ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในภาคพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานหมุนเวียนของญี่ปุ่นสองแห่งวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบและแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของแหล่งจ่ายพลังงานปกติของกัมพูชา ซึ่งรายงานโดยสำนักข่าวญี่ปุ่น NNA กล่าวว่าทั้งสอง บริษัท คือ Aura Green Energy Co และผู้ให้บริการระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ WWB Corp. ได้ร่วมมือกันเพื่อเปิดตัวธุรกิจผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานโดยใช้ชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชาภายในปี 2564 โดยการลงทุนในพลังงานทดแทนเช่นพลังงานเชื้อเพลิงแกลบจะช่วยให้ผู้ผลิตข้าวลดต้นทุนลง ซึ่งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในปี 2562 อนุมัติเงินกู้ 7.64 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ 100 เมกะวัตต์ (mW) ในประเทศกัมพูชาเพื่อช่วยในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและกระจายพลังงานให้ทั่วถึงไปยังชุมชนมากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50718101/japan-jumps-in-on-energy/

Uniqlo เตรียมเปิดร้านแห่งที่ 2 นครโฮจิมินห์ ในเดือนหน้า

ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าชั้นนำของญี่ปุ่น ‘Uniqlo’ เตรียมเปิดสาขาที่ 2 ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า ‘SC VivoCity’ เมืองโฮจิมินห์ เขต 7 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม แสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างต่อเนื่องในตลาดนี้ ซึ่งนับว่าเป็นสาขาที่ 3 ของยูนิโคล่ในเวียดนาม หลังจากเปิดสาขาแรกที่ห้างสรรพสินค้า ‘Parkson’ ในโฮจิมินห์และสาขา 2 ที่ ‘Vincom Pham Ngoc Thach’ ในฮานอย ทั้งนี้ ขนาดพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร พร้อมด้วยสินค้า ‘LifeWear’ สำหรับผู้ชาย ผู้หญิง เด็กและทารกอย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับคอลเลกชันฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน และข้อเสนอที่มีอยู่จำกัดในช่วงสัปดาห์เปิดร้าน นอกจากนี้ มาตรการของภาครัฐในการดูแลความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางยูนิโคล่จะปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข็มงวด รวมถึงให้สวมหน้ากากและทำการตรวจสอบอุณหภูมิร่างกาย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/uniqlo-to-open-second-store-in-hcm-city-next-month-413067.vov

เวียดนามส่งออกลิ้นจี่ชุดแรกไปยังญี่ปุ่น ในสิ้นเดือนพ.ค.

นายเหงียน ซวน กวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เมื่อวันที่ 26 เม.ย. เดินทางไปยังจังหวัดทางตอนเหนือ ‘บั๊กซาง’ เพื่อเตรียมส่งออก หน่วยงานท้องถิ่นกล่าวว่าทางจังหวัดได้ร่วมมือกับสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช ในการเลือกรหัสพื้นที่ 19 ด้วยขนาด 103 เฮกตาร์และผลผลิตประมาณ 600 ตัน รวมถึงขอให้ทางญี่ปุ่นอนุมัติรหัสดังกล่าว ซึ่งประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัด ระบุเสริมว่าทางจังหวัดพร้อมที่จะส่งออกผลไม้คุณภาพสูงและธุรกิจท้องถิ่นได้ทำสัญญาส่งออกไปยังญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในปี 2563 จังหวัดบั๊กซางมีพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่ 28,000 เฮกตาร์ รวมถึงพื้นที่เก็บเกี่ยวมากกว่า 160,000 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 10,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ผลิตลิ้นจี่ตรงตามมาตรฐานฉลากสีเขียว ‘VietGAP’ ด้วยพื้นที่ประมาณ 15,000 เฮกตาร์และผลผลิต 110,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 และ 69 ของรวม ตามลำดับ อีกทั้ง มีพื้นที่เพาะปลูก 80 เฮกตาร์ ภายใต้มาตรฐาน ‘GlobalGAP’ ด้วยผลผลิตประมาณ 500 ตัน เพื่อเตรียมส่งออกไปยังตลาดระดับสูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-to-export-first-batch-of-litchi-to-japan-in-late-may/172368.vnp

เวียดนามคาดไตรมาสแรก ยอดส่งออกกุ้งพุ่งไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมกุ้งเวียดนามในตลาดสำคัญสดใส ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดนเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) กล่าวว่า ญี่ปุ่นติด 5 อันดับแรกของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวม หลังจากในเดือนก.พ. ส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งขึ้นร้อยละ 63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกกุ้งอันดับ 2 ของเวียดนามในไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงกุ้งด้วย ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัส ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 115.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในบรรดาตลาดส่งออกสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกอื่นๆ กลับมีมูลค่าลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้และจีน เป็นต้น ถึงแม้ว่าไม่ทราบความชัดเจนเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-high-shrimp-export-growth-to-us-and-japan-in-q1/172232.vnp

มูลค่าทางการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 13% ในปีที่แล้วมาอยู่ที่ 2,292 ล้านเหรียญสหรัฐจากรายงานล่าสุดขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยการเพิ่มขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้นำเข้าหลักจากกัมพูชา ซึ่งรายงานระบุว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2562 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นมูลค่า 1,730 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนการนำเข้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 33.4% ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 562 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศในปี 2019 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14.53 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้น 12.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยการนำเข้ารวมของกัมพูชามีมูลค่าอยู่ที่ 22.19 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วคิดเป็นเพิ่มขึ้น 18.6% ในปีที่แล้ว ซึ่งญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ โดยสหรัฐฯเป็นอันดับแรก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50709857/cambodia-and-japan-2-3-billion-record-trade-in-2019/

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกว่า 47,000 ล้านเยนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 โครงการ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และรัฐบาลเมียนมาลงนามตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการปรับปรุงระบบรถไฟและระบบไฟฟ้า JICA ลงนามในสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลโดยให้เงินกู้ ODA สูงถึง 47.94 พันล้านเยน (607.3 พันล้านจัต) สำหรับโครงการทั้งสอง จากทั้งหมด 40,600 ล้านเยนจะถูกใช้ในช่วงแรกของโครงการปรับปรุงรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ในขณะที่ระยะที่สาม 7.33 พันล้านเยนจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า หน่วยงานพัฒนาของญี่ปุ่นจะยังคงให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างต่อเนื่อง  ในเดือนมกราคม JICA ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวน 120.9 พันล้านเยนกับเมียนมาสำหรับสี่โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบท่อน้ำทิ้งย่างกุ้ง, โครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง, โครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตเมืองและโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/japan-provide-y47-billion-two-infrastructure-projects.html

บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นตั้งเป้าสำรวจโอกาสทางธุรกิจเพิ่มเติมในกัมพูชา

นักลงทุนชาวญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งมีจุดประสงค์ในการสำรวจโอกาสทางธุรกิจเพื่อเพิ่มพอร์ตโฟลิโอธุรกิจที่มีอยู่ในประเทศของตน โดยในปี 2562 ประกาศจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา (CDC) ซึ่งขณะนี้มีโครงการลงทุนของญี่ปุ่นที่จดทะเบียนแล้ว 143 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ พบว่าธุรกิจและภาคส่วนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ ภาคการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ อุปกรณ์ทางเทคนิคการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร การดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยว โดยประธานสมาคมญี่ปุ่น-กัมพูชา (JCA) กล่าวว่าสมาคมกำลังวางแผนที่จะมอบหมายผู้แทนของ บริษัท ชั้นนำของญี่ปุ่นที่สนใจในการสำรวจความเป็นไปได้ทางธุรกิจและนโยบายการลงทุนของกัมพูชา ซึ่งมีกำหนดการมาเยือนอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมปีนี้ โดยปีนี้จะเป็นครั้งที่สองที่ JCA ได้จัดกิจกรรมระหว่างตัวแทนธุรกิจชาวญี่ปุ่น ให้มีการพบกันกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพในกรุงพนมเปญ ซึ่งจัดโดยบริษัท ACLEDA Bank Plc จุดสนใจหลักของนักลงทุนญี่ปุ่นคือภาคเกษตรกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50704619/leading-japanese-firms-set-to-explore-more-business-opportunities-here/

บริษัทจากญี่ปุ่นทำการศึกษาการลงทุนในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกัมพูชา

บริษัทจากญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อเพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งเป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืดในกัมพูชา จากข้อมูลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่โดยตัวแทนของ JICA ในประเทศกัมพูชาในระหว่างการประชุมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกัมพูชา ซึ่งการลงทุนจะเน้นไปที่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาเพื่อการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยินดีต้อนรับการลงทุนซึ่งมองว่าจะสร้างงานใหม่และช่วยลดการจับปลาจากทะเลสาบธรรมชาติและแม่น้ำได้ ซึ่งในการประชุม JICA ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปวัตถุดิบจากผ้าไหมสู่ผลิตภัณฑ์สบู่และแชมพูซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50704397/japanese-firm-to-conduct-study-on-investment-in-aquaculture-industry-in-cambodia/

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงิน 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้งในแม่น้ำโขง

รัฐบาลญี่ปุ่นจะมอบเงินช่วยเหลือ 412 ล้านเยนญี่ปุ่น (ประมาณ 3.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการตรวจสอบและการพยากรณ์ถึงภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมและภัยแล้งที่เป็นปัญหาที่สปป.ลาว ต้องเผชิญทุกปีโดยเฉพาะภาคการผลิตของเกษตร ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ข้อตกลงเรื่องเงินทุนได้ลงนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยตัวแทนของ ศูนย์จัดการน้ำท่วมและภัยแล้งในภูมิภาค(MRC)และรัฐบาลญี่ปุ่นในเวียงจันทน์โดยความช่วยเหลือดังกล่าวจะเปลี่ยนศูนย์จัดการน้ำท่วมและภัยแล้งในภูมิภาคของ MRC ให้กลายเป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศในการจัดหาการคาดการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นและเตือนภัยล่วงหน้าไปยังประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ญี่ปุ่นเชื่อว่าการสนับสนุนทางการเงินแก่สปป.ลาวในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสนับสนุนในด้านดังกล่าวแล้ว ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง 2 ประเทศเพื่อเป็นผลดีต่อการเจรจาด้านการค้าในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan.php

ญี่ปุ่นให้คำมั่นสัญญาต่อกัมพูชาในการช่วยพัฒนาภาคการเกษตร

รัฐบาลญี่ปุ่นบริจาคเงินจำนวน 890,471 เหรียญสหรัฐ สำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน การดูแลสุขภาพเยาวชนและการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนในกัมพูชา โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 85,019 เหรียญสหรัฐ สำหรับโครงการแรกซึ่งจะเน้นการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อส่งเสริมการเกษตรในเขตพระวิหาร ซึ่งเงินดังกล่าวจะมอบให้กับองค์กรภาครัฐคือสมาคมปราสาทพระวิหารแห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำในหมู่บ้านเชิงนิเวศของจังหวัด โดยตัวแทนของสมาคม Noritada Morita กล่าวว่าเกษตรกรในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการเพราะเชื่อว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ร่วมปรับปรุงเทคโนโลยีการเกษตรและปรับปรุงการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการที่สองจะได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 452,427 เหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการสุขภาพแบบครบวงจร น้ำสะอาด สุขาภิบาลและบริการด้านโภชนาการในพระวิหาร ส่วนโครงการที่สามจะเน้นการพัฒนาเยาวชนในจังหวัดไพลิน เงินจำนวนสนับสนุน 353,025 เหรียญสหรัฐจะนำไปบริจาคให้องค์กรพัฒนาเอกชน Kokkyo naki Kodomotachi เพื่อสนับสนุนเยาวชนและจัดให้พวกเขามีทักษะชีวิตและความสามารถ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695195/japan-pledges-nearly-900000-to-improve-kingdoms-agriculture