เวียดนาม อินโดนิเซีย เป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคอาเซียน

จากรายงานวิจัยของบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Google, Temsek และ new partner Bain & Company เปิดเผยว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 39 ในปี 2562 และจะมีมูลค่ากว่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศอินโดนิเซียและเวียดนามมีอัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 40 ในขณะที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 20-30 ในขณะที่ เศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายในปี 2568 อยู่ที่ 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การท่องเที่ยวออนไลน์ และธุรกิจ Ride-Hailing เป็นต้น รวมไปถึงเวียดนามมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 61 ล้านคน และใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชม. 12 นาที ต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน นอกจากนี้ เวียดนามก้าวขึ้นมาอันดับ 3 ของจุดหมายในการลงทุนดิจิทัลภูมิภาคนี้ ด้วยมูลค่าเงินทุนกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2561 และช่วงครึ่งเดือนแรกปี 2562 โดยเมืองฮานอยและโฮจิมินห์ เป็น 1 ใน 7 เมืองเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/536446/viet-nam-indonesia-lead-asean-in-internet-economy-growth.html#t0jGYwAhAxtOfG7o.97

เวียดนามเผยส่งออกกาแฟลดลง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐฯ เปิดเผยว่าเวียดนามมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา และเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของเวียดนามนั้นมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือคาดว่าเศรษฐกิจจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณการส่งออกกาแฟของเวียดนามลดลงร้อยละ  13.3 คิดเป็นปริมาณอยู่ที่ 1.25 ล้านตัน และด้านมูลค่าร้อยละ 21.9 คิดเป็นมูลค่า 2.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยประเทศเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในขณะที่ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ราคาส่งออกกาแฟเฉลี่ยลดลงร้อยละ 10.7 เหลือเพียง 1,709 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และสถานการณ์ของราคากาแฟที่ลดลง ส่งผลให้เวียดนามส่งออกไปยังตลาดดั้งเดิมลดลง ได้แก่ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา อิตาลี และสเปน ในขณะที่ ราคากาแฟทั่วโลกลดลง เนื่องมาจากผู้ผลิตกาแฟบราซิลได้เผชิญกับสกุลเงินที่ลดลง รวมไปถึงปริมาณการจัดเก็บกาแฟสำรองในตลาดสำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐฯ เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536442/coffeeexports-down-in-9-months.html#09WvUq2efT3Rtgps.97

ก.ล.ต. เป็นเจ้าภาพจัดประชุม ACMF ร่วมผลักดันยกระดับการพัฒนาตลาดทุนอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืน

หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน ร่วมผลักดันการพัฒนาตลาดทุนตอบโจทย์ความยั่งยืน และกระชับความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการรวมตัวด้านตลาดทุน โดยเลขาธิการ ก.ล.ต. ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) ครั้งที่ 31 ณ จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ประเทศสมาชิก ACMF ได้มีการติดตามความคืบหน้าของแผนงานต่างๆ ซึ่งในปีนี้แผนงานสำคัญของ ACMF สอดรับกับทิศทางในการยกระดับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปีที่ไทยเป็นประธานอาเซียน โดยแผนงานหลักจะเป็นการจัดทำ Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Markets ที่เป็นหนึ่งในงานสำคัญด้านเศรษฐกิจ โดยเปิดรับความเห็นและมุมมองที่เป็นประโยชน์จากผู้แทนของภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มนักลงทุนสถาบันเพื่อผลักดันด้านอุปสงค์ (demand side) และแรงขับเคลื่อนจากตลาด (market force) ในด้านการลงทุน รวมทั้งมีผู้แทนจาก United Nations Development Programme (UNDP) เข้าร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกด้านหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://mgronline.com/stockmarket/detail/9620000095386

รายได้จากศุลกากรของกัมพูชาถึงเป้าหมายก่อนสามเดือนที่กำหนดไว้

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีกัมพูชามีรายรับ 2.3 พันล้านดอลลาร์จากการจัดเก็บภาษีและภาษีสรรพสามิตซึ่งเกินเป้าหมายของรัฐบาลตลอดทั้งปีแล้ว 5% โดยหลังจากนี้อีกสามเดือนคาดหวังว่าจะจัดเก็บภาษีได้อีก 800 ล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี ซึ่งรายได้จากการจัดเก็บจะถูกใช้ไปกับการลงทุนภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามลำดับเพื่อเป็นการลดการพึ่งพารัฐบาลต่างประเทศลง โดยเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีศุลกากรและการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นสัญญาณเชิงบวกที่หมายถึงประเทศกำลังนำเข้ามากขึ้นเพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการต่อสู้กับการทุจริตและประสิทธิภาพของความพยายามร่วมกันของทุกหน่วยงาน ซึ่งยังมีช่องว่างมากมายสำหรับการปรับปรุงในเรื่องการจัดเก็บภาษี โดยบริษัท ใหญ่ทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านภาษี ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชามีรายรับและภาษีสรรพสามิต 2.5 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2560

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647257/govt-reaches-customs-revenue-goal-three-months-in-advance/

เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐฯ เปิดเผยว่าเวียดนามมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา และเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของเวียดนามนั้นมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะสามารถขยายตัวร้อยละ 6.8-7 ในปี 2562 รวมไปถึงทางข้อมูลของบริษัทฟิทช์ ระบุว่าในไตรมาสที่ 3/2562 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ภาครัฐได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินหาโซลูชั่นทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน รวมไปถึงสร้างสภาพแวดล้อมในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20191003/vietnams-gdp-growth-at-9year-high-topping-southeast-asia-govt/51443.html

เวียดนามจัดเก็บอัตราภาษีอากรสูงสุดตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับสินค้าอลูมิเนียมของจีน

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ได้ประกาศกำหนดอัตราอากรสูงที่สุด เพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมที่มาจากผู้ประกอบการจีน 16 ราย ดังนั้น ทางกระทรวงฯตัดสินใจที่จะเรียกเก็บอากรจากผู้ประกอบการจีน 6 ราย ในอัตราอากรสูงที่สุดร้อยละ 35.58 และอีก 6 รายที่เผชิญกับอัตราอากรร้อยละ 18.16-35.39 และ 2 ราย ที่จะต้องเสียอากรในอัตราร้อยละน้อยกว่า 10 โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้ทำการตรวจสอบการนำเข้าอลูมิเนียมจากประเทศจีน ตามกฎระเบียบขององค์การค้าโลก ซึ่งพบว่าในบางกรณี ราคาอลูมิเนียมของจีนต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในเวียดนาม ส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศได้รับความเดือดร้อนหลายปีที่ผ่านมา และทำให้ผู้ประกอบการหลายๆคน ล้มเลิกออกจากกิจการนี้ไป รวมไปถึงต้องไล่พนักงานบางส่วนอีกด้วย นอกจากนี้ ในปี 2561 สหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบการหลบเลี่ยงการนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมที่มาจากประเทศเวียดนาม และได้ข้อสรุปว่าผู้ประกอบการบางคน ได้ทำการหลีกเลี่ยงอากรทุ่มตลาดที่สหรัฐฯได้กำหนดไว้กับผลิตภัณฑ์มาจากประเทศจีน ส่งผลให้สหรัฐฯ อาจตอบโต้ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมจากประเทศเวียดนามอย่างจริงจัง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/highest-antidumping-tax-rate-imposed-on-chinese-aluminium-products-404107.vov

เมโทรเมียนมาวางแผนเปิดโชว์รูมสินค้าในมัณฑะเลย์

METRO Wholesale Myanmar บริษัท บริษัทค้าส่งต่างประเทศรายแรกกำลังวางแผนจะเปิดร้ายขายสินค้าในมัณฑะเลย์ ซึ่งร้านขายสินค้าเปิดในย่างกุ้งไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาเมโทรเมียนมาร์มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาดในประเทศที่สามารถช่วยส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรและเศรษฐกิจ ซึ่งให้การบริการด้านโรงแรม ร้านอาหาร ปัจจุบันศูนย์กลางคลังสินค้ามีขนาด 5,800 ตารางเมตรในติวาลา ปัจจุบันลูกค้าทั่วประเทศสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า 2,000 รายการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นมือถือ โดยสินค้าจะถูกส่งมอบสินค้าโดยรถบรรทุกที่ควบคุมอุณหภูมิของบริษัทโลจิสติกส์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/metro-wholesale-myanmar-plans-to-open-showroom-in-mandalay

โตโยต้าเมียนมาเริ่มประกอบรถยนต์ในปี 64

บริษัท พัฒนาติวาลาเมียนมา – ญี่ปุ่น (MJTD) ใช้พื้นที่ 21 เฮคเตอร์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา (SEZ) เพื่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์และสามารถเริ่มผลิตรถยนต์ในปี 64 MJTD มีพื้นที่ 2,400 ไร่ใน SEZ มีพื้นที่ 405 เฮคตาร์ในโซน A และโซน B ถูกนำไปใช้โดยบริษัท โตโยต้าจากญี่ปุ่นบนพื้นที่ 21 เฮคเตอร์ ซึ่งจะตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ด้วยทุน 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐและประกอบ Toyota Hilux โดยระบบ SKD (Semi Knock Down) ปีละ 2,500 คันเริ่มตั้งแต่ปี 64 และมีพนักงาน 130 คน รายได้ทั้งหมดของ TMY นั้น 85% แบ่งเป็น Toyota Motor Corporation และอีก 15% เป็น Tsusho Corporationความต้องการซื้อรถใหม่ของตลาดเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลปี 61 มีการผลิตประมาณ 18,000 คัน และเพิ่มสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โตโยต้าขายโตโยต้าไฮลักซ์วีออสรัชและอื่น ๆ และ TMY ก่อตั้งขึ้นในเดือน มิ.ย.ปี 62

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/toyota-to-begin-auto-assembly-in-myanmar-in-2021

ภาคธุรกิจประเมินความสะดวกในการลงทุนการค้าในสปป.ลาว

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ทำการประเมินวิธีการอำนวยความสะดวกในแขวงต่างๆและนครหลวงเวียงจันทร์ในการลงทุนและการค้าภายใต้โครงการระยะที่ 2 ของโครงการ ProFIT การประเมินนี้คาดว่าจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ADB ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ADB ที่จะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือในบางโครงการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ การวิเคราะห์จะดำเนินการคาดว่าจะเสร็จสิ้นทั่วประเทศภายในสิ้นเดือนพ.ย. โดยจะจัดลำดับความสะดวกในการทำธุรกิจในแต่ละแขวง และวัตถุประสงค์ของโครงการอีกประการหนึ่งคือการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎระเบียบ นอกจากนี้ยังประเมินการบริการสาธารณะและการจัดอันดับแขวงที่มีขีดความสามารถเพื่อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการค้าและการลงทุนและยังส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการ รัฐบาลได้รับประโยชน์จากการได้รับข้อมูลที่สำคัญสำหรับการเปรียบเทียบการบริการสาธารณะในระดับแขวงเพื่อปรับปรุง ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือวัดและประเมินผลสำหรับรัฐบาล ProFIT จะช่วยให้จังหวัดต่างๆดึงดูดการลงทุนและในขณะเดียวกันธุรกิจก็สามารถนำปัญหามาใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไข

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/business-sector-assesses-facilitation-investment-trade-laos-105441

กัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำที่สุดใน SEA

กัมพูชาสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเป็นประเทศที่อัตราภาษีต่ำที่สุดในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Trading Economics เป็นแพลตฟอร์มทางสถิติเศรษฐกิจออนไลน์แสดงให้เห็นว่ากัมพูชามีอัตราภาษีนิติบุคคลต่ำเป็นอันดับที่สามในภูมิภาครองจากบรูไนและสิงคโปร์ โดยอัตราภาษีนิติบุคคลของกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ที่ 20% ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีไทยและเวียดนาม โดยสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่ 17% รองลงมาคือบรูไนอยู่ที่ 18.5% ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศต่างกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่กัมพูชาจะต้องเสนออัตราภาษีนิติบุคคลที่ต่ำหรือให้มีการแข่งขันกันเกิดขึ้น ตามรายงานจากภาครัฐ FDI ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงได้รับประโยชน์จากเขตภาษีที่ต่ำโดย FDI เพิ่มขึ้นจาก 62 พันล้านดอลลาร์ในปี 2560 เป็น 77 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 เทียบกับกัมพูชา 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50647262/cambodia-has-one-of-the-lowest-corporate-tax-rates-in-sea/