โครงการอำนวยความสะดวกในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดในกัมพูชา

เริ่มตั้งแต่วันศุกร์แผนกการค้าในจังหวัดตาแก้ว กำปอต และเกาะกงจะสามารถออก “แบบฟอร์ม D” หรือ ใบรับรองแหล่งกำเนิด (CO) เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการส่งออกสำหรับผู้ค้าในจังหวัดต่างๆ โดยตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ผู้ส่งออกและผู้ค้าในจังหวัดข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังเมืองหลวงเพื่อทำการตรวจสอบและออกใบรับรองแหล่งกำเนิด แต่จะเป็นการเดินทางไปยังแผนกการค้าในแต่ละจังหวัดแทน ซึ่งตั้งแต่ปี 2560 กระทรวงพาณิชย์ได้มอบ “แบบฟอร์ม D” ให้กับหน่วยงานระดับจังหวัดเป้าหมายคือการอำนวยความสะดวกในฝั่งของกิจกรรมทางธุรกิจและการส่งออก เพื่อที่จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท โดยมีมากกว่า 20 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ของกำปอต กล่าวว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การบริการสะดวกขึ้นสำหรับผู้ส่งออกและผู้ค้าในจังหวัด โดย “แบบฟอร์ม D” สามารถใช้สำหรับการจัดส่งได้ภายในอาเซียน.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655401/scheme-to-facilitate-co-issuance-expands/

เทรนด์ผู้บริโภคในอนาคต ตัวกำหนดทิศทางการส่งออก

อาหารและเครื่องดื่ม เป็นรายการสินค้าส่งออกที่ถือว่ายังรักษาระดับการเติบโตได้ดี เมื่อเทียบกับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มหดตัวในปีนี้ โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยอยู่ที่ 17,749 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อนละ 3.8 (YoY) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าทั้งปี 2562 การส่งออก – อาหารและเครื่องดื่มของไทยจะสามารถเติบโตในแดนบวก จากความต้องการของตลาดคู่ค้าที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้า กลุ่มผลไม้และปศุสัตว์ สำหรับทิศทางการส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปี 2562 ในขณะที่ การส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม) อาจจะเติบโตชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยหันไปขยายฐานการผลิตและจำหน่ายในประเทศดังกล่าวทดแทนการส่งออก

ที่มา : นสพ. ทันหุ้น ฉบับที่ 29 ต.ค. 2562

กลุ่มนักลงทุนจีนหนุนภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชา

สมาคมใหม่ของนักลงทุนจีนได้เปิดตัวเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยสมาคมสิ่งทอประสานงานกับรัฐบาล ซึ่งจะเน้นไปที่กลุ่มนักลงทุนจีนเป็นพิเศษ โดยกัมพูชามีโรงงานกว่า 663 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้า 520 แห่งและอีก 83 แห่งทำการผลิตรองเท้า ส่วนที่เหลือจะเป็นโรงงานผลิตถุง ซึ่งทั้งอุตสาหกรรมมีแรงงานประมาณ 800,000 คน กว่า 80% เป็นผู้หญิงตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมระบุรายงานเมื่อปีที่แล้ว โดยจากรายงานของ NBC แสดงให้เห็นว่าการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าของกัมพูชามีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24% จาก 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งกัมพูชามีค่าแรงขั้นต่ำเป็นอันดับห้าในอาเซียน ค่าแรงขั้นต่ำของกัมพูชาสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ที่ 182 เหรียญสหรัฐต่อเดือน แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 190 เหรียญสหรัฐในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655062/china-textile-group-launched-to-bolster-garment-sector/

การศึกษาสำหรับศูนย์โลจิสติกส์ที่สำคัญของกัมพูชาจะพร้อมในไม่ช้า

การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์สำคัญในกรุงพนมเปญและสีหนุวิลล์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ โดยกระทรวงโยธาธิการและโทรคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์ในเมืองหลวงกำลังดำเนินการโดยความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย ในขณะที่ IMF ให้ความช่วยเหลือในสีหนุวิลล์ ซึ่งศูนย์โลจิสติกส์เป็นส่วนสำคัญของแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มตัวเลือกสำหรับการขนส่งทางบก ทางรถไฟและทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และบริการในท้องถิ่น ซึ่งศูนย์บริการโลจิสติกส์ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์บริการแบบครบวงจร” สำหรับกิจกรรมการนำเข้าและส่งออก โดยเป็นการรวมตัวกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือ Autonomous Sihanoukville (PAS) เพิ่มขึ้นกว่า 18% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของภาคการขนส่งที่สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655287/studies-for-major-logistics-centres-to-be-ready-soon/

กรุงศรีเปิดตัวบริการโอนเงินแบบเรียลไทม์ ในสปป.ลาว

ธนาคารกรุงศรีเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยเปิดตัว Krungsri Blockchain Interledger เพื่อให้การโอนเงินระหว่างสปป.ลาวและไทยเป็นไปอย่างง่ายดายและระบบเรียลไทม์สำหรับ SMEs ด้วยบริการที่ทันสมัยลูกค้าจะสามารถโอนเงินระหว่างประเทศได้ ทั้งในรูปแบบดอลลาร์สหรัฐและค่าบาทไทย การทำธุรกรรมแต่ละครั้งจะแล้วเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจด้วยความสะดวกสบายมากขึ้นและปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารสภาพคล่องและลดต้นทุนการจัดการ สิ่งนี้สะท้อนถึงความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมของเทคโนโลยี ซึ่งจะผลักดันภาคธุรกิจไทยให้ขยายตัวเร็วขึ้น และจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในสปป.ลาว ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีมีสำนักงานสาขา 2 แห่งในสปป.ลาวได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์และแขวงสะหวันนะเขต

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=49016

เจ้าหน้าที่สปป.ลาว ประเมินผลกระทบของการพัฒนาชุมชนในระดับภูมิภาค

กองทุนลดความยากจน ภายใต้กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ได้หารือเกี่ยวกับโครงการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยชุมชนที่มีต่อการพัฒนาชนบทซึ่งสปป.ลาว โครงการวิจัยร่วมจะดำเนินการโดยกัมพูชา จีน พม่า สปป.ลาว ไทยและเวียดนามซึ่งได้รับทุนจากรัฐบาลจีนผ่านกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC) โครงการดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เดือนนี้จนถึง ก.พ. 63 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่กล่าวถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมและหน้าที่ในการประเมินการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยชุมชนและวิธีนำไปใช้กับระบบของรัฐบาล การวางแผนยังเป็นการทดสอบแบบจำลองมาตรฐานและแง่มุมทางทฤษฎีของงานภาคปฏิบัติของทุกประเทศ MLC และการจัดตั้งเครือข่ายมืออาชีพเกี่ยวกับการวิจัยในอนาคตและความร่วมมือเพิ่มเติม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอัตราความยากจนทั่วสปป.ลาวลดลงเหลือ 62,384 ครัวเรือนหรือ 5.13 % เป็น 1,433 หมู่บ้านหรือ 16.97 % และ 23 อำเภอหรือ 15.54 %

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/authorities-assess-impacts-regional-community-driven-development-107169

ออสเตรีย เมียนมาตกลงร่วมมือกันการค้าการลงทุนต่อไป

สำนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรียได้จัดการประชุมระหว่างการเยี่ยมเอกอัครราชทูตอเล็กซานเดอร์มาร์ชชิก ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองและหัวหน้าฝ่ายกิจการทวิภาคีในกระทรวงการต่างประเทศออสเตรียและชุมชนธุรกิจออสเตรียและหุ้นส่วนในท้องถิ่นในย่างกุ้ง ระหว่างการประชุมผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำธุรกิจในเมียนมาและโอกาสการลงทุน ทั้งยังตกลงที่จะร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างสองประเทศในอนาคต มีตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ EuroCham Myanmar, Carlsberg Myanmar, สำนักงานกฎหมาย Luther, บริษัท Sea Lion Co, กลุ่ม Shwe Taung และ Mingalar Myanmar

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/austria-myanmar-agree-collaborate-further.html

Wilmar Myanmar สร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในติลาว่า

ย่างกุ้ง-วิลมาร์เมียนมาร์ซึ่งเป็น บริษัทลูกของวิลมาร์อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของสิงคโปร์กำลังจะสร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ซึ่งสามารถผลิตข้าวได้ถึง 1,200 ตันต่อวัน ผลิตข้าวสาลี 530 ตันต่อวันส่วนโรงงานแปรรูปจะผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคได้ 460 ตันต่อวัน โดยการส่งออกต้องผ่านท่าเทียบเรือติวาลา ซีอีโอของ Wilmar International Limited กล่าวว่าเมียนมามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน ดินอุดมสมบูรณ์ ฝนตกชุกและมีประชากร 54 ล้านคน เชื่อว่าภาคธุรกิจการเกษตรต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน วิลมาร์เมียนมาเปิดท่าเรือไปเมื่อปี 61 คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (DICA) อนุญาตให้สร้างท่าเทียบเรือวิลมาร์ – เมียนมา (ติลาว่า) ภายใต้ข้อตกลงการสร้างและถ่ายโอน 50 ปีกับรัฐบาล ถือเป็นท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปลำดับที่ 3 ของประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapores-wilmar-myanmar-will-build-largest-rice-mill-in-thilawa-sez

MoIT ตอบโต้การทุ่มตลาดผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีจากประเทศเกาหลีใต้และจีน

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กเคลือบสี ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศเกาหลีใต้และจีน เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวงฯ เรื่อง อัตราการตอบโต้การทุ่มตลาดของสินค้าเหล็กเคลือบสี (ฉบับที่ 3198/ QĐ-BCT) ที่มีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการจีนในอัตรา 2.53% – 34.27% สำหรับผู้ประกอบการเกาหลีใต้ในอัตรา 4.71% – 19.25% ซึ่งการทุ่มตลาดดังกล่าว ส่งผลต่ออุตสาหกรรมผลิตเหล็กในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ สังเกตได้จากค่าดัชนีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปริมาณการขาย รายได้ กำไร ส่วนแบ่งการตลาด และสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจะมีผลบังคับอย่างเป็นทางการ ภายในวันที่ 24 ตุลาคมของปีนี้ โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องต่อกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/moit-imposes-antidumping-duties-on-colourcoated-steel-products-of-rok-and-china-405375.vov

เวียดนามเผยการส่งออกของภาคการเกษตรกว่า 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนของปี 62

จากรายงานทางสถิติของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าการส่งออกของภาคเกษตร ป่าไม้ และประมง มีมูลค่ารวม 33.18 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เวียดนามจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมราว 25.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยภาคเกษตร ป่าไม้ และประมงเกินดุลการค้าอยู่ที่ 9.04 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว การส่งออกเวียดนามมีอัตราการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เป็นผลมาจากการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 1.3 เนื่องมาจากกฎระเบียบที่เข็มงวดของตลาดจีนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีตกค้าง และข้อกำหนดความปลอดภัยของอาหารและบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ คาดว่าสถานการณ์การค้าทั่วโลกยังคงชะลอตัว และอุปสรรคทางการค้า จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนามไปยังจีน รวมไปถึงราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มลดลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/agroforestryaquatic-exports-hit-over-us33-billion-in-ten-months-405376.vov