‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลโต 25% ปี 68

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการการตัวชี้วัดและวิธีการวัดผลของมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมภูมิภาค (GRDP) เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. โดยคุณเหวียน ธิ ถู เฮือง จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) กล่าวว่าสัดส่วนมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจดิจิทัลต่อจีดีพี ตั้งแต่ปี 2563-2565 อยู่ที่ 12.75% และ 12.67% ในปี 2565

ทั้งนี้ หากพิจารณาแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ พบว่าภาคบริการเวียดนามมีส่วนผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด 6.59% ในปี 2563-2565 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 6.11% และภาคเกษตรกรรมมีตัวเลขต่ำที่สุด 0.05% ของ GDP อย่างไรก็ดี ขนาดของเศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2563-2565 แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมของรัฐบาลที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อีกทั้ง เศรษฐกิจดิจิทัลคาดว่าจะมีสัดส่วน 25% ของ GDP เวียดนามในปี 2568 และเพิ่มขึ้น 30% ในปี 2573 ตามมติของคณะกรรมการที่ 52 (52/HQ-TW)

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-projects-high-proportion-of-digital-economy-in-gdp-2223887.html

‘เวียดนาม’ คาดส่งออกข้าวปีนี้ ทะลุ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และคาดว่ายอดการส่งออกข้าวในปีนี้จะสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการส่งออกข้าวสาร (Milled rice) ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 7.75 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 4.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.2% และ 36.3% เมื่อเป็นรายปี ในขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ย 568 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

ทั้งนี้ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการการ นายเจิ่น แทงห์ นาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่าข้าวมีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรกรรมในเวียดนามและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และในอนาคตข้างหน้า ตลาดข้าวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มองว่าการเติบโตของปริมาณการส่งออกข้าวมีทิศทางสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อสต๊อกของประเทศผู้ส่งออก และดันราคาส่งออกข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1638131/rice-exports-expected-to-hit-us-5-billion-this-year.html

นายกฯ สปป.ลาว ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น เน้นความร่วมมือระดับภูมิภาค

การประชุมสุดยอดผู้นำจากประเทศในกลุ่มอาเซียนและญี่ปุ่น มีความตั้งใจในการทบทวนความร่วมมือในช่วงห้าทศวรรษที่มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยการประชุมได้จัดลำดับความสำคัญของการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่และความร่วมมือที่จับต้องได้ เน้นย้ำความพยายามในการทำงานร่วมกันเพื่อจัดการกับความท้าทาย ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว มีส่วนร่วมในการอภิปรายทวิภาคีกับผู้นำจากทั่วภูมิภาค ในฐานะที่ สปป.ลาว กำลังเตรียมที่จะเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้การสนับสนุน สปป.ลาว โดยเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ก้าวข้ามความสัมพันธ์ที่นอกเหนือไปจากธุรกิจ และส่งเสริมความไว้วางใจผ่านความท้าทายร่วมกัน เนื่องจากมีบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 160 แห่งที่ทำธุรกิจใน สปป.ลาว ซึ่งมีส่วนสนับสนุนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมลาวเป็นอย่างมาก และสร้างโอกาสในการจ้างงานโดยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/12/15/lao-pm-to-join-asean-japan-summit-focus-on-regional-cooperation/

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในปี 2567 จากการท่องเที่ยวและการส่งออก

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโต 2.4% ในปีนี้ และขยายตัว 3.2% ในปี 2567 อย่างไรก็ตาม หากคานึงถึงผลกระทบของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล อัตราการเติบโตในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.8% ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 4.4% โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการส่งออกที่ฟื้นตัว การบริโภคภายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคบริการ ประกอบกับการจ้างงานและรายได้ที่ดีขึ้น ปัจจัยสาคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโต ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2567 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไม่ต่ากว่า 30 ล้านคน สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มการเติบโตในภาคการบริการ การขนส่ง และการค้าปลีก ภาคการส่งออกคาดว่าจะเติบโต 3.8% ในปี 2024โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวปานกลางในเศรษฐกิจโลกการฟื้นตัวของการส่งออกจะแข็งแกร่งเป็นพิเศษในภาคอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ และการบริโภคในประเทศคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสาคัญในการเติบโตในปี 2024 การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเติบโต 3.5% โดยได้แรงหนุนจากค่าจ้างและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การบริโภคของรัฐบาลก็คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตในเชิงบวกเนื่องจากรัฐบาลยังคงลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่อไปแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยรวมคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวปานกลางในปี 2567 แนวโน้มยังเป็นบวก แต่มีความเสี่ยงบางประการที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวได้

ที่มา : https://www.nationthailand.com/more/commentary/40033896

เมียนมาร์มีความพยายามที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกในภาคส่วนที่หลากหลาย

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ (MoC) กำลังพยายามเพิ่มผลผลิตและส่งออกสินค้าจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะพืชผลและผัก ผลิตภัณฑ์ประมง หยก ปุ๋ย เชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตามสถิติและแถลงการณ์ของกระทรวง มูลค่าการส่งออกรวมของเมียนมาร์เพิ่มขึ้น 221 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ผ่านเส้นทางการขนส่งและการค้าชายแดน เนื่องจากปัจจุบันเป็นฤดูกาลที่เฟื่องฟูสำหรับผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงคาดการณ์ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นในภาคส่วนนี้ ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในหนึ่งสัปดาห์ โดยส่งออกผ่านการขนส่งทั้งทางเรือและทางอากาศ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลา ปลาป่น และปลาแห้งยังถูกขนส่งผ่านด่านการค้าเกาะสอง มะริด มอตอง และเมียวดี อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการส่งออกของภาคเอกชนแล้ว ภาครัฐยังขนส่งหยก 3,228 กิโลกรัมที่จำหน่ายโดยห้างสรรพสินค้าอัญมณีไปยังจีนอีกด้วย รวมทั้งศูนย์บริการแบบครบวงจรของบริษัท Myanma Gems Enterprise ยังจำหน่ายเครื่องประดับหยกมูลค่าเพิ่ม เช่น กำไล ลูกปัด และโซ่มือ โดยส่งออกไปยังตลาดจีนโดยการขนส่งทางอากาศ ในส่วนรายได้จากการส่งออกยาง ได้รับอนุญาตให้นำไปลงทุนในสินค้าภายในประเทศที่จำเป็น เช่น ปุ๋ยและเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของสินค้าโภคภัณฑ์และเพิ่มผลกำไรให้กับผู้ส่งออก การส่งออกยางจึงเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงต้นเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ตามสถิติ เช่นเดียวกับ การส่งออกหนังดิบและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น น้ำตาลและผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม CMP ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญชวนหน่วยงาน สมาคม และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันส่งเสริมภาคการค้าของประเทศ เพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้า ขยายตลาดโลก และส่งออกสินค้ามากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-seeks-to-expand-global-market-shares-in-versatile-sectors/

โรงกลั่นน้ำมันจำเป็นต้องดำเนินการเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศ

เมื่อบ่ายวานนี้ ในการเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันในเมือง Thanlyin เขตย่างกุ้ง ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพิจารณาต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงสำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ และต้นทุนอื่นในการดำเนินงานโรงกลั่นของ ประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการพลังงานภายในประเทศ ซึ่งในขั้นต้นจะต้องเน้นไปที่การดำเนินงานโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) โดยมีแผนจะอัพเกรดเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน U Ko Ko Lwin และกรรมการผู้จัดการ U Aung Myint จาก Myanma Petrochemical Enterprise รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (Thanlyin) การเตรียมการเพื่อให้เกิดความเพียงพอด้านพลังงานของประเทศโดยอาศัยการจัดตั้งแหล่งพลังงาน การผลิตน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ การปรับปรุงโรงงาน และความพร้อมของวัตถุดิบ นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบโรงกลั่นน้ำมันหมายเลข 1 (ตันลยิน) โรงกลั่นน้ำมัน (B) โรงงานน้ำมันหล่อลื่น และถัง LNG รวมทั้งได้สั่งให้เจ้าหน้าที่พยายามดำเนินการโรงกลั่นให้เร็วที่สุดเพื่อจัดหาความต้องการเชื้อเพลิงของประเทศในด้านหนึ่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/oil-refineries-need-soonest-operation-for-fulfilling-domestic-energy-requirement/

กัมพูชาส่งออกยางในช่วง ม.ค.-พ.ย. พุ่งแตะ 445 ล้านดอลลาร์

รายงานจาก General Directorate of Rubber (GER) ระบุว่ากัมพูชาส่งออกยางแห้งไปยังตลาดโลกรวมกว่า 334,176 ตัน สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2023 เพิ่มขึ้นในแง่ปริมาณร้อยละ 3.6 จากปริมาณ 322,586 ตัน เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เข้าประทศกว่า 445.4 ล้านดอลลาร์ ลดลงในแง่ของมูลค่าร้อยละ 4.4 จากมูลค่า 465.8 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจุบันยางแห้งหนึ่งตันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,333 ดอลลาร์/ตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 111 ดอลลาร์/ตัน สำหรับประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญของกัมพูชายังคงเป็นมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีน ด้านการเพาะปลูกกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 407,172 เฮกตาร์ ซึ่งร้อยละ 78.6 ของพื้นที่เพาะปลูก หรือประมาณ 320,184 เฮกตาร์ สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501408025/cambodia-earns-over-445-million-from-rubber-exports-in-the-first-11-months/

มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การส่งออกสินค้าของกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรกของปี ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 2.05 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานล่าของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐฯ เวียดนาม จีน ไทย และญี่ปุ่น โดยสหรัฐฯ ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่มูลค่าการนำเข้ารวม 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามและจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 37.8 และร้อยละ 18.5 ที่มูลค่า 2.61 พันล้านดอลลาร์ และ 1.31 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ซึ่งเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จากการส่งออกกัมพูชามากที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501407510/cambodias-export-turnover-slightly-rises-in-11-months/