‘CP’ เล็งรุกขยายการลงทุนในเวียดนาม

วันที่ 18 เมษายน นายฟาน จี๊ ทัญ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย ได้เข้าพบกับนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และหารือกับการดำเนินงานและการผลิตของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตลอดจนบรรยายกิจการเจริญโภคภัณฑ์ว่าเปิดธุรกิจในเวียดนามเมื่อปี 2536 ในอุตสาหกรรมเกษตรผ่านบริษัท ซีพี เวียดนาม ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีพนักงานชาวเวียดนาม จำนวนมากกว่า 30,000 คน และในปี 2563 บริษัท ซีพี ได้เปิดตัวโรงงานแปรรูปไก่ในจังหวัดบิ่นห์เยือ ประเทศเวียดนาม ด้วยกำลังการผลิต 50 ล้านตัวต่อปีในเฟสแรก และเฟสสอง จะสามารถผลิต 100 ล้านตัว ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตฯ แสดงความยินดีกับความสำเร็จของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ รวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11414402-thailand-s-cp-group-interested-in-expanding-investment-in-vietnam.html

การลงทุน การส่งออกสินค้าเกษตรที่แข็งแกร่งจะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจสปป.ลาว

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดการณ์เศรษฐกิจสปป.ลาวจะเติบโตร้ยละ 3.4 ในปีนี้และร้อยละ 3.7 ในปี 2566 เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวในตลาดภายในประเทศ รวมทั้งการท่องเที่ยว ในเดือนมกราคมรัฐบาล ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดและเร่งการฉีดวัคซีน โดยเป้าหมายเพื่อให้ประชากรร้อยละ 80 ได้รับวัคซีนครบสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2565 ด้านการส่งออกภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรมีส่วนทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในปีที่แล้ว จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่งสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเพิ่มการผลิตพลังงานเพื่อการส่งออก การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในทุกหมวด ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการจากประเทศจีน ทั้งนี้การเติบโตของการส่งออกมีแนวโน้มดำเนินต่อไปในปีนี้และปีหน้าจากการลงทุนที่คาดการณ์ไว้เพื่อรองรับการพัฒนาพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และไฟฟ้าคาร์บอนต่ำอื่นๆ ในปี 2564 เศรษฐกิจของสปป.ลาวจะค่อยๆ ฟื้นตัวจากผลประกอบการที่แย่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ แต่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้โมเมนตัมของเศรษฐกิจในระเทศแย่ลง รัฐบาลจะต้องระมัดระวังตัวโดยให้วัคซีนแก่คนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดการการเงินสาธารณะ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดและดึงดูดการลงทุนที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Investment68.php

‘ไบเดน’ ต้อนรับ ‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม จ่อตั้งโรงงานในนอร์ทแคโรไลนา

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ยินดีกับการเข้ามาลงทุนของผู้ผลิตรถยนต์เวียดนามอย่าง ‘วินฟาสต์’ (VinFast) ในการสร้างโรงงานแห่งแรกที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์บริษัทที่จะขยายธุรกิจในสหรัฐฯ ไบเดนได้ทวีตข้อความว่า วันนี้ บริษัทวินฟาสต์ประกาศสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ด้วยเม็ดเงินกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ สร้างงานมากกว่า 7,000 ตำแหน่ง ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ที่ออกโดยทำเนียบข่าว เปิดเผยว่าไบเดน เน้นส่งเสริมการผลิตในประเทศและสร้างงาน ตลอดจนสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯ และส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อาทิ รถยนต์ไฟฟฟ้า (EV) เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/president-biden-welcomes-vinfast-facility-project-in-north-carolina-post933876.vov

องค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) สนับสนุนการลงทุนในประเทศสปป.ลาวต่อไป

กระบวนการลงทุนในสปป.ลาวจะคล่องตัวมากขึ้นผ่านระบบบริการแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนภายใต้บันทึกความร่วมมือที่ตกลงโดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของลาวและองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในสปป.ลาว โดยจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาล่วงหน้าแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมใหม่ ระบบใหม่จะรวมแบบฟอร์มที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อให้นักลงทุนสามารถยืนยันขั้นตอนที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อดำเนินการตามแผนธุรกิจของตนในขั้นตอนการพิจารณาการลงทุน ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการแบบครบวงจรผ่านความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กรเพื่อให้มีฟังก์ชันที่รวดเร็วและสะดวกสบายในการปรับปรุงกระบวนการลงทุนในสปป.ลาว

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_JETRO59.php

เวียดนามขยายการสนับสนุนภาคการลงทุนในสปป.ลาว

เวียดนามตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือภาคการลงทุนในสปป.ลาวต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและการลงทุน ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เวียดนามจะจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการลงทุนของภาคเอกชนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ วิธีจัดการและจัดสรรเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนภาครัฐและโครงการช่วยเหลือต่างประเทศ สนับสนุนความทันสมัยของภาคการวางแผนและการลงทุนของสปป.ลาวโดยการปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมการจัดการที่ล้ำสมัย ที่จัดทำโดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ทั้งหมดนี้จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศและส่งเสริมการจัดการการลงทุนสำหรับธุรกิจในแต่ละประเทศ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันส่งเสริมวิสาหกิจที่ได้ทำข้อตกลงในการดำเนินการตามแผน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vietnam_57_22.php

กัมพูชา-สิงคโปร์ ร่วมส่งเสริมการค้าทวิภาคี

กัมพูชา-สิงคโปร์ ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความพยายามในการฟื้นฟูวิกฤตหลังวิกฤตโควิด-19 และความคืบหน้าของการตอบสนองของอาเซียนต่อวิกฤตโควิด-19 ไปจนถึงการส่งเสริมการค้าทวิภาคีระหว่างกัน โดยกัมพูชาและสิงคโปร์ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสิงคโปร์มีมูลค่าสูงถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ในด้านการลงทุนของสิงคโปร์ในกัมพูชาระหว่างปี 1994-2020 มีมูลค่ารวมกันอยู่ที่ 1.29 พันล้านดอลลาร์ โดยสิงคโปร์นำเข้าสินค้าทางการเกษตรจากกัมพูชาเพิ่มขึ้น รวมไปถึงพริกไทย น้ำตาลปี๊บ มะม่วง และข้าวสาร เป็นสำคัญ ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสิงคโปร์ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักร อาหารและเครื่องดื่ม กระดาษ อัญมณี และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501042016/cambodia-singapore-to-further-boost-bilateral-trade/

‘เวียดนาม’ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักลงทุนสหรัฐฯ

จากงานสัมมนาออนไลน์ที่จัดขึ้นโดย ‘Asia Group’ เปิดเผยว่าเวียดนามยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดของนักลงทุนสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จุดมุ่งหมายของงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อแบ่งปันโอกาสทางธุรกิจและข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนแนวโน้มทางเศรษฐกิจเวียดนาม โดยมีผู้ร่วมงานที่เป็นตัวแทนบริษัทสหรัฐฯกว่า 40 คน มาจากกลุ่มพลังงาน การเงิน เทคโนโลยีและการผลิต อาทิ Blackstone Group, Google, Facebook , Ford, UPS และ Walmart เป็นต้น ทั้งนี้ นาย ฮา กิม หง็อก เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ กล่าวถึงความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจของเวียดนามและแจ้งข้อมูลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนสหรัฐฯ เวียดนามดำเนินการร่วมมือทางหุ้นส่วนการค้าและเครือข่ายความตกลงการค้าเสรี จะช่วยให้กิจกรรมของประเทศดีขึ้น

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11255702-vietnam-remains-attractive-destination-for-us-investors.html

FDI กัมพูชาขยายตัวร้อยละ 22 มูลค่าแตะ 4.35 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2021

ตามรายงานของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) กัมพูชาสามารถดึงเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้จำนวน 4.35 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจีน สหรัฐฯ และสิงคโปร์ ถือเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ของกัมพูชา ซึ่งภายหลังรัฐบาลกัมพูชาได้ประกาศกรอบยุทธศาสตร์และแผนงานสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ประจำปี 2021-2023 โดยมีเสาหลัก 3 ประการ ได้แก่ การกู้คืน การปฏิรูป และการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ การอำนวยความสะดวกทางการค้า กฎหมายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษและการดำเนินการตามกฎหมายด้านการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยมากขึ้นสำหรับนักลงทุน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501037592/cambodia-fdi-inflows-zoom-22-percent-at-4-35-billion-in-2021/

เมียนมา ชี้ มันสำปะหลัง ต้องการลงทุนเพิ่ม เพื่อเจาะตลาดส่งออกมากขึ้น

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย เมียนมาส่งออกมันสำปะหลังได้เพียงเล็กน้อย จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันปริมาณการส่งออกค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 50 ตันต่อเดือน และมีการพยายามส่งออกไปยังจีนให้มากขึ้น โดยมันสำปะหลังหนึ่งตันมีมูลค่าประมาณ 200-250 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศยังต่ำ ส่วนใหญ่มีการปลูกอยู่ในเมือง Kyonpyaw, Yekyi, Ngathainggyoung, Kyaunggon และ Thaboung ในเขตอิรวดีโดยมีพื้นที่มากกว่า 30,000 เอเคอร์ทั่วภูมิภาค มีผลผลิตต่อเอเคอร์ประมาณ 3,500 viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงและราคามันสำปะหลังที่ลดลงในปีงบประมาณ 2563-2564 นอกจากนี้ ตลาดยังขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ราคามันสำปะหลังลดลงจาก 103 จัต มาอยู่ที่ 80 จัตต่อ viss ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกันราคาแป้งมันสำปะหลังก็ปรับลดลงจาก 850 จัตมาเป็น 500-550 จัตต่อ โดยเมียนมามีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่อย่างจีนและอินเดียที่มีความต้องการคิดเป็น 90% ของความต้องการทั้งโลก ดังนั้นควรเพิ่มปริมาณการปลูกให้มากขึ้น ทั้งนี้มันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทดแทนแป้งสาลี ยารักษาโรค อาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ตลาดภายในประเทศมีการบริโภคไม่มากนักเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-needs-market-promotion-to-penetrate-more-foreign-markets/

กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการขายปลีก ปตท. มองหาพันธมิตรกัมพูชา สำหรับการดำเนินธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการขายปลีก ปตท. (PTT&PTTOR) ของไทยกำลังมองหาพันธมิตรในท้องถิ่น ในพื้นที่ตลาดอื่น ๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น กัมพูชา สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ สำหรับการร่วมทุนให้มีศักยภาพ ซึ่ง PTTOR วางแผนตั้งกรอบการลงทุนไว้ที่ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ของบริษัท ซึ่งประมาณร้อยละ 42 ของรายจ่ายฝ่ายทุนจะถูกนำไปใช้เพื่อขยายธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน รวมถึงเพิ่มร้านกาแฟและร้านอาหารมากขึ้น และอีกส่วนหนึ่งของการลงทุนจะนำไปใช้กับเทคโนโลยีเพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและระบุโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ โดยแผนการลงทุนพยายามที่จะเพิ่มสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันและธุรกิจในต่างประเทศ และลดการมีบทบาทของสถานีบริการน้ำมันลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501029495/thailands-ptt-oil-and-retail-business-pttor-looks-for-cambodian-partners-for-operations-here/