‘หุ้นเวียดนาม’ ต่างชาติเทขาย 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 66

นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นเวียดนามในตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์ (HOSE) มูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 58 ล้านล้านด่อง หรือประมาณ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูล เปิดเผยว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เผชิญกับแรงขายหุ้นอย่างรุนแรง เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีมูลค่าเกินกว่า 58 ล้านล้านด่อง ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะทำสถิติใหม่เร็วๆนี้ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติไม่มีแนวโน้มที่จะยุติการเทขาย

ทั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์บางราย แย้งว่ากระแสของเงินทุนจากต่างประเทศเป็นเพียงยอดขายสุทธิบางส่วน เป็นผลมาจากการปรับพอร์ดหุ้นเท่านั้น จึงมองได้รับผลกระทบจำกัดต่อตลาดโดยรวม

นอกจากนี้ แรงกดดันจากการขายกองทุน ETF ขนาดใหญ่ ได้แก่ DCVFMVN DIAMOND ETF และ Fubon ETF ที่มีการไหลออกตั้งแต่ต้นปี 2567 มากกว่า 6.3 ล้านล้านด่อง และ 800 พันล้านด่อง  ตามลำดับ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงได้รับการประเมินในเชิงบวกก็ตาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656788/foreign-investors-net-selling-exceeds-2-3-billion-since-2023.html

‘หุ้น VinFast’ แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม ร่วงหนัก 65%

หุ้นวินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่สัญชาติเวียดนาม ร่วงลง 65% ในปีนี้ ถึงแม้ว่าบริษัทจะส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าได้ถึง 1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในปีนี้ แต่ว่าผลประกอบการไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ในไตรมาสแรก ในชณะเดียวกัน บริษัทเตรียมระดมทุนในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก โดยมีแผนที่จะสร้างโรงงานในรัฐนอร์ธ แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา รวมถึงอินโดนีเซียและอินเดีย

ทั้งนี้ Ken Foong นักวิเคราะห์ของ Bloomberg Intelligence กล่าวว่าวินฟาสต์ ทำได้ดีในตลาดเวียดนาม เนื่องจากการแข่งขันไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่ในสหรัฐฯ และภูมิภาคอื่นๆ มีการแข่งขันรุนแรงมากกว่านี้ ทั้งนี้ในแง่ของการใช้กลยุทธ์ลดราคารถยนต์อย่างบริษัทเทสลา (Tesla)

นอกจากนี้ Jochen Siebert กรรมการผู้จัดการของ JSC Automotive Consulting กล่าวว่าวินฟาสต์ อาจบรรลุเป้าหมายการผลิต แต่จะไม่สามารถบรรลุยอดขายได้ เนื่องจากตลาดในประเทศของอ่อนแอเกินไป และขนาดของตลาดรถยนต์ในประเทศไม่ได้ใหญ่มากนัก ตลอดจนราคารถยนต์ค่อนข้างแพงและเล็กสำหรับตลาดรถหรู

ที่มา : https://finance.yahoo.com/news/vinfast-ev-ambitions-reality-check-230000804.html

‘วีเอ็นจี’ บริษัทเทคยักษ์ใหญ่จากเวียดนาม ยกเลิกแผนเข้าสู่ตลาดโลก

จากรายงานทางการเงินของบริษัทวีเอ็นจี (VNG) เปิดเผยว่าบริษัทขาดทุนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 อยู่ที่ 291 พันล้านดอง นับเป็นการขาดทุนไตรมาสที่สามติดต่อกัน และหากพิจารณาทั้งปีจะเห็นได้ว่าบริษัทขาดทุนรวมกันทั้งสิ้น 756 พันล้านดอง รวมถึงการขาดทุนของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำอย่าง ‘Tiki’ สูญเสียเงินกว่า 510 พันล้านดอง ถึงแม้ว่าทางบริษัทขาดทุนอย่างมาก แต่ก็มีรายได้เพิ่มขึ้น 10% จากธุรกิจหลักของบริษัทจากเกมส์ออนไลน์ คิดเป็นสัดส่วนราว 75% ของรายได้ทั้งหมด

ทั้งนี้ บริษัทวีเอ็นจีได้วางแผนที่จะระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 จากการเสนอขายหุ้นออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) และมีแผนจดทะเบียนในตลาด Nasdaq Global Market

อย่างไรก็ดี ต่อมาได้ขอแจ้งถอนการเสนอขายหุ้น IPO โดยนักวิเคราะห์คาดว่าสาเหตุที่ถอนการเสนอขายดังกล่าวมาจากสถานะในปัจจุบันของตลาดหุ้นโลก

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/tech-giant-vng-cancels-plan-to-enter-global-market-but-keeps-ambitious-goals-2247956.html

‘ประชากรเวียดนาม’ เพียง 8% ลงทุนในหุ้น

จากข้อมูลของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (VSD) เปิดเผยว่าประชากรเวียดนามในปัจจุบัน มีเพียง 8% หรือ 7.76 ล้านคน ลงทุนในตลาดหุ้น และจากข้อมูลในเดือนกันยายน 2566 พบว่ามียอดเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่อยู่ที่ 172,695 บัญชี และโดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย หรือนักลงทุนรายบุคคล มีบัญชี 172,605 บัญชี ลดลงเกินกว่า 15,000 บัญชี เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2566 ทั้งนี้ จากข้อมูลในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ นักลงทุนเวียดนามเปิดบัญชีหุ้นใหม่ ประมาณ 924,205 บัญชี และนักลงทุนรายย่อย เปิดบัญชีใหม่ 923,211 บัญชี

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/over-8-percent-of-vietnam-s-population-investing-in-stocks-2198081.html

จับตา “บริษัทในอาเซียน” จำนวนมาก จ่อเสนอขายหุ้น IPO ในสหรัฐ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บริษัทในอาเซียน หลายแห่งกำลังพิจารณาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา โดยอาศัยความต้องการของนักลงทุนที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ สิ่งนี้เกิดขึ้นนอกเหนือจากแผนการที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ โดย VNG Corp บริษัทอินเทอร์เน็ตของเวียดนาม และ DoubleDragon Corp’s บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของฟิลิปปินส์ที่จะเข้าจดทะเบียนในสหรัฐฯ เป็นการเติมเต็มช่องว่างที่บริษัทจีนซึ่งหยุดชั่วคราว หลังจากความตึงเครียดทางการเมืองกับสหรัฐทวีความรุนแรงขึ้น จีนได้เข้มงวดการตรวจสอบบริษัทในประเทศที่แสวงหาการเข้าจดทะเบียนในต่างประเทศอย่างเข้มงวด ขณะที่เศรษฐกิจจีนก็ชะลอตัวลง ทั้งนี้ บริษัทในอาเซียน ระดมทุนได้ประมาณ 101 ล้านดอลลาร์ผ่านการเสนอขายหุ้น IPO ในสหรัฐฯ ในปี 2566 ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้วมากที่ 919 ล้านดอลลาร์ แต่คาดว่าอัตราการระดมทุนจะเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ มองหาแหล่งเงินทุนใหม่

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/2023/62235/

เจพีมอร์แกนชูหุ้นไทย “น่าลงทุนที่สุด” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดเผยว่า การที่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของ ไทย กลับมาฟื้นตัวได้ดีเกินคาดหลังจาก จีนเปิดประเทศ และมีแนวโน้มที่จะช่วยกระตุ้นการอุปโภคบริโภคของไทยให้ปรับตัวขึ้นนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ตลาดหุ้นไทย มีความ “น่าลงทุนมากที่สุด” เมื่อเทียบกับบรรดาตลาดหุ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ นายจักรพันธ์ พรพรรณรัตน์ หัวหน้าสายงานวิจัยหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กเผยแพร่วันนี้ (19 ม.ค.) ว่า ภาวะการซื้อขายที่คึกคักในตลาดหุ้นไทยก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากราคาพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบชะลอตัวลงนั้น จะช่วยให้ตลาดหุ้นไทยทำผลงานโดดเด่นเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ในภูมิภาคยกเว้นเวียดนาม

ที่มา : https://www.thansettakij.com/finance/stockmarket/553556

ผู้เชี่ยวชาญ มองเชิงบวกต่อ ‘หุ้น’เวียดนามตามสัญญาเศรษฐกิจฟื้นตัว

แพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม (VN-Index) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (HOSE) เมื่อวัน 27 ต.ค. ถือเป็นการเปิดโอกาสตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดัชนี VN ปรับตัวเพิ่มขึ้น 31 จุดและทำสถิติสูงสุดอยู่ในระดับ 1,423 จุด โดยการเพิ่มขึ้นอย่างมากของดัชนีดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ธนาคาร น้ำมันและอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ Huynh Minh Tuan ผู้อำนวยการฝ่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ “Mirae Asset Securities Vietnam” ชี้ว่าการปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นเวียดนาม (VNI) เป็นผลมาจากแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่าราวล้านล้านดอง ซึ่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ กระแสเงินสดที่ไหลเข้าอย่างแข็งแกร่งจากนักลงทุนต่างชาติ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีมุมมองต่อแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/experts-believe-stock-market-highs-are-positive-signs-for-economic-recovery-901098.vov

 

7 หุ้น โรงไฟฟ้าใหญ่ไทย กำลังเติบโตในเวียดนาม

โดย Maratronman I Wealthy Thai

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกๆ เพราะขนาดเศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายใหญ่โตขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากประชากรที่เพิ่มตัวขึ้นปีละหลายล้านคน รวมถึงประชากรกำลังอยู่ในวัยคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยที่มีส่วนจะช่วยผลักดันความก้าวหน้าของประเทศ

การลงทุนจากต่างประเทศทยอยการลงทุนเข้ามาในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากผู้ประกอบการค่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุงใช้ประเทศเวียดนามเป็นฐานการผลิตโทรศัพท์มือถือ รวมถึงนักลงทุนจากสหรัฐที่ย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนาม

ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเวียดนามเองนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องรังสรรค์โครงสร้างพื้นฐานประเทศไว้รองรับสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ประเทศ และเศรษฐกิจเดินหน้าต่อแบบไม่ชะงัก แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 แต่เวียดนามก็ไม่หวั่นตั้งเป้าปี 64 จีดีพีจะกลับมาเติบโตในระดับ 6.5% จากในปี 63 ที่โตแบบสะดุด

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อรองรับการเติบโต และอุตสาหกรรมที่กำลังรุ่งเรืองคงจะหนีไม่พ้นโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้ามีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเวียดนามคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากถึง 80,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573

โดยแหล่งพลังงานหลักยังคงเป็นถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 30,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าพลังงานลมในพื้นที่ชายฝั่งและพลังงานลมก็คาดว่าจะมีการขยายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50,000 เมกะวัตต์ ซึ่งอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานในปี 2021-2030 ยังอยู่ในระดับสูง จาก 8.6 % ในปี 2021-2025 และ 7.2 % ในปี 2026-2030 แผนพัฒนาพลังงานของเวียดนามคาดการณ์ว่าจะมีการใช้พลังงานสูงสุด 138,000 เมกะวัตต์ ในปี 2030 และ 302,000 เมกะวัตต์ ในปี 2045

เมื่อเห็นแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศเวียดนามแบบนี้แล้ว นักลงทุนคงจะพอเดากันได้แล้วใช่มั้ยว่า มีบริษัทหลักทรัพย์ของไทยที่ไหนบ้าง ถ้าเดาไม่ออก งั้น Wealthy Thai จะเล่าให้ฟัง มีบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เข้าไปลงทุน มีทั้งสิ้น 7 บริษัท ประกอบด้วย

1.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF

2.บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM

3.บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH

4.บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP

5.บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG

6.บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER

7.บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL

ที่มา : https://www.wealthythai.com/en/updates/stock/stock-of-the-day/1496

นักวิเคราะห์ ชี้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นเวียดนาม เหตุกังวลการระบาดโควิด-19

ตามรายงานของบริษัทหยวนต้า เผยว่านักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นบลูชิพ เป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ นักลงทุนที่เทขายหุ้นส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ไทยและอินเดีย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อโลกและค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว มีการเทขายหุ้นเป็นมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐใน 6 ตลาด คิดเป็น 4% ในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นเวียดนามยังได้รับมุมมองในเชิงบวก ทั้งด้านเศรษฐกิจและศักยภาพของตลาดหุ้นที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/foreign-investors-sell-out-blue-chips-on-covid-fears-analyst-4302717.html

ท่าเรือสีหนุวิลล์ในกัมพูชารายงานผลการประกอบการในปี 2020

ผลกำไรจากการดำเนินงานของ Preah Sihanoukville Autonomous Port (PSAP) ในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 54 สู่ระดับ 10.37 ล้านดอลลาร์ ตามงบการเงินปี 2020 ซึ่งแถลงการณ์ออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้รับการตรวจสอบโดย PricewaterhouseCoopers (PwC) โดยกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนในหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ลดลงจากร้อยละ 7 สู่ร้อยละ 2 ในปี 2020 ตามรายงาน อย่างไรก็ตามหุ้นของ PAS มีปริมาณการซื้อขายที่ดีในปี 2020 โดยราคาหุ้นเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 35 จากปี 2019 ซึ่งราคาหุ้น ณ สิ้นปีอยู่ที่ 1.50 ดอลลาร์ต่อหุ้น ปัจจุบันมูลค่าของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 130.19 ล้านดอลลาร์ โดย COVID-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียในหลายด้าน ซึ่งบริษัทยังคงต้องชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงมีส่วนทำให้กำไรของบริษัทลดลง โดย PSAP เป็นท่าเรือน้ำลึกเชิงพาณิชย์แห่งเดียวในกัมพูชา ขณะนี้กำลังดำเนินโครงการขยายหลายโครงการ รวมถึงอาคารขนส่งสินค้าแห่งใหม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เป็นสองเท่า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814565/sihanoukville-port-reports-profits-down-in-2020/