‘เวียดนาม’ คาดว่าขึ้นเบอร์ 3 ของโลก ส่งออกข้าวปี 65

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่าเวียดนามจะก้าวขึ้นแท่นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 3 ของโลกในปีหน้า ด้วยปริมาณการส่งออกประมาณ 6.3 ล้านตัน ในขณะที่ ผลผลิตข้าวทั่วโลกตั้งแต่ปี 64-65 มีแนวโน้มแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 505..4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.9 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 63-64 และสิ่งที่น่าจับตามอง ได้แก่ บังกลาเทศ มาเลเซีย กัมพูชา จีน ไอวอรี่โคสต์ เกาหลีใต้ ปารากวัย ไต้หวัน (จีน) และไทย มีแนวโน้มผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ แผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวจนถึงปี 68 และเวียดนามได้ตั้งเป้ายอดส่งออกข้าวราว 5 ล้านตันต่อปี ผู้ส่งออกข้าวเริ่มปรับสัดส่วนพันธุ์ข้าวขาวมาเป็นข้าวหอมคุณภาพสูง ขณะเดียวกัน พร้อมเน้นตลาดระดับบนหรือตลาดไฮเอนด์ อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-lychees-with-origin-tracing-stamp-hit-shelves-in-france-866010.vov

ราคาข้าวในประเทศพุ่ง 2,000 จัตต่อถุง

ราคาข้าในประเทศเพิ่มขึ้น 2,000 วอนต่อถุง ปัจจุบันราคาข้าวมีมูลค่า 32,000-35,000 จัตต่อถุซึ่งงเป็นที่ต้องการของตลาดมาก คาดราคาข้าวดีดตัวก่อนเทศกาลติงจัน (เทศกาลปีใหม่เมียนมาในเดือนเมษายน) หลังจากนั้นไม่นาน ราคามักจะสูงขึ้น ในช่วงต้นมรสุม มักพบสต๊อกข้าวอยู่ในโรงสีแทนที่จะเป็นชาวนา ดังนั้น การขึ้นราคาจึงเกิดขึ้นท่ในช่วงที่อุปทานต่ำ ราคาข้าวมักจะพุ่งสู่จุดสูงสุดในเทศกาลติงจันและทาซวงแดง (ต.ค.-พ.ย.) แต่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวราคาก็จะตกต่ำลง ราคาอาจยังคงสูงอยู่ในขณะนี้ แต่ความต้องการในตลาดค้าปลีกนั้นไม่ค่อยดีนัก การส่งออกยังไม่แข็งแกร่งเช่นกัน ส่งผลให้ราคาไม่ดีดตัวขึ้นท่ามกลางอุปสงค์ที่ยังต่ำอยู่ ก่อนหน้านี้มีการซื้อขายข้าวและข้าวหักประมาณ 80,000 ถุงต่อวันที่ศูนย์ค้าส่งข้าวบุเรงนอง ในทางตรงกันข้ามปัจจุบันมีความต้องการลดลงเหลือประมาณ 30,000 ถุง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-rice-prices-up-by-k2000-per-bag/#article-title

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ส่งออกข้าวของเมียนมาลดฮวบ 30 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ 7 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้ (พ.ศ. 2563-2564) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 1.28 ล้านตันมีรายได้ 490.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 512,589 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าลดลงเหลือ 33.92 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าหลัก รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ โกตดิวัวร์ แคเมอรูน และกินีตามลำดับ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมีสัดส่วนการนำเข้า 20% ส่วนอีก 25% จะส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในแอฟริกา ในปีงบประมาณที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยจีนเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตามความต้องการจากประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์ โปแลนด์ กินีเ บลเยียมเซเน กัลอินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้การส่งออกประมาณ 16% ผ่านทางชายแดนส่วนที่เหลือส่งออกทางทะเล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-down-by-us-30-mln-in-seven-months-of-this-fy/

ความต้องการข้าวเพิ่มหลังโควิดคลี่คลาย หนุน ราคาข้าวพุ่ง

ราคาข้าวและพืชผลข้าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในตลาดในประเทศเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นผู้ค้าจากตลาดค้าส่งหลังการคลี่คลายของ COVID-19 ในประเทศ ราคาข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น 700-3,000 จัตต่อถุง ปัจจุบันราคาข้าวขยับอยู่ในช่วง 22,500 ถึง 50,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและสายพันธุ์ ส่วนตลาดต่างประเทศราคาข้าวส่งออกของเมียนมาต่ำกว่าของไทยและเวียดนาม แต่ยังสูงกว่าอินเดียและปากีสถานเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าว 720,000 ตันในช่วงไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค.63 – 15 ม.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการค้าชายแดน 308,000 ตันส่วนการค้าทางทะเล 418,000 ตัน ปีที่แล้วส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศ 66 ประเทศ จีนเป็นผู้นำเข้าหลักรองลงมาคือ ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ในปีงบประมาณ 60-61 เมียนมาส่งออกข้าวถึง 3.6 ล้านตัน นับเป็นสถิติการส่งออกข้าวสูงสุดตลอดกาล แต่การส่งออกลดลงเหลือ 2.3 ล้านตันในปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-prices-spike-up-on-local-demand/

ข้าวพันธุ์เวียดนาม “ST25” เป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก แต่เผชิญกับความเสี่ยงกับการสูญเสียแบรนด์

เครื่องหมายการค้า “สายพันธุ์ข้าว ST25” ของเวียดนาม ถือเป็นข้าวหอมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 มีแนวโน้มที่จะตกไปอยู่กับมือนักธุรกิจชาวอเมริกันในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทเวียดนามดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าล่าช้า ข้อเท็จจริงดังกล่าว ชี้ว่ามีจำนวนบริษัทสหรัฐฯ 5 แห่งอยู่ในขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสายพันธุ์ข้าว ST25 สิ่งนี้ได้ส่งสัญญาเตือนไปยังบริษัทในท้องถิ่นให้ปกป้องสินค้าเกษตรของเวียดนามในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ คุณ Nguyen Tri Hieu นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าสินค้าส่งออกทางการเกษตรของเวียดนามในตลาดโลกนั้น ยังมีสินค้าอีกจำนวนมากที่ตามหลังประเทศอื่น ในประเด็นของความน่าเชื่อถือของตราสินค้า สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการจดทะเบียนแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญายังคงเป็นจุดอ่อนของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม

ที่มา : http://hanoitimes.vn/local-enterprises-urged-to-learn-from-potential-loss-of-st25-rice-brand-in-us-317118.html

เวียดนามส่งออกข้าวไปไทย “พุ่ง”

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เผยว่าในช่วงกลางเดือนมีนาคม ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามรวม 214,670 ตัน เป็นมูลค่า 117.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.5% ในแง่ของปริมาณและ 40.5% ในแง่ของมูลค่า โดยเฉพาะตลาดไทยที่ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามพุ่ง 30 เท่า ด้วยปริมาณกว่า 16,250 ตัน จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดอื่น อาทิ กานา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟิจิและอินโดนีเซีย ประเทศดังกล่าวนำเข้าข้าวเวียดนามพุ่งอย่างมาก ด้วยอัตรา 74.4%, 302.9%, 500.5% และ 2,180% ตามลำดับ ทั้งนี้ ตามสถิติ ณ วันที่ 6 เม.ย. ราคาส่งออกข้างหัก 5% ลดลง 5-10 เหรียญสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่า 500 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องจากแนวโน้มราคาข้าวทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง ราคาข้าวของไทยและอินเดียปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากค่าเงินบาทและค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-exports-to-thailand-enjoy-surge-848681.vov

อาเซียนเล็งดัน ‘ข้าว-อาหาร’ ขึ้นบัญชีสินค้าจำเป็น

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม ระบุ สมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการขยายบัญชีสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมจากยาและเวชภัณฑ์ ที่เคยมีมติให้สมาชิกลดอุปสรรคการค้า และงดใช้มาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดด้านการไหลเวียนของสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงโควิด-19 ล่าสุดเห็นควรให้มีการเพิ่มรายการสินค้าจำเป็น เช่น ข้าว สินค้าเกษตร และอาหาร เพราะเป็นกลุ่มมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ หากมีอุปสรรคในการค้าขายจะไม่เป็นผลดีต่ออาเซียน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/931258

กัมพูชาเรียกร้องจีนสนับสนุนการนำเข้าข้าวสารเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) กล่าวว่ามีแผนที่จะเจรจาปัญหากับคู่ค้าของจีนในปีนี้ สำหรับการขอความสนับสนุนให้จีนเพิ่มโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาเป็น 500,000 ตัน ซึ่งกำหนดเดิมจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาไว้ที่ 400,000 ตัน โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้ 109.73 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขรายงานจาก CRF แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวในปี 2021 อยู่ในทิศทางที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่งผลให้เดือนมีนาคมปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834638/cambodia-wants-china-to-boost-milled-rice-imports/

กัมพูชาส่งออกข้าวไตรมาส 1 สร้างรายได้กว่า 110 ล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกข้าวสารในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้รวมกว่า 109.73 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขรายงานโดยสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2021 กำลังค่อยๆฟื้นตัว โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นจาก 41,949 ตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ 77,466 ตัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2021 เป็นช่วงที่กัมพูชาทำการส่งออกข้าวต่ำที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดย CRF กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งมอบสินค้าไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศล่าช้าโดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการส่งออกข้าว ที่ส่งผลทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834560/cambodia-generates-almost-110-million-from-milled-rice-exports-in-q1/

กัมพูชาส่งออกข้าวสารลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วง 2 เดือนแรกของปี มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 64.53 ล้านดอลลาร์ รวม 76,222 ตัน ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยปริมาณลดลงร้อยละ 44.16 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดตู้คอนเทนเนอร์และต้นทุนการขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 500 จากปี 2019 เมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมกราคม โดยการส่งออกข้าวสารในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย รายงานระบุเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวสารในเดือนมกราคมมีจำนวน 34,273 ตัน ส่งไปยัง 28 ปลายทาง ในเดือนกุมภาพันธ์การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 สู่ 41,949 ตัน ส่งออกไปยัง 35 ประเทศ ซึ่งจีนรวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊ายังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชา โดยตลาดดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 49.37 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับถัดไปคือสหภาพยุโรปโดยมีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.91 คิดเป็น 18,996 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820068/milled-rice-exports-decline-year-on-year/