ราคามะเขือเทศเมืองอ่องป๊าน พุ่ง ! ได้ราคาดี

จากข้อมูลของพ่อค้าท้องถิ่น ผลผลิตมะเขือเทศจากเมืองอ่องป๊าน ทางตอนใต้ของรัฐฉานขายได้ราคาในเมืองมโหย่ติ เขตมะกเว โดยราคามะเขือเทศอยู่ระหว่าง 700 ถึง 1,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม)  เมื่อประมาณสองสัปดาห์ก่อน และตอนนี้พุ่งเป็น 1,400 จัตต่อ viss ซึ่งเมื่อผู้ค้ารับซื้อมะเขือเทศจากเมืองอ่องป๊าน ดังนั้นมะเขือเทศจากภูมิภาคอื่นจึงน้อยลง ราคาปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะราคาน้ำมันในการขนส่งที่สูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/aungban-tomatoes-fetch-good-prices/

ราคาน้ำตาลเคลื่อนไหวผันผวน หนุนราคาอ้อยพุ่งขึ้น 60,000 จัตต่อตัน

ชาวไร่อ้อยจากตำบลที่-กไหย่ง์ อำเภอกะตา  เขตซะไกง์ เผย หลังขึ้นราคาน้ำตาล ราคาอ้อยพุ่งขึ้นเป็น 60,000 จัตต่อตัน จากปีที่แล้วอยู่ที่ 43,000 จัตต่อตัน ในช่วงฤดูหีบอ้อยที่ผ่านมาเก็บเกี่ยวอ้อยได้เพียง 400,000 ตันทั่วประเทศ ลดลง 100,000 ตันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนต้นทุนการเพาะปลูกต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 600,000-700,000 จัต และหนึ่งเอเคอร์เก็บเกี่ยวอ้อยได้ประมาณ 30 ตัน ปัจจุบันมีการปลูกอ้อยประมาณ 65,850 เอเคอร์ในจังหวัดชเวโบ จังหวัดกั่นบะลู และจังหวัดกะทะ ของเขตซะไกง์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ราคาอ้อยถูกกำหนดไว้ที่ 40,000 จัตต่อตัน ในปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-hike-rally-continues-sugarcane-price-surges-to-over-k60000-per-tonne/

ข้าวเปลือกเก่า เมืองบ้านเมาะ เขตซะไกง์ พุ่ง ตะกร้าละ 8,000 จัต

ข้าวเปลือกเก่าขายในราคา 8,000 จัตต่อตะกร้า (1 ตะกร้าเท่ากับ 46 ปอนด์) ของเมืองบ้านเมาะ อำเภอกะตา เขตซะไกง์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยราคาก่อนหน้าอยู่แค่ 4,000 จัตต่อตะกร้า จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ปีนี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 80 ถึง 100 ตะกร้าต่อเอเคอร์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกในบ้านเมาะ มากกว่า 4,000 เอเคอร์ และชาวนามักปลูกข้าวพันธุ์ชิน 3 ทั้งนี้ราคาข้าวเปลือกตามเกณฑ์ที่รับซื้อ อยู่ที่ความชื้น 14% ตั้งราคาไว้ที่ 540,000 จัตต่อ 100 ตะกร้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/old-rice-paddy-fetches-k8000-per-basket-in-bamauk-township/#article-title

จีนไฟเขียวนำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมา

ประเทศจีน ไฟเขียวอนุญาตให้นำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมาได้แก่ อ้อย ยางพารา ทรากาคานกัม (tragacanth gum) และฝ้าย ผ่านมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ในรัฐฉาน แต่ทั้งนี้ต้องรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเสียก่อน ซึ่งก่อนหน้าจีนปิดด่านชายแดนทั้งหมดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยปกติแล้ว เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด อ้อย และพริก ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut Make Pack) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค จากข้อมูลพบว่า มูลค่าการนำเข้าผ่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ อยู่ที่ 461.378 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ซึ่งลดลง 541.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-greenlights-import-of-myanmar-industrial-crops/#article-title

ค้าต่างประเทศเมียนมา ลดฮวบ 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าระหว่างของเมียนมา ณ วันที่ 22 ต.ค.65 ในปีงบประมาณย่อย พ.ศ.2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ดิ่งลง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือ 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว.การค้าชายแดนลดลงเนื่องจากการปิดด่านชายแดนโดยคู่ค้าหลักอย่างจีนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นกว่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันผู้ค้ามีปัญหาในการทำธุรกิจเนื่องจากข้อจำกัดของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ โดยสินค้าส่งสำคัญ ได้ แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ภาคการส่งออกของประเทศพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เน้นลดขาดดุลการค้า ส่งเสริมการส่งออก และกระจายตลาดให้มากขึ้น จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ การค้าระหว่างประเทศในปีงบประมาณ 2563-2564 อยู่ที่ 29.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-down-by-263-mln-this-fy/#article-title

ถั่วดำ เป็นที่ต้องการในตลาดมัณฑะเลย์

ถั่วดำ ผลผลิตในเขตชลประทานจากเมืองมาดายา ซิงกู เมียง โมนยวา และเยซาเกียว เป็นที่ต้องการในตลาดมัณฑเลย์ ส่งผลให้ราคาถั่วดำพุ่งสูงขึ้น โดยราคาเมื่อปีที่แล้ว ถั่วดำต่อถุงราคาอยู่ที่ 85,000 จัต แต่ในปีนี้ พุ่งเป็น 130,000 จัต ในช่วงเวลาเดียวกัน เทรดเดอร์คาดการณ์ว่าสต็อกผลผลิตถั่วคาดว่าจะต่ำในปีนี้เนื่องจากความต้องการนำเข้าอย่างต่อเนื่องจากอินเดีย แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการเพาะปลูกเพราะเป็นฤดูเก็บเกี่ยวใหม่ ในบรรดาการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาร์ ถั่วดำเป็นพืชส่งออกที่ทำกำไรได้มากที่สุด ผู้ค้าถั่วเห็นว่าควรขยายการเพาะปลูกเป็นพืชผลต่อเนื่องในภูมิภาคในลุ่มแม่น้ำเพราะทำการเพาะปลูกได้ง่าย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/irrigated-black-beans-enter-mandalay-market/#article-title