“ฮานอย” ตั้งเป้าธุรกิจกว่า 900 แห่งเข้าไปในอุตสาหกรรมสนับสนุน

ตามแผนของคณะกรรมการประชาชนของเมือง ภายใต้คำสั่ง 49 / KH-UBND ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายในประเด็นการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมสนับสนุนในท้องถิ่น ปี 2564 โดยแผนงานระบุว่าอุตสาหกรรมสนับสนุน มีสัดส่วน 16% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปประจำเมืองฮานอย อีกทั้ง ยังกำหนดภารกิจเพื่อช่วยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างธุรกิจกับซัพพลายเออร์ในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการนำระบบบริหารธุรกิจและการผลิตขั้นสูงมาใช่ในการทำธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/911299/ha-noi-strives-to-have-900-firms-in-supporting-industries.html

อุตฯ การบินเวียดนาม ขาดทุนกว่า 649 ล้านเหรียญสหรัฐ

การบินเวียดนามอาจประสบปัญหาขาดทุนมากกว่า 15 ล้านล้านดอง (649 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีนี้ เนื่องจากการระงับเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศที่คงมีผลบังคับใช้ สมาคมธุรกิจการบินเวียดนาม ระบุว่าได้ยื่นรายงานไปยังกระทรวงวางแผนและการลงทุนไปแล้ว เกี่ยวกับสายการบินในประเทศเผชิญการขาดทุนกว่า 18 ล้านล้านดองในปีที่แล้ว รายได้ลดลง 100 ล้านล้านดองเมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ สายการบินในประเทศ มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเพียง 66,600 คน หดตัว 98.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี อีกทั้ง อุตสาหกรรมการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในปี 2563 จำนวนผู้โดยสารทางอากาศ หดตัว 43% เป็น 66 ล้านคน ในขณะที่ การขนส่งทางอากาศ หดตัว 15% มาอยู่ที่ 1.3 ล้านตัน โดยคนวงในอุตสาหกรรมการบิน เผยว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยจนถึงปี 2566 เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินกลับมาฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดการระบาด

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/aviation-industry-to-suffer-649-mln-loss-4252693.html

“ภาคอิเล็กทรอนิกส์” ดันอุตสาหกรรมโดยรวมของเมืองโฮจิมินห์

การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ สาเหตุหลักมาจากการรักษาเสถียรภาพของตลาดส่งออกและการส่งเสริมการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นาง Nguyễn Thị Xuân Thủy รองผู้​อำนวยการศูนย์ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม กล่าวว่าภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นที่ต้องตัดเงินเดือนพนักงาน ดังนั้น ธุรกิจต้องเร่งหาตลาดใหม่และค้นหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตในอัตรา 32.4% ส่งผลในทิศทางที่ดีขึ้นต่อ 4 อุตสาหกรรมหลักในเมืองโฮจิมินห์ ถึง 7.8% และปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/903910/electronics-lead-hcm-city-industrial-revival.html

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของโฮจิมินห์ เพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติของเมืองโฮจิมินห์ เผยว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) ของโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 ถึงแม้ว่าจะลดลง 24.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาดัชนีอุตสาหกรรมดั้งเดิม จะพบว่าปรับตัวลดลง 9.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ หากจำแนกอุตสาหกรรมที่สำคัญของดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (32.4%) ตามมาด้วยการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า (28%), การผลิตอุตสาหกรรมแร่โลหะ (22.4%), เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ทางเคมี (10.8%) และการผลิตอาหารและแปรรูป (9.8%) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอุสาหกรรมส่วนใหญ่ในเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าเวียดนามยังสามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ แต่ด้วยสถานการณ์ไวรัสที่แพร่กระจายไปทั่วโลกนั้น ส่งผลให้ขาดแคลนวัตถุดิบและกระทบยอดขายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา : https://vnexplorer.net/ho-chi-minh-citys-industrial-production-index-increase-in-two-months-a2021131032.html

อุตสาหกรรม 4.0 สู่ผลกระทบต่อการจ้างงานในกัมพูชา

การศึกษาใหม่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาควรพิจารณาพัฒนาแผนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมในภาคส่วนสำคัญ ๆ และวางแผนลงทุนอย่างเพียงพอในการพัฒนาทักษะสำหรับงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจกัมพูชาเปลี่ยนไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ผ่าน 6 ข้อสำคัญที่เกิดขึ้นจากการศึกษาถึงประโยชน์ของอุตสาหกรรม 4.0 โดย ADB ทำการศึกษานี้ศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวในกัมพูชาเป็นลำดับแรก ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยศึกษาเกี่ยวกับการจ้างงาน ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย 4IR จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยี 4IR จะกำจัดงานในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าและการท่องเที่ยวในรูปแบบปัจจุบัน แต่การสูญเสียเหล่านี้จะถูกชดเชยด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากผลผลิตที่สูงขึ้น อาจทำให้ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39 ในภาคการผลิตเสื้อผ้า และร้อยละ 2 ในการจ้างงานการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805649/industry-4-0-impact-will-transform-skills-and-jobs-says-adb/

อุตสาหกรรมอาหารเมียนมาพร้อมเข้าร่วมงาน Hong Kong’s Food Expo 2021

สภาพัฒนาการค้าฮ่องกงเชิญชวนให้ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเข้าร่วมงาน Hong Kong’s Food Expo 2021 ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 12 ถึง 16 สิงหาคม 64 ซึ่งเมียนมาคาดจะเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกอาหารและเชื่มโยงกับตลาดประเทๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มแล้วภายในงานยังจัดแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับแพคเกจจิ้ง ฉลากความปลอดภัย โลจิสติกส์ การบริการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งทางผู้จัดงานคาดว่าจะมีบริษัทเข้าร่วมจากประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย อิหร่าน ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เกาหลี เม็กซิโก โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เป็นต้น สำนักงานสถานกงสุลใหญ่เมียนมาในฮ่องกงกล่าวว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับส่วนลด 50% ของค่าธรรมเนียมหรือ 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ผู้ประกอบการเมียนมาที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://www.hktdc.com ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคมเป็นต้นไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/hong-kong-expo-reaches-out-myanmar-food-companies.html

เมียนมาตั้งเป้าเศรษฐกิจปี 64 โต 6%

รัฐบาลเมียนมาคาดเศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต 6% ในปีงบประมาณ 63-64 ตามคำแถลงงบประมาณของกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตในภาคเกษตรกรรม 2.6% ภาคอุตสาหกรรม 6.5% และภาคบริการ 7.4% ในปีนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ารัฐบาลควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญให้กับภาคการเกษตรเพื่อสร้างการเติบโตเป็นกลยุทธ์ที่ดี ภาคเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด -19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานซึ่งทำให้คนงานหลายพันคนตกงาน ด้าน นาย อู หม่อง หม่อง เล รองประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมากล่าวว่า ควรปลูกพืชผลที่ทำกำไรและต้นทุนให้ต่ำ สร้างตลาดสำหรับผู้ขายและผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ควรให้ความสำคัญกับการประมงมากขึ้นเพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมทางทะเลเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรขยายไปสู่ตลาดส่งออกใหม่ ๆ ด้วยการร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-targets-6pc-economic-growth-2021.html

อุตสาหกรรม ICT ของเวียดนาม ทำรายได้ราว 126 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MIC) เปิดเผยว่าจำนวนธุรกิจเวียดนามที่อยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) มีทั้งสิ้น 45,500 ราย รวมถึงบริษัทลงทุนจากต่างชาติ ที่ทำรายได้รวมประมาณ 126 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามติด 1 ใน 20 ประเทศที่ใช้ถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก ประมาณ 68.17 ล้านคน (70% ของประชากรรวม) ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ร้อยละ 94 ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ใช้งานเฉลี่ยสูงสุด 6 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบกับอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่จำเป็นกับทุกคนและชาวเวียดนามมองเห็นประโยชน์ในการใช้อินเทอร์เน็ต เนื่องจากอินเทอร์จะก้าวข้ามเข้าสู่ระบบนิเวศเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติจัดอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGDI) ของเวียดนามอยู่ที่ 86 ดีขึ้น 2 อันดับ และได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียและโลก ขณะที่ ปัจจุบัน ผลการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่อันดับที่ 6 รองจากฟิลิปปินส์ บรูไน ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์

ที่มา : https://vietreader.com/business/finance/27149-vietnam-ict-industry-reaches-estimated-us126-billion-revenue-in-2020.html

กนอ.ประกาศเดินหน้าแผนปี’64 ศูนย์กลางฐานการผลิตของภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Industry Toward 2021” ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปี 2564 หลังสถานการณ์โควิด-19 ในงานฉลองครบรอบ 48 ปี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) “The Journey of Sustainable Partnership” ว่า ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงฯได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายหลายประการที่เป็นจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนา ประการแรก คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งผลักดันมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เพื่อขยายผลการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุม ประการที่สอง : การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ช่วยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากด้วยการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน ประการที่สาม : การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมที่เป็น มิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการผ่านโครงการ Factory 4.0 การยกระดับสถานประกอบการสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2486117

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชากล่าวถึงการถูกขัดขวางการส่งออกด้วยปัจจัยหลายประการ

กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 30,000 ตัน ในช่วงปี 2009 และ ทางภาครัฐบาลกัมพูชาได้มีการใช้นโยบายในการช่วยกระตุ้นการส่งออกซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีการส่งออกข้าวสารโดยประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยในปี 2015 รัฐบาลตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 1 ล้านตัน ภายในปี 2020 ซึ่งคนวงการข้าวกล่าวว่าปัญหาต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขมาหลายปี แม้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค (TWG) ด้านข้าวเมื่อ 5 ปีก่อน ไปจนถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคงต้องการได้รับการพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสามารถแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระบบชลประทานของประเทศไม่ได้รับการออกแบบและจัดการที่ดีมากในอดีต โดยในปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกที่ 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นข้าวหอมประมาณ 421,132 ตัน ตามที่กระทรวงเกษตรระบุ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779265/rice-exports-hindered-by-a-number-of-factors-says-an-insider/