลาดสปป.ลาว แต่ยังรวมถึงตลาดอาเซียนซึ่งมีมากกว่า 600 ล้านคน ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลดีแก่สปป.ลาวที่จะเกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดรวมถึงพัฒนาการด้านเศรษฐกิจที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-national-chamber-commerce-and-industry-strengthens-ties-china-asean-business-council

สปป.ลาวคาดส่งออกไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น 20,000 MW ภายในปี 2573

ไฟฟ้าถือเป็นรายได้ที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว โดยในเดือนม.ค.-ต.ค. 62 มีมูลค่าการส่งออกไฟฟ้าประมาณ 1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดที่สำคัญของสปป.ลาวคือประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน โดยมีการคาดการว่าสปป.ลาวจะส่งออกไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20,000 MW ระหว่างปี 63-72 ปัจจุบันนอกจากความต้องการจากต่างประเทศมีมากแล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าในสปป.ลาวพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและจำนวนโรงงานในปี 62 โดยการบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1,800 เมกะวัตต์ในอีก 5 ปีข้างหน้า จากปริมาณความต้องการที่สูงขึ้นในพลังงานไฟฟ้า ทำให้รัฐบาลสปป.ลาววางแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและรองรับการเกิดโรงงานต่างๆในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอีก เป็นผลให้ในปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของโรงงานพลังงานไฟฟ้าจากทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั้งในและนอกประเทศ ส่งเสริมทั้งการลงทุนและเกิดการจ้างงานที่มากขึ้นเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

ที่มา :http://annx.asianews.network/content/laos-export-20000-mw-electricity-2030-112058

กัมพูชาเพิ่มการลงทุนในโครงการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน

การลงทุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานในประเทศกัมพูชาได้รับการส่งเสริมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการขยะในเมืองช่วยให้ประเทศสะอาดและสร้างพลังงานสำหรับกริดแห่งชาติได้ โดยมีการหารือระหว่างกระทรวงโดยส่วนใหญ่นำโดยกระทรวงเศรษฐกิจและกระทรวงสิ่งแวดล้อม โดยมีการหารือนโยบายกับผู้เข้าร่วมซึ่งรวมถึงหัวหน้ากระทรวงระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกระทรวงสิ่งแวดล้อมและศาลาว่าการกรุงพนมเปญ จากรายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อมพบว่ามีการรวบรวมและส่งขยะมูลฝอยกว่า 1.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งขยะมูลฝอยคิดเป็น 51% ของขยะทั้งหมดในปี 2561 โดยนโยบายการจัดการขยะในเมืองมีระยะเวลาตั้งแต่ 2562-2571 เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่ระบุไว้คือควรมีการลงทุนเพื่อเปลี่ยนพลังงานจากขยะในเมืองซึ่งเป็นการพัฒนาใหม่สำหรับประเทศกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเพิ่มการลงทุนในการแปลงขยะเป็นพลังงานในการอภิปรายระหว่างบริษัทเชิงพาณิชย์กับกระทรวงและสถาบันของรัฐบาล โดยอัตราค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอยู่ที่ประมาณ 0.14 – 0.15 เหรียญสหรัฐ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงที่ขายให้กับ EDC

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50679839/investment-on-waste-to-energy-boosted