ต.ค. 64 ชาวประมงมีรายได้จากการส่งออกไประนอง 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายได้รวม 15.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกประมงมากกว่า 14,037 ตัน ไปยังจังหวัดระนอง ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 21 ต.ค. พ.ศ. 2564 เนื่องจากอำเภอเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประกอบธุรกิจการประมงเป็นหลัก ซึ่งช่วงนี้เป็นฤดูจับปลาชาวประมงมีกำไรจาการการจับปลา ได้อย่างน้อย 22 วันต่อเดือน โดยปัจจุบันราคาสินค้าประมงในตลาด ได้แก่ กุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ กก.ละ 60 บาท และเต่าขนาดเล็กราคา 90 บาท และขนาดใหญ่กว่า กก.ละ 120 บาท ซึ่งอนุญาตให้ใช้อวนจับปลาตามที่กรมประมงกำหนดเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/usd-15-42-million-earned-from-fishery-exports-to-ranong-in-october/#article-title

ตะนาวศรีเริ่มฤดู ตกปลาหมึก หลังหมดหน้าฝน

ราคาน้ำมันพุ่งสูงส่งผลให้ต้นทุนของการจับปลาหมึกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยที่เรือประมงนอกชายฝั่งมีต้นทุนในการออกเรือ ประมาณ 15 – 20 ล้านจัต ในขณะที่เรือชายฝั่งมีต้นทุนตั้งแต่ 5 -7 ล้านจัต จากราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นสามเท่าในปีนี้ ก่อนการระบาดของ COVID-19 พ่อค้าชาวจีนจะมารับซื้อปลาหมึกที่เมืองมะริด แต่ปัจจุบันจีนได้หันมาพึ่งตลาดไทยแทน สมาคมผู้ประกอบการปลาหมึกมะริด ให้ข้อมูลว่า การส่งปลาหมึกไปเมืองมะตองผ่านมะริดโดยไม่ต้องแปรรูปในห้องเย็นจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้  ซึ่งต้นทุนการแปรรูปที่อยู่ที่ประมาณ 500 จัตต่อกิโลกรัม แต่ขณะที่ต้นทุนการแปรรูปที่เมืองย่างกุ้งอยู่ที่ 150 จัต เมื่อผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/squid-fishing-season-starts-in-taninthayi/

ปีงบฯ 63-64 สิงคโปร์ทุ่มลงทุนในเมียนมา กว่า 429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานบริหารจัดการบริษัทและทะเบียนบริษัท (DICA) เผย ปีงบประมาณ 2563-2564 สถานประกอบการที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ นำเงินลงทุนในเมียนมาไปแล้วกว่า 429 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่ลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิต ซึ่งในปีงบประมาณนี้ เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 48 บริษัท รวมถึงการขยายทุนในวิสาหกิจและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา โดยมีญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 2 ด้วยทุนจดทะเบียนประมาณ 518.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 2 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา รองจากญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/singapore-puts-capital-of-429-mln-into-myanmar-in-2020-2021fy/

11 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 เมียนมา – สิงคโปร์ ดันยอดการค้ากว่า 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิงคโปร์นำเข้ากว่า 2,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ สิงคโปร์นำเข้ามากกว่า 2.770 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 63-64 โดยในปีงบประมาณ 60-61 การส่งออกของเมียนมาอยู่ที่ 753.495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ามูลค่า 3,084.631 ล้านดอลลาร์ โดยมีปริมาณการค้า 3,838.126 ล้านดอลลาร์ ในปีงบประมาณ 2561-2562 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 344.740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ามูลค่า 3,162.511 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปริมาณการค้า 3507.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 753.114 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 3,052.194 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปริมาณการค้า 3,805.307 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) ปี 63-68 เป็นโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทำงานร่วมกันเพื่อสร้างงานและโอกาสใหม่ๆ ให้กับชาวเมียนมา ซึ่งยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) ปี 2020-2025 จะสร้างโอกาสใหม่สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ส่งออกที่มีอยู่ในตลาดในประเทศและทั่วโลก

ที่มา: https://news-eleven.com/article/218047

ชาวสวนมะเขือเทศอำเภอปหวิ่น-พยู ปลื้ม ได้ราคางาม

ชาวสวนมะเขือเทศอำเภอปหวิ่น-พยู เขตมะกเว ล้วนปลื้มราคามะเชื่อเทศที่เพิ่มขึ้น ในปัจจุบันราคาจำหน่ายที่ 1,500 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ปีนี้เกษตรกรล้วนมีพอใจเพราะได้ผลผลิตที่ดีหลังมีฝนตกและน้ำบาดาลที่เพียงพอ โดยเกษตรกรในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะปลูกมะเขือเทศ พริก หัวหอม มะระ ฟักทอง แตงโม มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักโขม หัวไช้เท้า (Daikon) และผักเคว (Kayl)  ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัวเกษตรกร ขณะที่เดือนที่แล้ว ราคามะเขือเทศขายได้เพียง 400-500 จัตต่อ viss ซึ่งก่อนหน้านี้ เกษตรกรทำการเพาะปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม แต่ตอนนี้หันไปเพาะปลูกด้วยวิธีและเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pwintbyu-tomato-growers-enjoy-fairer-prices/

ชาวสวนพริก เฮ! ราคาพุ่ง สร้างผลกำไรงาม

ชาวสวนพริกจากอำเภอปยอ-บแว จังหวัดยะแม่ที่น เขตมัณฑะเลย์ ได้เฮหลังราคาพริกพุ่งสูงขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว นาย U Khin Maung Tint ชาวสวนพริกจากหมู่บ้าน Khin Gyi Ya ให้ข้อมูลว่าได้ปลูกพริกบนพื้นที่สองเอเคอร์ โดยใช้เวลาสามเดือน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้สัปดาห์ละครั้งและแต่ละครั้งได้ผลผลิตพริกแห้งได้ประมาณ 100 เม็ด ซึ่งหากดูแลให้ดีผลผลิตอาจเพิ่มได้อีกห้าหรือหกเท่า ในช่วงต้นฤดูพริกของปีนี้ ราคาพริกในตลาดปยอ-บแว อยู่ที่ 2,800 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในขณะที่พริกแห้งขายในราคา 3,300 จัตต่อ viss ชาวสวนพริกส่วนใหญ่ตากพริกด้วยแสงแดด มีเพียงไม่รายที่ใช้เตาอบพริกแห้ง ทั้งนี้เมียนมายังส่งออกพริกสดไปยังจีนและไทย และส่วนใหญ่ส่งออกพริกสดไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chilli-growers-earn-high-profits-as-chilli-prices-soar/#article-title

ปีงบฯ 63-64 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมา ลดฮวบ 7.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การค้าระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 อยู่ที่ 29.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 7.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 36.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค การส่งออกของประเทศพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์เมียนมาจึงพยายามลดการขาดดุลการค้า ส่งเสริมการส่งออก และเน้นกระจายตลาดให้มากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/external-trade-down-7-15-bln-this-fy/#article-title

ปีงบฯ 63 –64 เมียนมาส่งออกสัตว์น้ำลดฮวบ 8.6%

กระทรวงพาณิชย์ .เผย มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของเมียนมาร์ในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.-63-ก.ย.64) ลดลง 784.889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ต่ำกว่าถึง 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกมูลค่า 858.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2562-2563 สหพันธ์ประมงแห่งเมียนมา (MFF) พยายามขยายการส่งออก แม้มีการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบในการส่งออกทางทะเล การปิดพรมแดน และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ด้าน Mawlamyine Commodity Center ระบุ ราคาปลาลดลง แต่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น เช่น อวนจับปลา ราคาน้ำมัน ควบคู่ไปกับค่าเงินจัตที่อ่อนค่าของตลาดฟอเร็กซ์ MFF จึงหันไปมองตลาดบังคลาเทศและร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้การส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืน ณ ปัจจุบันการส่งออกประมงผ่านพรมแดนจีน-เมียนมาต้องหยุดชะงักหลังผลกระทบของโควิด-19  ซึ่งตลาดจีนคิดเป็นร้อยละ 65 ของการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดของเมียนมา :ซึ่ง MFF ระบุว่ามีเพียงข้อตกลงแบบ G2G เท่านั้นที่สามารถจัดการกับปัญหาการส่งออกสินค้าประมงได้ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aquaculture-exports-down-by-8-6-in-2020-2021fy/