พาณิชย์ปรับแผนเจรจาขายข้าวไทยผ่านออนไลน์

กรมการค้าต่างประเทศเผยข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการตลาดโลกพร้อมทั้งปรับแผนการเจรจาขายข้าวผ่านระบบออนไลน์ จี้จีนเร่งซื้อข้าวจีทูจีตามสัญญาที่เหลืออีก 3 แสนตัน เพราะหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปพบปะกันทำได้ยากขึ้น จึงต้องหันไปใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งนี้ ในส่วนของฟิลิปปินส์ กำลังจะเปิดประมูลข้าวจำนวน 3 แสนตัน ซึ่งไทยจะมีการยื่นประมูลด้วยในวันที่ 8 มิ.ย.63 คาดว่าไทยน่าจะแข่งขันประมูลได้ ส่วนมาเลเซีย ยังรอดูสถานการณ์ ขณะที่อินโดนีเซีย ก็เช่นเดียวกัน ยังรอดูสถานการณ์อยู่ แต่มั่นใจว่า หากมีความต้องการซื้อข้าว ไทยจะสามารถขายให้ได้ และกำลังเจรจาผลักดันให้จีนปิดการซื้อขายข้าวจีทูจีในส่วนที่เหลือ 3 แสนตันของสัญญา 1 ล้านตันแรกให้จบ เพราะขณะนี้ รถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 มีความคืบหน้า จะมีการลงนามกันในเร็วๆ นี้ ซึ่งในส่วนของการซื้อข้าวและยางพาราจากไทย ก็ควรจะมีข้อยุติด้วย ความต้องการข้าวจะยังคงมีเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องระวังเรื่องการแข่งขันจากคู่แข่ง โดยเวียดนามได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวแล้ว และปีนี้ยังตั้งเป้าส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน ใกล้เคียงกับไทยที่ตั้งเป้า 7.5 ล้านตัน ส่วนอินเดีย เพิ่มปลดล็อกให้มีการส่งออกได้ ก็จะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดข้าวของไทย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/778630

เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในวันที่ 15 พ.ค. ปริมาณส่งออกข้าวของเวียดนามกว่า 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ฟิลลิปปินส์มีปริมาณข้าวสูงสุด 902,100 ตัน รองลงมาจีน (237,500 ตัน) มาเลเซีย (220,700 ตัน) และกานา (124,200 ตัน) ส่วนมูลค่าส่งออกธัญพืชของเวียดนามอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. แต่ยอดส่งออกข้าวในปีนี้คาดว่าจะยากลำบาก โดยเฉพาะเรื่องภัยแล้งและภาวะน้ำเค็มในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าว 6.37 ล้านตัน มูลค่าอยู่ที่ 2.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในแง่ปริมาณ แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-exports-grow-in-both-volume-and-value/174357.vnp

สามประเทศอาเซียนเสนอซื้อข้าวจากเมียนมา

มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เสนอที่จะซื้อข้าวของเมียนมา ในจำนวน 300,000 ตันและ 50,000 ตันตามลำดับ ขณะที่อินโดนีเซียยังไม่ได้ยืนยันปริมาณที่ต้องการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังเพิ่มปริมาณสำรองข้าวซึ่งเป็นโอกาสสำหรับเมียนมาในการส่งออกระยะยาว แต่เมียนมาต้องชั่งน้ำหนักอุปสงค์ระหว่างประเทศสำหรับข้าวต่อความต้องการภายในประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระงับการส่งออกในเดือนเมษายน แต่อนุญาตให้ส่งออก 150,000 ตัน จนถึงขณะนี้ได้มีการสร้างปริมาณสำรองส่งออกคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดและซื้อสำรองภายในประเทศ 50,000 ตัน คาดว่าจะส่งออกข้าว 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 62-63 และมีรายรับมากกว่า 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าว 1.8 ล้านตันจนถึง 15 พ. ค. 63 ประมาณ 14 % เป็นการส่งออกผ่านชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/three-asean-countries-offer-buy-myanmar-rice.html

เวียดนามตั้งเป้าส่งออกข้าว 7 ล้านตันในปีนี้

เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ตั้งเป้าส่งออกข้าวไว้ที่ 7 ล้านตันในปี 2563 ปริมาณส่งออกมากกว่าปีที่แล้ว ตามแถลงการณ์ของรัฐบาลในวันอังคารที่ผ่านมา โดยกลับมาส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. หลังระงับการส่งออกในเดือนมี.ค. และจำกัดการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย. ไว้ที่ 500,000 ตัน ซึ่งมาตรการดังกล่าว เพื่อรับรองว่าอาหารจะมีเพียงพอในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ ปริมาณส่งออกข้าวปีนี้ 400,000-500,000 ตัน มากกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณส่งออกข้าวอยู่ที่ 2.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200603/vietnam-aims-to-export-7-million-tonnes-of-rice-this-year-govt/54897.html

กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 356,097 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงระบุว่าตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 105,925 ตัน หรือ 42.34% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งส่งออกไปยัง 54 ประเทศทั่วโลก โดยการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นในทุกจุดหมายปลายทางเมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็นสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 51.10%, จีนเพิ่มขึ้น 25.26%, ประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้น 45.39% และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 79.40% กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2563 เพียงเดือนเดียวส่งออกไปถึงประมาณ 55,845 ตัน เพิ่มขึ้น 53.30% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728658/cambodias-rice-exports-up-by-42-percent-in-first-five-months/

มัณฑะเลย์เพิ่มปริมาณข้าวสำรอง 5,000 ตัน

เขตมัณฑะเลย์กำลังเพิ่มข้าวสำรอง 5,000 ตันสำหรับเหตุฉุกเฉินในกรณีที่การระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้น ปัจจุบันภูมิภาคนี้มีการจัดเก็บข้าวไปมากกว่า 1,800 ตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ยังทำงานเกี่ยวกับแผนอาหารสำรองของชาติกับภาคเอกชนเช่นเดียวกับสหพันธ์สหภาพเมียนมา สภาหอการค้าและอุตสาหกรรม สหพันธ์ข้าวเมียนมา และสมาคมผู้ค้าน้ำมันเมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mandalay-to-beef-up-5000-tons-of-national-reserve-rice

รัฐบาลซื้อข้าวสำรอง 6,300 ตันจาก 40 บริษัท

วันที่ 30 เมษายน 63 รัฐบาลเริ่มซื้อข้าวสำรองประมาณ 6,300 ตัน โดยซื้อจากบริษัทผู้ส่งออก 40 แห่งซึ่งจะถูกเก็บไว้ในโกดัง 5 แห่ง กระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกับเมียนมาตรวจสอบและสหพันธ์ข้าวเมียนมาจะเป็นผู้รับผิดชอบ กรมการค้าประกาศว่าในการส่งออกข้าวผู้ส่งออกต้องขาย 10 % .ให้รัฐบาลเพื่อการสำรองข้าวของรัฐ เป้าหมายคือเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร เสถียรภาพด้านราคาและยกระดับรายได้ของเกษตรกร ซึ่งหากบริษัทผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามจะถูกเพิกถอนการลงทะเบียนส่งออก / นำเข้าและดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/govt-buys-about-6300-tons-of-rice-in-reserve-from-40-companies

ราคาข้าวพุ่ง เนื่องจากเวียดนามฟื้นการส่งออกให้กลับมาเต็มรูปแบบ

ราคาข้าวส่งออกปรับตัวสูงขึ้นในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ‘กู๋ลอง’ เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุ๊ก อนุมัติฟื้นการส่งออกข้าวอีกครั้ง ในวันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นแตะ 200,000-400,000 (8.5-17 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตัน จากปลายเดือนเม.ย. โดยบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดังกล่าว สามารถปลูกข้าวฤดูร้อน-ใบไม้ร่วงมากกว่า 750,000 เฮกตาร์ ทั้งนี้ ตามข้อมูลของกรมขยายพันธุ์พืช จ.เหิ่วซาง ระบุว่าต้นข้าวเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 7-8 ตันต่อเฮกตาร์ รวมถึงผู้ปลูกข้าวเตรียมการขั้นสุดท้าย เพื่อที่จะเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ติดอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและไทย ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออก 6.37 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ยอดส่งออกสูงถึง 890,000 ตัน มูลค่า 410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27, 32.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คาดว่าส่งออกข้าวจะเติบโตสูงถึง 43.5 ล้านตัน ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/716341/rice-prices-rising-as-viet-nam-prepares-to-resume-exports.html

การส่งออกข้าวของกัมพูชาขยายตัวประมาณ 40.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีนมีจำนวน 122,094 ตัน คิดเป็น 41% ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 97,337 ตัน คิดเป็น 32.4% รวมถึงกลุ่มสมาชิกอาเซียน 37,428 ตัน คิดเป็น 12.5% และประเทศอื่น ๆ 43,393 ตัน คิดเป็น 14.45% โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรป่าไม้และประมงกล่าวว่าการส่งออกสินค้าเกษตรอย่างเป็นทางการมีจำนวนมากกว่า 2 ล้านตัน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ขอให้รัฐบาลยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้โรงสีสามารถล้างสต๊อกเก่าและชำระหนี้คืน ซึ่งประธาน CRF กล่าวว่ากำลังการผลิตของโรงสีข้าวในกัมพูชาปัจจุบันอยู่ที่ 1.9 ล้านตันต่อฤดูกาล โดยมีกำลังการผลิตไซโลอยู่ที่ประมาณ 45,000 ตันต่อวัน ซึ่งทาง CRF ขอให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโรงสีข้าวในการจัดหาพลังงานทดแทน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะทำให้ต้นทุนการผลิตสำหรับโรงสีข้าวลดลงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50719616/rice-exports-grew-by-about-40-5-percent-compared-with-last-year/

เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่ม 38,000 ตัน

จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าส่วนบริการศุลกากรออนไลน์เพิ่มรายการส่งออกข้าวเพิ่มอีก 38,000 ตัน ในวันที่ 26 เม.ย. โดยปริมาณข้าวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโควตาส่งออกข้าวสำหรับเดือนเม.ย. 400,000 ตัน, เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามจำกัดการส่งออกข้าวปริมาณ 800,000 ตัน ในเดือนเม.ย.และพ.ค. เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตในประเทศจะเพียงพอ ท่ามกลางความต้องการสูงขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ปริมาณดังกล่าวลดลงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.และ พ.ค. ในขณะเดียวกัน ปริมาณสำรองข้าวแห่งชาติเพิ่มขึ้นจาก 300,000 ตัน อยู่ที่ 700,000 ตัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/additional-38000-tonnes-of-rice-to-be-exported/172355.vnp