ความก้าวหน้าที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แม้จะมีความท้าทาย : DPM

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวว่าเศรษฐกิจมหภาคอยู่ภายใต้แรงกดดันเนื่องจากการขาดดุลงบประมาณและธุรกรรมในต่างประเทศและการสำรองเงินตราต่างประเทศที่ต่ำซึ่งทำให้มูลค่าของกีปอ่อนค่าลงและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความผันผวนของมูลค่าของสกุลเงินต่างประเทศ การควบคุมราคาสินค้าไม่เพียงพอการผลิตในประเทศที่เปราะบาง และภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับงบประมาณของรัฐโดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีความก้าวหน้าที่ดีในหลาย ๆ ด้าน แม้คาดว่า GDP อยู่ที่ 6.4% ในปี 62 ลดลง 0.3% ในปีนี้ภาคเกษตรคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 แผนกปศุสัตว์มีการเพิ่มขึ้น 4.3% ป่าไม้เพิ่มขึ้น 0.8 % การประมง 4.8% และการเพาะปลูก 2.3% การเพาะปลูกพืชสวนคาดว่าจะลดลง 0.7% ภาคอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ 7.1% ภาคการก่อสร้างจะเติบโต 16.8% ภาคพลังงานอยู่ที่ 6.1% ภาคบริการมีการขยายตัว 7% ส่วนการค้าปลีกและค้าส่ง และการซ่อมแซมยานพาหนะจะเพิ่มขึ้น 19.9% ​​ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6.7% เงินทุนและประกันภัย 7.7% ที่พักและอาหาร 5.3%  และภาคภาษีและศุลกากรคาดว่าจะเติบโต 7%

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/good-progress-socio-economic-development-despite-challenges-says-dpm-107856

สปป.ลาวพยายามสร้างชีวิตของผู้ประสบอุทกภัยท่ามกลางข้อจำกัดด้านงบประมาณ

รัฐบาลประเมินว่าจำเป็นต้องใช้เงินประมาณ 3 ล้านล้านกีบในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมและเพื่อฟื้นฟูชุมชนที่ถูกน้ำท่วมกลับสู่ภาวะปกติ ผลกระทบของภัยพิบัติเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับสปป.ลาวในการทำงานเพื่อขจัดความยากจนโดยที่หลายครอบครัวขาดที่อยู่อาศัยเนื่องจากน้ำท่วม โดยมีความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายและการให้บริการแก่ผู้ประสบอุทกภัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ รัฐบาลให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างจำกัด แต่ไม่เพียงพอสำหรับทุกกรณี น้ำท่วมได้ทำลายบ่อเลี้ยงปลาและระบบชลประทานที่เสียหายรวมถึงพื้นที่เพาะปลูก โรงเรียน สายไฟฟ้า โรงพยาบาลและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ จากรายงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพบว่าประชาชนประมาณ 765,000 คนใน 44 อำเภอใน 6 จังหวัดทางภาคใต้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อต้นเดือนก.ย. และประชาชนเกือบ 195,000 คนต้องพลัดถิ่น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-attempts-rebuild-flood-victims%E2%80%99-lives-amid-budget-constraints-107776

กัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในอาเซียนที่มี FDI อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

กัมพูชาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศในอาเซียนที่มีการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยจากการศึกษาของสำนักเลขาธิการอาเซียนและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ซึ่งพบว่าการลงทุนโดยตรงภายในอาเซียนเพิ่มขึ้น 5% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว โดยมีสี่ประเทศที่ภาคการลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้นคือ กัมพูชา, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์และเวียดนาม ตามรายงาน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการผลิตและบริการสูงขึ้นกว่า 15% เป็น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคการเงินและภาคการประกันภัย ซึ่งภาคบริการคิดเป็นกว่า 79% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในขณะที่ภาคการผลิตคิดเป็น 12% โดย Shenzhou International Group Holdings (จีน) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ของไนกี้เริ่มสร้างโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษของพนมเปญซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657917/cambodia-among-four-in-asean-receiving-fdi-at-record-level/

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 37% ในช่วงเก้าเดือนแรก

ข้อมูลล่าสุดจากรัฐบาลสหรัฐแสดงให้เห็นว่าการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นกว่า 37% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 38% เป็น 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐฯมีมูลค่าอยู่ที่ 400 ล้านเหรียญเพิ่มขึ้น 24% ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ทำการส่งออกไปยังสหรัฐฯคือสิ่งทอ, รองเท้า, สินค้าทางการท่องเที่ยว, และสินค้าเกษตร ส่วนของสินค้าที่กัมพูชานำเข้าส่วนมากจะเป็นยานพาหนะ, อาหารสัตว์ และเครื่องจักร  โดยในเดือนกรกฎาคม 2559 กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวไปยังสหรัฐฯภายใต้สิทธิ GSP ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯมีมูลค่าถึง 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657709/cambodia-us-trade-up-37-pct-in-first-nine-months/

ปิดฉาก ASEAN Summit : ปลดล็อกข้อจำกัด ผลักดัน RCEP เดินหน้าต่อ

การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 ที่ไทยในฐานะประธานและเจ้าภาพการประชุมปี 2562 หัวข้อการเจรจาในครั้งนี้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ถือเป็นจุดสนใจของนานาประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเคยเป็นความตกลงที่เป็นคู่เทียบกับความตกลงเขตการค้าเสรีสำคัญอย่าง Trans-Pacific Partnership (TPP) จนปัจจุบันบรรลุข้อตกลงภายใต้ชื่อ Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) และเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญสงครามการค้าซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดการค้าเสรีโดยสิ้นเชิง ความสำเร็จในการเจรจาความตกลง RCEP ในครั้งนี้ ถือว่ามีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบจากสงครามการค้า และกระแสปกป้องทางการค้าที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ความสำเร็จที่ถือเป็นไฮไลต์สำคัญ คือ ไทยสามารถผลักดันให้เกิดผลสรุปของการเจรจาความตกลง RCEP ได้ครบข้อเจรจาทั้งหมด 20 บท จากช่วงต้นปี 2562 ที่ได้ผลสรุปเพียง 7 บท โดยเป็นการบรรลุข้อเจรจาระหว่างอาเซียน 10 ประเทศกับประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ยกเว้นเพียงอินเดียที่ยังไม่พร้อมในการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในบางรายการตามความตกลง RCEP แต่ยังสามารถกลับมาเจรจาหาได้ในภายหลัง ทั้งนี้ คาดว่าอินเดียจะกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจามีความเป็นไปได้พอสมควร กลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจยิ่งขึ้นในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ โดยประเทศสมาชิก RCEP (ไม่รวมอินเดีย) มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 24.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 29% ของขนาดเศรษฐกิจโลก ขณะที่มีประชากรรวมกันถึงราว 3.6 พันล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนประชากรโลก ส่วนไทยก็จะได้ประโยชน์จากการเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจมากขึ้นเช่นกัน ความตกลง RCEP จะช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า โดยก่อนหน้าประเมินว่าสินค้าในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางล้อ เส้นใย สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และกระดาษ จะเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แม้อินเดียยังไม่เข้าร่วม RCEP ไม่ได้บั่นทอนการค้าระหว่างไทยและอินเดียแต่อย่างใด เนื่องจากไทยและอาเซียนยังคงมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีร่วมกับอินเดียภายใต้ Thailand-India Free Trade Agreement (TIFTA) และ ASEAN-India Free Trade Agreement (AIFTA) ขณะเดียวกันอินเดียนับเป็นตลาดเป้าหมายใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย ซึ่งภาครัฐให้ความสำคัญและพร้อมสนับสนุนในการเปิดตลาด โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของไทยไปอินเดียขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เทียบกับการส่งออกของไทยโดยรวมที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2 แม้ว่า RCEP จะยังไม่สำเร็จผลอย่างเต็มรูปแบบ ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมกลยุทธ์ให้พร้อม ควรศึกษาลู่ทางและแสวงหาโอกาสลงทุนในประเทศสมาชิก RCEP โดยอาศัยจุดแข็งของประเทศนั้น อาทิ ความพร้อมด้านแรงงาน และทรัพยากรทางธรรมชาติ ส่วนผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่มีความพร้อมด้านการลงทุนในต่างประเทศหรือยังไม่มีแผนการลงทุนในต่างประเทศ ควรเตรียมกลยุทธ์รับมือกับแนวโน้มการแข่งขันในประเทศที่อาจรุนแรงขึ้นจากการเข้ามาของต่างชาติในอนาคต

ที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24383

จุดพลุเอฟทีเอ “ไทย-ฮ่องกง”

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานสัมมนา “THAILAND 2020 # ก้าวข้ามพายุเศรษฐกิจ” ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 63 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยของสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีนที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงอาจส่งผลกระทบต่อการค้าขายและการเติบโตของเศรษฐกิจโลกไปถึงปี 64 โดยปีนี้เห็นได้ชัดเจนว่าสงครามการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ทำให้เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีแรก เกิดการชะลอตัวค่อนข้างมาก ทั้งนี้หลังจากผ่านพ้นการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 เสร็จสิ้นลงถือว่าประเทศต่างๆได้มีข้อตกลง และความร่วมมือกันเป็นอย่างดี โดยจีนที่ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตใหม่ๆ ถือเป็นโอกาสให้กับไทยในการดึงดูดการลงทุนของจีนเข้ามา เพื่อนำเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยของจีนเข้ามาต่อยอดและพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย โดยมี 5 เรื่องสำคัญๆที่ต้องปรับเปลี่ยนประเทศและต้องทำให้ได้ เช่น อีอีซี, การเปิดประมูล 5 จี ในปีหน้า เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยต้องอาศัยความได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางของอาเซียน ที่เชื่อมต่อนโยบายของจีนผ่านความร่วมมือผ่านเส้นทางสายไหม สู่อีอีซี โดยมี Greater bay area : GBA ที่ประกอบไปด้วย ฮ่องกง กวางตุ้ง มาเก๊า เป็นหัวหอกที่ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญรองรับนโยบายการย้ายฐานการผลิต ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทในการเชื่อมโยงกับ CLMV  ซึ่งจากการหารือกับนางแคร์รี แลม ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกง มีความประสงค์จะเดินทางมาไทย โดยจะมีการลงนามข้อตกลงทางการค้าเสรี ไทย-ฮ่องกอง เพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนฮ่องกง ย้ายฐานการผลิตมาสู่ประเทศไทยและเชื่อมโยงตลาดทุนร่วมกัน ภายในสิ้นปีนี้.

เวียดนามเผยเม็ดเงิน FDI ไปยังนครด่งนาย ตรงตามเป้าที่ตั้งไว้

จากข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เปิดเผยว่าจังหวัดด่งนายได้รับเงินทุนโดยตรงจากต่างชาติไหลเข้ากว่า 1.46 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยโครงการ FDI ประมาณ 190 โครงการ ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม นับว่าเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ (46%) ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้อนุมัติโครงการใหม่กว่า 93 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ โครงการปรับเพิ่มงบการลงทุน 670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโครงการส่วนใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ โครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จังหวัดดังกล่าวได้รับเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ มูลค่า 29.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวนโครงการ FDI 1,447 โครงการ ในปัจจุบัน ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในจังหวัดด่งนาย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fdi-inflow-to-dong-nai-province-breaks-target-405777.vov

ดัชนีอุตสาหกรรมพุ่งสูงขึ้น 9.5% ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรม (IIP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เป็นผลมาจากความสำเร็จของสาขาอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิต โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การผลิตโลหะ (34.3%), แร่ถ่านหิน น้ำมันกลั่น (31.8%) และผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (14.3%)  ในขณะที่ บางภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตลดลง เช่น เคมีภัณฑ์และการผลิตยา (3.4%) และมอเตอร์ไซต์ (6.3%) อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการจ้างงานในสาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3, 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tenmonth-industrial-production-index-rises-95-percent-405754.vov

ธุรกิจ CMP นำเข้าวัตถุดิบมากกว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐในหนึ่งเดือน

ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ได้นำเข้าวัตถุดิบมูลค่ากว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนในปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.62) เกิน 12 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ต.ค.ในปีงบประมาณ 62-63 ปัจจุบันวัตถุดิบในธุรกิจ CMP มีมูลค่า 160.748 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 148.588 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบ CMP ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและมีบ้างในการทำรองเท้าและกระเป๋า อย่างไรก็ตามเมียนมามีรายรับเพียง 10% เนื่องจากระบบ CMP เป็นไปตามค่าแรง แม้ว่าประเทศจะมีรายรับจากธุรกิจ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่การใช้ระบบ FOB สามารถเพิ่มรายได้มากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cmp-businesses-import-raw-materials-worth-over-160m-in-one-month

โครงการถนนสายใหม่รัฐชินเริ่มปีหน้า

โครงการถนนสายใหม่ของรัฐชินได้รับเงินกู้จากธนาคารโลกเริ่ม ต.ค.ปีหน้า โดยจะเชื่อมเมืองกะเล่, พะล่าน และฮ่าค่า จุดเริ่มต้นของถนนจะอยู่ในกะเล่ซึ่งเลาะเลียบรัฐชินและเขตสะกาย ถนนกะเล่-พะล่าน-ฮ่าค่า มีความสำคัญในการเชื่อมโยงรัฐชินกับภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ เมื่อเสร็จสิ้นจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของรัฐซิน โครงการนี้จะกู้ยืมเงิน 65 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกและส่วนหนึ่งจากเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากเงินทุนในเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 58 เงินกู้ดังกล่าวได้รับอนุญาตสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในรัฐยะไข่, เขตอิรวดี, และรัฐชิน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่มีความสำคัญสำหรับรัฐชินดังนั้นจึงให้ความสำคัญในการสร้างอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ส่วนผลลัพธ์จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม รัฐบาลต้องมีแนวทางเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการจะได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม โปร่งใสและมีผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-road-project-chin-set-start-next-year.html