รัฐบาลสปป.ลาว-เวียดนาม เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจลาว-เวียดนาม

Vuong Dinh Hue ประธานสมัชชาแห่งชาติของเวียดนาม เรียกร้องให้ภาคธุรกิจในสปป.ลาวและเวียดนามสร้างความก้าวหน้าในด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติสำหรับทั้งสองประเทศ การพัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนให้อยู่ในระดับเดียวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทูตระหว่างเวียดนามและสปป.ลาวเป็นสิ่งสำคัญ รัฐบาลลาวและเวียดนามตกลงที่จะส่งเสริมการค้าแบบพหุภาคีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นร้ยละ 15 ในช่วงปี 2564 โดยสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดน เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางการค้า อย่างไรก็ตาม ผู้บัญญัติกฎหมายระดับสูงของเวียดนามกล่าวว่ามูลค่าการค้าสองทางยังคงอยู่ในระดับที่พอประมาณเมื่อเทียบกับศักยภาพและความได้เปรียบของทั้งสองประเทศ ดังนั้นทุกภาคส่วนของทั้งสองประเทศต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งรัดโครงการความร่วมมือ ด้านการลงทุนในปี 2564 ผู้ประกอบการเวียดนามได้ลงทุนในสปป.ลาวมากกว่า 417 โครงการ ตั้งแต่เกษตรกรรมไปจนถึงการขุด พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และบริการ ทั้งนี้รัฐบาลของทั้งสองประเทศตกลงที่จะแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมดที่ต้องเผชิญกับแผนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เหมือง และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้พวกเขาดำเนินการต่อไปตามที่คาดไว้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten93_Businesses_y22.php

ตลาดรถยนต์เวียดนาม เม.ย. เติบโตต่อเนื่อง

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) รายงานว่าในเดือนเม.ย. มียอดขายรถยนต์รวมทั้งสิ้น 42,359 คัน เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าเป็นเดือนที่สองติดต่อกันของปีนี้ที่ยอดขายรถยนต์เติบโตต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เดือนเม.ย. ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 33,588 คัน ในขณะที่ รถเชิงพาณิชย์มีจำนวน 7,795 คัน และรถที่มีวัตถุประสงค์พิเศษมีจำนวน 776 คัน นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์ที่ประกอบในประเทศและรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (CBU) มีจำนวน 25,269 และ 17,090 คัน เพิ่มขึ้น 16% และ 13% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตยังคงเผชิญวิกฤตเซมิคอนดักเตอร์ การขาดแคลนชิปและส่วนประกอบทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์อย่างมากและทำให้ไม่สามารถผลิตรถยนต์ในบางรุ่นได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1192293/domestic-car-market-maintains-sale-growth-in-april.html

การบริโภคเนื้อหมูของเวียดนามใหญ่อันดับ 2 ในเอเชีย

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ประมาณการณ์ว่าปีนี้ เวียดนามเป็นผู้บริโภคเนื้อหมูที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากจีน ดังนั้น การบริโภคเนื้อหมูของเวียดนามจะสูงถึง 3.4 ล้านตันในปีนี้ และจะขยายตัว 3.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2565-2573

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าการกลับมาเปิดได้อีกครั้งของภัตตาคาร โรงเรียนและโรงงานต่างๆ ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ราคาหมูมีชีวิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบางพื้นที่ โดยราคาหมูมีชีวิตเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ 53,000-58,000 ดองต่อกิโลกรัม (2.3-2.5 ดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 1,000-3,000 ดองต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. สาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น แต่คาดว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากโรงเรียนจะเข้าสู่ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนและการบริการจัดเลี้ยงยังไม่ฟื้นตัวเท่ากับช่วงก่อนการระบาดเชื้อไวรัส

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1192291/vn-pork-consumption-forecast-as-second-largest-in-asia.html

‘สัมพันธ์เวียดนาม-ลาว’ ผลักดันการค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี 1962 เวียดนามและสปป.ลาว ได้ส่งเสริมความร่วมมือผ่านซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยในปี 2559-2563 การค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ สามารถบรรลุการค้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภัยธรรมชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าการค้าทวิภาคีในปี 2563 ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกเวียดนามอยู่ที่ 571.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.5% อย่างไรก็ดี การค้าทวิภาคีกลับมาขยายตัวขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 เพิ่มขึ้น 33.3% คิดเป็นมูลค่า 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสำคัญมาจากการแก้ไขปัญหาของผู้นำเวียดนามและสปป.ลาว ทั้งในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่อย่างรวดเร็วและขจัดอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดสปป.ลาว ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า, เครื่องจักรและอุปกรณ์ม ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปุ๋ยและผัก เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamlaos-trade-ties-growing-sustainably/228623.vnp

 

ประตูชายแดนเวียดนาม-ลาว กลับมาเปิดดำเนินการหลายแห่ง หลังโควิด-19 บรรเทาลง

ประตูชายแดนระหว่างเวียดนาม-ลาว ได้แก่ ด่านลาวบ๋าว (Lao Bao), ด่านสากลลาไล้ (La Lay) และด่านนามเกิ่น (Nam Can) กลับมาเปิดให้บริการตามปกติเมื่อวันที่ 9 พ.ค. โดยด่านลาวบ๋าวในจังหวัดกว๋างจิ คนขับรถบรรทุกจากเวียดนามได้แสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อเข้าประเทศสปป.ลาว และการเปิดประตูชายแดนอีกครั้ง จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ การยกเลิกคำสั่งเปลี่ยนคนขับยังช่วยลดเวลาที่จำเป็นสำหรับพิธีการทางศุลกากรและบรรเทาความแออัดของการจราจรที่หันหน้าไปทางทางหลวงหมายเลข 9 ใกล้ประตูชายแดนลาวบ๋าว อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าตามตามชายแดน คาดการณ์ว่าการเดินทางเข้า-ออกตามด่านพรมแดนจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/many-vietnam-laos-border-gates-reopen-as-pandemic-subsides/

เปิดพรมแดนกระตุ้นการท่องเที่ยว กัมพูชา-ไทย-เวียดนาม

หลังจากที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้เปิดพรมแดนระหว่างกัมพูชาอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สมาคมและบริษัทเอกชนหลายแห่งในภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ไทยและเวียดนาม ได้ร่วมมือกันวางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอีกครั้ง โดยในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมสมาชิกในสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (PATA) ได้ร่วมหารือระหว่างกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการเดินทาง ตลอดจนการจัดทำเอกสาร ณ ด่านตรวจชายแดนทั้งฝั่งกัมพูชาและไทย โดยคาดว่าการไหลของนักท่องเที่ยวทางบกจะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นหากฝ่ายไทยผ่อนคลายเงื่อนไขหรือเอกสารบางอย่าง ซึ่งปัจจุบันข้อกำหนดจากฝั่งไทยยังคงไม่แน่นอนในหลายประเด็น ในขณะที่ทางฝั่งกัมพูชารายงานว่าได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อย่างนครวัดมีจำนวนนักท่องเที่ยวพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 622 หรือเป็นจำนวน 33,205 คนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ สร้างรายได้ประมาณ 1.35 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว มีนักเดินทางมาเยือนถึง 13,365 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501072171/border-opening-boost-tourism-among-cambodia-thailand-vietnam/

‘สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด’ มองศก.เวียดนาม การฟื้นตัวหลังโควิด

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด รายงานผลการวิจัยระดับโลกในหัวข้อ “เวียดนาม – RCEP: โอกาสและความท้าทาย” พบว่าเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์หลักจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว คาดว่าจะยกเลิกภาษีสินค้าของประเทศสมาชิกลง 90% ภายในระยะเวลา 20 ปี ในขณะเดียวกันการเป็นสมาชิกในข้อตกลงจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการค้าของเวียดนามและเป็นส่วนช่วยสำคัญในการฟื้นตัวหลังโควิด-19 สินค้าส่งออกหลักที่ได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลง RCEP ได้แก่ สินค้าไอที สิ่งทอ รองเท้า เกษตรกรรม ยานยนต์และอุปกรณ์สื่อสาร

นอกจากนี้ RCEP จะช่วยผลักดันภาคการส่งออกของเวียดนามและการเข้าถึงตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ผลิตเวียดนามและการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1189946/standard-chartered-bank-regional-focus-to-support-viet-nams-post-covid-recovery.html