สหภาพยุโรปสนับสนุนการศึกษาและโครงการด้านโภชนาการสปป.ลาว

คณะผู้แทนของสหภาพยุโรป (EU) ได้ย้ำการสนับสนุนสำหรับความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาและโภชนาการในทุกพื้นที่ของสปป.ลาว รวมถึงความช่วยเหลือทางการเงินและทางเทคนิคสำหรับการริเริ่มโครงการเช่นโครงการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานและโครงการสนับสนุนงบประมาณโภชนาซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่สำคัญและสำคัญมากที่จะช่วยพัฒนาด้านการศึกษาและสุขภาพของคนในประเทศภายใต้งบประมาณจาก EU ถึง 18.8 ล้านยูโรโดยมีกรอบพัฒนาต่อเนื่องไปถึงปี 67 วงเงินถึง 71 ล้านยูโร ในอนาคตจะมีการพัฒนาในสปป.ลาวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และด้านโภชนาเพื่อความยั่งยืนด้านอาหาร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU_274.php

รัฐบาลผลักดันแผนพัฒนาปี 63

รัฐบาลจัดประชุมพิเศษเพื่อสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนพัฒนาแห่งชาติในปี 63 มีประสิทธิภาพจากการเปิดเผยของสื่อจากสำนักนายกรัฐมนตรีประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงการระบุถึงการพัฒนาและเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องบรรลุในปี 63 หนึ่งในเป้าหมายหลักของรัฐบาลคือการลดการขาดดุลงบประมาณและในขณะเดียวกันต้องรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงไว้ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 63 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าที่ผ่านมาโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะช่วยรักษาอัตราการเติบโตของ GDP ส่วนดุลการค้าต้องลดการนำเข้าและพึ่งพาการผลิตและบริโภคในประเทศให้ได้  นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาในการปรับปรุงบริการเบ็ดเสร็จเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศรวมถึงในหัวข้ออื่นอีกเช่น การส่งเสริมการผลิตเพื่อการค้าความมั่นคงด้านอาหารการบริโภคสินค้าในประเทศ การบริหารและกฎระเบียบของการนำเข้า โครงการสัมปทานที่ดินและการพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_274.php

ได้ฤกษ์ปัดฝุ่นเจรจา เอฟตา ไทยส่งออกผลไม้กระหึ่มโลก

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ผู้แทนของสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์ มาเข้าพบ และยื่นหนังสือเพื่อขอเริ่มต้นการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย ที่กรมต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอเดิม และเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอกับประเทศใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเจรจากับเอฟตาที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างนำผลการศึกษาที่เคยทำมาตั้งแต่ปี 2549 มาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อดูว่ามีประเด็นใด ที่จะนำเข้าสู่การเจรจาเพิ่มเติมอีก รวมถึงจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงผลดี ผลเสีย มาตรการเยียวยา โดยจะรวบรวมทำเป็นข้อสรุป เสนอนโยบายเพื่อตัดสินใจต่อไป โดยล่าสุด เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอได้ลด/เลิกเก็บภาษีนำเข้าผลไม้จากไทย ทำให้การส่งออก 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,213 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก รองจากสเปน เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก สหรัฐฯ ชิลี ขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปี 2561 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 41% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน และจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1729453

โรงไฟฟ้าถ่านหินในกัมพูชาได้รับความเสียหาย

โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 350 เมกะวัตต์ สองแห่งได้รับการความเสียหาย โดยมีกำหนดที่จะเชื่อมโยงกับกริดแห่งชาติภายในปี 2565 ซึ่ง CIIDC Erdos Hongjun Electric Power ลงทุนประมาณ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในโรงงานในเขต Stung Hav ของจังหวัดพระสีหนุ โดย CIIDG Erdos Hongjun Electric Power และ International Investment Development Group Co Ltd. ร่วมลงทุนบนโครงการโรงผลิตไฟฟ้า ซึ่งตามที่วางแผนไว้โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 350 เมกะวัตต์จะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าไปยังกริดแห่งชาติในปี 2565 และอีกแห่งมีกำหนดเปิดตัวในปี 2566 โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานกล่าว ซึ่งการลงทุนมีความสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับกริดแห่งชาติ โดยราคาไฟฟ้าที่ขายให้แก่ EDC อยู่ที่ 0.0743 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาผลิตไฟฟ้าได้ 505 เมกะวัตต์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินสองแห่งที่ทำการดำเนินการอยู่ โดย 100 MW มาจาก CEL I ในขณะที่ส่วนที่เหลือถูกสร้างโดย CIIDG Erdos Hongjun Electric Power ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินขนาด 135 เมกะวัตต์สามแห่งในจังหวัดพระสีหนุ โดยตอนนี้เหมืองถ่านหิน Han Seng กำลังสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าเพิ่มขนาด 200 เมกะวัตต์ในจังหวัดอุดรมีชัย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671475/coal-fired-power-plant-breaks-ground/

ภาคการส่งออกกัมพูชายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกของกัมพูชาภายใต้ GSPs และข้อตกลงการค้าเสรีมีมูลค่าถึง 10.81 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 6.45% ตามที่กระทรวงพาณิชย์ระบุ โดยในรายงานล่าสุดกระทรวงระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคมกัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าที่ 6.4 พันล้านเหรียญ, สิ่งทอ 40 ล้านเหรียญ, รองเท้า 905 ล้านเหรียญและข้าว 286 ล้านเหรียญ เป็นต้น ซึ่งความสำคัญอยู่ที่การเพิ่มความหลากหลายของตลาด ปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้ากับพันธมิตรของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย ซึ่งผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จากกัมพูชารายใหญ่ที่สุด คือ สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา แคนาดาและจีน โดยกัมพูชากำลังขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆผ่านข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบครบวงจร (RCEP) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในปีหน้า โดยประธานสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นรากฐานของความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศมีการพัฒนามาจากการเกษตร อุตสาหกรรมและภาคบริการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671488/exports-continue-strong-growth-ministry-report/

ไทยผลักดันสินค้าจังหวัดนครพนมสู่ CLMV

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เดินทางพบปะหารือด้านการค้ากับกลุ่มหอการค้าจังหวัดนครพนม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดน ซึ่งทราบว่าจังหวัดนครพนมมีศักยภาพมากอีกจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนบน เช่น การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งนี้ เมื่อ 2 ปีก่อน ได้รับทราบปัญหา  โดยเฉพาะการส่งออกชายแดน ซึ่งจังหวัดนครพนมถือว่าเป็นประตูไปสู่เวียดนาม และต่อไปจีน บริเวณมณฑลตอนใต้ ไทยได้ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแดนที่นี่ รวมทั้งผัก ผลไม้ และอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่หอการค้าฯ อยากให้ช่วยคลี่คลายในเรื่องปัญหาการส่งออกผัก ผลไม้ไปที่ชายแดนแล้วข้ามไปจีนบริเวณด่านผิงเสีย ให้ช่วยเจรจาอำนวยความสะดวก นอกจากนี้ ทาง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ระบุว่าจังหวัดนครพนมได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยนำสินค้าไทย และสินค้าท้องถิ่นภาคอีสานไปทำโรดโชว์ (Road Show) ที่ตลาด CLMV และทางหอการค้าจังหวัดนครพนมเสนอไปที่โฮจิมินห์ ฮานอย และดานัง เนื่องมาจากเป็นเมืองใหญ่ของเวียดนาม ถ้าได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมฯ หอการค้าฯ รวมทั้งองค์กรอื่น ๆ โอกาสที่จะได้ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นก็มีความเป็นไปได้สูง

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 ธ.ค. 2562

มาเลเซียขอร่วมลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นของกัมพูชา

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ถามถึงบริษัทมาเลเซียในการพิจารณาลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาและเป็นส่วนช่วยลดความแออัดของการจราจรในเมืองหลวง โดยกระทรวงกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบอัตโนมัติโมโนเรลหรือรถไฟฟ้าใต้ดินรวมถึงการสร้างทางคู่ขนานเพิ่ม ซึ่งถนนและสะพานเล็ก ใหญ่ได้ถูกสร้างหรือปฏิรูปเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยถนนและสะพานที่ดีขึ้นยังช่วยให้การส่งออกของกัมพูชา, กำลังผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นและผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมากขึ้น ซึ่งประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศของกัมพูชากล่าวว่าความต้องการเครือข่ายการขนส่งที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการค้าที่เฟื่องฟูในประเทศ โดยกัมพูชากำลังสร้างทางด่วนมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเชื่อมโยงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671081/malaysian-company-asked-to-invest-in-local-infrastructure/

กัมพูชาและอินโดนีเซียจัดสัมมนาทางการค้าร่วมกัน

ตัวแทนจากบริษัทอินโดนีเซียและกัมพูชากว่า 70 ราย เข้าร่วมเวทีสัมมนาธุรกิจในกรุงพนมเปญเมื่อวานนี้เพื่อสำรวจโอกาสทางธุรกิจและหาพันธมิตรใหม่ระหว่างกัน โดย Sudirman Haseng เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดงานคือการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการชาวอินโดนีเซียและชาวกัมพูชาเพื่อพบปะสร้างโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการค้าระหว่างประเทศมีมากถึง 558 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 โดยจากเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมปีนี้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 352 ล้านเหรียญสหรัฐแล้วเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศย้ำว่ารัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและเน้นย้ำถึงความพยายามครั้งล่าสุดในการช่วยเหลือธุรกิจ โดยได้จัดตั้งศูนย์บริการครบวงจรในสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชาสำหรับชาวต่างชาติและคนในท้องถิ่นที่ต้องการลงทุนในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671082/indonesia-trade-event-attracts-70-firms/

จังหวัดบิ่นห์เยือง ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด (Provincial People’s Committee) เปิดเผยว่าจังหวัดบิ่นห์เยืองได้ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ประกอบกับจังหวัดดังกล่าวอยู่ในอันดับที่ 2 ของเป้าหมายการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ บิ่นห์เยืองได้ดำเนินการตั้งโครงการ FDI ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะใช้แรงงานน้อยลง พร้อมกับสร้างมูลค่าสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/binh-duong-lures-over-3-billion-usd-in-foreign-investment/165675.vnp

เวียดนามยังคงเป็นจุดมุ่งหมายในการลงทุนข้ามพรมแดน

จากการสำรวจของบริษัท PwC เปิดเผยถึงผลสำรวจนักธุรกิจชั้นนำกว่า 1,000 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจการประกอบธุรกิจข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปี 2562-2563 (Doing business across borders in Asia Pacific 2019-2020) โดยผลของการสำรวจในครั้งนี้ พบว่าบริษัทเวียดนามมีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มทิศทางเป็นบวกมากกว่าธุรกิจในภูมิภาคความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34 ของธุรกิจที่อื่นๆทำรายได้ในระดับสูงได้ โดย 4 ใน 5 ของนักธุรกิจชั้นนำของเวียดนาม ระบุว่าได้วางแผนในการเพิ่มเงินทุนด้านระบบควบคุมอัตโนมัติและทักษะแรงงาน ขณะที่ ผู้ประกอบการร้อยละ 80 มองว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คือกุญแจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ นักธุรกิจเวียดนามส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มเงินลงทุนในประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-remains-a-top-destination-for-crossborder-investment-407715.vov