กระทรวงการต่างประเทศหารือเกี่ยวกับแผนการท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก

กระทรวงการต่างประเทศเริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 14 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการประชุมกำลังพยายามวิเคราะห์สถานการณ์โลกซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงหารือและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เกี่ยวกับการต่างประเทศในปี 63-65 ซึ่งในปัจจุบันสปป.ลาวมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 143 ประเทศโดยมีสถานทูตและสำนักงานต่างประเทศ 40 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้มีสถานทูต 26 แห่ง สำนักงานตัวแทนถาวร 3 แห่ง สำนักงานกงสุล 10 แห่งและสำนักงานกงสุลทั่วไป 1 แห่ง อีกทั้งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดการประชุมกับนักธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองภาคส่วนในการระดมการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาว อีกทั้งยังจัดให้มีการประชุมระดับเทคนิคโดยหวังว่าจะปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ กับสถานทูตสปป.ลาวในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Foreign_affairs_269.php

สปป.ลาวปรับปรุงคุณภาพของการรวบรวมข้อมูลแรงงาน

สปป.ลาวหวังที่จะเพิ่มคุณภาพของข้อมูลทั้งแรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างชาติในประเทศ เช่นเดียวกับแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งบันทึกความเข้าใจ ได้รับการลงนาม Big Data technology ระหว่าง Department of Planning และ Technology Computer and Electronics Institute ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสปป.ลาวและบริษัทจากเกาหลีใต้ POSCO International Corporation และ PentaGate Company Limited  เป็นโอกาสดีในการพัฒนาและเรียนรู้ระบบการจัดการแรงงาน จะช่วยยกระดับการพัฒนาความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลแรงงานจากทุกภาคส่วนและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอนของแรงงานต่างชาติในประเทศรวมถึงแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ นอกเหนือจากการดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ สามารถใช้ Big Data technology เพื่อสร้างระบบการจัดการแรงงานต่างชาติและช่วยจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการรวมทั้งกำหนดเวลาสำหรับการศึกษา ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลาประมาณ 5 เดือนในการตรวจสอบว่าข้อมูลขนาดใหญ่นั้นเหมาะสมและจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการจัดการแรงงาน

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-12/12/c_138625963.htm

เวียดนามมียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าเวียดนามมียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 โดยในเดือนพฤศจิกายน มูลค่าการนำเข้าและการส่งออกรวมแตะระดับ 44.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อน ทั้งนี้ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าอยู่ที่ 15.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ทำให้ยอดการส่งออกรวมทั้งประเทศแตะระดับ 165 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ สินค้าที่มีมูลค่าสูงที่สุด ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า เครื่องจักร และรองเท้า เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-posts-record-trade-surplus-of-nearly-us11-billion-407464.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกยาง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกยางอยู่ที่ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นปริมาณ 1.5 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ในแง่ของมูลค่า และ 8.1 ในแง่ของปริมาณ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกยาง 200,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 16.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ประกอบกับราคาส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกยางธรรมชาติ (NR) ในปี 2563 จะมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rubber-exports-top-2-billion-usd-in-11-months-407445.vov

ภาคเกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมียนมา

ปัจจุบันรัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรมากกว่าการท่องเที่ยวเนื่องจากรัฐฉานมีศักยภาพที่จะเป็นโรงไฟฟ้าการเกษตรในเมียนมา ซึ่งประชากรในรัฐฉานยังพึ่งพาการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต ข้าว, ข้าวโพด, ถั่วเหลือง โดยส่งออกไปยังจีน และยังเป็นที่ตั้งของเขตการค้าชายแดนมูเซและท่าขี้เหล็ก มีพลังงาน น้ำ โครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนนที่ปรับปรุงให้ใช้งานได้ ฉานมีพื้นที่ 2.3 ล้านเฮกเตอร์ (5.7 ล้านไร่) ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกแต่มีการใช้พื้นที่เพียงประมาณ 800,000 เฮกตาร์ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ การปะทะกันของกลุ่มติดอาวุธยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ความท้าทายของรัฐฉานคือขาดข้อมูล เทคโนโลยี และการพัฒนาวิจัย การเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์และการเชื่อมโยงตลาดเป็นจุดอ่อนที่สุดการลงทุน ปัจจุบันบริษัทค้าปลีกและค้าส่งจากเยอรมนี METRO Wholesale ได้ขยายกิจการในรัฐฉานเพื่อรับผลิตภัณฑ์โดยตรงจากเกษตรกรและผู้เลี้ยงปศุสัตว์เพื่อจำหน่าย และได้เปิดศูนย์จัดซื้อในอองแพนในรัฐฉาน รัฐบาลของรัฐฉานกำลังวางแผนที่จะดำเนินโครงการระยะสั้นเพื่อพัฒนาการเกษตรและโครงการลงทุนระยะยาวเพื่อเพิ่มการลงทุนในรัฐ แม้วรัฐฉานจะมีศักยภาพ แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ต้องเอาชนะได้ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการพัฒนาด้านการตลาด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/agriculture-economic-driver.html

EU เตรียมเพิกถอน GSP ของเมียนมา

รายงานของสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI)  สหภาพยุโรป (EU) อาจเตรียมที่จะเพิกถอนสถานะระบบสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี (GSP) ของเมียนมา ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยเสื้อผ้า สิ่งทอ สหภาพยุโรปเริ่มพิจารณาการถอน GSP ที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 หลังจากความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ในปี 2560 ซึ่ง 60% ของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปอียูมาจากภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป (CMP) หาก GSP ถูกถอนออกไปอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะเป็นเสื้อผ้า ซึ่งเมียนมาไม่มีทางเลือกนอกจากหาตลาดใหม่ สหภาพยุโรปได้ให้สิทธิ GSP ให้กับสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาและบังคลาเทศ และถ้าหากถูกเพิกถอนสิทธิ์ ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคู่แข่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และแน่นอนอยู่แล้วที่สหภาพยุโรปจะหันไปซื้อสินค้าจากคู่แข่งที่ราคาถูกกว่าเพราะราคาที่ไม่สามารถแข่งขันได้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/eu-preparing-revoke-myanmar-gsp-umfcci.html

การค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามเพิ่มขึ้น 13.8%

การค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามมีมูลค่าถึง 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 13.8% จากเดือนมกราคมถึงตุลาคม โดยการเพิ่มขึ้นของอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งทั้งสองประเทศมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการค้าให้ถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 โดยหอการค้าเวียดนามและหอการค้ากัมพูชาร่วมกันจัดเวทีธุรกิจในกรุงพนมเปญ ซึ่งฟอรัมในครั้งนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นการยกระดับความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยพวกเขาได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนการค้าและการปกป้องผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขององค์กร ซึ่งเวียดนามรายงานว่าขณะนี้มีโครงการลงทุน 214 แห่ง ในกัมพูชาด้วยการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สิ่งนี้ทำให้เวียดนามเป็นผู้ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับห้าในกัมพูชา ขณะเดียวกันกัมพูชามีโครงการลงทุน 21 โครงการในเวียดนามด้วยมูลค่าการลงทุนเกือบ 64 ล้านเหรียญสหรัฐติดอันดับ 54 ใน 132 ประเทศที่ลงทุนในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50669272/kingdoms-trade-with-vietnam-rises-13-8/

กัมพูชาอาจได้รับเอกสิทธิ์ทางการค้าจากอังกฤษหลัง Brexit

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวถึงสหราชอาณาจักรได้ให้คำมั่นที่จะรักษาสิทธิพิเศษของกัมพูชาในการเข้าถึงตลาดของตนแม้จะออกจากสหภาพยุโรป โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกำลังติดตามสถานการณ์ในสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิดเนื่องจากประเทศเตรียมที่จะออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกของกัมพูชาภายในกลุ่มยุโรป โดยการค้าระหว่างกัมพูชาและสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นจาก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2555 เป็นมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 จากตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า, รองเท้า, ข้าวสารและจักรยานไปอังกฤษเป็นหลัก โดยในระหว่างการเยือนกัมพูชาในช่วงกลางเดือนกันยายนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพอังกฤษแห่งเอเชียกล่าวว่ากัมพูชาเป็นหนึ่งใน 48 ประเทศ ที่พัฒนาน้อยที่จะได้รับการรักษาสิทธิพิเศษทางการค้าในตลาดสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราชอาณาจักรจะยังคงจัดให้มีโครงการการค้าพิเศษแก่กัมพูชาและประเทศที่พัฒนาน้อยอีกกว่า 48 ประเทศ แม้หลังออกจาก EU ในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50669270/cambodia-to-keep-trade-privileges-in-the-uk-after-brexit-hun-sen/

“มหากิจศิริ”ซุ่มขอไลเซนส์ ดัน”ทาโก้เบลล์”รุก CLMV

“มหากิจศิริ” ซุ่มเจรจาขอสิทธ์ทาโก้ เบลล์ รุกตลาดซีแอลเอ็มวี หลังเปิดตลาดในไทยได้ดี ลั่นอีก 5 ปีผุดสาขาครบ 40 แห่งในไทย ด้านยัมเจ้าของทาโก้เบลล์ ลั่นโหมตลาดเอเชียแปซิฟิกนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีทีเอ และกรรมการ บริษัท สยามทาโก้ จำกัด ผู้บริหารร้านทาโก้ เบลล์ (Taco Bell) ในไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯมีความสนใจที่จะขอลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านทาโก้เบลล์ ซึ่งเป็นอาหารจานด่วนสไตล์เม็กซิกันเพื่อทำตลาดในกลุ่ม CLMV ( กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) เพิ่มเติม ซึ่งก็เริ่มมีการเจรจากันบ้างแล้วแต่ยังไม่เป็นทางการ หลังจากที่บริษัทฯรับสิทธ์ทำตลาดในไทยมาปีเศษแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยส่วนในปี 2563 ได้เตรียมที่จะขยายแบรนด์ทาโก้ เบลล์ เข้าไปเปิดตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติม โดยเบื้องต้นมองไปที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย หลังจากที่เปิดตลาดไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ทั้งนี้ ร้านทาโก้ เบลล์ มีจำนวนสาขามากกว่า 7,000 แห่งในตลาดอเมริกา ส่วนตลาดนอกอเมริกามีประมาณ 580 สาขา กระจายในเกือบ 30 ประเทศทั่วโลก

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9620000118260

เวียดนามเผยยอดการส่งออกผักและผลไม้ ลดลงเล็กน้อย

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2562 โดยยอดการส่งออกลดลงดังกล่าว เป็นผลมาจากยอดขายของแก้วมังกรลดลงร้อยละ 9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้รวม, ทุเรียน (ลดลง 17.4%), มะพร้าว (ลดลง 35%), ลำไย (ลดลง 56%) และแตงโม (ลดลง 26.4%) เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพัฒนาตลาด ระบุว่าการส่งออกไปยังจีนลดลงอย่างมาก ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 66.8 ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้รวม ทางด้านยอดการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้น ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ว่ายังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการลดลงของตลาดจีนได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fruit-vegetables-exports-see-slight-decrease-407397.vov