รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นเยือนสปป.ลาว

รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ได้เดินทางเยือนสปป.ลาวเพื่อฉลองครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสปป.ลาวและญี่ปุ่น เสริมสร้างมิตรภาพอันยาวนานและความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ ได้มีการหารือกันถึงความเป็นไปได้ของการอนุญาตให้ผู้อยู่อาศัยในประเทศ นักลงทุนและนักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างสองประเทศได้ในขณะที่ยังคงข้อกำหนดของการกักกันเป็นเวลา 14 วันที่บ้านหรือในพื้นที่อื่นที่กำหนดไว้ ผู้เดินทางจะได้รับการตรวจสอบตลอดการเข้าพัก แต่จะช่วยให้การค้าดำเนินต่อไปได้โดยฝ่ายสปป.ลาวมีความกระตือรือร้นที่จะเห็นธุรกิจของญี่ปุ่นย้ายการดำเนินงานไปยังสปป.ลาวมากขึ้น และยังหารือถึงความร่วมมือในด้านภัยพิบัติและการป้องกันโรค ความมั่นคงสาธารณะเสถียรภาพทางการเงินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของทางด่วนเวียงจันทน์ – ฮานอยเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมต่อ และมีการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคซึ่งรวมถึงปัญหาทะเลจีนใต้และสถานการณ์ของเกาหลีเหนือตลอดจนความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ หลังจากการประชุมได้มีการจัดพิธีลงนามเพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความช่วยเหลือแบบให้เปล่า 2 โครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่โรงเรียนฝึกหัดครู โรงเรียนในเครือ 8 แห่งในสปป.ลาว และการจัดหารถโดยสารสาธารณะใหม่ที่จะให้บริการในเมืองเวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังมีพิธีมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะนำไปสู่การรับมือกับโรคโควิด -19 ในสปป.ลาว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/08/24/japanese-foreign-minister-motegi-visits-laos/

นักลงทุนญี่ปุ่นเล็งกลยุทธ์จับพาร์ทเนอร์ M&A ในเวียดนาม

ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวนมากเล็งซื้อบริษัทไอทีเวียดนามจากการควบรวมกิจการ (M&A) เพื่อขยายการผลิตและธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากธุรกิจด้านไอทีแล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจในสาขาธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน อาหารทะเลแปรรูปและเภสัชกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมการสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ธุรกิจ เพื่อความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าตัวเลขของผู้ประกอบการญี่ปุ่น 1,400 ราย จาก 3,500 รายที่ทำการสำรวจในปี 2562 พบว่านักธุรกิจญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องการขยายการผลิตไปเวียดนามอีก 3 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-investors-seek-ma-partners-in-vietnam/181587.vnp

ญี่ปุ่นครองแชมป์ปักหลักลงทุนในนครโฮจิมินห์

ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน พบว่ามูลค่าเงินทุนของบริษัทญี่ปุ่นไปยังเมืองโฮจิมินห์ อยู่ที่ราว 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.39 ของเงินลงทุนรวมจากต่างชาติในเมืองดังกล่าว ซึ่งสาขาธุรกิจที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด คือ วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยมูลค่า 3.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาอิเล็กทรอนิกส์, บริการ, เคมีภัณฑ์, ยาง, พลาสติก, เครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) กล่าวว่าในเดือน มิ.ย. จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่น 30 ราย ได้ขยายการผลิตไปยังเวียดนาม โดยจากผลสำรวจของบริษัทญี่ปุ่นราว 10,000 แห่ง ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 41 มองว่ากำลังพิจารณาในการขยายการดำเนินงานไปยังเวียดนามในอีก 3 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯ ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

ที่มา : https://fintel.vn/japan-is-the-largest-foreign-investor-in-hcmc/

ทุนญี่ปุ่น เบนเข็มสู่อาเซียน ใครได้ประโยชน์?

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (มิติ) ของญี่ปุ่น ได้ประกาศว่ามีกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นรวม 87 แห่งมีความประสงค์ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้เงินอุดหนุนในการโยกย้ายหรือกระจายการลงทุนในวงเงิน 70,000 ล้านเยน หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาฐานการผลิตในจีน และเพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สาเหตุการย้ายฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นออกจากจีน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชน ทั้งนี้ 87 บริษัทญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตออกจากจีนแล้วไปไหน พบว่า 57 บริษัทจะย้ายการดำเนินการกลับไปญี่ปุ่น โดยใช้วัสดุท้องถิ่นทั้งหมด ขณะที่อีก 30 บริษัทจะย้ายฐานการผลิตมายังอาเซียน ซึ่งพบว่าจะย้ายมาเวียดนาม 15 บริษัท อาทิ บริษัทผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดไดร์ฟ บริษัทผลิตแร่เหล็กหายาก, ไทย 6 บริษัท ได้แก่ บริษัทผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ บริษัทผลิตโลหะผสม บริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ บริษัทผลิตเสื้อกาวน์, มาเลเซีย 4 บริษัท อาทิ บริษัทผลิตถุงมือยาง, ฟิลิปปินส์ 3 บริษัท, ลาว 2 บริษัท, อินโดนีเซีย 1 บริษัท และเมียนมา 1 บริษัท

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894038?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic=10473&index

การค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.7 ภายในช่วงครึ่งปีแรก

ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.01 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยตัวเลขประกาศจาก JETRO ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 791.6 ล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าอยู่ราว 218.6 ล้านดอลลาร์ จากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 14.6 โดยกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของกัมพูชาไปญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันมีโครงการลงทุนของญี่ปุ่น 137 โครงการ ในกัมพูชามูลค่ารวม 2.5 พันล้านดอลลาร์ มุ่งเน้นไปที่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรและวัตถุดิบแปรรูปอาหาร โรงแรม และการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 คิดเป็น 2,292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755518/cambodia-japan-trade-volume-decreases-slightly-by-3-7-percent-to-1-01-billion-in-h1-2020/

ญี่ปุ่นแก้ไขข้อตกลงการค้าระหว่างอาเซียนรวมถึงกัมพูชา

ข้อตกลงการค้าเสรีที่มีการปรับปรุงระหว่างญี่ปุ่นและกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับ 5 ประเทศแล้ว ได้แก่ สปป.ลาว เมียนมา สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม ส่วนสมาชิกที่เหลืออีก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์ จะเข้าร่วมเมื่อได้ข้อสรุปขั้นตอนต่างๆของแต่ละประเทศเสียก่อน ซึ่งภายใต้สนธิสัญญาฉบับปรับปรุงนี้ประเทศต่างๆ จะต้องรักษาความโปร่งใสในการควบคุมการให้บริการและไม่เลือกปฏิบัติต่อนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงกฎสำหรับผู้เดินทางชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาและพักอาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ โดยการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในปีที่แล้วสู่ 2,292 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานล่าสุดจากองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศผู้นำเข้าจากกัมพูชา ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2019 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นมูลค่ารวมราว 1,730 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนการนำเข้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 เพิ่มขึ้น เป็น 562 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50751316/revised-trade-pact-between-japan-asean/

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำนวน 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินทุนสนับสนุนโครงการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (JDS)  2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่สปป.ลาววัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการยกระดับความรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ ผ่านทุนการศึกษามูลค่ากว่า 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโครงการจะดำเนินการตั้งแต่เดือนนี้จนถึงเมษายน 2567 มีทุนการศึกษากว่า 20 ทุนต่อปีในการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่สถาบันและมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น โครงการจะดำเนินการโดย สถาบันJICA และกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา โดยโครงการ JDS เปิดดำเนินการในสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งเจ้าหน้าที่กว่า 420 คนไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ตามวัตถุประสงค์โครงการที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว โครงการ JDS ยังได้ตั้งเป้าหมายเยาวชนที่มีความสามารถสูง (ส่วนใหญ่ทำงานส่วนภาครัฐ) ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในฐานะผู้นำในอนาคตจะเป็นส่วนสนับสนุนให้การเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Investment141.php

บริษัทญี่ปุ่น 15 ราย ย้ายสายการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม

“เวียดนามคาดว่าจะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่น 15 แห่งที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากจีนและทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดความหลากหลาย” กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เปิดเผยรายชื่อบริษัท 87 แห่งที่ได้รับเงินทุน 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการ ตามรายงานของสำนักข่าว Nikkei Asian Review ทั้งนี้ มีบริษัท 30 แห่งที่ย้ายฐานการผลิตไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว รวมทั้งเวียดนามและสปป.ลาว ขณะที่ อีก 57 แห่งมึจุดหมายอยู่ที่ญี่ปุ่น โดยเป้าหมายของการย้ายสายการผลิตดังกล่าว เพื่อที่จะลดการพึ่งพาการผลิตของญี่ปุ่นในจีน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นจุดมุ่งหมายของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หลังจากเวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับชุมชนนานกว่า 3 เดือน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/15-japanese-firms-to-move-china-production-lines-to-vietnam-416280.vov

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว

รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (317 ล้านเยน) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสปป.ลาวอย่างยั่งยืนโดยเงินจะถูกนำไปใช้ภายใต้ “The Project for Human Resource Development Scholarship” ได้มีพิธีลงนามในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ณ กระทรวงการต่างประเทศในเวียงจันทน์ ภายในงาน Mr. Takewaka เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสปป.ลาวกล่าวว่า “รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และจะมอบทุนการศึกษา 22 ทุนแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสปป.ลาวเพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นโดยจะมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 370 คนที่จะทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทรวมถึงปริญญาเอกเมื่อโครงการเริ่มต้นขึ้น” ภาคการศึกษาเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวและญี่ปุ่น เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_137.php

บริษัทจากญี่ปุ่นวางแผนร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ญี่ปุ่นประกาศถึงการกระชับกฎเกณฑ์สำหรับการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหินในต่างประเทศในด้านสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่ารัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะกระชับกฎการสนับสนุนการลงทุนบนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งรัฐบาลในปัจจุบันให้เงินทุนแก่ บริษัท ญี่ปุ่นหากโครงการเข้าคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยการลงทุนของญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้วคิดเป็นจำนวนกว่า 4.8 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการลงทุนบนโรงไฟฟ้าถ่านหินในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย เวียดนามและบังคลาเทศ ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเป็นเสาหลักของการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานสำหรับญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743959/japan-to-limit-financing-of-overseas-coal-power-plants/