กัมพูชาได้รับประโยชน์จากการกระจายการลงทุนไปยังเมียนมาที่คาดว่าจะลดลง

การปฏิวัติในเมียนมาคาดส่งผลประโยชน์เชิงบวกจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในเมียนมาไปยัง กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย และไทย เป็นสำคัญจากปัจจัยสนับสนุนทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งจากรายงานผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าการส่งออกของไทยไปยังเมียนมาคาดว่าจะลดลงสูงสุด 9.6 หมื่นล้านบาท ในปีนี้ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองของเมียนมา ซึ่งผลกระทบจากการปฏิวัติในเมียนมา 100 วันหลังการปฏิวัติครั้งที่ 4 โดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ลาย (MIN AUNG HLAING) ได้คาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาในปี 2021 จะติดลบร้อยละ 10 ถึงลบร้อยละ 20 โดยไตรมาส 1/2021 เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวร้อยละ 2.5 สูญเสีย FDI กว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีปริมาณการว่างงานกว่า 6 แสนคน ค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าร้อยละ 18 (24/5/2564) และรายได้ของครัวเรือนเมียนมาลดลงถึงร้อยละ 83 ส่วนราคาน้ำมันเพิ่มร้อยละ 15 ราคาข้าวขายปลีกเพิ่มร้อยละ 35 ทั้งนี้ FDI ของเมียนมาที่ลดลงจะอยู่ในกลุ่ม พลังงาน อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ น้ำมันและก๊าซ ขนส่ง และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50864456/cambodia-stands-to-benefit-from-fdi-diversion-as-exports-to-myanmar-expected-to-drop/

โควิด! พ่นพิษฉุดราคาส่งออกมะม่วงเซ่งตะโลงไปจีน ดิ่งลง

สมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีแห่งเมียนมา เผย ราคามะม่วงเซ่งตะโลงส่งออกไปจีนลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จาก 120 หยวนต่อตะกร้า แต่ในปีนี้ราคาร่วงเกลือ 100 หยวนต่อตะกร้า (1 ตะกร้าละ น้ำหนัก 16 กิโลกรัม) ผลจากการที่รถบรรทุกหลายพันคันติดอยู่ที่ชายแดนเมียนมา – จีน จากการปิดด่านเพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้คุณภาพมะม่วงลดลงและราคาก็ลดลงตามไปด้วย ปัจจุบันมีการส่งออกทางรถบรรทุกมะม่วงประมาณ 10 หรือ 15 คันไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่ผลผลิตมาจากเมืองสะกายและเมืองกะธา โดยมะม่วงส่วนใหญ่จะปลูกกันในเขตอิรวดีบนพื้นที่ประมาณ 46,000 เอเคอร์ ตามด้วยเขตพะโค 43,000 เอเคอร์ เขตมัณฑะเลย์ 29,000 เอเคอร์ รัฐกะเหรี่ยง 24,000 เอเคอร์ รัฐฉาน 20,400 เอเคอร์ และเมืองซะไกง์ 20,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-seintalone-mango-exported-to-china-plummets-this-year/#article-title

พ่อค้าถั่วชี้ เกษตรควรปลูกถั่วดำ ถั่วแระเพิ่ม คาดราคาพุ่งขึ้นถึงปีหน้า

ผู้ค้าถั่ว เผย เกษตรกรควรหันมาปลูกถั่วดำและถั่วแระให้มากขึ้นเนื่องจากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงปีหน้าจากความต้องการของอินเดียที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอินเดียขอโควต้าการนำเข้า 400,000 ตัน ขณะที่สต๊อกถั่วมีประมาณ 250,000 ตัน ส่งผลให้ราคาเพิ่มตามไปด้วย โดยถั่วดำจะทำการเพาะปลูกในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคม ในเขตพะโคและเขตอิระวดี พื้นที่ตอนบนของมัณฑะเลย์และเขตมะกเว ส่วนถั่วแระจะมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วประเทศและส่วนใหญ่ผลิตในตอนกลางของประเทศ ราคาของถั่วดำและถั่วแระขึ้นอยู่กับความต้องการของอินเดีย โดยราคาส่งออกถั่วเมียนมาลดลง 97,000 จาก 120,000 จัตในปี 2558 ซึ่งตั้งแต่ปี 60 จะเห็นว่าราคถั่วเมียนมาลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อปีที่แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของอินเดียส่งผลต่อพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเริ่มหันมานำเข้าถั่วจากเมียนมามากขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 64 ราคาถั่วดำอยู่ที่ 100,000-130,000 จัตต่อ 60 visses ในขณะที่ถั่วแระราคาอยู่ที่ 86,000-95,000 จัตต่อ 60 visses (1 visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-black-beans-pigeon-peas-to-be-grown-as-prices-likely-to-rise-higher-until-next-year/

พิษปฏิวัติฉุดจีดีพีเมียนมาปี 64 ดิ่ง 10% หวั่นกระทบส่งออกไทยสูญ 9.6 หมื่นล้าน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผย 100 วันหลัง “มิน อ่อง ลาย” ปฏิวัติ ทุบจีดีพีเมียนมาปี 64 ติดลบ 10% ขณะนี้มูลค่าการส่งออกของไทยไปเมียนมา คาดว่าจะ -51.6% ถึง – 82.2% หรือมีมูลค่าลดลง 60,670 ถึง 96,590 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทย -0.8% ถึง -1.3% สำหรับ 10 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเสี่ยงที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมาก เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล เหล็ก ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เภสัชภันฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเซรามิก ทั้งนี้คาดว่า FDI ในเมียนมาปี 2564 จะ -76.1% ถึง -85.4% หรือมีมูลค่าหายไป 202,902 ล้านบาท ถึง 227,698 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-677777

เกษตรกรเมือง Kyaukse ปลื้ม ขายมะนาวได้ราคาดี

เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวเมือง Kyaukse เขตมัณฑะเลย์เผยค่อนข้างพอใจกับการขายผลมะนาว เนื่องจากปลูกและดูแลได้ง่าย ให้ผลผลิตสูง และเก็บจำหน่ายได้เกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้พบว่าราคาหน้าสวนขายได้ 100-150 จัตต่อ 1 ลูกขึ้นอยู่กับขนาด สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lemon-growers-in-kyaukse-happy-with-good-sale-of-lemon-fruits/#article-title

EIC CLMV Outlook Q2/2021

โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออกในกลุ่ม CLMV แต่การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในภูมิภาค ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาจะเป็นแรงกดดันสำคัญต่อเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2021 โดยในส่วนของภาคส่งออกของ CLMV คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเวียดนามมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นมากสุดในภูมิภาค จากความแข็งแกร่งด้านการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ภาคเศรษฐกิจในประเทศ การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในภูมิภาค CLMV ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 จะเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศให้ปรับลดลง โดยในส่วนของเวียดนาม ภาครัฐสามารถควบคุมการระบาดในระลอกก่อนได้เป็นอย่างดี ทำให้เศรษฐกิจในประเทศไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ยังต้องจับตาการระบาดระลอกล่าสุดช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนามในระยะต่อไป ขณะที่ในกรณีของประเทศอื่น พบว่าเมียนมายังต้องเผชิญการระบาดที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2020 ส่วนกัมพูชาและ สปป.ลาวกำลังเผชิญการระบาดระลอกใหม่อย่างรุนแรงเป็นครั้งแรกในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการ lockdown อย่างเข้มงวด ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและเป็นตัวแปรสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV ในปี 2021 นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้นในเมียนมาก็มีแนวโน้มส่งผลกระทบอย่างหนักและยืดเยื้อต่อเศรษฐกิจ ทำให้ EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจเมียนมาลงอย่างมีนัยสำคัญ

จากการที่ประเทศ CLMV น่าจะยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในภายในปี 2021 ดังนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก ได้แก่

  1. ขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินเพื่อพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและจำกัดผลกระทบจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และ
  2. ปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ ความรุนแรงทางการเมืองของเมียนมา และปัญหาหนี้สาธารณะใน สปป. ลาว

กัมพูชา : ปัจจัยบวก

  1. ภาคส่งออกจะกลับมาขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
  2. รัฐบาลยังมีความสามารถทำนโยบายที่เพียงพอ ทำให้สามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง

กัมพูชา : ปัจจัยลบ

  1. การระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงของ COVID-19 และมาตรการ lockdown ที่กลับมาเข็มงวดจะจำกัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  2. การฟื้นตัวจะยังคงอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนหน้า เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มซบเซา

สปป.ลาว : ปัจจัยบวก

  1. การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโครงการใหญ่ๆ จะเป็นแรงสนับสนุนหลักของการเติบโตในปีนี้
  2. การส่งออกมีแนวโน้มได้อานิสงค์จากเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านที่ฟื้นตัวดีขึ้น และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น

สปป.ลาว : ปัจจัยลบ

  1. การยกระดับมาตรการ lockdown จะสร้างแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทำให้การปิดพรมแดนยืดเยื้อออกไปอีก
  2. หนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงจะจำกัดความสามารถในการทำนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เมียนมา : ปัจจัยลบ

  1. การปราบปรามของรัฐบาลทหารและขบวนการอารยะขัดขืนโดยมวลชน (CDM) จะส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชน
  2. ธุรกิจและโรงงานหลายแห่งปิดตัวลง จากปัญหาขาดแคลนแรงงานและแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวแย่ลง
  3. บริษัทต่างชาติมีแนวโน้มยับยั้งคำสั่งซื้อและเลื่อนโครงการลงทุนออกไป เพราะอาจเสี่ยงต่อชื่อเสียงองค์กร
  4. นโยบายการคลังที่เป็นข้อจำกัดและทิศทางเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนและสร้างความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในระยะกลาง

เวียดนาม : ปัจจัยบวก

  1. ภาคส่งออกเติบโตแข็งแกร่งจากการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ยังคงเป็นปัจจัยขับปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ
  2. กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ถอดเวียดนามออกจากรายชื่อประเทศผู้บิดเบื่อนค่าเงิน ส่งสัญญาที่ดีต่อการค้าเวียดนาม-สหรัฐฯ
  3. FDI เข้าเวียดนามส่งสัญญาฟื้นตัวแข็งแกร่งตามแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ และความสามารถในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ผ่านข้อตกลงการค้า รวมถึงจำนวน/ฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่

เวียดนาม : ปัจจัยลบ

  1. การควบคุมการระบาดของ COVID-19 หลานคลัสเตอร์ในเดือนเมษายน-พฤษภาคมยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง

อ่านต่อ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7594

5 เดือนแรกของงบฯ ปี 63-64 เมียนมานำเข้าเหล็กมากกว่า 315 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค. – ก.พ. )  มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของเมียนมามีมูลค่าประมาณ 315.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของกรมศุลกากรเมียนมา ปัจจุบันเมียนมามีความต้องการเหล็กประมาณ 2.5 ล้านตันต่อปีและนำเข้าถึง 92% จากข้อมูลของ Myanmar Steel Association (MSA) ตลาดมีแนวโน้มเติบโตถึง 5.4 ล้านตันต่อปีในปี 2573 ดังนั้นจึงมีการจัดตั้ง บริษัท เอ็มเอสเอ จำกัด (มหาชน) ขึ้น และพยายามตั้งเขตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าเพื่อลดการนำเข้าและผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการจะอยู่ในเขตอิระวดี เขตตะนาวศรี รัฐยะไข่ และรัฐมอญ ดังนั้นรัฐจึงสนับสนุนโดยการลดหย่อนภาษีและสิทธิในที่ดินเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายและการทุ่มตลาด เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเหล็กมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม โครงการนี้จึงมีความจำเป็นเพราะถือว่าเป็นอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้จีนเป็นซัพพลายเออร์หลักของเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากอินเดียและสาธารณรัฐเกาหลี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-iron-steel-materials-imports-exceed-315-mln-in-five-months/