กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอผ่าน SEZ แตะ 357 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และสินค้าการเดินทาง ผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) มูลค่ารวม 357.8 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา โดยปัจจุบันกัมพูชามีเขตเศรษฐกิจทั้งหมด 54 เขต ซึ่งการส่งออกอยู่ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี โครงการระบบสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี (GSP) และโครงการ ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) โดยการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปคิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งหมด 232 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนการส่งออกสิ่งทอปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 คิดเป็น 70 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกรองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทางมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 35 ล้านดอลลาร์ และ 19 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 2.9 และร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50894153/garment-exports-from-sezs-valued-at-357-million-over-first-semester/

โรงงาน Suzuki ในย่างกุ้ง ยังเดินสายการผลิตตามปกติ

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Suzuki ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Thilawa ยังเปิดดำเนินการตามปกติแม้จะมีข่าวลือแพร่สะพัดบนโซเชียลมีเดียในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 64 ว่าจะปิดตัวลงท่ามกลางความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ แต่ตัวแทนจากคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ Thilawa (SEZ) ได้ออกมาสยบข่าวลือดังกล่าว กระนั้นการผลิตได้หยุดชะงักในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากขาดการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแต่ได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ยังยืนยันด้วยว่า บริษัท โตโยต้า กำลังจะมีพิธีเปิดดำเนินการในเดือนนี้ คณะกรรมการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่านักลงทุนใน Thilawa SEZ ไม่มีแผนที่ถอนการลงทุนอย่างแน่นอน โดยบริษัท ซูซูกิ ได้ลงทุนราว 800 – 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเมียนมาและคาดว่าการผลิตแบบ CKD (Completely Knocked-Down) จะเริ่มขึ้นเมื่อโรงงานแห่งใหม่เสร็จสมบูรณ์ในปี 66

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/business-usual-suzuki-facility-yangon.html

โตโยต้าเมียนมาเริ่มประกอบรถยนต์ในปี 64

บริษัท พัฒนาติวาลาเมียนมา – ญี่ปุ่น (MJTD) ใช้พื้นที่ 21 เฮคเตอร์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา (SEZ) เพื่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์และสามารถเริ่มผลิตรถยนต์ในปี 64 MJTD มีพื้นที่ 2,400 ไร่ใน SEZ มีพื้นที่ 405 เฮคตาร์ในโซน A และโซน B ถูกนำไปใช้โดยบริษัท โตโยต้าจากญี่ปุ่นบนพื้นที่ 21 เฮคเตอร์ ซึ่งจะตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ด้วยทุน 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐและประกอบ Toyota Hilux โดยระบบ SKD (Semi Knock Down) ปีละ 2,500 คันเริ่มตั้งแต่ปี 64 และมีพนักงาน 130 คน รายได้ทั้งหมดของ TMY นั้น 85% แบ่งเป็น Toyota Motor Corporation และอีก 15% เป็น Tsusho Corporationความต้องการซื้อรถใหม่ของตลาดเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลปี 61 มีการผลิตประมาณ 18,000 คัน และเพิ่มสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โตโยต้าขายโตโยต้าไฮลักซ์วีออสรัชและอื่น ๆ และ TMY ก่อตั้งขึ้นในเดือน มิ.ย.ปี 62

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/toyota-to-begin-auto-assembly-in-myanmar-in-2021